โครงการมีความสําคัญอย่างไร

การทำโครงการ เป็นศัพท์ที่เราได้ยินตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือมาจนถึงการทำงาน ไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตามทุกรูปแบบล้วนเป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจทั้งสิ้น เพราะจุดมุ่งหมายสำคัญคือต้องการพัฒนาสิ่งรอบตัวให้ดีขึ้นในทุก ๆ รูปแบบตามความเหมาะสมของโครงการนั้น ๆ

ผมเชื่อว่าคงมีหลายคนเกิดคำถามตามมาจำนวนไม่น้อยเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกเรียกว่า “โครงการ” หรือ Project จริง ๆ แล้วมันมีความหมายอย่างไรกันแน่ มีกี่ประเภท แล้วรูปแบบการเขียนโครงการที่ดีต้องเป็นอย่างไร ทั้งหมดนี้จะขอนำเสนอเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและนำเอาไปปรับใช้ได้จริง

โครงการคืออะไร?

Project หรือ โครงการ คือ แผนหรือเค้าโครงที่ได้ถูกกำหนดวางรูปแบบเอาไว้ โดยมีลำดับขั้นต่าง ๆ ที่ชัดเจน ส่วนประกอบของการเขียนโครงการที่ดีได้แก่วัตถุประสงค์การจัดทำโครงการขึ้นมา ระยะเวลาของโครงการ วิธีขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำโครงการ งบประมาณที่ถูกใช้งาน และรายงานผลลัพธ์ตอนท้ายหลังดำเนินการ

ซึ่งลักษณะของโครงการที่ว่าสามารถทำได้หลากหลาย ไล่ตั้งแต่โครงการขนาดใหญ่ระดับอำเภอ, จังหวัด, ประเทศ ซึ่งมักเป็นสิ่งที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันออกไป หรือจะเป็นโครงการเล็ก ๆ ในระดับชั้นเรียน, สถานศึกษา, ชุมชน, หมู่บ้าน ฯลฯ

ทั้งนี้ความซับซ้อนของโครงการก็จะแยกย่อยออกไปอีก เช่น บางโครงการมีการรวบรวมแผนดำเนินการเอาไว้หลายเรื่อง เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมในช่วงหน้าแล้ง ที่ต้องมีโครงการแยกย่อยในด้านการจัดหาแหล่งน้ำ, วิธีกักเก็บน้ำ, การปล่อยน้ำหรือแจกจ่ายน้ำอย่างเหมาะสม เป็นต้น

ขณะที่อีกหลายโครงการอาจไม่ต้องซับซ้อนมากถึงขนาดนั้น เพียงแค่ระบุกันตรง ๆ ได้เลยว่าต้องการทำอะไร เช่น โครงการจัดเก็บขยะมูลฝอยในชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทุกโครงการจำเป็นต้องมีเรื่องของเงินทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการหาผู้สนับสนุนเอง, มีคนอยากเข้ามาสนับสนุน หรือการได้งบจากองค์กรใด ๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำโครงการ ซึ่งตรงนี้มักเป็นเรื่องน่าปวดหัวขอคนที่รับผิดชอบงาน

เช่น นำเสนอไปแล้วนายทุนยังมองว่าไม่ดีพอ ไม่อนุมัติเงินให้ทำ, การเขียนโครงการไม่มีความสอดคล้องกัน บางเรื่องเกินที่จะทำได้ ฯลฯ ดังนั้นคนที่คิดจะทำโครงการไม่ได้หมายความว่าจะผ่านทั้งหมด แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

โครงการมีกี่ประเภท

ในเรื่องของประเภทโครงการต้องยอมรับว่าจริง ๆ แล้วไม่มีประเภทตายตัวแน่นอน เพราะแต่ละคนที่คิดจัดทำโครงการขึ้นมาอาจเป็นได้มากกว่า 1 ประเภท แต่จะขอแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ลักษณะโครงการต่าง ๆ เป็นหลักว่ามีประเภทไหนบ้างและวัตถุประสงค์พื้นฐานของการจัดทำโครงการคืออะไร

1. โครงการด้านการวิจัยและทดลอง

โครงการประเภทนี้จะเน้นเรื่องของการตั้งสมมุติฐานแล้วพยายามหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะการทดลอง ออกแบบ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจหรือเป็นไปตามการตั้งสมมุติฐานขึ้นมาในเบื้องต้น (มักเรียกว่าการทดสอบสมมุติฐาน) และสามารถนำไปพัฒนาเพื่อต่อยอดความสำเร็จในอนาคตได้ มีการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ รวมถึงการควบคุมตัวแปรเพื่อให้อยู่ในผลของโครงการตรงกับวัตถุประสงค์มากที่สุด

2. โครงการด้านทฤษฎี

เป็นการนำเอาทฤษฎีต่าง ๆ มาตั้งเป็นสมมุติฐานขึ้นมา แล้วพยายามใช้แนวคิดอีกหลาย ๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเป็นโครงการอันน่าสนใจ ประเด็นสำคัญคือคนที่เลือกทำโครงการลักษณะนี้จะต้องมีความเชี่ยวชาญในภาคทฤษฎีนั้น ๆ อย่างเข้าถึงและละเอียดสุด ๆ เพราะถือว่าเป็นการศึกษาแบบเฉพาะทางล้วน ๆ

3. โครงการด้านสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่

ถือเป็นประเภทโครงการที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หลัก ๆ คือ พยายามนำเอาองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีมาศึกษาและพัฒนาให้เกิดเป็นสิ่งของชิ้นใหม่ในโลกที่ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ทั้งนี้ในด้านวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการประเภทดังกล่าวอาจมีความหลากหลายมาก ไล่ตั้งแต่ทำเพื่อพัฒนาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นอีก, ต้องการสร้างสิ่งของใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน, จัดทำโครงการเพื่อหวังสร้างความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น

4. โครงการด้านการสำรวจ

โครงการแนวนี้จะเน้นการใช้แหล่งข้อมูลและการลงพื้นที่จริงในการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องสร้างตัวแปรหรือสมมุติฐานใด ๆ ขึ้นมา เนื่องจากมองเห็นผลกันตอนลงสำรวจอยู่แล้ว เมื่อได้ข้อมูลก็จับแยกออกเป็นหมวดหมู่ พอถึงช่วงของการนำเสนอก็มักจะใช้รูปแบบที่มีความชัดเจน เข้าใจง่าย สำหรับการนำไปใช้เพื่อศึกษาข้อมูลสำหรับคนที่สนใจในโครงการดังกล่าวนี้ต่อไป

5. โครงการด้านพัฒนาธุรกิจ

หลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะภาคเอกชนมักร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยหรือผู้สนับสนุนต่าง ๆ ในการจัดทำโครงการเพื่อหวังจะช่วยพัฒนาธุรกิจในกลุ่มของตนเองก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโครงการลักษณะนี้ต้องเน้นเรื่องของสถิติเก่า ๆ, แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยอื่น ๆ ทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะทำให้คนในแวดวงมีข้อมูลในการต่อยอดมากขึ้นกว่าเดิม

การเขียนโครงการต้องมีอะไรบ้าง

มาถึงสิ่งที่จะช่วยทำให้โครงการของทุกคนเสร็จสมบูรณ์นั่นคือ แนวทางในการเขียน พูดง่าย ๆ คือ หากใครอยากจัดทำหรือทำโครงการใด ๆ ขึ้นมา ก็ควรต้องรู้แนวทางการเขียนด้วยว่ามีอะไรบ้าง โดยในที่นี้จะขออธิบายส่วนสำคัญเท่านั้น

#1 หลักการและเหตุผล (Theory) เป็นส่วนแรกสุดเพื่อบ่งบอกถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้น และมีการนำเอาแนวทางเบื้องต้นใด ๆ ที่คาดว่าน่าจะใช้งานได้บ้างระบุลงไป

#2 วัตถุประสงค์ (Purpose) เป็นเรื่องปกติของการทำโครงการเมื่อคิดจะทำก็ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าโครงการนี้ทำมาเพื่ออะไร

#3 วิธีดำเนินงาน (Methodology) เขียนระบุวิธีที่จะใช้ในการทำโครงการครั้งนี้ โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เหมาะสม พร้อมทั้งเป็นขั้นตอนที่ต้องทำออกมได้จริง ๆ ด้วย

#4 แผนการปฏิบัติงาน (Planning) ตรงนี้จะต่างกับวิธีดำเนินงาน คือ แผนนั้นหมายถึงการวางระบบ วางแนวทางที่ชัดเจนในการทำงาน ซึ่งไม่ใช่มีแค่แผนเดียวแต่ควรคิดเผื่อเอาไว้ด้วย

#5 ระยะเวลา (Timeline) เพื่อให้รู้ว่าโครงการดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อไหร่ และมีวันสิ้นสุดเมื่อไหร่

#6 งบประมาณ (Budget) เป็นการแจกแจงรายละเอียดด้านการเงินว่าโครงการครั้งนี้เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ตรงกับที่วางแผนเอาไว้หรือไม่

#7 ผลของโครงการ (Results) เป็นตัวระบุผลของโครงการดังกล่าวว่าสรุปแล้วเป็นอย่าไงไรบ้าง ตรงตามที่คาดหวังเอาไว้มากน้อยเพียงใด

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าโครงการเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้จริง แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเหมาะสม ทั้งเรื่องของการเลือกโครงการที่ตอบโจทย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลโครงการเอาไปใช้งานหรือสร้างประโยชน์ได้ ฯลฯ เท่านี้ก็ถือว่าเป็นวิธีจัดการที่ประสบความสำเร็จในระดังหนึ่งแล้ว ส่วนโครงการไหนจะใหญ่หรือเล็กก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง แต่จุดมุ่งหมายของทุก ๆ งานย่อมเหมือนกันคือ ได้ผลลัพธ์ตรงตามที่คาดหวังเอาไว้

โครงการมีประโยชน์ต่อการเรียนอย่างไร

ประโยชน์ของการจัดทำโครงการ 1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ ทักษะไปบูรณาการสร้างงานและปฏิบัติจริงได้ 2. สามารถวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้ 3. ฝึกกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม 4. สร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

การจัดทำโครงการมีประโยชน์อย่างไร

ความสำคัญของโครงการมีอย่างไรบ้าง ช่วยให้ขั้นตอนวางแผนและขั้นตอนดำเนินงาน เป็นไปตามระบบ มีความเรียบร้อย ช่วยให้ขั้นตอนต่างๆ มีความสอดคล้องกับนโยบายหรือความประสงค์ของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่างๆ ทำให้ขั้นตอนดำเนินงานมีทิศทางอันชัดเจน รวมทั้งมีประสิทธิภาพออกมายอดเยี่ยม

วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสําคัญอย่างไร

โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ สามารถวัดและประเมินผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมี ...

ลักษณะสําคัญของโครงการมีอะไรบ้าง

ลักษณะของโครงการที่ดี.
1. มีความชัดเจน ... .
2. มีความเป็นไปได้ ... .
3. มีความประหยัด ... .
4. มีประสิทธิภาพ ... .
5. มีความเชื่อมั่นสูง ... .
6. มีการประเมินผล.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง