การย้ายบ้านจะต้องแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนเข้าไปอยู่แห่งใหม่ภายในระยะเวลาเท่าใด

การย้ายที่อยู่นั้นเป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ อย่างการย้ายที่อยู่เพื่อไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือ และเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่พบได้มาก คือ การย้ายบ้านใหม่ที่จะต้องมีการย้ายสำเนาทะเบียนบ้านไปยังบ้านหรือคอนโดหลังใหม่ ซึ่งเจ้าของมือใหม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเรื่องนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาแนะนำเรื่องการย้ายทะเบียนบ้านว่าทำได้อย่างไร มีวิธีไหนบ้าง และมีเอกสารใดบ้างที่ต้องเตรียมเพื่อดำเนินการดังกล่าว

5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านที่คุณควรรู้

เมื่อไปดูบ้านใหม่หรือคอนโดใหม่ หลายคนต่างก็ให้ความสำคัญกับรายละเอียดเกี่ยวกับการอยู่อาศัย, เฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่ง จนเมื่อพร้อมที่จะเข้าอยู่แล้วก็มาคิดได้ว่าจะต้องทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านให้พร้อมด้วยเช่นกัน ซึ่งคนที่ยังไม่เคยย้ายทะเบียนบ้านมาก่อน อาจจะรู้สึกงง ๆ อยู่เหมือนกันว่าต้องทำอย่างไรดี และไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วต้องทำการย้ายทะเบียนหรือไม่ ดังนั้นมาดู 5 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้านที่คุณควรรู้ต่อไปนี้ เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้น

1.ซื้อบ้านใหม่ ต้องย้ายทะเบียนบ้านหรือไม่

ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญ จะมีการระบุรายละเอียดของที่ตั้งบ้านและบุคคลต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการย้ายที่อยู่ ทางทะเบียนราษฎร์ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ที่ย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ต้องทำการแจ้งย้ายเข้าบ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการย้ายบ้าน  โดยหากไม่ทำตามจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มีการย้ายเข้าที่อยู่อาศัยใหม่ เจ้าของบ้านจะต้องทำการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านภายในช่วงเวลาที่กำหนดดังกล่าว

ในกรณีที่เป็นลูกบ้านเดิมและต้องการย้ายทะเบียนบ้านเข้าที่อยู่ใหม่ ต้องแจ้งเจ้าบ้านเดิมให้ทำการย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน เพื่อไม่ให้โดนโทษปรับ เนื่องจากเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนั้นหากซื้อบ้านใหม่และต้องการย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่  อย่าลืมแจ้งเจ้าบ้านเดิมให้ทราบด้วย เพื่อให้ทำการย้ายชื่อออกเป็นไปอย่างถูกต้อง 

ข้อกำหนดอีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้ คือ ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้พื้นที่ 3 ตารางเมตรนั้น มีผู้อยู่อาศัยได้ 1 คน ดังนั้นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจึงมีได้แค่ 1 คนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ เป็นเวลา 1 ปีและทำการขายบ้าน ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาขายหรือราคาประเมิน (ขึ้นอยู่กับว่าราคาใดจะถูกกว่ากัน) ดังนั้นการมีทะเบียนบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

การย้ายทะเบียนบ้านเข้าเขตที่อยู่ใหม่นั้น มีความสำคัญคือจะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย มีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาลในเขตนั้น ๆ รวมถึงมีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการใช้เป็นเอกสารราชการสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ ดังนั้นหากไม่อยากเสียสิทธิ์ที่ควรได้และเป็นการทำตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ก็ควรทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านให้เรียบร้อย

2.สามารถแจ้งย้ายบ้านปลายทางได้ไหม?

การย้ายทะเบียนบ้านนั้นสามารถทำได้ด้วยการย้ายออก โดยทำการแจ้งย้ายภายใน 15 วันหลังย้ายออกจากบ้านเดิม แต่ทั้งนี้หากไม่สะดวกที่จะแจ้งย้ายออกก็สามารถแจ้งย้ายบ้านปลายทางได้เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่อย่างมาก การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนั้น

สามารถไปแจ้งย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม  โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำได้ไม่เกินครั้งละ 3 คน หมายความว่าถ้ามีสมาชิกที่จะย้ายเข้าบ้านใหม่และต้องการแจ้งย้ายปลายทาง ทำได้ไม่เกิน 3 คนในคราวเดียวกัน หากสมาชิกในบ้านมีมากกว่านั้นอย่างเช่น 5 คน ก็จะต้องทำการแจ้งย้าย 2 รอบเป็นอย่างต่ำ

โดยในการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางนี้ สมาชิกในบ้านจะต้องไปยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งเหตุผลในการย้ายปลายทาง หากเป็นการย้ายบ้านในพื้นที่เขตเดียวกันจะไม่สามารถทำการแจ้งย้ายปลายทางได้ ต้องทำการย้ายทะเบียนบ้านออกจากบ้านเดิมแล้วทำเรื่องย้ายเข้าบ้านหลังใหม่เท่านั้น

3.เอกสารที่ต้องเตรียมในการย้ายทะเบียนบ้านมีอะไรบ้าง?

การย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านหลังใหม่โดยเจ้าของบ้านเอง สามารถเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการยื่นคำขอที่ประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

1.สัญญาซื้อขายบ้านหรือโฉนดที่ดิน

หลังจากที่ทำการซื้อบ้านและทำการโอนกรรมสิทธิ์จากทางโครงการบ้านมาแล้วเรียบร้อย เจ้าของบ้านจะได้รับทะเบียนบ้านเปล่า พร้อมด้วยหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน พร้อมสิ่งปลูกสร้างและสัญญาซื้อขายที่ดินกับสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งโฉนด แต่หากไม่ได้ซื้อเงินสดก็จะได้รับเป็นสัญญาจำนองที่ใช้แทนโฉนดตัวจริง ซึ่งเอกสารดังกล่าวนี้สามารถนำไปประกอบการยื่นเรื่องเพื่อขอย้ายบ้านได้

2.เอกสารประจำตัว

บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและทะเบียนบ้านเล่มจริง หรือเอกสารดังที่กล่าวถึงในข้อ 1

  •       สัญญาซื้อขายพร้อมสำเนา
  •       สัญญาจะซื้อจะขายพร้อมสำเนา
  •       สัญญาจำนองพร้อมสำเนา
  •       สำเนาทะเบียนบ้านเดิมจำนวน 2 ฉบับ และค่าธรรมเนียม 20 บาท

เอกสารทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ให้นำไปยื่นที่ทำการเขตหรือเทศบาลเพื่อทำการขอย้าย จากนั้นนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ถ้าถูกต้องเรียบร้อยดีก็จะมอบสำเนาทะเบียนบ้านและหลักฐานต่าง ๆ คืนมาให้ แต่หากเป็นกรณีที่เป็นการย้ายทะเบียนบ้านโดยที่ไม่ใช่เจ้าบ้าน จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นคำร้องขอย้ายทะเบียนบ้านปลายทางดังต่อไปนี้

  •       บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
  •       บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายปลายทางเข้าอยู่ใหม่
  •       สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหลังที่จะย้ายเข้าไปอยู่
  •       ในกรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้ด้วยตนเอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าแนบไปด้วย
  •       หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้วให้เดินทางไปยื่นคำร้องที่ทำการเขตหรือเทศบาล พร้อมกับแจ้งว่าต้องการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง  เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งหากเรียบร้อยดี ก็จะสามารถทำการย้ายทะเบียนบ้านปลายทางได้สำเร็จ ทั้งนี้การย้ายทะเบียนบ้านเข้าเป็นลูกบ้านนั้น ต้องดำเนินการยื่นเรื่องภายใน 15 วัน ไม่เช่นนั้นอาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

4.มีบ้านหลายหลัง ทำยังไงกับทะเบียนบ้านดี

คนที่ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ อย่างเช่นคนที่ชอบซื้อบ้านหรือคอนโดไว้หลายแห่งเพื่อลงทุน อาจจะมีคำถามว่าต้องขอทะเบียนบ้านอย่างไร เนื่องจากมีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง ซึ่งตามที่กฎหมายกำหนดนั้นจะอนุญาตให้บุคคล 1 คนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพียง 1 แห่งเท่านั้น ไม่อนุญาตให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลายแห่ง ด้วยเหตุผลในเรื่องของสิทธิ์การเลือกตั้งและสิทธิ์อื่น ๆ ดังนั้นหากมีบ้านหลายหลังก็อาจจะต้องหาผู้ที่เป็นญาติมาเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนแทน เพื่อไม่ให้ทะเบียนบ้านว่าง

ดังที่กล่าวมาข้างต้น หากมีคำถามต่อมาว่าหากไม่สามารถหาญาติหรือผู้เกี่ยวข้องที่จะมาใส่ชื่อเป็นเจ้าบ้านให้ได้ แล้วต้องปล่อยทะเบียนบ้านว่าง ไม่มีชื่อบุคคลในทะเบียนดังกล่าวจะเป็นอย่างไร คำตอบ คือ เมื่อต้องการขายบ้านหลังดังกล่าวโดยที่ครอบครองมาได้ไม่ถึง 5 ปี เจ้าของหรือผู้ขายจะต้องเสียภาษีธุรกิจในอัตรา 3.3 % จากราคาประเมิน เช่น บ้านราคา 2 ล้านบาท ที่เป็นทะเบียนบ้านเปล่าไม่มีชื่อเจ้าบ้านในทะเบียน เมื่อจะขายต้องเสียภาษีในอัตรา 3.3 % คิดเป็นจำนวนเงิน 66,000 บาท

แต่หากเป็นบ้านที่มีชื่อเจ้าของบ้านในทะเบียนก็ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ แต่จะต้องชำระค่าอากรในอัตรา 0.5 % แทนซึ่งก็เท่ากับต้องจ่ายเพียง 10,000 บาทเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นจำนวนเงินที่แตกต่างกันมากพอสมควร ดังนั้นหากไม่อยากเสียเงินภาษีในอัตราที่สูงดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็ต้องหาผู้เกี่ยวข้องที่จะมาถือทะเบียนบ้านแทนเจ้าของจริงให้ได้

ทั้งนี้เรื่องสำคัญอีกอย่างที่ต้องรู้ คือ แม้จะเป็นการซื้อบ้านในนามนิติบุคคล แต่ทะเบียนบ้านหลังดังกล่าวไม่มีชื่อของเจ้าบ้านผู้ถือครอง ตอนที่จะขายก็ต้องเสียภาษีธุรกิจในอัตรา 3.3 % เช่นเดียวกัน ดังนั้นคนที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุนหรือเก็งกำไรต้องคำนึงถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง หากหาคนที่มาเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องจ่ายภาษีตามข้อกำหนดโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

5.ทะเบียนบ้านหายหรือชำรุด ทำอย่างไรได้บ้าง?

เนื่องจากทะเบียนบ้านเป็นเอกสารราชการที่มีความสำคัญ ต้องใช้ประกอบในการยื่นขอคำร้องต่าง ๆ เช่น ทำธุรกรรม, สมัครงาน หรือสมัครเรียนต่อ ดังนั้นจึงเป็นเอกสารที่จะต้องมีพร้อมไว้เสมอ แต่หากมีการสูญหายหรือชำรุดก็ต้องรีบทำเรื่องยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ให้เร็วที่สุด โดยดำเนินการเพื่อขอเล่มทะเบียนบ้านใหม่ในกรณีที่สูญหายนั้น ไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพียงแค่เจ้าของบ้านนำบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองไปติดต่อที่นายทะเบียนเขตหรืออำเภอก็สามารถดำเนินการได้ทันที

แต่หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกที่จะไปแจ้งขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ด้วยตนเอง ให้ทำหนังสือมอบอำนาจกับผู้ที่จะไปทำการยื่นขอ โดยเอกสารที่จะต้องเตรียม คือ

  •       หนังสือมอบอำนาจที่ออกโดยเจ้าบ้าน
  •       บัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน (ตัวจริง)
  •       บัตรประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ (ตัวจริง)
  •       ค่าธรรมเนียม 20 บาท

การยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่นั้น ในกรุงเทพฯ สามารถไปดำเนินการขอเล่มใหม่ได้ที่สำนักงานเขตของพื้นที่เจ้าบ้านอยู่  หากเป็นต่างจังหวัดสามารถไปยื่นเรื่องขอได้ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่เจ้าบ้านอาศัยอยู่ได้เลย ในกรณีที่เจ้าบ้านสูญหายหรือเสียชีวิตโดยที่ยังไม่มีเจ้าบ้านใหม่ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ในกรณีที่สูญหายหรือชำรุด สามารถให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นทำการเดินเรื่องได้ทันที

โดยจะต้องนำเอกสารถือครองกรรมสิทธิ์พร้อมด้วยบัตรประชาชนของตนเองไปยื่นขอเล่มทะเบียนบ้านใหม่ แต่หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นผู้เยาว์ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดำเนินการแทน แม้ว่าการขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่นั้นจะทำได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ก็ควรเก็บรักษาเล่มทะเบียนบ้านให้ดี เพื่อความปลอดภัย ไม่เกิดการชำรุดหรือสูญหายที่จะทำให้ต้องเสียเวลาไปขอใหม่กันอยู่บ่อย ๆ

ถึงตอนนี้เจ้าของบ้านมือใหม่ก็คงจะได้รู้แล้วว่าการย้ายทะเบียนบ้านนั้นต้องทำอย่างไร และมีเอกสารอะไรที่ต้องใช้บ้าง  เมื่อจะย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านใหม่จะได้ทำการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ทำให้การย้ายบ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไร้ปัญหา สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ในบ้านหลังใหม่ได้อย่างสบายใจ

การย้ายที่อยู่ถ้าไม่ไปแจ้งย้ายสำมะโนครัวจะเกิดผลเสียอย่างไร

การย้ายเข้า ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง – บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน – สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

การแจ้งการย้ายที่อยู่ต้องปฏิบัติอย่างไร

เมื่อมีการแจ้งย้ายเข้าหรือย้ายออกจากบ้านใด เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ย้ายเข้าหรือย้ายออก โดยดำเนินขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการที่ปรับปรุงใหมดังนี้่ 1. ยื่นหลักฐานพร้อมใบย้าย ตรวจสอบเอกสาร ( 2 นาที ) เอกสารแจ้งย้ายที่อยู่หลังจากแจ้งเกิดแล้ว

แจ้งย้ายที่อยู่ใช้เอกสารอะไรบ้าง

หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง.
บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า.
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่จะย้ายเข้าอยู่ในบ้าน.
หนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าบ้านที่อนุญาตให้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน.
สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่.

เมื่อมีการแจ้งย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านใด เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้อง แจ้งย้ายการย้ายที่อยู่ และต้องแจ้งย้ายภายใน 7 วัน นับแต่วันย้ายเข้า

เมื่อมีผู้ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งที่ฝ่ายทะเบียน สำนักงานเขตท้องที่ภายใน 15 วันนับแต่วันย้ายเข้า หากเกินกำหนดปรับไม่เกิน 1,000 บาท หลักฐานที่ต้องใช้ 1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้าน 2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง