นิทานปันหยี หรือ เรื่องอิเหนา เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร

215 ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ความน� ำ เรื่อง อิเหนา เป็นวรรณคดีส� ำคัญเรื่องหนึ่งของไทยซึ่งมีต้นเค้าดั้งเดิมเป็นนิทานปันหยีของชวา นิทานปันหยีเป็นนิทานวีรบุรุษที่น� ำเนื้อหาบางส่วนมาจากพงศาวดารชวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีรกรรมของ พระเจ้าไอรลังคะและพระเจ้ากาเมศวรผู้เป็นพระนัดดาในการขยายอาณาจักรชวาโบราณ การแบ่งแยก ชวาออกเป็น ๒ ส่วนของพระเจ้าไอรลังคะและการรวมอาณาจักรที่แบ่งแยกไว้ให้รวมเป็นหนึ่งเดียวของ พระเจ้ากาเมศวร* แห่งอาณาจักรชวาตะวันออกประมาณศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ (ธานีรัตน์ จัตุทะศรี, ๒๕๕๒ : ๒๗-๒๘) ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ หรือ ๒๐-๒๑ ในสมัยที่อาณาจักรมัชปาหิตรุ่งเรือง และมีวัฒนธรรมแบบฮินดู (ก่อนศาสนาอิสลามจะเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักร) มีการแต่งนิทานปันหยี เป็นวรรณคดีลายลักษณ์หลังจากถ่ายทอดแบบมุขปาฐะตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐ (เรื่องเดิม : ๓๓ และ ๓๕) ทั้งยังเผยแพร่ไปยังบาหลีเมื่อมัชปาหิตมีอ� ำนาจเหนือบาหลี (เรื่องเดิม : ๓๕) นิทานปันหยีพัฒนา เป็นหลายส� ำนวนและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปแบบวรรณกรรม การแสดง ภาพปูนปั้น ภาพสลัก และภาพวาด (เรื่องเดิม : ๓๖-๔๒) ต่อมานิทานปันหยีเผยแพร่เข้าสู่มลายูผ่านการแสดงส� ำคัญในพิธีอภิเษก ระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ของชวากับมลายู หรือผ่านการศึกษาของดาหลังของมลายูซึ่งเป็นผู้พากย์หนัง เมื่อไปศึกษาการแสดงที่ชวา (เรื่องเดิม : ๔๔-๔๖) หลังจากนั้นนิทานปันหยีก็แพร่หลายเข้ามาในหลาย ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย บาหลี มะละกา และไทย หากกล่าวเฉพาะของไทย นิทานปันหยีแพร่หลายเข้ามาช่วงปลายสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ผู้น� ำเข้ามาเผยแพร่คือหญิงมลายูที่ราชส� ำนักอยุธยาได้มาจากปัตตานี หญิงผู้นี้ เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แล้ว พระธิดาทั้งสองทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครในพระองค์ละ ๑ เรื่อง ได้แก่ เรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา โดยล� ำดับ มีข้อสังเกตว่านิทานปันหยีที่เข้ามาในอยุธยาเวลานั้นน่าจะเป็น ๒ ส� ำนวน จึงมีรายละเอียดแตกต่างกัน บทละครในทั้ง ๒ เรื่องนี้เป็นที่มาของพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเรื่อง อิเหนา ได้รับความนิยมมากกว่า เป็นเหตุให้เรื่อง ดาหลัง ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักแม้ว่าพระราชนิพนธ์เรื่อง ดาหลัง ในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะยังคงมีฉบับสมบูรณ์อยู่ในวงการภาษาและวรรณคดีไทยก็ตาม สมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ขึ้นใหม่ มีเนื้อหาตั้งแต่ตั้งเมืองของกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ เมืองจนถึงอิเหนาสึกชีโดยทรงปรับปรุงจากพระราช- * ในปลายสมัยของพระเจ้าไอรลังคะ พระองค์ทรงแบ่งชวาออกเป็น ๒ ส่วน คือ กุเรปันและดาหา แล้วพระราชทานให้โอรส ๒ พระองค์ปกครอง องค์ละเมือง ต่อมาพระนัดดา คืออินู (แปลว่ารัชทายาท เมื่อครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากาเมศวร) โอรสของเจ้าเมืองกุเรปันอภิเษกกับ ธิดาของเจ้าเมืองดาหา จึงท� ำให้อาณาจักรชวาที่เคยแบ่งแยกออกจากกันรวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวอีกครั้งหนึ่ง

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=

  • ฮิต: 2185
  • พิมพ์

ประวัติความเป็นมาของอิเหนา

 ประวัติความเป็นมาของอิเหนา

            เรื่องอิเหนามีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ในเรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย

            ซึ่งกล่าวถึงการสมโภชพระพุทธบาทพรรณนาการมหรสพต่าง ๆ ไว้ตอนหนึ่งว่า

 “ร้องเรื่องระเด่นโดย  / บุษบาตุนาหงัน

  พักพาคูหาบรร  / พตร่วมฤดีโลม”

           ซึ่งแสดงว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีเรื่องอิเหนาเล่นแล้ว

        กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิพนธ์

        โดยฟังเรื่องจากนางข้าหลวงชาวมลายูชื่อยะโว เป็นผู้เล่า เห็นเป็นเรื่องสนุกจึงทรงนำมาแต่งเป็นบทละคร

        เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่)

        เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก)

        ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ต้นฉบับทั้งสองเรื่องคงเสียหายไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 

        เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

โดยรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอดเรื่อง 

        และรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน 

        อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  2 นี้ ถือว่าเป็นฉบับที่ดีเลิศทั้งในกระบวนวรรณศิลป์และนาฏศิลป์

        จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของกลอนบทละครรำ  วรรณคดีเรื่องอิเหนามีเนื้อหาเป็นพงศาวดาร

        แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง

และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก

        อิเหนาเป็นกษัตริย์ชวาที่มีตัวตนอยู่จริงตามประวัติศาสตร์ ชาวชวาถือว่าอิเหนาเป็นวีรบุรุษ 

        เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ทรงปราบปรามหัวเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในอำนาจ

จนได้ชื่อว่าเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งในพงศาวดาร 

        ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับอิเหนา จึงมีการต่อเสริมเติมแต่งกลายเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมา

         เนื่องจากนิทานปันหยีหรืออิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏหลายสำนวน 

        เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อนำมาทำเป็นบทละครก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

        พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนาไว้

        ดังที่ปรากฏในบทนำของอิเหนาว่า "แต่ต้นเรื่องตกหายพลัดพรายไป" คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่

        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว

เรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยใด

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุค ...

เรื่องอิเหนาในสมัยรัตนโกสินทร์มีความสําคัญอย่างไร

คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำ และทำนอง เพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถ กำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้ เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน ...

บทละครเรื่องอิเหนาได้เค้าเรื่องจริงมาจากประวัติศาสตร์ชาติใด

๑. บทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนามีเค้าความจริงจากประวัติศาสตร์ของชวา ๒. อิเหนาได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครร้อง ๓. อิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ด าเนินเรื่องตามอิเหนาเล็ก ของเจ้าฟ้ามงกุฎ

เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีรูปแบบอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งเป็นกลอนประเภทกลอนขับร้องที่มีการบังคับคำนำเช่นเดียวกับกลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย แต่กลอนบทละครบังคับคำนำที่นับเป็น 1 วรรคได้ คณะ วรรคนี่งมี ๖ – ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ วรรค และบังคับเสียงวรรณยุกต์ในวรรคเพื่อความไพเราะในการแต่งและอ่านทำนองเสนาะดังนี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง