เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน มีกี่ระดับ

           ออฟฟิศที่ทำงาน อาคารสำนักงาน หรือโรงงาน เป็นที่ที่ถูกเรียกรวม ๆ ว่า สถานที่ทำงาน ซึ่งนอกจากตัวอาคารแล้วยังจะต้องมีระบบต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา เพื่อให้สามารถเข้าไปทำงานได้จริง เมื่อนานวันเข้าระบบภายในรวมถึงตัวโครงสร้างอาคารก็จะต้องมีการเสื่อมถอยไปตามการเวลา จึงทำให้มีอาชีพหนึ่งที่มักไม่ค่อยคุ้นหู แต่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพจำเป็นที่จะขาดไปไม่ได้ ทำหน้าที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ ของอาคารและสถานที่ทำงาน อาชีพนั้นก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า “จป.”

จป. คือใคร

           จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานวิชาชีพ ที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ในอาคาร ทั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ หรือแม้แต่การตรวจสอบโครงสร้างอาคารว่ายังแข็งแรงดีอยู่ไหม เพื่อป้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและมีข้อกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าสถานที่ทำงานต้องมีมาตราฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนด ซึ่ง จป. จะเข้ามาดูแลในส่วนนี้โดยตรง ซึ่งมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานออกเป็น 5 ระดับ

  1.     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (Safety Officer Management Level)
  2.     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (Safety Officer Supervisory Level)
  3.     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (Safety Officer Technical level)
  4.     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (Safety Officer Advanced Technical Level)
  5.     เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (Safety Officer Professional Level)

           โดยตำแหน่ง จป. ที่เข้าขั้นผู้เชี่ยวชาญที่จำเป็นต้องผ่านการอบรบจากกระทรวงแรงงานมาเป็นพิเศษก็คือ “จป. เทคนิค” เป็นต้นไป

           จป. เทคนิค คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ที่บริษัทส่งไปอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด มักพบในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โดย จป. เทคนิค จะทำหน้าที่ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ประกอบกิจการ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงตรวจสอบให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัยที่วางไว้ด้วย ซึ่งตำแหน่งนี้จัดว่าเป็นตำแหน่งเงินเดือนดีอีกหนึ่งตำแหน่ง และแม้ต้องทำงานเอกสารบ้าง แต่ก็ยังมีงานภาคสนามที่ต้องออกไปลุยเอง

อยากเป็น จป. เทคนิคต้องเตรียมตัวอย่างไร

  1.     มีประสบการณ์ในการเป็น จป. หัวหน้ามาก่อน ต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและมีเลขทะเบียน จป. หัวหน้างาน ถึงจะสามารถเข้าอบรมได้
  2.     ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงแรงงานกำหนด
  3.     จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า

           หากมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งข้างบนแล้ว ก็จะทำให้นายจ้างสามารถแต่งตั้งให้เป็น จป. เทคนิคได้ เรียกได้ว่าเป็นความก้าวหน้าในอาชีพการงานสาย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิชาชีพเลยทีเดียว ซึ่งถ้าหากเคยเป็น จป. เทคนิคมาแล้ว ก็จะสามารถหางาน จป. เทคนิคในบริษัทต่อไปได้ง่ายขึ้น และยังสามารถพัฒนาตัวเองไปเป็น จป. ในระดับอื่น ๆ ได้ด้วย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์
เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง
Checklists สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อน เลือกเรียนสายอาชีพ
วิธีควบคุมค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยระบบในยุครัดเข็มขัด
เรียนต่อสายอาชีพ มีสาขาอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้ตรงใจ

จป ทํางานอะไรได้บ้าง

จป. วิชาชีพ ก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer) ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, การไฟฟ้า, การประปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, งานเหมืองแร่และ ...

จป.เทคนิค ต้องมีพนักงานกี่คน

บริษัทไหนต้องมี จป เทคนิค บริษัทนั้นต้องเป็นสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 คน โดยลูกจ้างที่จะสามารถปฏิบัติงานเป็น จป เทคนิค ได้นั้นนายจ้างหรือสถานประกอบกิจการต้องส่ง จป หัวหน้างาน เข้ารับอบรม จป เทคนิค เพิ่มเติมเท่านั้น เพื่อเรียนรู้บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบความปลอดภัยในการทำงานด้านเทคนิค ...

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับใด ที่ต้องมีการรายงานผลการปฏิบัติการทุก 3 เดือน

- ส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ทุก 3 เดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด

จป ต้องอบรมกี่ชม.

หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา วันที่ 1. หมวดวิชาที่ 1 การจัดการความปลอดภัยในการทำงาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง