ประวัติ การบำเพ็ญทุกรกิริยา


ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันว่าจะเป็นหนทางที่ทำให้
ตรัสรู้ โดยกดพระทนต์ด้วยพระทนต์,  กดพระตาลุ(เพดานปาก) ด้วยพระชิวหา(ลิ้น),
ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, ทรงอดพระกระยาหาร จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง
พระฉวี(ผิวพรรณ)เศร้าหมอง  มีพระอาการประชวรอ่อนเพลียอิดโรย จนหมดสติล้มลง

          เมื่อฟื้นคืนสติ ทรงเห็นว่าผู้ที่ทำความเพียรด้วยการทรมานร่างกาย
ยิ่งกว่าเรานั้นไม่มี  เราปฏิบัติอุกฤษฏ์ถึงขนาดนี้แล้ว ยังไม่สามารถจะบรรลุ
พระโพธิญาณได้ ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้คงจะเป็นหนทางอื่น มิใช่ทางนี้เป็นแน่




             ขณะนั้นพระอินทร์ทรงทราบความปริวิตกของพระมหาบุรุษ  จึงนำพิณทิพย์
สามสายมาดีดถวายให้พระโพธิสัตว์ได้สดับ

          เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงพิณแล้วก็ทรงเปรียบเทียบการปฏิบัติกับพิณสามสายว่า
            “สายหนึ่งตึงนัก พอดีดไปหน่อยก็ขาด สายหนึ่งหย่อนนัก ดีดไม่มีเสียง
ส่วนอีกสายหนึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักพอปานกลาง จะมีเสียงดังไพเราะ”

          พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาเสียงพิณนั้นเป็นนิมิตหมาย พิจารณาเห็นแจ้งว่า
           “มัชฌิมาปฏิปทา คือ การปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก
คงจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้แน่นอน”

            จึงตัดสินพระทัยที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป และการบำเพ็ญเพียร
ทางจิตนั้น บุคคลที่มีร่างกายไม่แข็งแรงทุพพลภาพเช่นเรานี้ไม่สามารถจะเจริญสมาธิได้
จึงได้เสวยพระกระยาหารบำรุงร่างกายให้มีกำลังก่อนแล้วจึงบำเพ็ญเพียร
ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นจึงทรงถือบาตรเที่ยวบิณฑบาตมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม


            ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการปฏิบัติแบบทรมานร่างกาย
ครั้นเห็นพระองค์ทรงหันมาบริโภคอาหาร จึงเข้าใจว่า  พระองค์ทรงละความเพียร
เสียแล้ว จึงพากันหลีกหนีทิ้งพระองค์ให้ประทับอยู่ตามลำพัง



ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง



บทภาพยนตร์

บรรยาย
            พระมหาบุรุษต้องการแสวงหาหนทางตรัสรู้  จึงทรงทรมานตนเองตามคตินิยม
ของพวกนักบวช เป็น ๓ วาระ

            วาระที่ ๑ ทรงใช้ฟันกดฟัน  ใช้ลิ้นกดเพดานปากไว้แน่นจนเหงื่อไหลโซม
ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส  เหมือนมีผู้มาบีบคอไว้แน่น  ครั้นเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้
จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๒ ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออกให้เดินไม่สะดวกจนเกิดเสียงอู้
ในช่องหูทั้งสอง ปวดพระเศียร เสียดท้องและร้อนในพระวรกายอย่างยิ่ง
แม้จะทุกข์ทรมานอย่างหนัก แต่พระองค์ก็มิได้ย่อท้อ ครั้นเห็นว่านี่ก็ไม่ใช่
หนทางตรัสรู้จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๓ ทรงอดอาหารจนซูบผอมเหี่ยวแห้งผิวพรรณเศร้าหมอง
กระดูกและเส้นเอ็นปรากฏที่พระวรกายมีพระกำลังถดถอย อิดโรยทนทุกข์ทรมาน
อย่างแรงกล้า พอลูบพระวรกายก็มีเส้นพระโลมาติดมาด้วย



(พระพุทธเจ้า) (เสียงก้องในความคิด)
            เรากระทำทุกรกิริยาทรมานร่างกาย   จนแม้ผู้อื่นก็ไม่สามารถทำได้
ยิ่งกว่านี้แล้ว เหตุใดจึงไม่บรรลุพระโพธิญาณ   หรือว่าหนทางนี้จะไม่ใช่ทางตรัสรู้


(พระอินทร์) (พูดกับตัวเอง)
            พระมหาบุรุษกำลังครุ่นคิดวิตกถึงหนทางตรัสรู้   เราจะช่วยยังไงดีนะ
...ฮ้า...ต้องใช้วิธีนี้








การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุ-กะ-ระ- กิ-ริ-ยา) มักเป็นเรื่องที่ผู้สอนพุทธประวัติทั่วไปจะไม่เข้าใจเท่าไร บางทีก็อธิบายว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา  แต่ที่จริงแล้วเป็นการทรมานตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์เรียกว่า “อัตตะกิละมัตถานุโยค” แปลว่าการบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง เป็นวิธีการที่สุดโต่ง ไม่ใช่ทางหลุดพ้นได้  จึงมีคำถามว่า แล้วเหตุไฉนพระพุทธองค์เมื่อก่อนตรัสรู้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยา  เพราะว่าหลังจากพระองค์ผนวชแล้วทรงได้ศึกษาคำสอน ปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ของนักบวชในสมัยนั้น รวมทั้งการทำทุกรกิริยาด้วย  ซึ่งคิดว่าจะเป็นหนทางบรรลุพระโพธิญาณได้ แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติจนครบถ้วนแล้ว จึงได้เห็นว่าความเชื่อและวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ เพราะไปยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างขาดปัญญา  พระองค์จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่คือดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง 

ซึ่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ -

๑. ลดพระกระยาหารให้น้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเหลือเพียงเท่าเมล็ดในของถั่วพูเท่านั้นในหนึ่ง มื้อของแต่ละวัน
๒. เสวยของโสโครก เช่น เสวยมูลของลูกโค หรือพระบังคลหนักของพระองค์เอง เป็นต้น
๓. เอาของโสโครก เช่น ขี้เถ้า ทาพระวรกายโดยไม่ทรงสนาน(อาบน้ำ)เลยเป็นเวลานับปีจนกระทั่ง สิ่งโสโครกเหล่านั้นเกาะติดพระวรกายเป็นแผ่น
๔. กลั้นลมหายใจโดยใช้พระชิวหากดเพดานปากจนหูอื้อตาลายเกิดอาการวิงเวียนพระเศียร

วิเคราะห์
การที่พระองค์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี จนทำให้พระวรกายของพระองค์ลำบาก สกปรก ซูบผอม และอ่อนล้า ในที่สุดพระองค์ทรงระลึกได้ว่า เมื่อคราวที่ทรงพระชนมายุ ๗ ขวบนั้น ทรงเจริญ
อานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกจนได้บรรลุปฐมฌาน

ที่มา ::: //www.vicha.kroophra.net/

ทุกรกิริยาคืออะไรพระองค์ทรงบำเพ็ญที่ไหน

เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ทั้งสองแล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก

การบําเพ็ญทุกรกิริยา มีอะไรบ้าง

“ทุกรกิริยา” อย่างง่ายที่สุดคือการละเว้นจากกิเลสบางอย่าง เช่น การงดดื่มสุรา หรือการเลือกใช้ชีวิตอันสมถะ เช่น ใช้ชีวิตอารามวาสี หรือถ้าเป็น “ทุกรกิริยา” ขั้นรุนแรงอาจจะเป็นการทำร้ายตนเองเช่นโดยการเฆี่ยน แทง หรือกรีดเนื้อหนังเป็นต้น

พระพุทธเจ้า บําเพ็ญทุกรกิริยา3ประการกี่ปี

การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจาก ...

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรที่ใด

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ... ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง