ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ไทยมีกี่สมัย

Just for you: FREE 60-day trial to the world’s largest digital library.

The SlideShare family just got bigger. Enjoy access to millions of ebooks, audiobooks, magazines, and more from Scribd.

Read free for 60 days

Cancel anytime.


��Ż��ؤ��͹����ѵ���ʵ����(pre history of art)
�鹡��Դ���觷���Ңͧ��Ż��ؤ��͹����ѵ���ʵ�� �� 3 �ҧ���
1. �ҧ�ط���ʹ�
2. �ҧ��������¨ҡ�Ţͧʧ����������ȡ����Ҫ
3. �ҧ��������¨ҡ�Ţͧʧ�������駾�������š�ҹ���� ¡�Ѿ�բ����Է�Ծ��Ҷ֧�Թ���
�ѧ��鹺����ٷ���繪���Թ��� �֧�������ҧ��ä���Ż������ҧ� 㹴Թᴹ����ó������觹���� ������������Ż�����ؤ��͹����ó���� �֧͸Ժ��������������㨴ѧ���
1.�ҧ�ط���ʹ� �ҡ����ѹ��ɰҹ �ͧ��ҹ�ѡ��ҳ������ ����¾�������ȡ����Ҫ ��ӡ��ú���͢��´Թᴹ 价�����鹢ͧ�Թ������ǹ��ҧ �¾�������ȡ����Ҫ �ç�ӡ��ú������������鹡��ԧ��Ҫ��� ���âͧ���ͧ����ú��觨����Ѻ��ª�� ���ͧ��������駷������ѧ��� ��餹�������繨ӹǹ�Ѻ�ʹ ��������ȡ����Ҫ�ç�Դ�����ѧ�Ǫ 㹾�з�����ҧ�ҡ ��������ʧ�������� ���ͧ��֧��Դ������ԡ��зӺһ ���ͧ��֧���ѹ���ԹԨ����Ƿҧ��Ф����Դ�ͧ ��ʹҷء��ʹ� ��Թ��¢�й�� 㹷���ش���ͧ�������� ��ʹҢͧͧ�����稾�����������ط���� ����ѡ��������繨�ԧ ��ҷء����Ѻ��͵����и��� ���ͤ�����͹�ͧ��оط�ͧ������ ��кѧ�Դ����ʧ��آ ����ѹ���Ҿ���ҧ���ԧ �����պ��ѭ�ѵ��͹���ء�����ҧ�������
�й�� ��������ȡ����Ҫ �֧�ç�繼������������㹾ط���ʹ������ҧ�ҡ �֧������ôҪ�ҧ������ŻԹ���ҧ ��ʶٻ�ç�ͧ��� ���͢ѹ�ͤ��� �պ���ѧ�� ������ѵ� ����ҹ������¡��� ਴����ѭ�� ���ͧ�ҡ����¹�� ���������ٻ�ؤ�Ţ����þ ��ҧ������ŻԹ����Թ��� �֧�����ҧ�ѭ�ѡɳ��������᷹��оط�ͧ����
-����ٵ� �����ҧ����¾�кҷ�մ͡��ǵç��ҧ��кҷ
-������� ��ôҪ�ҧ������ŻԹ����Թ��������ҧ���ٻ�Թ����ѡ �繵�⾸���Ѻ����ѧ��
-����ȹ� ��ôҪ�ҧ������ŻԹ�����ҧ���ٻ��и����ѡ� �Ѻ��ҧ��ͺ
-�Ծ�ҹ ��ôҪ�ҧ������ŻԹ�����ҧ�繾��ʶٻ �������֡�֧��оط�ͧ��
2.�ҧ��������¨ҡ�Ţͧʧ����������ȡ����Ҫ
����� ��������ȡ����Ҫ ��ء�ҹ�ѧ���� ���ͧ� ��ôһ�ЪҪ������ͧ����Թ��� ��ҡѹ;¾ �ź˹����ʧ���� ������Ӣ������� ���������ѧ�� ���Ǩ֧;¾��ҹ�ҷҧ�����ѹ���ѹ ���������ͧ�����ո����Ҫ
�й�� ��ôҤ�����ͪ�ҧ��Ż� ����Թ��¨֧��;¾������Թᴹ����ó���� �����ҧ��ä���Ż��������繨ӹǹ�ҡ �ҡ��ѡ�ҹ ���ش��㹻������ �龺���������Ẻ�Թ��� ����ѧ�ش������§����ѹ�Թ Ẻ�������Թ��� ��и����ѡ� �Ѻ��ҧ��ͺ
3. �ҧ��������¨ҡ�Ţͧʧ�������駾�������š�ҹ���� ¡�Ѿ�բ����Է�Ծ��Ҷ֧�Թ���
����ͤ��駾�������š�ҹ���� ��ǡ�ա �����¡�ͧ�Ѿ��ҵբ����Է�Ծ��Ҷ֧�Թ��� �ᶺ ���� ������ ������ЪҪ���˹����ʧ��������������Թ�� ����������Թ�� �������Թᴹ����ó���Ԥ�� �������
�ҡ����ѹ��ɰҹ �ѡ��ҳ��� ��ô���Żз���Դ��������ѧ�Ҩ�Ҩҡ ��÷���������ٵ ����Թ��·���� �����ǡ�ҧ�ط���ʹ� �����������ʹ� ����Ż�����ҧ�ٻ��þ����Ҵ��� �������ա�âش����оط��ٻẺ�ѹ���Ұ ����վ�оѡ����繪�ǡ�ա 㹻������
��ǹ��ѡ�ҹ�ҧ��觡�����ҧ ��� ������ҧ਴��칤û��ͧ����� ���ѡɳ�Ẻ਴����ѭ�Ԣͧ�Թ���
�Թ���
����ͤ��駾�������š�ҹ���� ��ǡ�ա �����¡�ͧ�Ѿ��ҵբ����Է�Ծ��Ҷ֧�Թ��� �ᶺ ���� ������ ������ЪҪ���˹����ʧ��������������Թ�� ����������Թ�� �������Թᴹ����ó���Ԥ�� �������
�ҡ����ѹ��ɰҹ �ѡ��ҳ��� ��ô���Żз���Դ��������ѧ�Ҩ�Ҩҡ ��÷���������ٵ ����Թ��·���� �����ǡ�ҧ�ط���ʹ� �����������ʹ� ����Ż�����ҧ�ٻ��þ����Ҵ��� �������ա�âش����оط��ٻẺ�ѹ���Ұ ����վ�оѡ����繪�ǡ�ա 㹻������
��ǹ��ѡ�ҹ�ҧ��觡�����ҧ ��� ������ҧ਴��칤û��ͧ����� ���ѡɳ�Ẻ਴����ѭ�Ԣͧ�Թ���




การศึกษาทัศนศิลป์ในประเทศไทยดังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ มีเนื้อหาพอสังเขปเพียงเพื่อ ให้รู้ว่าศิลปะในประเทศไทย แต่ละสมัยมีลักษณเด่นะเฉพาะอย่างไร เพื่อนำไปใช้ประกอบการศึกษา ด้านความงาม การวิจารณ์ศิลปะ ต่อไป ซึ่งหากผู้สนใจในรายละเอียด ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ จากวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ วิชาศิลปะนิยม และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หากจะย้อนกลับมาพิจารณาศิลปกรรมไทยโดยส่วนกว้าง เราก็จะพบว่าศิลปกรรมไทยก็มิได้แตกต่างไปจากศิลปกรรม ของชาติอื่น ๆ ในประเด็นที่มีการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงเสมอมา โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นมีทั้งลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีทั้งที่เปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปแบบหรือประเด็นปลีกย่อย และมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระชนิดแยกขาดออกจากสิ่งเดิมอย่างชัดเจน ซึ่งในประเด็นหลังนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อโครงสร้างใหญ่ ๆ ของสังคมเปลี่ยนไปนั่นเอง

สำหรับยุคสมัยของศิลปกรรมไทยนั้น นักประวัติศาสตร์ศิลป์ได้แบ่งออกได้ ตามแนวทางใหญ่ ๆ 3 แนวทางคือ

แนวทางที่ 1 แบ่งตามลักษณะของการก่อตั้งราชอาณาจักร หรือศูนย์กลาง อำนาจ ทางการเมืองเป็นเครื่องแบ่ง เช่นอาจแบ่งใหญ่ ๆ ออกได้เป็น 2 สมัย คือ สมัยแรก ก่อนที่ชนชาติไทยเข้าปกครองประเทศ และสมัยหลังที่ชนชาติไทยเข้าปกครอง ประเทศแล้ว สมัยแรกแบ่งออกได้อีกเป็น 5 สมัย คือ สมัยวัตถุรุ่นเก่าที่ค้นพบในประเทศไทย สมัยทวาราวดี สมัยเทวรูปรุ่นเก่าสมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี สมัยหลังก็แบ่งออกเป็น 5 สมัยเช่นกัน คือ สมัยเชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา และ สมัยรัตนโกสินทร์

แนวทางที่ 2 แบ่งตามสกุลศิลปะพระพุทธรูปในประเทศไทย โดยยึดหลัก รูปแบบของการ รับอิทธิพล มาเป็นเครื่องวัดโดยแบ่งเป็นสกุลศิลปไทย–คุปตะ สกุลศิลปไทย-ปาละ สกุลศิลปไทย ปาละ-เสนะ สกุลศิลปไทย-โจฬะ เป็นต้น

แนวทางที่ 3 แบ่งนักประวัติศาสตร์บางท่านก็แบ่งตามแบบอย่างศิลปะ ที่แสดงออกเป็น 8 สมัย คือ สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์

แนวทางการการแบ่งยุคสมัยของศิลปไทยที่กล่าวมา แม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็ยึดตามเกณฑ์ใหญ่ ๆ ร่วมกัน คือ 
1. เกณฑ์ทางศูนย์กลางแห่งความเจริญของอาณาจักร 
2. เกณฑ์ทางอิทธิพลทางการปกครองและทางศาสนา 
3. เกณฑ์ทางรูปแบบอย่างศิลปกรรมที่แตกต่างกัน 
4. เกณฑ์ทางวิวัฒนาการของสังคม

ในบทนี้ จะแบ่งศิลปะในประเทศไทยตามแแนวทางที่ 3 เพราะแนวทางนี้ ทำให้ได้เห็นการพัฒนา แบบอย่าง และแนวทางการสร้างงานตามสังคม และอิทธิพล ที่ได้รับอย่างเด่นชัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 สมัย คือ

1. สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16)
2. สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
3. สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18)
4. สมัยเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 16 - 23)
5. สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
6. สมัยอู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ 17 - 22)
7 . สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 18 - 23)
8 . สมัยรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24 - ปัจจุบัน)

Back to Top

ตามจดหมายเหตุของนักพรตจีนที่ชื่อว่า เหี้ยนจัง (Hiuan Tsang) ได้กล่าวว่า ระหว่างประเทศ กัมพูชาและประเทศพม่ามีอาณาจักรแห่งหนึ่งมีชื่อว่า โทโลโปตี้ (Tolopoti) หรือทวาราวดีนั่นเอง โดยเข้าใจกันว่าศูนย์กลางของอาณาจักรทวาราวดีอยู่ที่นครปฐม โดยมีเมืองต่าง ๆ ร่วมสมัยอยู่หลายเมือง เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี กาฬสินธุ์ เมืองทั้งหลายดังกล่าวแล้วนี้มีการค้นพบ ศิลปะวัตถุและโบราณสถานสมัยทวาราวดีเป็นจำนวนมาก

 

ประติมากรรม

ได้แก่พระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องปูนปั้น ดินเผาและมีทั้งประทับนั่ง และยืน ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ มีขมวดพระเกศใหญ่ พระพักตร์แบบพระขนงทำเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อกันดังรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์แบะและใหญ่ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ สำหรับพระพิมพ์เริ่มมีขึ้นในอินเดีย เพื่อเป็นที่ระลึกว่าประชาชนอินเดียที่นับถือ พุทธศาสนาได้ไปบูชาสังเวชนียสถานในพุทธศาสนา แต่ต่อมาประชาชนอินเดียที่นับถือพุทธศาสนา ได้สร้างขึ้นไว้เป็นที่เคารพบูชา และเพื่อให้พระพุทธรูปและพระธรรมอันเป็นหัวใจ ศาสนาปรากฏอยู่ ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงชอบสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก เพื่อบรรจุไว้ในเจดีย์สถานเป็นการสืบอายุ พระพุทธศาสนา พระพิมพ์สมัยทวาราวดี ชอบสร้างด้วยดินเผา

(ซ้าย) พระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะทวาราวดีปางปฐมเทศนา 

 

สถาปัตยกรรม


ได้แก่ โบราณสถาน เช่น เจดีย์ วัด สถูป สำหรับเจดีย์นครปฐม ถ้ายกเอาประปรางค์ที่อยู่ข้างบนออกจะเห็นว่ามีรูปร่างคล้ายสถูปที่สร้างครั้งประเจ้าอโศก เช่น สถูปที่เมืองสาญจี แสดงว่าสถาปัตยกรรมในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเช่นกัน ทางด้านใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ ได้มีการจำลองพระปฐม ดังนั้นลักษณะของสถูปหรือ เจดีย์ในสมัยทวาราวดีนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ก็จะทำเป็นฐานสี่เหลี่ยมมีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำ และมียอดแหลมอยู่ข้างบน กับอีกแบบหนึ่งซึ่งมีฐาน เป็นรูปเหลี่ยมเช่นกันแต่มีองค์ระฆังเป็นรูป คล้ายกับบาตรคว่ำและมียอดทำเป็นแผ่นกลม ๆ วางซ้อนกันขึ้นไป ข้างบน บนยอดสุดมีลูกแก้ว

(ซ้าย) เจดีย์ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ระฆังเป็นรูปโอคว่ำ

Back to Top


สมัยศรีวิชัย

ศรีวิชัยเป็นชื่ออาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ได้ปกครองสุมาตรา ชวา มะลายู และดินแดนบางส่วน ทางภาคใต้ของไทย ดังนั้นศิลปกรรมที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ ของไทยในขณะนั้น จึงได้ชื่อว่า ศิลปะแบบศรีวิชัย แต่ก็มีการถกเถียงกันมากระหว่างนักโบราณคดีและประวัติศาสตร์ว่า อาณาจักรศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ใดกันแน่ ระหว่างเมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีของไทย กับเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หล่อด้วยสำริดที่เหลือเพียงครึ่งองค์
แต่ได้รับการยกย่องว่า เป็นปฏิมากรรมหล่อสำริด ที่มีทรวดทรงงดงาม

ประติมากรรม

มีทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ตลอดจนพระพิมพ์ดินเผาและดินดิบ ประติมากรรมแบบศรีวิชัย ได้รับอิทธิพลจาก


1. ศิลปอินเดีย แบบคุปตะ และหลังคุปตะ
2. ศิลปอินเดียแบบปาละ เสนะ
3. ศิลปขอมหรือลพบุรี

สำหรับพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ส่วนมากทำด้วยสัมฤทธิและศิลาพบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี สันนิฐานว่าที่อำเภอ ไชยา คงเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่สำคัญ ในสมัยศรีวิชัย เพราะโบราณวัตถุต่างๆ จะพบที่ไชยาทั้งสิ้น พระโพธิสัตว์ที่เก่าที่สุดคือพระโพธิสัตว์ซึ่งสลักด้วยศิลา ถูกค้นพบที่อำเภอไชยา ซึ่งได้รับอิทธิพลแบบคุปตะ ส่วนพระโพธิสัตว์ที่สวยงามที่สุด คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ค้นพบที่อำเภอไชยา แต่เหลือเพียงครึ่งองค์ ได้รับอิทธิพลศิลปแบบหลังคุปตะและปาละเสนะ พระพิมพ์ส่วนมากทำด้วยดินดิบ คงจะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา เหมือนพระพิมพ์ดินเผา หรือโลหะ เพราะแตกหักง่าย แต่คงเพื่อประโยชน์ของพระสงค์ที่มรณะภาพ หรือบุคคลที่ตายไปแล้วเมื่อเผาศพพระสงฆ์ที่มรณะภาพ หรือบุคคลที่ตายไปแล้ว ก็จะนำเอาอัฐิโขลกเคล้ากับดิน แล้วอัดเข้ากับแม่พิมพ์ เมื่อถอดพิมพ์แล้วก็ไม่ต้องนำไปเผาอีก จึงเรียกว่าพระพิมพ์ดินดิบ

 


สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยมีอยู่มากที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎ์ธานี เช่น พระบรมธาตุไชยา ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบรรดาเจดีย์ในเกาะชวามาก มีฐานเตี้ยรองรับ อาคารแบบย่อมุม และมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศและมียอดทำเป็นฉัตร

(ซ้าย) พระบรมธาตุไชยาที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะเป็นเจดีย์หลายยอด 
หรือเรียกว่า ยอดแซง โดยมียอดสำคัญที่องค์ใหญ่อยู่ตรงกลางแบบเจดีย์ของชวา 
ซึ่งเป็นลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท 
กล่าวคือ มีหลังคาหลายชั้น มีซุ้มจรนำทั้งสี่ด้าน

Back to Top


สมัยลพบุรี

 

ได้มีการค้นพบประติมากรรมและสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี ทางภาคกลาง ได้แก่ เมืองลพบุรี และ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม เป็นต้น ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับประติมากรรมและ สถาปัตยกรรม ของขอมในประเทศกัมพูชามาก ศิลปะขอมได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนมีลักษณะเป็นของตนเอง ศิลปะขอมมีทั้งที่ทำขึ้นในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ถ้ากษัตริย์องค์ใดนับถือพุทธศาสนาจะสร้างศิลปะในพุทธศาสนา ถ้ากษัตริย์องค์ใดนับถือศาสนา พราหมณ์ ก็จะสร้างศิลปะในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะขอมได้แผ่เข้ามาทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยเฉพาะที่ลพบุรีหรือละโว้ ว่ากันว่าขอมส่งอุปราชเข้ามา ปกครอง ดังนั้นลพบุรีจึงใช้เป็นชื่อศิลปะลักษณะนี้ คำว่าศิลปลพบุรีนั้นใช้รวมถึง โบราณสถานขอมซึ่งค้นพบในประเทศไทยด้วย

(ซ้าย) ประติมากรรมสมัยลพบุร

 

ประติมากรรม

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรี มีหน้าผากกว้าง คางเป็นเหลี่ยม ปากแบะ ริมฝีปากหนา พระขนงนูนเป็นสัน พระนาสิกโค้งและยาว พระหณุเป็นปมป้าน ไรพระศกที่ต่อกับพระนลาฏหนาโต อุณหิศใหญ่เป็นรูปฝาชี มีลวดลายคล้ายมงกุฎเทวรูป มีทั้งพระพุทธรูปประทับนั่งและยืน ในสมัยนี้ชอบสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิปางนาคปรกกันมาก พระพุทธรูปมีทั้งหล่อด้วยสัมฤทธิ์ และสลักด้วยศิลา สำหรับพระพุทธรูที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์มักชอบหล่อเป็นพระพุทธรูปองค์เดียว หรือหลายองค์ อยู่เหนือฐาน อันเดียวกันนอกจากนี้ก็ยังมีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือนางปัญญาบารมี เทวรูปก็มี เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพิมพ์ ทั้งที่สร้างด้วยดินเผาและโลหะ พระพิมพ์สมัยนี้มักมีรูปพระปรางค์ เข้ามาประกอบเสมอ

(ซ้าย) พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุร

 

 


(บน) ทับหลัง ประติมากรรมสมัยลพบุรีแกะสลักด้วยหิน เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมลพบุรี

(บน) พระปรางค์สามยอดลพบุรี

สถาปัตยกรรม

โบราณสถานในสมัยลพบุรี มักก่อสร้างด้วยหินทราย ศิลาแลง และอิฐ 
สร้างขึ้นทั้งในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ์ ที่สำคัญได้แก่ 
- ปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
- ปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี
- ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
- ปราสาทหินศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
- ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
- ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

Back to Top


สมัยเชียงแสน

ประติมากรรมเชียงแสนรุ่นที่ 1 หรือรุ่นแรก

ศิลปะเชียงแสน นับว่าเป็นศิลปะไทยอย่างแท้จริง ศิลปะสมัยเชียงแสน หมายถึง ศิลปะที่กำเนิดขึ้นในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยคำว่าเชียงแสนเป็นชื่อเมืองเก่าที่สำคัญเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย และการที่ได้พบประติมากรรมบางชิ้นที่งดงาม เมืองเชียงแสนจึงได้เรียกศิลปะที่ค้นพบว่า ศิลปะแบบเชียงแสน เจริญรุ่งเรืองแพร่กระจายไปทั่วภาคเหนือ ตลอดถึงเมืองเชียงใหม่ เมื่อเมืองเชียงใหม่มีอำนาจขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีพ่อขุนเม็งรายเป็นผู้นำ หลังจากนี้ทรงมีอำนาจครอบคลุมทั่วภาคเหนือเรียกว่า “อาณาจักรล้านนา” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงใหม่

ประติมากรรม

ได้แก่ พระพุทธรูปทั้งที่หล่อด้วยสำริดและปั้นด้วยปูน พระพุทธรูปเชียงแสนมี 2 รุ่น คือ

รุ่นที่ 1 เป็นพระพุทธรูปที่มีพระรัศมีเป็นดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลมอมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูนและกว้าง ดุจหน้าอกสิงห์ ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้นปลายมีแฉกเป็นเขี้ยวตะขาบ
ชอบทำปางมารวิชัยและขัดสมาธิเพชร (แลเห็นฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง)

 และที่ฐานจะทำเป็นรูปบัวคว่ำและบัวหงาย เป็นพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลแบบปาละของอินเดีย 

ประติมากรรมเชียงแสนรุ่นที่ 2 หรือรุ่นหลัง

รุ่นที่ 2 หรือเรียกว่าเชียงแสนรุ่นหลังหรือเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย มีลักษณะที่สังเกตุได้คือ พระรัศมี เป็นดอกบัวตูมที่สูงขึ้น บางครั้งก็เป็นเปลวแบบสุโขทัย ขมวดพระเกศาเล็ก พระวรกาย บางองค์ก็อวบอ้วนและพระอุระนูน แต่มีชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ชอบทำนั่งขัดสมาธิราบ ประติมากรรมรูปปั้นรูปเทวดาและนางฟ้า ที่ประดิษฐานเจดีย์ วัดเจ็ดยอด (ภาพล่าง) สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีทรวดทรงเช่นเดียวกับพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่น 2 ซึ่งนับว่าเป็นประติมากรรมที่งดงามมากอีกแห่งหนึ่ง

วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่

พระธาตุหริภูญไชย จังหวัดลำพูน
สถาปัตยกรรมเชียงแสน มีองค์เจดีย์ทรงกลม

สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสน

สถาปัตยกรรม

ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์หรือกู่ (เรียกตามภาษาพื้นเมือง) หอไตร ตลอดจนบ้านเรือนทั่วไปล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวโบสถ์ วิหาร ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นแบบทรงสูงซ้อนกันหลายชั้น ลดหลั่นขึ้นไปถึงยอด หลังคาโบสถ์ วิหารสมัยเชียงแสนมีลักษณะพิเศษคือ “เป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้างเปิดเผย” คือไม่มีฝ้าเพดาน จึงสามารถมองเห็นเครื่องหลังคาเกือบทุกชิ้น การประดับตกแต่งอาคารนิยมตกแต่งด้วยเครื่องไม้แกะสลักและลายรูปปั้น ลักษณะเจดีย์แบบทั่ว ๆ ไปของเชียงแสนจะมีฐานสูงมาก องค์ระฆังถูกบีบให้เล็กลง มีบัลลังก์ปล้องไฉนและที่ยอดมีฉัตรกั้น เจดีย์บางองค์เป็น 8 เหลี่ยม และบางองค์เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์เชียงแสนที่ได้อิทธิพลจากสุโขทัย เช่นองค์เจดีย์จะเป็นทรงกลมแบบลังกา แต่มีฐานสูงย่อมุม

 

(บน) ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมเชียงแสน คือหลังคาซ้อนกันหลายชั้น และโชว์โครงสร้างภายใน

(ซ้าย) พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
สถาปัตยกรรมเชียงแสน มีองค์เจดีย์เป็นรูปทรง 8 เหลี่ยม

Back to Top


สมัยสุโขทัย

ความเจริญของอาณาจักรสุโขทัยมีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประกาศตั้งสุโขทัยเป็นอิสระไม่ขึ้นกับขอมเมื่อราว พ.ศ.1780 และเจริญสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อันเป็นสมัยที่มีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
ศิลปะสุโขทัยได้รับการยอมรับกันว่าเป็นสมัยที่ศิลปะไทยเจริญถึงขั้นสูงสุด (Classic) มีความงดงามเป็นเยี่ยม โดยเฉพาะการสร้างพระพุทธรูปมีลักษณะเป็นของตนเองมากที่สุด

 

ประติมากรรม

ได้แก่ พระพุทธรูปและประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม การสร้างพระพุทธรูป สมัยสุโขทัยมีการสร้าง พระพุทธรูปครบ 4 อิริยาบถ คือ พระพุทธรูปยืน นั่ง เดิน นอน

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แบ่งออกได้เป็น 4 หมวด คือ

1. หมวดใหญ่ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก ถ้ามีก็เป็นเส้นตื้น ๆ ไม่นูนขึ้นมากนัก พระโอษฐ์อมยิ้ม รัศมีเป็นเปลว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก พระองค์อ่อนช้อย งามสง่า จีวรไม่แข็งกระด้าง ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบ ฐานเป็นหน้ากระดานเกลี้ยง พระพุทธรูปหมวดใหญ่จัดว่า เป็นแบบสุโขทัยแท้ พบมากที่สุด และมีพุทธลักษณะงดงามเป็นเยี่ยม

 

2. หมวดกำแพงเพชร แบบนี้รูปร่างหน้าตาดูจืดกว่าหมวดใหญ่ พระพักตร์ตอนบนกว้าง พระหนุเสี้ยม

 


(บน) พระพุทธชินราชองค์จำลอง 
(ซ้าย) พระพุทธชินราชองค์จริง 

3. หมวดพระพุทธชินราช พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม พระปรางค่อนข้างอวบ พระอาการสงบเสงี่ยม พระองค์แข็งมากกว่าอ่อนช้อย ค่อนข้างอวบอ้วน นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่มีปลายเสมอกัน เช่น พระพุทธชินราชองค์จริงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก และพระพุทธชินราชองค์จำลองที่วัดเบญจมบพิตร

 

4. หมวดเบ็ดเตล็ด หรือ หมวดวัดตะกวน พระพุทธรูปหมวดนี้มีอิทธิพลสมัยเชียงแสนมาก คือมีรัศมีเป็นดอกบัวตูม ชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้น พระนลาฏแคบ ฐานประดับด้วยกลีบบัว พระพุทธสิหิงค์ก็ได้มากจากเกาะลังกา ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง แต่ลักษณะฝีมือช่างเป็นศิลปะไทยปนลังกา อาจจะเป็นเพราะเดิมสูญหายไป จึงหล่อขึ้นมาใหม่ หรือถูกขัดแต่งจนกลายเป็นพระพุทธรูปแบบฝีมือไทย
พระพิมพ์มีทั้งทำด้วยดินเผาและโลหะ แต่ชอบทำพระปางลีลามาก และชอบทำพระประทับนั่งหลาย ๆ สิบองค์ในแผ่นพิมพ์อันเดียวกัน เรียกว่า พระกำแพงห้าร้อย นอกจากนี้ก็ยังมีเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ คือ พระอินทร์ และพระนารายณ์

(ซ้าย) พระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสมัยสุโขทัย จัดว่าเป็นศิลปะที่งดงามที่สุดของไทย

สถาปัตยกรรม


ได้แก่ การสร้างโบสถ์ วิหารและเจดีย์ ซึ่งมีลักษณะน่าสนใจดังนี้
โบสถ์ วิหาร การสร้างโบสถ์จะมีขนาดเล็กกว่าวิหารมาก เพราะวิหารเป็นที่รวมของผู้คนจำนวนมากที่มาร่วมชุมนุมปฏิบัติศาสนกิจ ส่วนโบสถ์ใช้ปฏิบัติศาสนกิจของสงฆ์เพียงไม่กี่รูปก็สร้างวิหารมีขนาดเล็กและสร้างให้มีหลังคาเพียงชั้นเดียว ส่วนหลังคาประดับประดาด้วยเครื่องสังคโลก เช่น ส่วนของช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ี อันเป็นลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสุโขทัย
เจดีย์ รูปแบบของเจดีย์ได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ลังกา คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม ที่ฐานเจดีย์มีรูปช้างล้อมรอบ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นเจดีย์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของสมัยสุโขทัย
นอกจากนั้น สุโขทัยยังสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะของสุโขทัยเอง เป็นแบบสุโขทัยแท้เรียกว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” คือ เป็นเจดีย์ที่มีฐานสูงย่อมุมไม้ 20 ที่สำคัญคือ องค์ระฆังทำเป็นรูปดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นี่คือเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษไม่เคยมีในสมัยอื่นมาก่อนเลย

 

สำหรับรูปแบบของเจดีย์ได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ลังกา คือ เจดีย์ทรงระฆังกลม ที่ฐานเจดีย์มีรูปช้างล้อมรอบ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อม ที่อำเภอศรีสัชนาลัย สุโขทัย จัดเป็นเจดีย์ที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของสมัยสุโขทัย

 

นอกจากนั้น สุโขทัยยังสร้างเจดีย์ที่มีลักษณะของสุโขทัยเอง เป็นแบบสุโขทัยแท้เรียกว่า “เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” คือ เป็นเจดีย์ที่มีฐานสูงย่อมุมไม้ 20 ที่สำคัญคือ องค์ระฆังทำเป็นรูปดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ นี่คือเจดีย์ที่มีลักษณะพิเศษไม่เคยมีในสมัยอื่นมาก่อนเลย 

 

(ซ้าย) ประติมากรรมตกแต่งสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรอบเจดีย์สมัยสุโขทัย

 

จิตรกรรม

จิตรกรรมสุโขทัยเท่าที่พบหลักฐานมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เขียนตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยสีฝุ่น จึงสลายตัวไปตามกาลเวลา แต่เท่าที่พบ

เช่น ที่ผนังสถูปวัดเจดีย์เจ็ดแถวศรีสัชนาลัย ซุ้มสถูปวัดมหาธาตุสุโขทัย สีที่ใช้เขียนภาพได้มากจากธรรมชาติโดยตรง คือ ดินและยางไม้ มีดินสีแดง เหลือง ขาว และดินดำ มักระบายสีแดง ตัดเส้นดำ ผมดำ ผิวเนื้อขาว ลวดลายมีสีเหลืองบ้างเล็กน้อย 

จิตรกรรมอีกลักษณะหนึ่ง คือการเขียนลวดลายลงบนเครื่องถ้วยชามสังคโลก ซึ่งเป็นศิลปะหัตถกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของศิลปะสมับสุโขทัย ที่ทำได้ดีและทำจำนวนมากจนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออก แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ที่เตาทุเรียง ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองศรีสัชนาลัย

Back to Top


สมัยอู่ทอง

 

ศิลปะอู่ทอง เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะทวาราวดี ขอม เชียงแสนและศิลปะสุโขทัย ศิลปะอู่ทองพบมากที่สุดในบริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา เมืองลพบุรี สุพรรณบุรี และเมืองสรรค์บุรี (อยู่ในเขตจังหวัดชัยนาท) ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะอันเนื่องมาจาก พระพุทธศาสนานิกายหินยาน รูปแบบของศิลปะก็รับอิทธิพลจากศิลปทวาราวดี ขอม และสุโขทัย

ประติมากรรม

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า พระพุทธรูปในสมัยอู่ทองเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตัวดียิ่งกว่า พระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์เสียอีก ซึ่งก็หมายความว่าช่างสมัยอู่ทองสร้างพระพุทธรูปแบบอู่ทอง โดยประมวลเอาอิทธิพลจากสมัยต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างแยบยล จนได้พระพุทธรูปที่มีลักษณะเฉพาะตัว

 

 

ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีไรพระศก ชายจีวรหรือสังฆาฏิตัดเป็นเส้นตรง ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยและมีฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน
สำหรับอิทธิพลทวาราวดีและขอมผสมกัน พระพุทธรูป มักมีรัศมี เป็นรูปบัวตูม ส่วนอิทธิพลขอมหรือลพบุรี พระพุทธรูปจะมีรัศมี เป็นเปลว ส่วนอิทธิพลสุโขทัยนั้น ถึงแม้จะมีอิทธิพลของ ศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนอยู่มาก แต่พระพุทธรูปก็ยังคงมีไรพระศก และฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน

สถาปัตยกรรม


ได้แก่ เจดีย์ที่มีทรวดทรงสูงชลูดและเป็นเจดีย์ทรายที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี เจดีย์วัดแก้ว เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาทส่วนพระมหาธาตุ ที่จังหวัดชัยนาท อาจสังเคราะห์เข้าเป็นเจดีย์แบบอู่ทองได้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม มีเจดีย์บริวารประกอบโดยรอบ ปรางค์แบบอู่ทองก็มี เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นปรางค์ที่เลียนแบบปรางค์ขอม แต่ได้แก้ไขให้มีรูปทรงสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับสร้างปรางค์แบบไทย ๆ ในสมัยต่อมา

    

Back to Top


สมัยอยุธยา

ศิลปะอยุธยาเริ่มต้นพร้อมกับการสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.1893 และสิ้นสุดลงเมื่อเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 ความเชื่อของชาวกรุงศรีอยุธยามีลักษณะแตกต่าง ไปจากความเชื่อของชาวสุโขทัย แม้ว่าจะนับถือศาสนาพุทธนิกายหินยานเหมือนกันก็ตามกรุงศรีอยุธยานั้นปกครองด้วยระบบกษัตริย์โดยเชื่อว่ากษัตริย์คือ สมมุติเทพ อันเป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชของขอม ซึ่งขอมนับถือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู บางสมัยก็นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน เมื่อไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากขอม ความเชื่อระบบกษัตริย์และพิธีกรรมต่าง ๆ ของฮินดู ก็มาปรากฏในพิธีการต่าง ๆ ของอยุธยาด้วยการสร้างศิลปกรรมของอยุธยาจึงปรากฏอิทธิพลขอมเข้ามาด้วยอย่างชัดเจน เช่น การสร้างปรางค์หรือปราสาทแบบขอม และการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็รับแบบอย่างทางศิลปะจากสุโขทัยและอู่ทองด้วย

 

ประติมากรรม

พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย แต่ยังคงลักษณะของอู่ทองไว้บ้าง จึงดูไม่งดงามเท่าที่ควร แต่ฐานมีลวดลายเครื่องประดับมากมาย หลังจากรัชกาลของพระรามาธิบดีที่ แล้ว พระพุทธรูปนิยมสลักด้วยศิลาทรายมาก เพราะพระเจ้าปราสาททองปราบกัมพูชาได้ จึงนิยมใช้ศิลา สลักพระพุทธรูป พระพุทธรูปในสมัยพระเจ้าปราสาททองและพระนารายณ์มหาราช มักจะมีพระเนตรและพระโอษฐ์เป็นขอบสองชั้น หรือไม่ก็มีพระมัสสุเล็ก ๆ อยู่เหนือพระโอษฐ์
นอกจากการสลักพระพุทธรูปแล้ว ก็มีพระพุทธรูปทรงเครื่อง ซึ่งนิยมทำกันมากในปลายสมัยอยุธยาที่เรียกว่า พระทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย โดยเฉพาะพระทรงเครื่องน้อยจะมีกรรเจียก ยื่นเป็นครีบออกมาเหนือใบพระกรรณ ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นลักษณะแบบอยุธยาอย่างแท้จริง

พระปรางค์ ศิลปะอยุธยา
ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา แบ่งออกเป็น 4 สมัย คือ

1. สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สถาปัตยกรรมในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปแบบลพบุรีหรืออู่ทองมากกว่าสมัยสุโขทัย เช่น ที่วัดพุทไธสวรรย์ วัดพระราม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก วัดต่าง ๆ ที่กล่าวชื่อมานี้ จะสร้างสถูปรายรอบภายในวัด เพราะถือว่าสถูปเป็นประธานของพระอาราม และมักสร้างเป็นปรางค์อย่างแบบลพบุรีหรืออู่ทอง

เจดีย์สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ 
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เจดีย์ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สถาปัตยกรรม มีอิทธิพลของศิลปะ แบบสุโขทัยมากกว่าเก่า เปลี่ยนจากการสร้างพระสถูปเป็นพระเจดีย์อย่างทรงลังกา เช่น พระเจดีย์ใหญ่สามองค์ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระเจดีย์ใหญ่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

3. สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงได้ขอมมาไว้ในอำนาจอีก อิทธิพลทางศิลปะขอมจึงได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง เช่น การสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดที่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในสมัยนี้เองที่มีการสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองขึ้นด้วย ที่งดงามมากคือ เจดีย์ย่อมุมไม่สิบสอง ที่วัดชุมพลนิกายาราม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โบสถ์วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ 
( จำลอง ที่เมืองโบราณ จังหวัดสมุทปราการ) 
มีเส้นแนวหลังคาที่อ่อนโค้ง

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก
มีเสากลมและหัวเสาเป็นรูปบัวตูม

4. สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สมัยนี้นิยมสร้างเจดีย์ไม้สิบสอง ต่อเนื่องมาจากยุคก่อน แต่พระเจ้าบรมโกศทรงโปรดฯ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดเก่า เช่น พระเจดีย์ใหญ่ที่วัดภูเขาทอง เป็นต้นมาในระยะปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โบสถ์วิหารมักทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง วิหารสมัยอยุธยายุคนี้จะทำฐานและหลังคาเป็นเส้นอ่อนโค้ง แบบตกท้องช้างหรือแบบกาบสำเภาซึ่งทำให้โบสถ์ วิหาร รู้สึกเบาเหมือนจะลอยได้ อันถือเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ส่วนผนังโบสถ์ วิหาร ก่ออิฐและเจาะผนังเป็นช่องลูกกรง เสาก่ออิฐเป็นเสากลมและแปดเหลี่ยม มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม ไม่นิยมสร้างให้มีชายคายื่นออกมาจากบัวหัวเสามาก

ตู้พระธรรมฝีมือครูวัดเชิงหวาย

จิตรกรรม

จิตรกรรมอยุธยา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับตั้งแต่ยุคเริ่มต้นกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเจริญสูงสุดในสมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะส่วนรวมของจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา ก็คือ นิยมใช้สีหลายสี มักปิดทองบนรูปและลวดลาย แต่การเขียนภาพต้นไม้ ภูเขาและน้ำยังแสดงให้เห็นอิทธิพลจีนอยู่บ้าง จิตรกรรมฝาผนังศิลปะอยุธยาที่เหลือให้เห็น ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่โบสถ์วัดใหญ่ จังหวัดเพชรบุรี เขียนเรื่องเทพชุมนุม เป็นฝีมือเขียนครั้งพระเจ้าเสือ จิตรกรรมฝาผนังที่พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ภาพเขียนในพระสถูปใหญ่ ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

จิตรกรรมอีกประเภทหนึ่งของศิลปะอยุธยา คือ ลายรดน้ำที่เขียนประดับตู้พระธรรม ที่จัดว่างดงามที่สุด ได้แก่ ลายรดน้ำบนตู้พระธรรมฝีมือครูวัดเชิงหวาย

Back to Top


ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

พระประธานพระอุโบสถ์
วัดสุทัศน์เทพวราราม

สมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพพระมหานครฯ ขึ้นเป็นราชธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 ทรงโปรดให้สร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดวาอารามต่าง ๆ มีการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมตามคติแผนผังกรุงศรีอยุธยา การสร้า่งบ้านเมืองขณะนั้นทำให้บรรดาช่างก่อสร้าง ช่างปั้น ช่างเขียน จากสกุลช่างอยุธยา กรุงธนบุรี ร่วมใจกันสร้างงาน จิตรกรรม ประติมากรรม และงานประณีตศิลป์ขึ้น เพื่อพัฒนาและฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 

ประติมากรรม


ในรัชกาลที่ 1 ไม่ค่อยพบว่าได้สร้างประติมากรรมประเภท พระพุทธรูปขึ้นมาใหม่มากนัก แต่นิยมการอัญเชิญพระพุทธรูป จากโบราณสถาน ที่รกร้างจากเมืองอื่น มาเก็บรักษาไว้ หรืออัญเชิญมาเป็น พระประธานในวัดต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ เช่น พระศรีศากยมุณี รัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐาน ไว้ที่พระอุโบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม

พระพุทธรูปทองคำ
ในพระอุโบสถ์วัดไตรมิตร ฯ

พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ในพระอุโบสถวัดนางนอง

พระพุทธรูปทองคำ ศิลปะสมัยสุโขทัย อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นต้น การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง นิยมสร้างต่อเนื่องจากสมัยอยุธยาตอนปลาย มีทั้งพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อยเช่นกัน แต่สมัยรัตนโกสินทร์เน้นเครื่องประดับองค์มากกว่าทรวดทรงและสีพระพักตร์ เช่น พระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสนดาราม ซึ่งหล่อขึ้นในรัชกาลที่ 3

 

สถาปัตยกรรม

สมัยรัชกาลที่ 1 นิยมสร้าง โบสถ์ วิหาร ปราสาทราชวัง เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย เช่น การสร้างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 

(ซ้าย) เจดีย์ย่อมุมตั้งแต่ฐานตลอดถึงองค์เจดีย์
(บน) เจดีย์ทรงลังกาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในรัชกาลที่ 2 ศิลปกรรมแบบอย่างศิลปะอยุธยา ได้รับความนิยมอย่างพร่หลาย เช่น มีการสร้างเจดีย์ย่อมุมแบบอยุธยา เช่น เจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ที่วัดพระเชตุพนฯ และเจดีย์ทรงลังกา ตามแบบอยุธยา เช่น เจดีย์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเจดีย์ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น

 

เจดีย์และปรางค์ ได้รับอิทธิพลจากอยุธยาและอิทธิพลขอม เช่นการสร้างพระปรางค์ แต่ได้มีการแก้ไขรูปทรงของปรางค์อยุธยา จนได้ลักษณะเฉพาะของปรางค์สมัยรัตนโกสิทร์คือ เป็นปรางค์ที่มีฐานสูงเรือนธาตุและยอดเล็ก ส่วนยอดมีปรางค์เล็กประดับสี่ทิศ เช่น ปรางค์วัดอรุณราชวราราม และปรางค์ที่วัดราชบูรณะเชิงสะพานพุทธยอดฟ้าฯ กรุงเทพมหานคร

ศิลปจีนที่ปรากฎในสถาปัตยกรรมไทย
ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมสร้างโบสถ์ วิหาร อันได้รับอิทธิพลจากจีน เพราะมีการติดต่อค้าขายกับจีน จึงนำเอาอิทธิพลสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย จนได้ลักษณะสถาปัตยกรรม ตามพระราชนิยม ในรัชกาลที่ 3 คือ โบสถ์ วิหาร จะไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ดังแต่ก่อน เช่น พระวิหารที่วัดเทพธิดาราม วิหารวัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร เป็นต้น การประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยชามเบญจรงค์เป็นลายดอกไม้ เช่นที่หน้าบัน โบสถ์ วิหาร มณฑป และซุ้มประตูทรงมงกุฎ ทำให้ดูงดงามแปลกตา

(ซ้าย) ประติมากรรมรูปยักษ์ขนาดใหญ่
ติดตั้งในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

ุจิตรกรรมฝาผนังภายในหอไตร
วัดระฆัง ฝีมือพระอาจารย์นาก

จิตรกรรม

จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรอยุธยาตอนปลาย จิตรกรรมที่สำคัญ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม ฝีมือของพระอาจารย์นาก ผู้ทรงสมณเพศ อยู่ที่วัดทองเพลง ปัจจุบันยังมีสภาพดีอยู่มาก

จิตรกรรมฝาผนังเจริญถึงขั้นสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวได้ว่า เป็นยุคทองของจิตรกรรมไทยโดยแท้ จิตรกรที่สำคัญได้แก่ ครูคงแป๊ะ (หลวงเสนีย์บริรักษ์) และครูทองอยู่ (หลวงวิจิตรรัษฎา) ซึ่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังประชันกันที่ อุโบสถวัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ และยังมีผลงานของจิตรกรที่สำคัญอีกหลายท่าน ที่มีผลงานปรากฎ อยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดทองธรรมชาติ วัดบางขุนเทียนนอก เป็นต้น โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนา

จิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยนี้ มีลักษณะการจัดองค์ประกอบภาพ ส่วนใหญ่ เป็นดังนี้ คือ ตอนบนของผนังเขียนภาพ เทพชุมนุม เรียงขึ้นไป 2 - 4 ชั้น ทุกภาพหันหน้าไปทางพระประธานในโบสถ์ตอนล่างแถวเดียวกับหน้าต่าง เขียนเป็นภาพพุทธประวัติหรือทศชาติ ด้านหน้าพระประธาน (หน้าหุ้มกลอง) เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย ภาพเขียนในสมัยนี้ล้วนใช้สีหลายสีและปิดทองบนภาพทั้งสิ้น สีพื้นเป็นสีเข้มกว่าสมัยอยุธยาอย่างมาก

จิตรกรรมฝาผนังภายใน
พระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ฝีมือครูคงแป๊ะ (ซ้าย) และครูทองอยู่ (ขวา)

รูปแบบต่าง ๆ ในศิลปะรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1 - 3 เป็นไปตามเหตุของการก่อตั้งราชธานี ขึ้นใหม่ โดยมีแนวคิดเบื้องต้น จากคติ ความเชื่อ ของอารยธรรมของอยุธยา และพัฒนามาเป็นลำดับ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะของพระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์

ยุคที่ 2 ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6

ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา อยู่ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลง พัฒนาบ้านเมือง มีการเปิดสัมพันธ์ไมตรีกับ ต่างชาติ โดยเฉพาะกับชาติตะวันตก กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงดำเนินพระราโชบายเป็นการติดต่อสัมพันธ์กับชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใด ๆ ในอดีตกาล รัชสมัยของพระองค์เป็นเหมือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิรูปบ้านเมืองครั้งสำคัญยิ่ง เหล่านี้ ทำให้เกิดมีการผสมผสาน การสร้างงานศิลปกรรมขึ้น ระหว่าง รูปแบบศิลปะิเดิมของไทย กับรูปแบบ และกฎเกณฑ์ทางศิลปกรรมตะวันตก ส่งผลให้ศิลปกรรมของไทยในยุคที่ 2 นี้ มี่ลักษณะใหม่แปลกตาขึ้น

จิตรกรรมฝาผนังภายใน
พระอุโบสถวัดบวรนืเวศ วิหาร
ฝีมือขร้วอินโข่ง

จิตรกรรม

มีการนำความเชื่อในสร้างจิตรกรรมแนวอุดมคติแบบไทย ผสมกลมกลืนกับแนวเหมือนจริงแบบตะวันตก มีการนำ วิธีการทัศนียวิทยา (Perspective) ที่แสดงความลึกเป็น 3 มิติ มีระยะใกล้ ไกล และวิธีการจัดภาพแบบเป็นจริงในธรรมชาติ มาใช้ในการเขียนภาพ จิตรกรคนสำคัญที่เขียนภาพในลักษณะดังกล่าว ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ซึ่งมีผลงานปรากฎในโบสถ์วัดบรมนิวาส วัดบวรนิเวศวิหาร ในกรุงเทพมหานคร วัดมัฌิมาวาส สงขลา

 

เนื้อหาในจิตรกรรมของขรัวอินโข่งนอกจากจะยังคงแนวเรื่องในทางพุทธศาสนาไว้แล้ว ยังนำเสนอ เรื่องราวของ ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมของสังคมสมัยนั้น เช่น สภาพอาคารบ้านเรือน วิถีชีวิตและการแต่งกาย เป็นต้น

พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขียนโดย พระสรลักษณ์ลิขิต

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกได้ว่าเป็นยุคของการปฏิรูป (Age of Reform) หรือยุคของการทำประเทศให้ทันสมัย เพราะสมัยนี้ ลัทธิอาณานิคมได้ปรากฏตัวให้เห็นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามจากอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งกลายเป็นผลกระทบทางด้านการศึกษา ของไทย เพื่อที่จะตอบโต้กับอิทธิพลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ยอมรับการศึกษาแบบตะวันตก และได้มีการส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศในที่สุด กล่าวเฉพาะสำหรับด้านศิลปกรรม สภาพของสังคมไทยในช่วงนั้น ทำให้มีการนำอิทธิพลศิลปกรรมตะวันตกเข้ามาปรับปรุงอย่างมากมาย เพื่อความมุ่งหมายที่จะยกระดับของประเทศ ให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

ช่างไทยในสมัยนี้ ได้ร่วมปฏิบัติงาน ศึกษา เรียนรู้ การสร้างศิลปะแนวตะวันตกเพิ่มขึ้น เป็นการให้อิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ แนวคิด มากขึ้น เช่นมีการเขียนภาพเหมือนของบุคคล ซึ่งแต่ก่อนไม่นิยม และการเขียนภาพ ไม่ใช่เพื่อตกแต่งโบสถ์ วิหาร ตามความศรัทธาในศาสนาเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่เป็นการเขียนภาพเพื่อประดับ ในวังหรือในบ้าน ส่วนลักษณะการเขียนภาพคน ก็มีการเขียนกล้ามเนื้อ และสัดส่วน ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงในธรรมชาติ

ศิลปินที่สำคัญในสมัยนี้อีกพระองค์หนึ่งก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ 
ผลงานของพระองค์จะมีลักษณะไทยผสมเหมือนจริง รูปคนจะมีกล้ามเนื้อตามหลักกายวิภาค
ส่วนภาพทิวทัศน์จะมีระยะตื้นลึก ตามแนวตะวันตก

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สั่งช่างเขียนจากอิตาลี คือ นายคาร์โล ริโกลี่ (Carrlo Rigoli) มาร่วมกับช่างเขียนไทย เขียนภาพตกแต่งพระราชวัง และพระที่นั่งต่าง ๆ เช่นภาพพระกรณียกิจของรัชกาลที่ 5 ภายในโดม ของพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

พระที่นังจักรีมหาปราสาท

สถาปัตยกรรม

สมัยรัชกาลที่ 5 จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสยุโรปถึง สองครั้ง จึงได้ทรง นำแนวคิด รูปแบบศิลปะทางยุโรป ตลอดจนนำสถาปนิก จิตรกร ประติมากร ชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอิตาลี มาปฏิบัติงาน ในประเทศไทย จึงเกิดสถาปัตยกรรม เกิดอาคารรูปทรงแปลกตาเกิดขึ้นในยุคนี้มากมาย เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นแบบตะวันตกผสมแบบไทย อาคารพระที่นั่งอนันตสมาคม สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยเรเนอซองส์ ของอิตาลี โบสถ์วัดนิเวศธรรมประวัติที่บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมของโกธิค (Gothic) และในการสร้างงานสถาปัตยกรรมเหล่านั้น ได้มีการนำเอาจิตรกรรม และประติมากรรมเข้าไปตกแต่งค้วย

พระที่นังอนันตสมาคม

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออกอย่างลงตัว
คือใช้วัสดุหินอ่อนจากตะวันตกแต่รูปแบบเป็นแบบไทย

 

สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ประเภทที่อยู่อาศัย
เริ่มได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตะวันตก

พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานภายใน
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ในอุโบสถวัดราชาธิวาส ศิลปะรัตนโกสินทร์

ประติมากรรม

การสร้างพระพุทธรูป นอกจากการสร้างพระพุทธรูปเลียนแบบพระพุทธรูปสมัยอื่น ๆ แล้วยังหันมาสร้างพระพุทธรูป ที่มีรูปร่างเหมือนคนจริง มีกล้ามเนื้อ และมีสัดส่วน ถูกต้อง เช่น

รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธสิหิงค์ปฏิมากร พระประธานในอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ หล่อจำลองจากพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐาน ณ วัดราชาธิวาส

พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในวัดเบญจมบพิตร 
ศิลปะสุโขทัย

รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธวชิรญาณในพระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศ อุทิศถวายรัชกาลที่ 4 และทรงโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธอังคีรส และพระพุทธชินราช เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธและวัดเบญจมบพิตร

ในสมัยนี้ประติมากรไทย ได้สร้างงานประติมากรรม และงานตกแต่งศาสนสถานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ การปั้นหล่อพระราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลที่ 1 , 2 และ 3 สัตว์หิมพานต์ เทพชุมนุม ครุฑ ยักษ์ ประดับในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประติมากรที่มีส่วนนี้ คือ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ

ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเปิดรับอารยธรรมตะวันตกอย่างเต็มที่ มีการนำประติมากรรมเหมือนจริง รูปสลักทำด้วยหินอ่อน สั่งมาจาก ยุโรป มาประดับประดา พระบรมมหาราชวัง และพระราชวัง หลายแห่ง อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐานที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ก็สั่งทำจากประเทศอิตาีลีื

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ภาพเขียนโดย อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
พ.ศ. 2505

สมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากศิลปกรรมแนวตะวันตกโดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ได้แผ่อิทธิพลอย่างรวดเร็ว พระองค์ทรงเกรงว่า ศิลปกรรมไทยจะเป็นแนวตะวันตกเสียหมด และขาดการดูแลอย่างเป็นระบบ จึงทรงโปรดให้ตั้งกรมศิลปากรขึ้นในปี พ.ศ. 2455 เพื่อพัฒนาศิลปกรรมไทยให้เป็นระะบบและมีทิศทางที่แน่นอน ดำรงรักษาความเป็นไทยให้ก้าวหน้าสืบไป

ในปี พ.ศ. 2456 ได้ทรงโปรดให้ตั้งโรงเรียนเพื่อการเรียนการสอน ทางด้านงานช่างศิลป์ของไทยขึ้น โดยพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนศิลปะแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่ัหัว ได้ทรงเห็นความจำเป็นในการทำรูปปั้นอนุสาวรีย์ รูปปั้นและเหรียญตราต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2488 จึงสั่งประติมากรจากอิตาลี ชื่อ ศาสตราจารย์ คอราโด เฟอโรชี่ (Corrado Feroci) ซึ่งต่ิอมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อและโอนสัญชาติเป็นไทย เป็นศิลป์ พีรศรี มาดำเนินงานเกี่ยวกับอนุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย ที่สำคัญไว้หลายแห่ง และนับเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง ศิลปะของไทย ทั้งในด้านการจัดการศึกษาศิลปะ และวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย ซึ่งส่งผลต่อมาถึงพัฒนาการศิลปะร่วมสมัยของไทยในปัจจุบัน

จิตรกรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ยุคที่ 3 ตั้งแต่รัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 9

ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ได้มีการบูรณะภาพเขียนในวัดพระศรีรัตนศาสคาราม ครั้งใหญ่ จิตรกรที่เป็นแม่กองควบคุมงาน คือ พระเทวาภินิมิตร และจิตรกรท่านอื่น ๆ คือ หลวงเจนจิตรยง ครูทองอยู่ อินมี ครูเลิศ พ่วงพระเดช นายสวง ทิมอุดม และศิลปินร่วมงานอีกประมาณ 70 คน ภาพเขียนในวัดพระศรีรัตนศาสคาราม มีวิธีการเขียนภาพแบบตะวันตกที่แสดงระยะใกล้ไกล มีความลึกทั้งในการจัดองค์ประกอบภาพ และสิ่งก่อสร้างของ ปราสาทราชวัง แต่ลักษณะรูปทรงของตัวพระ ตัวนาง ตัวละครอื่น ๆ และเรื่องราวเนื้อหาที่นำมาเป็นโครงเรื่อง ยังคงลักษณะ รูปแบบจิตรกรรมไทยอยู่

ในยุคนี้ มีจิตรกรที่สำคัญอีกคนหนึ่งที่สร้างจิตรกรรมในแนวใหม่ คือ พระอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ใช้เทคนิคการเขียนภาพโดยใช้สีน้ำมัน และรูปแบบนั้น เป็นแบบสากล ที่แสดงกายภาค และหลักทางทัศนียวิทยา ที่ถูกต้อง มีการใช้แสงเงา สร้างบรรยากาศให้ภาพดูเป็นจริงตามธรรมชาติ

จิตรกรรมโดยพระอนุศาสตร์จิตรกร ในอุโบสถวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ใช้โครงเรื่องที่เขียนขึ้นมาใหม่ จากประวัติศาสตร์ไทยตอนประวัติพระนเรศวรมหาราช

ในปี พ.ศ. 2477 มีการจัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นโรงเรียน ศิลปากรแผนกช่าง สถานศึกษาแห่งนี้ จัดการศึกษา เกี่ยวกับวิชาชีพทางจิตรกรรม และประติมากรรม ทั้งรูปแบบศิลปะไทยประเพณี และแบบสากล ทำให้ประเทศไทยมีศิลปินที่มีความสามารถ หลายคน ซึ่งได้เป็นกำลังสำคัญของชาติในการสร้างผลงานศิลปกรรม แลพัฒนาศิลปกรรมไทยในสมัยต่อมา

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ออกแบบโดย 
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี
สร้างในปี พ.ศ. 2482 - 2483

ในสมัยรัชกาลที่ 8 ศิลปะไทย มีการเคลื่อนไหวในระยะสั้น ๆ เนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ในปี พ.ศ. 2486 โรงเรียน ศิลปากรแผนกช่าง ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นคณะแรก โดนเปิดสอนศิลปะ 2 สาขา คือสาขาจิตรกรรม และสาขาประติมากรรม มีศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี เป็นคณบดี นับเป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปะ แห่งแรกของประเทศ มีผลให้ศิลปกรรมไทยช่วงนี้ มีการตื่นตัวในการสร้างสรรค์สูง ทำให้เกิดผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และมีแนวทางที่หลากหลาย ทั้งในแนวไทยประเพณี และแนวตะวันตก

 

ส่วนหนึ่งของภาพเขียนฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระมหากษัตริย์ ในราชวงศ์จักรี ที่ทรงปฎิบัติงานสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ และพระราชทานผลงานเข้าร่วมแสดง กับศิลปินไทยทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา

 

พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 9

กระแสอิทธิพลของลัทธิศิลปะ อันเป็นสากล ย่อมมีผลต่อแนวทางการสร้างสรรค์ และรูปแบบของศิลปินไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9 เป็นยุคที่ศิลปะไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นตัวของตัวเอง และค้นหาแนวทางส่วนตัวศิลปิน มีอิสระใหการนำเสนอรูปแบบที่มีเนื้อหา มากกว่าแต่ก่อน เช่นการสร้างงานศิลปะที่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาลักษณะ ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนอย่างกว้างขวาง ศิลปะที่เกิดขึ้น จึงได้สะท้อนแนวคิด ปรัชญา และเทคนิควืธีการ ตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ศิลปกรรมไทยได้ก้าวย่างเข้าสู่ความเป็นศิลปะร่วมสมัย กับศิลปะสากลอย่างแท้จริง

 Back to Top

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง