ฮิจเราะห์ศักราช ฮ.ศ. เป็นการนับศักราชที่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด

มีพี่น้องต่างศาสนิกบางท่านถามมาว่า ประเทศมุสลิมเขานับปีแบบไหนเช่นประเทศไทยนับเป็น พ.ศ. ขอตอบแบบนี้ครับ...  ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์ ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ

1. เสนอให้ถือเอาปีเกิดของท่านนะบีมุฮัมมัด เป็นปีเริ่มต้นศักราช

2. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เริ่มเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นปีเริ่มต้นศักราช

3. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ เป็นปีเริ่มต้นศักราช

4. เสนอให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด เสียชีวิต เป็นปีเริ่มต้น ศักราช

ข้อสรุปในที่ประชุมได้มีมติให้ถือเอาปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพจากนครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเป็นปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ถูกชาวนครมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ด และสิ่งงมงายต่างๆ มุ่งหวังจะเอาชีวิต และเมื่ออพยพสู่นครมะดีนะห์นั้น ชาวเมืองมะดีนะห์ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี พร้อมทั้งเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก และเป็นปีที่มีความสำคัญในการเริ่มแผ่ขยายการเผยแพร่ศาสนาอิสลามจนประสบกับความสำเร็จในเวลาต่อมา จึงเริ่มต้นนับศักราชของอิสลามตั้งแต่ปีที่ท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมได้อพยพจากมักกะห์สู่มะดีนะห์ คือ ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปีฮิจเราะฮ์ศักราช ตามปฏิทินอิสลามนั้นถือตามทางจันทรคติ ซึ่งจะมีจำนวนวันในแต่ละเดือนแตกต่างกับปฏิทินสากล คือ แต่ละเดือนตามปฏิทินอิสลามจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น จะไม่มีเดือนที่มี 28 วัน และ 31 วัน เหมือนปฏิทินสากล ซึ่งถือตามทางสุริยคติ เมื่อครบ 1 ปี ตามปีปฏิทินอิสลามจำนวนวันในรอบ 1 ปี จะมีจำนวนวันน้อยกว่าจำนวนวันตามปีปฏิทินสากลประมาณ 10 วัน ดังนั้นวันขึ้นศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามก็จะร่นเร็วขึ้นประมาณปีละ 10 วัน ทุกปี การถือศีลอดหรือการถือบวชของพี่น้องมุสลิมซึ่งจะต้องถือบวชในเดือนรอมฎอน หรือเดือนที่ 9 ของปฏิทินอิสลามและการประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งจะต้องกระทำในเดือนซุ้ลฮิจญะฮ์ หรือเดือนที่ 12 ของปฏิทินอิสลาม เดือนที่พี่น้องมุสลิมถือบวชหรือถือศีลอดและทำพิธีฮัจญ์ จึงหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ซึ่งบางปีจะตรงกับฤดูหนาว บางปีตรงกับฤดูร้อน และบางปีก็ตรงกับฤดูฝน หมุนเวียนไปตลอดกาล ซึ่งเป็นฮิกมะฮ์จากเอกองค์อัลลอฮ์ อย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงโปรดประทานแก่พี่น้องมุสลิม

ที่มาและความสำคัญของศักราชอิสลาม หรือฮิจเราะฮ์ศักราชถือเอาการอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้ที่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อ 1434 ปีที่ผ่านมา โดยอพยพย้ายจากการพำนักที่นครมักกะห์สู่นครมะดีนะห์ ซึ่งเดิมเรียกว่า “ยัษริบ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนบี เรียกสั้นๆ ว่า “มะดีนะห์” ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นที่อยู่จากสถานที่ที่มีบรรยากาศแห่งการต่อต้านและทำลายล้างอิสลาม โดยชาวนครมักกะห์มาสู่บรรยากาศแห่งความเอื้ออารี ความมีภารดรภาพเดียวกันระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยความศรัทธาที่จะรับนับถือศาสนาอิสลาม กับชาวมักกะห์ผู้อพยพ

ทั้งนี้เนื่องจากการที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ใช้เวลาในการเทศนาเผยแผร่เชิญชวนชาวมักกะห์ให้ศรัทธาในคำสอนของอัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าที่แท้จริง เพื่อให้หันกลับมายึดมั่นศรัทธาและประพฤติปฏิบัติตามแนวทางอิสลาม ละทิ้งการเคารพบูชาเจว็ด (รูปปั้น รูปเคารพ รูปสักการะ) และสิ่งงมงายต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตัวเองและพวกพ้อง ซึ่งท่านได้รับการต่อต้านจากชาวมักกะห์อย่างรุนแรงมาก ถูกข่มเหงรังแกจากชาวมักกะห์ที่เคารพบูชาเจว็ดต่างๆ จนในที่สุดมีการปองร้ายหมายเอาชีวิตของท่านนะบีมุฮัมมัด เพราะชาวมักกะห์ที่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาเห็นว่า ศาสนาอิสลามกำลังจะแผ่ขยายมากขึ้นในมักกะห์ จึงพยายามจะทำร้ายถึงขั้นเอาชีวิตของท่านนะบีมุฮัมมัด ดังนั้นอัลลอฮ์ จึงฮิดายะห์ให้ท่านนะบีมุฮัมมัด อพยพบรรดามุสลิมไปยังเมืองยัษริบ หรือเมื่องมะดีนะห์ ตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะห์อั้ลอัมฟาลอายะห์ที่ 30 มีความหมายโดยสรุป ว่า “เมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่เนรคุณได้ว่างแผนเพื่อกักกันเจ้าไว้ หรือฆ่าเจ้า หรือขับไล่เจ้าเพื่อไม่ให้มีโอกาสเผยแพร่ศาสนาอิสลาม แต่อัลลอฮ์ ได้ทรงวางแผนที่ประเสริฐยิ่งกว่าแผนใดๆ ทั้งมวล” คือ ให้ท่านนะบีมูฮัมมัด อพยพไปมะดีนะห์ ซึ่งในการอพยพดังกล่าวนี้ ชาวมะดีนะห์ได้มีการติดต่อท่านนะบีมูฮัมมัด มาก่อนหน้าที่จะอพยพแล้ว และมีแนวโน้มว่าชาวเมืองมะดีนะห์จะเจ้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการอพยพสู่นครมะดีนะห์ ได้มีการช่วยเหลือกันระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ เรียกว่า “อันศ๊อร” (ผู้ช่วยเหลือ) กับผู้อพยพที่เรียกว่า “มูฮาญิรีน” ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้ใช้ชีวิตในเมืองมะดีนะห์ เพื่อเผยแผ่อิสลามเป็นเวลา 10 ปี สำหรับปีนี้เป็นปี ฮ.ศ 1434 ครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:48 น.• )

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ฮ.ศ.-ค.ศ.-พ.ศ.๑๔๓๔-๒๐๑๓-๒๕๕๖ (๒๕๕๗) : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

             

การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติในวันคริสต์มาส (๒๕ ธันวาคม) หลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช  ๑ (ค.ศ.๑) หรือ  A.D.๑ ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง ๑,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า ๑,๐๐๐ B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพระเยซูประสูติ

              ส่วนการนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้แล้วการนับศักราชในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่นๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)

                ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๑๑๖๕ เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ.๑ ตรงกับ พ.ศ.๑๑๖๕  แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุกๆ ๓๒ ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น ๑ ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ.๑๑๒๒ ปี และน้อยกว่า ค.ศ.๕๗๙ ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี

              จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ.๑ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๒ โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว ๑๖ เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี

              คริสต์ศักราช  ค.ศ ปีของพระผู้เป็นเจ้าเยซู คริสต์ หรือ ค.ศ. (อังกฤษ: AD หรือ A.D.) คือปีที่ใช้อ้างอิง โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อกันว่า พระเยซูเกิด และมีอายุครบหนึ่งปี เป็น ค.ศ.๑ ใช้วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนศักราช

              พระธรรมกิตติวงศ์ หรือ เจ้าคุณทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า พุทธศักราช หรือ พ.ศ. คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ ซึ่งพุทธศักราชนี้ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๑ ปี แต่ในประเทศศรีลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศกัมพูชานับในปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเลย เช่น ในประเทศไทยเป็นปี พ.ศ.๒๕๕๖ แต่ในพม่าและกัมพูชาเป็น พ.ศ. ๒๕๕๗ ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเปลี่ยนศักราชในวันวิสาขบูชา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง