ยื่นภาษีร้านค้าต้องทำยังไง

วิชาภาษี 101 เปิดร้านอาหารต้องมีภาษีอะไรบ้าง? ทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด ร้านไหนๆ ก็เข้าใจได้!

28 ก.ย. 2022 · โดย Wongnai for Business

เรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้!  

เรื่องของ "ภาษี" ง่ายกว่าที่คิด! สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร เรื่องภาษีนั้นถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้ เพราะหากทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา Wongnai for Business ขอสรุปข้อมูลเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำร้านอาหารต้องรู้! ตอบคำถามที่พบบ่อยในแวดวงคนทำร้านอาหาร มาติดตามหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ

คนทำร้านอาหารทุกคนต้องเสียภาษีหรือเปล่า?

ต้องทำความเข้าใจว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน โดยเราอาจจะเสียภาษีตั้งแต่ในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เข่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น

เขยิบขึ้นมาอีกนิดสำหรับคนที่มีรายได้ในทุกๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกณฑ์ของกรมสรรพากรคือถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม ที่บอกว่ามีโอกาสต้องเสียเพิ่มเพราะว่า เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย จนบางครั้งก็อาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเองครับ

ช่วงเวลายื่นตรวจสอบภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ

  • ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน
    สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม)
  • ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
    สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์  (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

กรณีที่รายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบคือยื่นครับ โดยกรรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเลยสักบาทเดียวครับ

เป็นร้านเล็กๆ ต้องยื่นไหม? ถ้าไม่ยื่นมีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีรายได้มากหรือน้อย ก็ควรต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีครับนะครับ แต่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และสำหรับร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี นั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วยครับ 

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นไหม หรือปล่อยเลยตามเลย

สำหรับร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลังไปตามระเบียบ และการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยิ่งนานไป หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบก็อาจโดนเรียกเก็บค่าปรับแถมมาด้วย

สรุป : เจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน จ่ายเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่คน หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีครับ

การเข้าร่วมเดลิเวอรีต้องเสียภาษีด้วยไหม?

สำหรับร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรีนั้น เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ช่องทางมารวมกันด้วยนะครับ โดยกรมสรรพากรนั้นจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีต้องยื่นเสียภาษีในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วย หรือขายผ่านแอปเดลิเวอรีอย่างเดียวก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีเช่นกันครับ 

วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับร้านอาหาร

1สำหรับร้านค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา

  • ลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในฐานะบุคคลธรรมดา : เจ้าของร้านสามารถลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาทโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ รวมถึงค่าลดหย่อนสำหรับครอบครัว ค่าการทำประกัน และการลงทุน หรือ ค่าเงินบริจาค โดยเจ้าของร้านควรที่จะเช็คจดบัญชีรายได้ และรายจ่าย เพื่อเช็คสิทธิสำหรับตัวเอง
  • ลดหย่อนภาษีจากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ : สำหรับการเข้าร่วมโครงการของรัฐก็ช่วยให้ร้านนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ โดยร้านจะต้องหมั่นติดตามโครงการต่าง ๆ ของรัฐอยู่เสมอเพื่อที่จะไม่พลาดโอกาสดี ๆ ในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นให้กับร้าน

2สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือบริษัท

1. ลดหย่อนภาษีจากค่าเสื่อม และค่าสึกหรอ

ได้แก่

  • ค่าคอมพิวเตอร์ รวมทั้งค่าอุปกรณ์ และค่าโปรแกรมต่าง ๆ สามารถนำมาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของต้นทุนในวันที่ได้มา โดยทยอยหักภายใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี
  • ค่าระบบ และอุปกรณ์ POS ที่ใช้ในการคิดเงินค่าสินค้า และบริการ สามารถเอาเงินที่ลงทุนในระบบต่าง ๆ มาลดหย่อนภาษีได้
  • ค่าเสื่อมของอาคาร ที่เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจร้านอาหาร สามารถนำมาคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยต้นทุนส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี

2. ลดหย่อนภาษีจากค่าจ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป

ร้านอาหารสามารถนำค่าจ้างผู้สูงมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าหากมีการจ้างพนักงานผู้สูงอายุที่มีเงื่อนไขดังนี้

  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
  • มีการจ้างงานผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้างหรือบริษัทในเครือ

3. ลดหย่อนภาษีจากค่าอบรมพนักงาน

หากทางร้านมีการส่งพนักงานไปเข้าคอร์สฝึกอบรมต่าง ๆ รายจ่ายที่ใช้ในการอบรมสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า เช่น ค่าฝึกอบรม ค่าลงทะเบียน ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางที่สถานฝึกอบรมเรียกเก็บ โดยจะต้องมีใบเสร็จรับเงินของสถานฝึกอบรม และ จัดทำรายงานค่าใช้จ่าย

4. ลดหย่อนภาษีจากการทำประกันความคุ้มครอง

หากทางร้านมีการทำประกันความคุ้มครองให้กับพนักงาน หรือ ธุรกิจ เช่น ประกันวินาศภัย ประกันอัคคีภัย และประกันภัยพิบัติ รายจ่ายที่ใช้ในส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ของกรมสรรพากรได้

5. ลดหย่อนภาษีจากการเข้าร่วมโครงการของรัฐ

นอกจากการลดหย่อนจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว การเข้าร่วมโครงการของรัฐ เช่น โครงการคนละครึ่ง และ โครงการช็อปดีมีคืน ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้โดยเจ้าของร้านควรหมั่นเช็คสิทธิและติดตามข่าวสารจากกรมสรรพากรอยู่เสมอเพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ

เสียภาษีร้านค้าต้องไปเสียที่ไหน

สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม) ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

เปิดร้านค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีอะไรบ้าง ที่คนทำธุรกิจต้องทำความรู้จัก.
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ... .
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ... .
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ... .
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ... .
5. อากรแสตมป์.

ยื่นเสียภาษีต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

55 เตรียมเอกสารให้พร้อม ก่อนยื่นแบบฯ ปีภาษี 2563. มีเงินเดือนอย่างเดียว ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91. เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวี เอกสารการลดหย่อนภาษี (ตามจริง) ทะเบียนสมรส ใบสูติบัตรบุตร • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง