เคลือบฟลูออไรด์อยู่ได้กี่เดือน

ฟันของเหล่าลูกน้อย จะแข็งแรงได้นั้น “ฟลูออไรด์” ต้องเพียงพอ แล้วจะทราบได้อย่างไร? เรามีคำตอบให้กับคุณค่ะ

ฟลูออไรด์ เป็นสารช่วยป้องกัน และลดการผุของฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ผลต่อฟันคือ มื่อฟันขึ้นแล้ว สารฟลูออไรด์จะช่วยลดการสร้างกรดจากจุลินทร์ทรีย์ และยังสามารถช่วยทำให้การผุชะลอตัว ไม่ผุเพิ่มขึ้นในฟันที่ผุเริ่มแรกได้

      การใช้ฟลูออไรด์มี 2 ลักษณะ คือ การรับประทานและการสัมผัสกับผิวฟัน

  • ชนิดรับประทาน  มักอยู่ในรูปแบบยาเม็ด ยาน้ำ วิตามิน น้ำดื่มและนมผสมฟลูออไรด์
  • ชนิดสัมผัสกับผิวฟัน   อยู่ในรูปแบบยาสีฟัน  น้ำยาบ้วนปาก  และน้ำยาเคลือบฟลูออไรด์เข้มข้นของทันตแพทย์

ฟลูออไรด์ชนิดรับประทาน
ให้ผลดีต่อฟันที่ยังไม่ขึ้น  และเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12 ปี ส่วนชนิดสัมผัสกับผิวฟันให้ผลดีต่อฟันที่ขึ้นมาแล้ว เหมาะกับคนทั่วไปจากการศึกษาพบว่า  ปริมาณที่เพียงพอสำหรับเด็ก  ไม่ควรเกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม  เนื่องจากการคำนวณที่ยุ่งยากข้างต้น คนทั่วไปจึงไม่อาจทราบปริมาณฟลูออไรด์ที่เพียงพอของตนเองได้
ฉะนั้นเคล็ดลับการใช้ฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุนั้น  ต้องใช้เพียงเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ จึงจะเกิดผลดีและไม่เป็นอันตราย  โดยเฉพาะชนิดรับประทานควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือศึกษาจากผลิตภัณฑ์การใช้ฟลูออไรด์ก่อนใช้งานอย่างรอบคอบ

ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ (Topical Fluoride Gel)
– 
ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบโดยทันตแพทย์ ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า ควรเริ่ม และหยุดเคลือบฟลูออไรด์ เมื่ออายุเท่าใด แต่เนื่องจากเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี โอกาสกลืนฟลูออไรด์จากการเคลือบสูง ตั้งแต่ 3 ปี ถึง              15-  16 ปี ยกเว้นในกรณีที่เป็นกลุ่มที่มีระดับ ความเสี่ยงต่อโรคฟันผุสูง ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป
– 
วิธีใช้ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบที่มีลักษณะข้นเป็นเจล โดยใส่ฟลูออไรด์ในถาดที่ทำไว้เฉพาะ ให้สัมผัสกับฟันได้ทั่วถึง ประมาณ 4-5 นาที ซึ่งถาดใส่ฟลูออไรด์มีขนาดต่างๆ กัน เพื่อให้มีขนาดที่เหมาะกับปาก และ           ฟันของเด็ก
– 
กรณีที่สุขภาพฟัน และช่องปากให้เด็กบ้วนปากเป่าฟัน ให้แห้ง แล้วเคลือบฟลูออไรด์ได้เลย หรือให้เด็กแปรงฟันเอง โดยทันตแพทย์ช่วยแนะนำวิธีแปรงฟันที่ถูกต้องก่อนเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูอไรด์ โดยให้ฟลูออไรด์สัมผัสที่ผิวฟัน ใช้เวลานานประมาณ 4 นาที เมื่อเคลือบฟลูออไรด์เสร็จแล้ว จะมีการดูดฟลูออไรด์ที่เหลือออกให้มากที่สุด แล้วให้เด็กบ้วนเองจนหมด ทั้งนี้ ห้ามบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และกินอาหาร 30 นาที เพื่อให้มีการรับฟลูออไรด์ที่ผิวเคลือบฟัน มากที่สุด สำหรับเด็กที่ไม่สามารถเคลือบฟลูออไรด์โดยใช้ถาดได้ อาจใช้วิธีการทาฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ แต่ต้องกันน้ำลาย และให้ฟลูออไรด์เปียกฟันตลอด 4 นาที

ข้อควรระวังในการใช้ฟลูออไรด์ชนิดเคลือบ
1. 
การเป็นพิษเฉียบพลัน อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง เป็นต้น แต่มีข้อสังเกตว่า จะต้องกลืนฟลูออไรด์ชนิดเคลือบไปเกือบทั้งหมด การรักษาแบบฉุกเฉิน ได้แก่ ให้ดื่มนมมากๆ เพื่อขลอการ
ดูดซึม

2. 
การเป็นพิษเรื้อรัง ปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นว่า การเคลือบฟลูออไรด์มีความสัมพันธ์ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันตกกระ (Fluorosis)

ขั้นตอนการเคลือบฟลูออไรด์

  1. ทำความสะอาดผิวฟัน โดยการจัดฟันในกรณีที่มีคราบสีติดที่ฟัน หรือมีแผ่นคราบจุลินทรีย์และหินปูน
  2. เลือก TRAY ให้พอดีกับฟัน โดยคลุมฟันซี่สุดท้ายในช่องปาก
  3. เตรียมฟันให้แห้งโดยการเป่าลมให้แห้งเพื่อให้คราบเดิมของฟลูออไรด์เจลคงที่ และให้ผลสูงสุดในการป้องกันฟันผุ
  4. ใส่ฟลูออไรด์เจลลงใน TRAY
  5. ใส่ TRAY บนและล่าง เพื่อทำการเคลือบฟลูออไรด์
  6. หลังจากนำ TRAY ออก ทันตแพทย์จะทำการดูดเจลที่เหลือออก
  7. ห้ามบ้วนน้ำ ดื่มน้ำ และรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อให้ฟลูออไรด์เคลือบฟันได้มากที่สุด

ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ (Fluoride-containing Prophylaxis Paste)
ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์มีฟลูออไรด์ 12,300 ส่วนในล้านส่วน ในขนาด 1 กรัม มีฟลูออไรด์ 12.3 มิลลิกรัม ผงขัดฟันจะใช้กรณี

  1. ใช้ขัดฟันเพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพฟัน ได้อย่างชัดเจน เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง 
  2. ใช้ขัดฟันก่อนเคลือบฟลูออไรด์ กรณีมีคราบสี แผ่นคราบจิลินทรีย์ และหินปูน
  3. ใช้เมื่อเด็กมาทำฟันครั้งแรก เพื่อเตรียมเด็กให้คุ้นเคยกับการทำฟัน
  4. ควรใช้ผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ปริมาณที่เหมาะสมในเด็กเล็ก ควรระวังไม่ให้เด็กกลืนผงขัดฟัน ยังไม่มีรายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การขัดฟันด้วยผงขัดฟันผสมฟลูออไรด์ เพียงอย่างเดียว สามารถช่วยป้องกันฟันผุได้

น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ (Fluoride Mouthrinse)
น้ำยาบ้วนปากที่วางขายในท้องตลาดโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
      1. ประเภทที่มีฟลูออไรด์ผสม เช่น Reach, Listerine ผสมฟลูออไรด์
      2. ประเภทที่ไม่มีฟลูออไรด์ผสม ได้แก่
– 
น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย เช่น Listerine (original)
– 
น้ำยาบ้วนปากก่อนการแปรงฟัน เพื่อขจัดคราบอาหาร และแบคทีเรีย เช่น Colgate Plax
      3. น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดอาการเสียวฟัน เช่น Emoform
           เฉพาะประเภทที่มีฟลูออไรด์ผสมเท่านั้น ที่มีผลในการป้องกันฟันผุ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ สามารถลดอัตราการเกิดฟันผุได้ โดยผลของการป้องกันฟันผุ จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ด้านประชิดของฟัน

ข้อควรระวัง
1. 
ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือในคนไข้พิการ ซึ่งไม่สามารถควบคุมการกลืนได้
2.
ในการใช้ทุกครั้ง ทันตแพทย์ควรอธิบายวิธีการใช้ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ให้กับผู้ป่วย และผู้ปกครองให้เข้าใจอย่างถูกต้อง
3. 
การกลืนน้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ ในปริมาณมาก ในครั้งเดียว อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากปริมาณฟลูออไรด์นั้น สูงถึงระดับอันตราย
4. 
ยังไม่มีรายงานวิจัยที่แสดงว่า น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ จะมีผลต่อการเกิดฟันตกกระ

ข้อควรระวังหรืออันตรายจากการใช้ฟลูออไรด์
ฟลูออไรด์มีคุณสมบัติคล้ายสารอาหารอื่นๆ ถ้าได้รับในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกายก็จะเป็นประโยชน์ แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็จะเกิดโทษต่อร่างกาย โทษของฟลูออไรด์ต่อร่างกาย พบได้ 2 ลักษณะคือ
       1. การเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณสูงมาก ในครั้งเดียว มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หากได้รับปริมาณสูงมากๆ จะมีผลต่อระบบหัวใจ หรือเสียชีวิตได้
2. 
การเป็นพิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่สูงกว่า ระดับที่เหมาะสม คือ 2-10 มิลิลกรัมต่อวัน อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี จะเกิดผลข้างเคียงต่อฟัน คือ ฟันมีสีขาวขุ่น จนถึงขั้นฟันตกกระ             และมีผลต่อกระดูกด้วย แต่สำหรับนมฟลูออไรด์ จะมีขนาดฟลูออไรด์ที่เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพ และปริมาณฟลูออไรด์ จึงมีความปลอดภัยเพียงพอ ที่จะใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อป้องกันฟันผุ อย่างมี                    ประสิทธิภาพ

นอกจากการใช้ ฟลูออไรด์ ป้องกันฟันผุแล้ว การทานอาหารก็ส่งผลต่อสุขภาพฟันเช่นกัน  และการใส่ใจพบทันตแพทย์ก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ เพราะทันตแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้คุณทราบถึงการดูแลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับฟันของลูกคุณ ได้อย่างตรงจุด อย่าลืมพาลูกน้อยมาตรวจสุขภาพฟันและหมั่นแปรงฟันทุกวันหลังอาหารนะค่ะ

เคลือบฟลูออไรด์เด็กกี่ครั้ง

ทั้งนี้ สำหรับเด็กที่มีอายุ 3 ปี ควรได้รับการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี ส่วนเด็กทุกช่วงวัยที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาฟันผุอาจต้องเข้ารับการเคลือบฟันมากกว่า 2 ครั้ง/ปี และในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดปัญหาฟันผุควรเคลือบฟลูออไรด์ทุก ๆ 3 เดือน

เคลือบฟลูออไรด์ เป็นยังไง

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นวิธีการป้องกันฟันผุที่ดีที่สุดทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ใครก็ตามที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุ หรือผู้ที่ต้องการดูแลปกป้องฟันให้มีสุขภาพดี สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ทั้งหมด ถือเป็นการดูแลรักษาฟันที่วงการแพทย์แนะนำ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำการเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ถือว่าสะดวก ...

เคลือบฟลูออไรด์เด็กกี่บาท

เคลือบฟลูออไรด์ เด็ก ราคา500 บาท fluoride 500THB. เมื่อเด็กๆไปตรวจฟันตามที่คุณหมอนัดเป็นประจำทุก 3 หรือ 6 เดือนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ เพื่อรับการตรวจสุขภาพฟัน ทำความสะอาดฟัน และเคลือบฟลูออไรด์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง