ประวัติ เจ้า ชาย วร มันที่ 7

ทฤษฎีใหม่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 'ยกสุโขทัยให้สยาม'

เผยแพร่: 19 ก.พ. 2550 21:14   โดย: MGR Online



ศาสตราจารย์วรรณสัก แกง (Vannsak Keng) นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของกัมพูชา ได้นำเสนองานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งทำให้นักวิชาการทั่วไปในกัมพูชาแสดงความไม่พอใจและตั้งข้อสงสัย โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (Jayavarman VII) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แฟ่งยุคเมืองพระนคร (Angkor Wat) นั้นเป็นกษัตริย์เชื้อชาติจาม มิใช่เขมร

นอกจากนั้นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชาวเขมรยกย่องมาทุกยุคทุกสมัย ยังได้ยอมยกดินแดนสุโขทัยของอาณาจักรเขมรแห่งอดีตให้แก่ "พวกสยามโบราณ"

นอกจากประเด็นนี้จะสร้างความไม่พอใจให้แก่นักประวัติศาสตร์ค่ายความคิดอื่นในกัมพูชาแล้ว ประเด็นนี้ยังดูขัดประวัติศาสตร์ว่าด้วยการก่อตั้งกรุงสุโขทัยของไทย อีกด้วย

อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้ชาวเขมรด้วยกันเองไม่พอใจอย่างมากก็คือ ศ.วรรณสัก ระบุว่า อาณาจักรนครวัดล่มสลาย เนื่องมาจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 "สร้างวัดและปราสาทหินต่างๆ มากเกินไป" บีบบังคับให้ราษฎรต้องกลายเป็นแรงงานทาส ทำให้เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง และ พังทลายลงทุกระบบในอาณาจักรเมืองพระนคร

จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบว่า เพราะเหตุใดนครวัดกับนครธมที่ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ 9-12 จึงล่มสลายไป และ ชาวเขมรเหล่านั้นหายไปไหนหมด เพราะเหตุใดจึงไม่มีการถ่ายทอด “อารยธรรมนครวัด” สืบต่อกันมา

ในปี 2547 ได้มีนักวิชาการตะวันตกนำเสนอทฤษฎีเกิดโรคระบาด เกิดทุพภิกขภัย และ ภัยแห้งแล้งว่าเป็นเหตุทำให้อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องพังครืนลง ค่ายความคิดนี้ใช้วิธีศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาของโลก จากภาพถ่ายดาวเทียม

ในการให้สัมภาษณ์วิทยุเอเชียเสรีภาคภาษาเขมรในวันเสาร์ (17 ก.พ.) ที่ผ่านมา ศ.วรรณสัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในกรุงปารีส ได้ยืนยันในการค้นพบของตน โดยอ้างหลักฐานชั้นต้นชิ้นหนึ่งที่อยู่ในครอบครองและได้ศึกษาเรื่องนี้มาโดยตลอด

ยังไม่มีใครทราบรายละเอียดว่า ปราชญ์ทางด้านประวัติศาสตร์ชาวเขมรผู้นี้ มีหลักฐานชั้นต้นชนิดใดอยู่ในมือ แต่ก็เชื่อกันว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าจะเป็นศิลาจารึกหลักใหม่ที่ยังไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อน

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น เป็นที่ยกย่องเทิดทูนของชาวเขมรมาทุกยุคสมัย ปราสาทหินนครวัดก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติของกัมพูชาในทุกยุค กระทั่งในยุคที่ป่าเถื่อนที่สุด ช่วงที่พวกเขมรแดงขึ้นครองอำนาจ

ไม่ว่าพระองค์จะมีเชื้อชาติจามหรือเชื้อชาติอะไรก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นกษัตริย์ชาวพุทธ ที่ชาวเขมรยุคใหม่ยกย่องให้เป็น "Chey Puth" (Chey= Jaya= Victory, Puth= Buddha) ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าแห่งชัยชนะ (Victory Buddha) เป็นยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์หนึ่ง.

แกลเลอรี

กำลังโหลดความคิดเห็น

เช้าตรู่วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๘ คณะของผู้เขียน พร้อมด้วย พงศธร ยอดดำเนิน และ ยุทธภูมิ มีพรหมดีสองเยาวชนผู้ใส่ใจวัฒนธรรมถิ่นฐานบ้านเกิด นำเราไปร่วมพิธีบวงสรวงปราสาทตาเมือน บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ฝั่งตรงข้ามคือหมู่บ้านไพรเวงและบ้านกู่ ตำบลโคกมอญ อำเภอบันเตียอำปึล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา

ปราสาทตาเมือนธม คือ ๑ ใน ๔ ของโบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ส่วนอีก ๓ แห่งคือ บ้าน
มีไฟ (ที่พักคนเดินทาง) ตาเมือนโต๊จ (อโรคยศาล หรือโรงพยาบาล) และสะพานขอม

สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๗๒๔-๖๓) กษัตริย์
เขมรโบราณแห่งอาณาจักรพระนคร โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่นครธม ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดเสียมเรียบ (เสียมราฐ) ประเทศกัมพูชา เฉพาะตัวปราสาทตาเมือนธม เชื่อว่าสร้างก่อนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยมีข้อความในศิลาจารึกตาเมือนธม ระบุปีที่จารึกคือ พ.ศ. ๑๕๖๓ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ตัวปราสาทตาเมือนธมสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ส่วนบ้านมีไฟ และอโรคยศาล หรือโรงพยาบาลนั้นสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

ระบำนางอัปสรบวงสรวงดวงพระวิญญาณบุรพกษัตริย์ผู้สร้างปราสาทตาเมือนธม

บ้านมีไฟ (ที่พักคนเดินทาง) โบราณสถานหลังแรกของกลุ่มปราสาทตาเมือน ก่อด้วยศิลา  ปัจจุบันอาคารหลังนี้มีสภาพสมบูรณ์ ว่ากันว่าเมื่ออดีตนั้นจุดไฟไว้ตลอดเวลา ศาสตราจารย์หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารเช่นนี้ว่า “ธรรมศาลา” เป็นที่พักคนเดินทาง๑ ใน ๑๒๑ แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างขึ้นรายทาง ตั้งแต่ปราสาทพระขรรค์ อาณาจักรพระนคร เรื่อยไปจนถึงปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมาของไทย เป็นหลักฐานยืนยันเส้นทางโบราณที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระองค์โปรดให้ทำขึ้น

ปราสาทตาเมือนโต๊จ (อโรคยศาล หรือโรงพยาบาล) โบราณสถานหลังที่ ๒ ชื่อเรียกเป็นภาษาเขมร แปลว่า ตาไก่เล็ก (คาดว่า ตาไก่ คือชื่อผู้ดูแลศาสนสถาน หรือผู้ค้นพบภายหลังจากมีป่าปกคลุม) นับเป็น ๑ ใน ๑๐๒ แห่งของสถานที่ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างไว้สำหรับรักษาผู้คนตามรายทาง เชื่อกันว่าตัวปราสาทที่เหลืออยู่เป็นที่ประดิษฐานไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในลัทธิมหายาน มีหน้าที่รักษาคนไข้ ส่วนอาคารโรงพยาบาลสำหรับผู้เข้ารับการรักษานั้นคงสร้างด้วยไม้ จึงผุพังไปตามกาลเวลาไม่เหลือเค้ารางให้เห็น

ปราสาทตาเมือนธม โบราณสถานหลังที่ ๓ ชื่อเรียกเป็นภาษาเขมร แปลว่า ตาไก่ใหญ่ ตัวปราสาทตาเมือนธมตั้งอยู่ห่างจากชายแดนกัมพูชาประมาณ ๑๐๐ เมตร กรมศิลปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ แต่การบูรณะยังคงค้างอยู่ ด้วยทางการกัมพูชายื่นหนังสือประท้วงอ้างกรรมสิทธิ์ ปราสาทตาเมือนธมนี้ นอกจากเป็นที่สักการะของคนในพื้นที่ฝั่งไทยแล้ว ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนทางฝั่งกัมพูชาอีกด้วย โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจะเปิดโอกาสให้คนทางฝั่งกัมพูชาเข้ามาเยี่ยมชมได้โดยเสรี

วงมโหรีเขมรบรรเลงประกอบพิธีบวงสรวง

ปราสาทตาเมือนธม นับเป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มโบราณสถานปราสาทตาเมือน เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ศิลปะขอมสมัยบาปวน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประกอบด้วย ปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ ปราสาทบริวาร ๒ องค์ บรรณาลัย ๒ หลัง ระเบียงคด และสระน้ำขนาดเล็กด้านข้าง ๒ สระ

สิ่งสำคัญของปราสาทแห่งนี้คือ มีการค้นพบศิลาจารึกซึ่งจารึกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๖๓ ในรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๕๔๕-๙๓) แห่งอาณาจักรพระนคร เนื้อความกล่าวถึงการแต่งตั้งข้าราชการ ข้าทาส และการบริจาคสิ่งของ ตอนท้ายของจารึกกล่าวถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ได้พระราชทานเงินทองถวายไว้ที่ฐานของพระศิวะ พร้อมทั้งคำสาปแช่งผู้ทำลายปราสาทว่าให้ตกนรกจนสิ้นกาลมหาโกฏิ

สะพานขอม โบราณสถานหลังที่ ๔ เป็นชื่อที่ฝ่ายไทยเรียกขาน อยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทตาเมือน
ธม เป็นแนวสะพานศิลาแลงทอดตัวยาวลึกเข้าไปในป่า กินพื้นที่ทั้งฝั่งประเทศไทยและกัมพูชา สภาพป่าโดยรอบรกทึบ ใกล้กับสะพานมีแหล่งตัดหินของขอมโบราณ เผยให้เห็นหลุมลึก ขนาดเล็กใหญ่ต่างกันหลายขนาด วันที่ผู้เขียนเดินทางไปนั้นไม่ได้เปิดให้เข้าชม เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนยังไม่สงบเรียบร้อยนัก

อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๗๒๔-๖๓) เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ ๒ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๖๘๓-๑๗๐๓) กับพระนางศรีชยราชจุฑามณี ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร มีพระปรีชาสามารถในการรวบรวมอาณาจักรขึ้นเป็นปึกแผ่น กำจัดศัตรูที่สำคัญอย่างอาณาจักรจามปาให้ราบคาบลงได้

ความน่าสนใจประการสำคัญคือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีพระมเหสีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางอินทรเทวี พระอัครมเหสี ผู้ที่ประวัติศาสตร์กัมพูชาไม่อาจลืมจารึกพระนาม พระนางมีอิทธิพลและบทบาทสำคัญเหนือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นามของพระนางคือ “พระราชเทวี”

ครูน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ กล่าวคำอาเศียรวาทดวงพระวิญญาณบุรพกษัตริย์ผู้สร้างปราสาทตาเมือนธม

ใกล้กับปราสาทตาเมือนธม มีหลักเขตชั่วคราวปักปันเขตแดนไทยกัมพูชา หลักที่ ๒๒ และ 22B ส่วนหลักที่ ๒๓, ๒๔, ๒๕ และ ๒๖ ได้อันตรธานหายไป สาเหตุที่หลักเขตหายไป ต่างฝ่ายต่างโทษซึ่งกันและกัน เรื่องเล่าเกี่ยวกับหลักเขตเดินได้มีด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ฝ่ายไทยอ้างว่า ช่วงที่กัมพูชาสู้รบกันเอง ทหารกัมพูชาฝ่ายที่ถูกไล่ล่าเข้าประชิดชายแดนไทย มีการขยับหลักเขตเข้าไปในเขตประเทศกัมพูชา เพื่อต้องการให้ฝ่ายไล่ล่าหยุดอยู่แค่หลักเขต

ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าฝ่ายไทยเป็นผู้ขยับหลักเขตกินแดนเข้าไป หลังสงครามสงบจึงไม่ทราบตำแหน่งชัดเจน ต้องใช้หลักเขตสมมติ หลักที่ ๒๓ ที่ฝ่ายไทยทำขึ้น? สำหรับอ้างอิง หลักเขตนี้ทำจากเหล็กกลมทาสีน้ำเงินฝังพ้นพื้นดินประมาณ ๒ ศอก และเพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตเห็น เจ้าหน้าที่ได้แกะสลักเปลือกต้นไม้ใหญ่บริเวณใกล้เคียงเป็นเลข ๒๓ กำกับไว้ด้วย

ครูน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ (สำรวม ซ่อนกลิ่น ดีสม)

ในเรื่องเดียวกันนี้ ทางการไทยมองว่า ทางฝ่ายกัมพูชามีเจตนาสร้างวัดและหมู่บ้านประชิดแนวเขตแดนเพื่อหาโอกาสรุกคืบชิงพื้นที่ ขณะที่ทางการกัมพูชามองว่า ฝ่ายไทยทำการบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทจัดงานสมโภชแสดงความเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียวโดยไม่มีสิทธิ์ชอบธรรม

อย่างไรก็ตาม ทหารของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาตั้งฐานปฏิบัติการชิดติดกันอยู่ในบริเวณปราสาทตาเมือนธม ต่างแวะเวียนทักทายกันและกันฉันมิตรด้วยภาษาเดียวกันในยามปกติ แต่เมื่อมีคำสั่งจากเบื้องบน คนที่เคยคุยภาษาเดียวกันจำต้องหันปากกระบอกปืนใส่กัน อย่างที่ปรากฏขึ้นเมื่อเช้าวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ ยังผลให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย

เป็นเรื่องแปลกพิสดารที่เนื้อหาในจารึกปราสาทตาเมือนธมระบุอาณาเขตพื้นที่ปราสาทไว้อย่างชัดเจนว่าทิศไหนจดด้านใด พร้อมคำสาปแช่งผู้ทำลายปราสาทกำกับไว้ แม้กาลเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน ทว่ายังไม่อาจตัดสินได้ว่าปราสาทตาเมือนธมเป็นของใครได้อย่างชัดเจน หรือเป็นด้วยคำสาปในจารึกที่เกิดท่ามกลางบรรยากาศความขัดแย้งของผู้ครอบครองพื้นที่แต่สมัยโบราณ ที่ดูเหมือนจะกลับตาลปัตร เนื่องจากปราสาทที่ถูกคำสาปแช่งไว้นั้นบางส่วนถูกทำลาย แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือความขัดแย้ง

เมื่อผู้เขียนเดินทางถึงอุทยานโบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ทหารจำนวนมากกระจายกันอยู่ทั่วบริเวณ ตรงทางเดินเล็กแคบที่จะไปยังปราสาทตาเมือนธม ทหารอีกกลุ่มหนึ่งตรวจตรากันไม่ให้บุคคลภายนอกผ่านเข้าไป เนื่องจากยังเป็นเวลาเช้า และกำลังประกอบพิธีกรรมบวงสรวงซึ่งเป็นพิธีปิดสำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเดินทางมาร่วมงานอย่างไม่เป็น
ทางการตามคำเชิญของฝ่ายทหารตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา

ทหารยามยอมให้คณะของเราเข้าไปได้ด้วยเยาวชนผู้นำทางของเราสองคนอ้างว่าเป็นทีมงานของ “ครูน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์” สมเหตุสมผลอยู่ไม่น้อย เพราะเราทุกคนต่างนุ่งโสร่งไหมเขมรลายโบราณที่ได้รับกำนัลจาก ยุทธภูมิ มีพรหมดี ผู้มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับครูน้ำผึ้ง อีกทั้งครูน้ำผึ้งก็ได้โทรศัพท์ให้เขาพาคณะของเราเข้าชมพิธีกรรมด้วย ขาดแต่ว่าเราไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยหยิบจับแบกหามเครื่องประกอบพิธีกรรมอย่างที่อ้างก็เท่านั้น

คณะผู้ร่วมเดินทางเข้าสังเกตการณ์พิธีบวงสรวง ณ ปราสาทตาเมือนธม กับรอยประทับเพื่อแสดงความเป็นคนไทยจากเจ้าหน้าที่ทหารไทย

เมื่อเราเดินเข้าใกล้มองเห็นยอดปราสาทไกลๆ นอกจากทหารในชุดพรางสีเขียวลายตาแล้ว ทุกอย่างสงบสงัด ได้ยินเพียงเสียงมโหรีเขมรบรรเลง กับกลุ่มเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียงจำนวนมาก นุ่งสแล็คส์ดำสวมเชิ้ตแขนสั้นสีชมพูบานเย็นชำแรกนัยน์ตา มีรูปโขลงช้างสัญลักษณ์จังหวัดสุรินทร์รอบเอว “เสื้อจังหวัด” อย่างที่จังหวัดไหนๆ ก็ต้องมี ต่างนั่ง ยืน เดิน และจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์อยู่ทั่วไป เมื่อผ่านประตูปราสาท ครูน้ำผึ้งในชุดเขมรโบราณประยุกต์กำลังกราดเกรี้ยวก่นว่าบริภาษสลับพร่ำรำพันสั่งความ ดวงตาแดงก่ำ น้ำตารดแก้มเป็นทาง

วรรณณี แนบทางดี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียงเล่าว่า การปะทะกันของทหารไทยและเขมรเมื่อเช้าวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔ เริ่มจากบริเวณปราสาทตาควาย (วาย) ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก ลุกลามมาถึงกลุ่มปราสาทตาเมือน กินเวลาต่อเนื่องถึง ๑๐ วัน คนไทยตามแนวตะเข็บชายแดนแถบสุรินทร์และบุรีรัมย์กว่า ๙,๐๐๐ คน ต้องพากันอพยพลึกเข้าไปอยู่ยังอำเภอชั้นในแถบอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ประมาณ ๒ เดือน ๑๐ วัน ทหารกัมพูชาเสียชีวิตจำนวนมาก

ตามความเห็นของวรรณณี มองว่าเป็นการเจตนาฝ่าแนวกระสุนเข้ามารื้อถอนรั้วเขตแดนในฝั่งไทย ศพทหารกัมพูชาที่เสียชีวิตทับถมตลอดแนวรบ ไม่สามารถนำออกไปได้ ศพเน่าส่งกลิ่นเหม็นคาวคละคลุ้งถึงหมู่บ้านไทยรวมทั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง เจ้าหน้าที่ต้องปิดจมูกด้วยหน้ากากดำ (black mask) ที่สุดฝ่ายทหารเขมรยอมยกธงขาว ยอมแพ้ที่สมรภูมิปราสาทตาเมือนธม เพื่อเข้ามาขนย้ายศพทหารผู้เสียชีวิตออกไป

จุดเริ่มต้นของการปะทะกันครั้งนั้น คาดว่าเกิดจากการกระทบกระทั่งกันระหว่างทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายส่วนกลางของแต่ละประเทศ วรรณณีอ้างอิงคำบอกเล่าของทหารไทยในพื้นที่ว่า ก่อนหน้านั้น ทหารทั้ง ๒ ฝ่ายมีการไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนข่าวสารพูดคุยกันด้วยดีแต่ในวันเกิดเหตุ หลังจากการพูดคุยกันตามปกติ หลังทหารไทยคล้อยหลังก็เกิดการสาดกระสุนใส่โดยไม่มีวี่แววมาก่อน ทำให้เกิดการปะทะสู้รบกันอย่างหนัก คาดว่าคงเป็นเรื่องของความไม่เข้าใจที่สั่งสมจากการรับรู้ข่าวสารจากข้อมูลคนละชุด โดยเฉพาะอคติระหว่างกันที่ก่อตัวมาเป็นระยะเวลายาวนานก่อนหน้า

นอกจากนี้ “คนฝั่งไทยที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเขมร” ยังกล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่า เหตุที่เกิดขึ้นไม่มีใครต้องการให้เกิด เนื่องจากคนในพื้นที่ที่แม้จะมีเส้นเขตแดนกั้นกลางแต่ก็ล้วนเป็นเครือญาติ มีการไปมาหาสู่ค้าขายกันตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีงานเทศกาลขึ้นปราสาทตาเมือนก็จะมี “คนที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเขมร” จากทั้งฝั่งไทยและกัมพูชาเดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก โดยเฉพาะจากฝั่งกัมพูชาหลายหมื่นคน บางคนถือโอกาสพบปะญาติมิตรที่แผ่นดินถูกกั้นด้วยเส้นเขตแดนรัฐชาติ

ชาวเขมรซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นเดินทาง
ขึ้นมาจากฝั่งประเทศกัมพูชาเพื่อท่องเที่ยว
และสักการะปราสาทตาเมือนธม

เหตุการณ์สู้รบแย่งชิงพื้นที่และสิ่งก่อสร้างที่ล้วนเกิดจากน้ำมือบรรพชนของพวกเขาแต่โบราณ เมื่อทั้งไทยและกัมพูชาอ้างว่ายึดแนวสันปันน้ำเป็นเขตแดน และต่างอ้างสิทธิ์เหนือปราสาทตาเมือน ประกอบกับความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ สภาพเศรษฐกิจ และท่าทีทางการเมืองระดับชาติได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือวิถีชีวิต เหนือความเป็นเครือญาติชาติพันธุ์ หรือการสู้รบระหว่างพี่น้องนั้นเกิดจากการยึดถือในเส้นเขตแดนที่ไม่มีอยู่จริงเส้นนั้น เส้นที่กั้นแบ่งแผ่นดินออกเป็นประเทศไทยและประเทศกัมพูชา

วรรณณีบอกเล่าสถานการณ์ภายหลังเหตุการณ์สู้รบระหว่างทหารสองฝ่ายที่มีเลือดสีแดงและมีดีเอ็นเอเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เพิ่มเติมว่า

“เขาสร้างสถานการณ์ให้ดูมีความรุนแรงเพื่อไม่ให้คนของ ‘เขา’ เดินทางเข้ามาร่วมพิธีกรรมบนปราสาทตาเมือน ขู่เรื่องระเบิด แต่หากคนของ ‘เขา’ เข้ามา ห้ามทางการไทยทำอะไรข้องเกี่ยวกับคนของ ‘เขา’ เช่นประทับตราบนหลังมืออย่างที่ทหารไทยทำกับนักท่องเที่ยวไทยของ ‘เรา’ เพื่อเป็นการแสดงถึงการไม่ยอมรับในสิทธิเหนือปราสาทตาเมือนของกัมพูชา คนของ ‘เขา’ จึงได้รับอนุญาตให้เข้ามาได้แค่บริเวณปราสาทตาเมือนธมเท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปได้ลึกมากกว่านั้น ทั้งที่ก่อนหน้าปี ๒๕๕๔ คนของ ‘เขา’ เคยเข้ามาร่วมงานในเขตแดนไทยหลังปราสาท นำสินค้าเข้ามาขาย ซื้อสินค้าฝั่งไทย ชมการแสดง ร่วมแข่งขันมวย…”

ความรู้สึก “ของเรา” “ของเขา” กรุ่นขึ้นในใจผู้เขียน และหากยังจำกันได้ ในช่วงเวลาเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์สู้รบกันนั้น เขมรคลั่งชาติบางคนก็ยั่วยุปลุกระดมความเกลียดชัง คนไทยหลงชาติบางคนพากันเชียร์ทหารไทยให้ฆ่าเขมร โดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ศูนย์กลางของประเทศหลังแป้นคีย์บอร์ด คนที่ไม่ได้ยินเสียงปืน ไม่ต้องอพยพหลบหนีวิถีกระสุน ไม่ได้กลิ่นซากศพและคาวเลือด เช่นที่ปรากฏในเว็บไซต์หนึ่งว่า

“ฝากบอกฝ่ายความมั่นคงไปดูหน่อยครับ เว็บเขมรมาซ่าในไทย เค้าบอกว่า ‘ไทยแพ้เขมรหมดรูป!?’
ตามลิ้งค์ไปเลยครับ www.khmenager.co.km ถ้ายังไงก็จัดหนักๆ ไปหน่อยครับ ได้ข่าวว่าอยู่ริมน้ำ
เจ้าพระยานี่เอง…”

เจ้าหน้าที่ทหารไทยจำนวนมากบนลาน
ที่ตั้งปราสาทตาเมือนธม

องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยภายใต้การรับรู้และจับตามองของทางการไทยระดับจังหวัดและส่วนกลาง จัดพิธีบวงสรวงปราสาทตาเมือนและงานสมโภช โดยจะจัดขึ้นในทุกวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นเวลา ๑๐ ปีมาแล้ว ภายหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ๒ ปี การจัดงานมีเฉพาะครึ่งวันเช้าเท่านั้น มีการเดินทางมาของผู้ว่าฯเพื่อเป็นสัญลักษณ์ และการกวดขันของทหารอย่างเข้มงวด เมื่อปีที่แล้วซึ่งมีการบวงสรวงเป็นปีแรก จัดงานด้านล่าง ไม่ได้ขึ้นมาบนปราสาท และไม่มีการประทับทรง

ในปีนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเขตพื้นที่สุรินทร์แนะนำให้มีการประทับทรงด้วย เนื่องจากเห็นว่าครูน้ำผึ้งทำอยู่แล้วทุกปราสาท จึงเชิญให้ครูน้ำผึ้งมาทำพิธีบวงสรวงเป็นปีแรก ภายในงานมีการแสดง นิทรรศการภาพถ่าย การแข่งขันชกมวย ผู้มาร่วมงานส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่คนจากฝั่งกัมพูชาน้อยมาก โดยในปีนี้ทหารไทยระบุว่ามีคนกัมพูชาขึ้นมาไม่ถึงร้อยคน

เวทีการแสดงดนตรีด้านหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวโบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน

ครูน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ (สำรวม ซ่อนกลิ่น ดีสม) เกิดที่บ้านปราสาทเบง ตำบลกาบเชิง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายรี ซ่อนกลิ่น และนางเรียม ซ่อนกลิ่น ชอบการร้องรำมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากในหมู่บ้านนิยมการละเล่นกันตรึม ทำให้ครูน้ำผึ้งสนใจและมีใจรักในกันตรึมตั้งแต่เล็ก โดยอาศัยการจดจำจากผู้ใหญ่ แล้วฝึกหัดขับร้องเองโดยมีพ่อเป็นครูผู้ฝึกสอน

เริ่มออกตระเวนทำการแสดงตั้งแต่อายุได้ ๙ ขวบ กระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จึงพักการเรียนออกรับงานแสดงอย่างจริงจัง ได้กลับเข้าศึกษาอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี วิชาเอกนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ครูน้ำผึ้งออกทำการแสดงมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเดินทางเผยแพร่วัฒนธรรมในนามประเทศไทย ณ ประเทศกัมพูชา รวมทั้งอีกหลายประเทศในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ออกอัลบั้มเพลงลูกทุ่งกันตรึมมาแล้วกว่า ๕ ชุด รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ เช่น รางวัลชนะเลิศตะโพนทอง ปี ๒๕๒๗ จากนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดสุรินทร์หลายสมัย รางวัลชนะเลิศภาคอีสาน ปี ๒๕๔๓ รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ปี ๒๕๔๗ รางวัลสื่อพื้นบ้านดีเด่นแห่งชาติ ปี ๒๕๓๙-๔๐ รางวัลศิลปินอีสานแห่งชาติ ปี ๒๕๔๕ รางวัลศิลปินดีเด่นจังหวัดสุรินทร์หลายสมัย รางวัลสุดยอดศิลปินอีสาน ปี ๒๕๔๗ รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ (สาขาทำนุบำรุงวัฒนธรรม) ปี ๒๕๔๗ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรางวัลศิลปินมรดกอีสาน ปี ๒๕๕๘ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น

เวทีแข่งขันชกมวยด้านหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวโบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน

ภาพพระราชเทวีในร่างครูน้ำผึ้งสะอื้นไห้ ฟูมฟาย สลับเกรี้ยวโกรธตรงหน้า เป็นสิ่งซึ่งเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียงและคณะกรรมการจัดงานพากันหัวเราะขบขัน สร้างความขุ่นเคืองให้กับ อาจารย์โฆษิต ดีสม สามีครูน้ำผึ้ง รวมทั้งลูกชายที่กำลังบรรเลงมโหรี ลูกสาวที่เพิ่งฟ้อนอัปสราเสร็จ และนักดนตรีมโหรีทั้งวง

“ช่วงแรกนายอำเภอเข้าใจ นิ่งฟัง แต่สมาชิก อบต. และกรรมการจัดงานไม่เข้าใจ เขาไม่เคยพบเห็นมาก่อนจึงเห็นเป็นเรื่องขบขัน…ผมไม่เคยและไม่คิดจะพาครูน้ำผึ้งไปประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะปราสาทหินต่างๆ เพราะกลัวครูน้ำผึ้งไม่กลับ…แรกๆ ลูกสาวลูกชายสองคนไม่มาทางนี้เลย แต่ปัจจุบันลูกทั้งสองคนเข้ามาสืบสานงานพ่อแม่อย่างเต็มตัว เขาเข้าใจแล้ว เขาภูมิใจแล้ว…”

หลังจากเสียงหัวเราะผ่านไป อาจารย์โฆษิตได้เข้าไปพูดคุยกับ นางวรรณณี แนบทางดี ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง จนเข้าใจและรับว่าจะจัดการให้ดีขึ้นในปีหน้า

ขณะที่ผู้เขียนเดินออกมาจากลานพิธีกรรมบนปราสาทตาเมือน นักท่องเที่ยวจากฝั่งไทยเดินสวนเข้าไป ยื่นหลังมือให้เจ้าหน้าที่ประทับตราสำหรับจำแนกคนไทยตามบัตรประชาชนออกจากคนเขมร ขณะที่ฝั่งประเทศกัมพูชาก็มีหนุ่มสาวมากันเป็นคู่ บ้างมาเป็นกลุ่ม ผ่านด่านทหารกัมพูชาและทหารไทย โดยไม่มีการประทับตราใดๆ ก้าวเดินจากที่ราบต่ำปีนขึ้นบันไดสูงชันสู่ตัวปราสาทตาเมือนธม ต่างพูดคุยหยอกล้อเซ็งแซ่ หามุมถ่ายภาพ เดินปะปนไปกับทหารในชุดพรางที่คอยสอดส่องตรวจตรา

เสียงครูน้ำผึ้งขณะพระราชเทวีเข้าประทับทรง บ่งบอกว่าเคืองขัด เสียใจ และผิดหวังในตัวลูกหลาน เสียงนั้นก้องสะเทือน สั่นคลอนอุดมการณ์และความรู้สึกภายใน

“เลือดเนื้อเดียวกัน ไม่ใช่เขมร ไม่ใช่เซม [ไทย – ผู้เขียน] คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ…กูเลือกแผ่นดินที่เหมาะและดีที่สุด พาลูกหลานมาสร้างไว้ให้พวกมึง เพื่อได้พากันมาทำบุญกุศลด้วยกัน มันละลายหมดแล้วเพราะพวกมึงไม่ช่วยกันดูแล…พวกมึงฆ่ากันทำไม มึงรู้ไหมว่าตรงนี้เป็นที่รักษา ไม่ใช่ที่ฆ่า…!!!”

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือใครมีความสำคัญอย่างไร

พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นกษัตริย์มหาราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขมรในสมัยโบราณ พระองค์เป็นทั้งนักรบ นักปกครองที่ใช้คุณธรรมนำหน้าการทหาร พระองค์เป็นทั้งสถาปนิกนักก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ ผลงานที่แสดงถึงคุณสมบัติของพระองค์ดังกล่าว คือ อาณาเขตการปกครองที่กว้างใหญ่ไพศาล ปราสาทราชวังที่ใหญ่โตมโหฬาร ถนนหนทาง และอาโรคยศาลจำนวนมาก เรา ...

พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือใคร

พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 / บุตรชายnull

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7มีเมียกี่คน

อินทรวรมัน) ข้อมูลเกี่ยวกับ พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลักฐานในจารึก ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระบุพระนามพระมเหสีไว้สามพระองค์ ดังที่จารึกปราสาท พระขรรค์ ระบุว่าพระมเหสีของพระองค์ คือ พระนางราเชนทรเทวี จารึกปราสาท ตาพรหมไม่ระบุพระนามพระมเหสีเพียงแต่กล่าวในบทสุดท้ายว่าเจ้าชายศรีสูรยกุมาร ผู้ประพันธ์จารึกหลักนี้ ...

อะไรมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชา

ความน่าสนใจประการสำคัญคือ พระเจ้าชัยวรมันที่มีพระมเหสีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางอินทรเทวี พระอัครมเหสี ผู้ที่ประวัติศาสตร์กัมพูชาไม่อาจลืมจารึกพระนาม พระนางมีอิทธิพลและบทบาทสำคัญเหนือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในการบริหารราชการแผ่นดินทั้งปวง รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นามของพระนางคือ “พระ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง