หลักการบริหารการศึกษามีกี่วิธีการ

ทฤษฎีและการบริหารจัดการศึกษา

        ในการบริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารควรมีหลักและกระบวนการบริหาร การบริหารการศึกษา หลักการแนวคิดในการบริหาร ภาพรวมของการบริหารทั้งนี้เพื่อให้การจัดการบริหารสถานศึกษามีความเหมาะสม ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมุมมองในการ บริหารสถานศึกษายิ่งขึ้นต่อไป
คำจำกัดความ
           คำว่า “การบริหาร” (Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ “ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ระบุดังนี้
Peter F. Drucker :  คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon : กล่าวว่าคือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
            การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหาร ตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
            การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
             การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard)
              การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกัน กำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)

            ส่วนคำว่า “การบริหารการศึกษา” หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
             คำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมี วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา  ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตาม  ประกาศกระทรวง  (พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู   และบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
             การ บริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้อง อาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts) (ที่มา ://www.kunkroo.com/admin1.html,) ปัจจัยสำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2 เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)
กระบวนการบริหารการศึกษา
            จาก หลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัวอักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละ ตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
ความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา
             ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกต จนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทาง ศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย

ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management) ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิต ขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
             เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies”  เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
    1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
    2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
    3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ (Formal Organization Theory ) ของ เฮนรี ฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17) Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)

3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
           จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา

ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง  คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง  เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25) การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำ งานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก
            ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”

ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory) หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1.เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด  (Chester I Barnard ) เขียนหนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความ ร่วมมือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
2.ทฤษฎีของมาสโลว์  ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์(Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของแมคกรีกอร์  (Douglas MC Gregor Theory X,Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการบริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของ มนุษย์ต่างกัน 
ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย

         ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ  เน้นการควบคุม  การสั่งการ  เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ          

          ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสรภาพ
4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory)(William G. Ouchi) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้าด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

 ภาวะผู้นำ 

ผู้นำ  คือ  บุคคลที่ได้รับมอบหมาย อาจโดยการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกให้มีอิทธิพลและบทบาทเหนือกลุ่ม สามารถที่จะจูงใจชักนำ หรือชี้นำให้สมาชิกของกลุ่มรวมพลังเพื่อปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของกลุ่มให้สำเร็จ

       สต๊อกดิลล์ : ภาวะผู้นำ  เป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่ม เพื่อตั้งเป้าหมายและบรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่  อิทธิพล(influence)  กลุ่ม (group) และ เป้าหมาย (goal)

   ทศวรรษ 1980 เน้นความสำคัญของบทบาท สร้างความชัดเจนด้านความคิด

       สเมอชิชและมอร์แกน : ผู้นำ คือ ผู้จัดการด้านความหมาย

       เฟฟเฟอร์ : ภาวะผู้นำเป็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์ ผู้นำมีหน้าที่สร้างความสมเหตุสมผล

       สรุป ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่ผู้นำช่วยสร้างความชัดเจน  แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้รับรู้ว่า อะไรคือความสำคัญ ให้ภาพความเป็นจริง    แก่องค์การแก่ผู้อื่น ช่วยให้มองเห็นทิศทางและจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจนภายใต้ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก

      ภาวะผู้นำ หมายถึง  การจุดประกายวิสัยทัศน์ให้ผู้อื่นมองเห็น พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติได้สำเร็จ (Richard & Engle)

      ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการให้จุดมุ่งหมาย (ทิศทางที่มีความหมาย) เพื่อให้เกิดการรวมพลัง ความพยายาม และความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย (Jacobs & Jaques)

      ภาวะผู้นำ คือ ความสามารถที่จะก้าวออกมาจากวัฒนาธรรมเดิม เพื่อเริ่มกระบวนการวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีการปรับตัวได้มากขึ้น (Schein)

      ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการสร้างความสมเหตุสมผล ในการทำงานร่วมกันของบุคคลต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและความผูกพันให้เกิดขึ้นกับคนเหล่านี้ (Drath & Palues)

  แบส (Bass) จำแนกความหมายของภาวะผู้นำ ได้ 12 กลุ่ม

1. ในฐานะที่เน้นกระบวนการของกลุ่ม

2. ในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพและผลของบุคลิกภาพ

3. ในฐานะเป็นการกระทำหรือพฤติกรรม

4.  ในฐานะเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมาย

5.ในฐานะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์

6.ในฐานะที่เป็นความแตกต่างของบทบาท

7.ในฐานะที่มุ่งด้านโครงสร้าง

8.ในฐานะเป็นศิลปะที่ก่อให้เกิดการยินยอมตาม

9.ในฐานะที่เป็นการใช้อิทธิพล

10.ในฐานะที่เป็นรูปแบบของการจูงใจ

11.ในฐานะความสัมพันธ์ของอำนาจ

12.ในฐานะเป็นการผสมผสานขององค์ประกอบต่าง ๆ

เลธวูด  :  ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนสภาพจะมีลักษะที่ประกอบด้วย  6 ประการ ดังนี้

1.  การสร้างวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

2.  การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา

3.  การกระตุ้นสร้างให้เกิดปัญญา

4.  การสนับสนุนบุคลากรในแต่ละบุคคล

 5. การให้ความสำคัญต่อการสร้างผลงานยอดเยี่ยมและคุณค่าสำคัญของสถานศึกษา

6.  การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีมาตรฐานสูงตามที่คาดหวัง

 ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ

             ทฤษฎี คือ มวลแนวความคิดต่าง ๆ  ที่นำมาสร้าง เป็นหลักการอย่างมีเหตุผล  ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองและวิจัยบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง

               ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ  การบริหารและการจัดการมักจะเป็นคำที่ใช้เรียกแทนกันได้ แต่ในความเป็นจริง การบริหารจะเน้นในเรื่องของการจัดการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมักจะใช้กับการบริหารในหน่วยงานของรัฐ  ส่วนการจัดการจะใช้ในงานที่เกี่ยวกับภาคเอกชน

วิวัฒนาการของทฤษฎีการบริหาร  แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  ดังนี้

1. กลุ่มคลาสสิก  (Classical Organizational Thought)  ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้คือ เฟรดเดอร์ริค เทเลอร์ (Frederick w. Taylor)  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาของทฤษฎีบริหารกลุ่มคลาสสิก  โดยมีความเชื่อว่า เขาสามารถวางหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพได้ต่อมา ลินคอน เออวิค (Lyndall Urwick) และ ลูเธอร์ กูลิค (Luther Gulick)  ได้ทำการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้บริหารจะประกอบด้วยหลักที่นิยมเรียกกันว่า POSDCRB

2. กลุ่มมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงจุดอ่อนของกลุ่มทฤษฎีคลาสสิก โดยได้มีการทดลองที่ Hawthorne Plant ซึ่งกำหนดสมมติฐานว่า “มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพและปริมาณของแสงสว่างกับประสิทธิภาพของงาน”  จากผลการทดลอง 3 ครั้ง พบว่า  ผลผลิตของคนงานไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพของแสงสว่างและมีตัวแปรหลายตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ระหว่างการทดลอง    ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบผลการทดลองที่ Hawthorne Plant  โดยตั้งสมมติฐานว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานมีความ สัมพันธ์กับผลผลิตที่ได้รับ  ผลการทดลองพบว่า  พฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ไม่ได้เกิดจากมาตรฐานงานที่องค์การกำหนด  พนักงานรวมตัวกันเป็นโครงสร้างสังคมกลุ่มย่อย  อันประกอบด้วย  ปทัสถาน (norms)  ค่านิยม (value) และ จิตใจ (sentiments)  ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน

3. กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างสอง  ทฤษฎีแรก  ผนวกกับหลักการทางด้านจิตวิทยา    สังคมวิทยา  การเมืองและเศรษฐศาสตร์  เป็นกลุ่ม ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมทางสังคมหรือพฤติกรรมของกลุ่มย่อยที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบริหารงานรูปแบบ ซึ่งอาจต้องใช้ศาสตร์การบริหารที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือ อื่น ๆ ศาสตร์เหล่านี้จัดได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลุ่มย่อย ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานและประสิทธิภาพประสิทธิผลของงานในองค์การ

4. กลุ่มทฤษฎีระบบ ( A System View) ทฤษฎีการบริหารในปัจจุบันได้พยายามให้ความสำคัญกับระบบ กล่าวคือ มีปัจจัยป้อน (input)กระบวนการ(process) และผลผลิต (output)  ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน  กลุ่มทฤษฎีระบบแยกเป็น2 กลุ่ม คือ

                  4.1 ระบบปิด(ระบบเหตุผล)  มีความเชื่อว่า องค์การเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมา เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ แนวคิดนี้มีการตัดสินใจ แก้ปัญหาตามเหตุผลบนฐานของกฎเกณฑ์ ระเบียบที่ตั้งไว้  เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบขององค์กร

                   4.2  ระบบเปิด   เชื่อว่า องค์การมีศักยภาพที่จะได้รับข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบคือ ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิตโดยองค์การที่อยู่รอดคือ องค์การที่ปรับตัวได้สมดุลกับสิ่งแวดล้อม  และเป็นองค์การเปิด เน้นความสนใจระบบทั้งในและนอกองค์การ

การคิดอย่างเป็นระบบ

            การคิดอย่างเป็นระบบหมายถึง การกำหนดองค์ประกอบและการจัดองค์ประกอบของระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนด ซึ่งการสร้างระบบหรือจัดระบบควรมีขั้นตอน ดังนี้

  1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบ
  2. การศึกษาหลักการ/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
  3. การศึกษาสภาพการณ์และปัญหาที่เกี่ยวข้อง
  4. การกำหนดองค์ประกอบของระบบ
  5. การจัดกลุ่มองค์ประกอบของระบบ
  6. การจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
  7. การจัดผังระบบ
  8. การทดลองใช้ระบบ
  9. การประเมินระบบ
  10. การปรับปรุงระบบ

การคิดอย่างเป็นระบบแบบโยนิโสมนสิการ

           การคิดอย่างเป็นระบบแบบโยนิโสมนสิการ เป็นกระบวนการพัฒนาปัญญาของบุคคลให้ใช้ความคิดอย่างถูกวิธี เป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตนเองอย่างเป็นอิสระ ในระบบการศึกษาอบรมโยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ความคิดให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระบบ รู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญา ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ มีวิธีคิดอยู่ 10 วิธี ดังนี้

  1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
  2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
  3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา
  4. วิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหา 

4.1 คิดตามเหตุผล

4.2 คิดตรงจุด

5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์  

6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก      

7.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม    

8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม    

9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน    

10. วิธีคิดแบบวิภัชวาท

การคิดอย่างเป็นระบบ 

                  System Thinking  หมายถึง  วิธีการคิดอย่างมีระบบ มีเหตุมีผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว วิธีการคิดอย่างมีระบบ จะเป็นหนทางไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ถ้าองค์กรนั้น ๆ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและ ยึดหลักให้ พนักงานภายในองค์กร ตระหนักในการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมการเรียนรู้ของพนักงานองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) จึงทำให้เกิด การเรียนรู้จากตัวเองของพนักงานแต่ละคน เกิดการเรียนรู้ของทีมงาน ทำให้เกิดการสร้างวิสัยทัศน์รวม (Shared Vision) และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นทีม (Team Learning)

หลักการคิดหรือการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ประกอบไปด้วย

1.  กำหนดประเด็นปัญหาให้ถูกต้อง อาจกำหนดได้เป็น ปัญหาหลัก และปัญหารอง

2.  ระบุตัวแปรทั้งหมด ที่ทำให้เกิดปัญหา

3.  กำหนดวิธีแก้ไขหรือพิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ อาจมีมากกว่า 1 วิธี

4.  เปรียบเทียบวิธีแก้ไข แต่ละวิธี และประเมินดูว่าวิธีการใดสามารถจะนำไปสู่การปฏิบัติได้และจะนำไปสู่การบรรลุผลตามเป้าหมาย

5.  เลือกวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด

6. นำไปทดลองปฏิบัติ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

7.  ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด

8.  แก้ไขเปลี่ยนแปลงจุดที่พกพร่องในวิธีการปฏิบัติงาน

9.  กำหนดมาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน

10. สั่งการให้พนักงานปฏิบัติงานตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

แนวคิดของทฤษฎีความซับซ้อนเป็นการพัฒนาวิธีคิดที่เป็นองค์รวม เป็นการมองโลกด้วยการสังเคราะห์  (Synthetic Science) ต่างจากทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์แบบจักรกลของนิวตันที่มองโลกด้วยการวิเคราะห์อย่างแยกส่วน (Analytic Science) ซึ่งมี 3 ทฤษฎีที่คล้ายกัน พัฒนาต่อยอดกันมาอย่างแยกกันไม่ออกได้แก่

   ทฤษฎีระบบ (Systemic Theory) ได้รับการพัฒนามาก่อน จากพื้นฐานวิชา Cybernetic กลศาสตร์การควบคุมกลไก หนังสือ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ของ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เป็นการมองอย่าง System Theory ที่ชัดเจน

   ทฤษฎีไร้ระเบียบ ( Chaos Theory ) ตัวอย่างที่โด่งดังของทฤษฎีนี้คือ “ ผลกระทบผีเสื้อ หรือ Butterfly Effect ” กล่าวคือ ผีเสื้อใหญ่ตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง หรือ สาเหตุเบื้องต้นเพียงนิดเดียว ในเงื่อนไขที่เหมาะสม สามารถก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่หลวงได้

   ทฤษฎีความซับซ้อน ( Complexity Theory ) ลักษณะที่สำคัญของระบบซับซ้อนคือ การผุดบังเกิด ( Emergence ) ซึ่งหมายถึง คุณสมบัติของระบบรวมที่แตกต่างไปจากผลรวมของส่วนประกอบย่อยทั้งหมด เช่น สมองมีเซลสมองนับล้านเซล แต่ละเซลไม่มีคุณสมบัติที่จำอะไรได้ แต่เมื่อรวมกันเป็นระบบสมองสามารถมีความจำได้ เป็นต้น นี่เรียกว่าการผุดบังเกิด

            ทฤษฎีระบบ หรือการคิดอย่างกระบวนระบบ (Systemic Thinking) 

เป็นการมองโลกอย่างเป็นองค์รวม เป็นพื้นฐานของทั้ง 3 ทฤษฎี มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการคือ

– ระบบใหญ่ไม่ใช่ผลรวมของส่วนประกอบย่อย แต่เป็นคุณภาพใหม่ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบย่อย ซึ่งไม่สามารถเข้าใจจากการแยกศึกษาทีละส่วนประกอบได้

 –  ระบบมีโครงสร้างที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ( Hierarchy ) เช่น คนประกอบด้วยส่วนย่อยคือเซลที่รวมกันเป็นระบบ แต่คนก็เป็นองค์ประกอบย่อยของระบบนิเวศน์ ระบบซับซ้อนจะซ้อนกันเป็นชั้น และทุกอย่างสามารถเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ท่าน ติช นัท ฮัน จึงตอบว่า กระดาษหนึ่งแผ่นที่ให้ดูนั้น มองเห็นดวงอาทิตย์และก้อนเมฆในกระดาษนั้นด้วย

–  การจะเข้าใจระบบนั้นต้องมองบริบท ( Context ) หรือปัจจัยแวดล้อมโดยรอบด้วย โดยเฉพาะระบบเปิดที่มีชีวิตนั้น ไม่อาจมองเป็นเส้นตรงได้ ต้องมองอย่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กันทั้งหมด

–  ต้องเข้าใจความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ ( Feedback ) การจะเข้าใจปรากฏการณ์ใดต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

–  การย้ายวิธีคิดแบบโครงสร้าง (Structure) มาสู่กระบวนการ (Process) ถ้าประยุกต์ใช้ในเชิงสังคม การมองแบบโครงสร้างเราจะเห็นกรอบอันเข้มแข็ง ยากจะเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหันมามอง กระบวนการ เราจะเห็นจุดอ่อน ช่องทางของความสัมพันธ์ที่จะเข้าไปปรับเปลี่ยนได้

             การคิดเชิงระบบ จะเน้นมุมมองแบบเป็นวงจร ไม่ใช่มุมมองเชิงเส้นตรง สัจธรรม 3 ประการแห่งระบบ หรืออาจเรียกว่าภาษาแห่งระบบ 3 ประการ เป็นเรื่องของผลป้อนกลับหรือ feedback ซึ่งผู้คิดเชิงระบบจะต้องเข้าใจ เพื่อไม่ให้อ่านระบบผิดพลาดและก่อปัญหาขึ้น หรือที่สำคัญกว่า สำหรับสร้างสิ่งมหัศจรรย์จากการลงแรงเพียงเล็กน้อยเข้าไปในระบบที่มีการป้อนกลับแบบเสริมแรง(reinforcing feedback) หรือประหยัดทรัพยากร ไม่ใส่ลงไปในระบบที่มีการป้อนกลับเชิงลบเพื่อสร้างสมดุล(balancing feedback) ในจุดที่ใกล้สมดุลอยู่แล้ว และเข้าใจสภาพที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในระบบ จะต้องรอเวลาช่วงหนึ่งจึงจะเห็นผล  สัจธรรมเรื่องการรอ(delays)

            อุปสรรคของการคิดเชิงระบบ  นอกจากการคิดเชิงระบบจะมีผลดี หรือสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายแล้ว การคิดเชิงระบบยังมีอุปสรรค หรือข้อจำกัด ตามที่ สุรพร เสี้ยนสลาย, (2548.) ได้กล่าวไว้ดังนี้

              1.  ขาดคุณลักษณะนักคิดที่ดี ไม่กระตือรือร้น ไม่คิดอะไร เชื่อง่าย ไม่สงสัย ทำตามกิจวัตรประจำวัน ใจแคบ ไม่เป็นธรรม โดยไม่เจตนา ไม่รู้ตัว เกิดจากจิต สร้างแบบแผนการคิดจากประสบการณ์ จิตมนุษย์ จะสร้างแบบแผนในการคิด ทำให้คิดอยู่ในกรอบเดิม เกิดการตอบสนองตามความเคยชิน ปัญหาอื่น จะปลูกต้นไม้ 4 ต้นให้ระยะห่างของแต่ละต้นเท่ากัน จะแบ่ง ให้เป็นสี่สวนเท่ากันได้อย่างไร 

              2.  การใช้เหตุผลโดยการอ้างสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ใจแคบ ไม่เป็นธรรม โดยเจตนา

การใช้เหตุผลโดยเอาตนเป็นศูนย์กลาง ใช้เหตุผลแบบลวงตา ไม่ฟังใคร น้ำล้นแก้ว หลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงที่ไม่สนับสนุนตน มองเป็นสิ่งง่ายเกินไป ถูกโน้มน้าวโดยคนหมู่มาก/คนน่าเชื่อถือ การโต้แย้งเพราะไม่รู้ การด่วนหาข้อสรุป เชื่อมโยงเหตุผลผิด  เช่น ลินดาอายุ 31 ปี เป็นคนเปิดเผยพูดจา ตรงไป ตรงมาและเป็นคนฉลาด เธอศึกษาปรัชญาเมื่อตอนเป็นนักศึกษา เธอสนใจอย่างมากกับประเด็นความไม่เท่าเทียมกัน การแบ่งเขาแบ่งเรา ความยุติธรรมในสังคมและได้เคยร่วมประท้วงการใช้อาวุธนิวเคลียร์

คำถาม : ลินดาน่าจะเป็น 1.พนักงานธนาคาร 2.พนักงานธนาคารและเข้าร่วมกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรี

ควรระวังการสรุปมากกว่าข้อเท็จจริง คนมองข้ามความเรียบง่ายของสิ่งปกติแต่สะดุดเหตุการณ์ที่โดดเด่นเสมอ เรื่องนกกระสากับสาวบ้านนอก

               3. ข.ขาดข้อมูล/ข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลบอกเล่ามากกว่าเชิงประจักษ์ ข้อมูล/การใช้เหตุผลโดยอ้างผู้รู้ หรือคนส่วนใหญ่ ค.ขาดข้อมูลทางวิชาการ ไม่รู้จักใช้วิธีการทางวิชาการ วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific methods) ระเบียบวิธีวิจัย ( Research Methodology)วิธีการในการจัดการ : วางแผนกลยุทธ์

              4.  ไม่สามารถนำทฤษฎีทางวิชาการมาใช้ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่เข้าใจทฤษฎีคืออะไร/มีประโยชน์อย่างไร เรียนเฉพาะทฤษฎีพูดอย่างไร ไม่เรียนนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

             เทคนิคพัฒนาการคิดเชิงระบบ  ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรมได้ดังนี้

การพัฒนาตนเอง : ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ฝึกการคิดเชิงขัดแย้ง – วิภาษวิธี(dialectic approach) แบบ Marx การเผชิญหน้าระหว่างความคิดตรงกันข้าม Thesis Anti-thesis Synthesis ความขัดแย้งระหว่างข้อมูลใหม่กับความคิดเดิม ใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หาข้อมูลใหม่

          1.ตั้งปัญหาหรือข้อสงสัย

          2.กำหนดสมมติฐาน

          3.การทดลองหาข้อมูล

          4.สรุปคำตอบของปัญหา

          ในการพัฒนาระบบคุณภาพตามแนวทางนี้จะต้องอาศัยแนวคิดสำคัญ 3 ประการ คือ

 แนวคิดเชิงระบบ (system thinking)  แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ (strategic thinking)  และการเรียนรู้โดยการทำงานเป็นทีม (team learning)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง