รถไฟฟ้าMRT มีทั้งหมดกี่สถานี

รถไฟฟ้าไทยสีไหน เปิดเมื่อไรบ้าง?

     ในอนาคตอันใกล้การเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางกรุง จะยิ่งมีความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น หลังการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสีต่างๆในหลากหลายเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันการก่อสร้างโครงการ
รถไฟฟ้ามีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และหลังการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อ ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางระบบคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะเส้นทางการขนส่งทางรางจะเป็นอีกจุดหมายของการ
เชื่อมต่อการเดินทางในหลายระบบ

     ทีมข่าว "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" ได้รวบรวมข้อมูลรถไฟฟ้าสีต่างๆ ซึ่งมีการขยายเส้นทางเพิ่มเติมต่อเนื่อง ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าถึง 5 สี ใน 14 เส้นทางหลัก ๆ ที่ได้เปิดให้บริการแล้ว ขณะ
เดียวกันยังมีรถไฟฟ้าในอีกหลายสี หลายเส้นทางต่างๆ ที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง และเตรียมทยอยเปิดให้บริการในไม่ช้านี้

 

*** สายสีเขียว

รถไฟฟ้าบีทีเอส หรือรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถือได้ว่าเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของไทย ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 42 เริ่มจากเส้นทางสายสุขมวิท เริ่มตั้งแต่เส้นหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬา-ตากสิน (สายสีลม) จากนั้นได้ขยายเส้นทางสายสีลม ได้ถึงสถานีบางหว้า และเส้นสุขุมวิทมีส่วนต่อขยายไปอีก จนปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าเชื่อม 3 จังหวัด จากสถานีคูคต ถึงสถานีเคหะ สมุทรปราการ

*** สายสีน้ำเงิน 

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของไทย เริ่มที่สายเฉลิมรัชมงคล มีระยะทางทั้งสิ้น 20 กิโลเมตร จากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีบางซื่อ รวมทั้งสิ้น 18 สถานี  ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้งาน เมื่อวันที่ 13 เม.ย.47 และเปิดใช้จริงอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ก.ค. 47

รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ยังมีส่วนต่อขยายเชื่อมต่อเป็นวงแหวน จากสถานีหัวลำโพง ไปยังสถานีหลักสอง เปิดใช้เมื่อปี 62 และจากสถานีบางซื่อ เชื่อสถานีเตาปูน และต่อไปถึงสถานีท่าพระ ซึ่งเปิดใช้ปี 63  

นอกจากนี้ยังมีโครงการต่อขยาย ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 เพื่อเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินช่วง หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ โดยจะเป็นเส้นคู่ขนาไปกับถนนเพชรเกษม ตามแผนคาดเปิดให้บริการในปี 72

*** สายสีม่วง 

รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ - บางซื่อ โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม มีระยะทาง 23 กิโลเมตร ถือเป็นอีกเส้นทางที่ เชื่อมต่อการเดินทางจากชานเมืองฝั่งนนทบุรี เข้าสู่เมือกงรุง โดยเป็นสถานียกระดับตลอดเส้น โดยได้เปิดใช้เมื่อปี 59

ยังมีโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ที่เรียกว่า สายสีม่วงใต้ ระยะทางประมาณ 23.6 กิโลเมตร เส้นทางนี้มีความน่าสนใจเพราะจะมีทั้งสถานีใต้ดิน ซึ่งจะก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง ตั้งแต่สถานีเตาปูน ถึง ดาวคะนอง  ผ่านหอสมุดแห่งชาติ ถนนผ่านฟ้า สะพานพระพุทธยอดช้า ก่อนจะทำเป็นทางยกระดับจากดาวคะนองถึง ครุใน วางเป้าหมายเริ่มก่อสร้างปี 65 แล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 70

*** สายสีทอง 

รถไฟฟ้าสายสีทอง ถือถือเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง เพื่อแก้ไขปัญหาการสร้างรถไฟฟ้าสายหลัก และเพื่อขยายเส้นทางการคมนาคมไปยังพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจ  ย่านคลองสาน  โดยเฉพาะการเชื่อมต่อสู่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ฝั่งธนบุรี คือ "ไอคอนสยาม"

นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีทอง ยังเป็นรถไฟฟ้ารางเบา ใช้รถไฟฟ้าระบบไร้คนขับสายแรกของประเทศ ด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เนื่องจากเป็นเส้นทางระยะสั้น 2.8 กิโลเมตรจึงมีรถนำมาใช้รับส่งผู้โดยสารจำนวน 2 ขบวน และสำรองในระบบ 1 ขบวน ได้เปิดให้บริการแล้วเมื่อปลายปี 63 ที่ผ่านมา


*** สายสีแดง 

 หลังเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้การเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ มีความล่าช้าไปจากแผนเดิม แต่ล่าสุด รถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งถือเป็นโครงการระบบรถไฟชานเมือง โดยการดูแลของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยก็สามารถเปิดให้บริการได้เป็นเส้นทางล่าสุด

แม้รถไฟฟ้าสายสีแดง ถือเป็นโครงการมหากาพย์ที่ใช้เวลาก่อสร้างและดำเนินโครงการยาวนานถึง 14 ปี แต่ในที่สุดก็สามารถเปิดให้บริการเดินรถได้แล้วเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 64 โดยจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรีเป็นเวลา 3 เดือน  ในเส้นทาง ตลิ่งชัน-บางซื่อ และบางซื่อ-รังสิต 

รถไฟฟ้าสีนี้ ยังมีแผนขยายเส้นทางต่อไปอีก โดยจากรังสิต จะมีส่วนต่อขยายไปถึง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ซึ่งตามแผนคาดจะเปิดให้บริการในปี 69 เช่นเดียวกับส่วนต่อขยายจากตลิ่งชัน ที่จะเชื่อมต่อไปังศาลายา และโรงพยาบาลศิริราช  ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 69 เช่นกัน  

และยังมีแผนขยายต่อในเส้นทางที่เรียกว่า Missing Lin ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ - หัวหมาก ระยะทาง 25.9 ที่วางเป้าจะเปิดบริการในปี 71

*** สายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทางนี้เชื่อมต่อจากแครายไปถึงมีนบุรี ด้วยระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เป็นอีกเส้นทางที่น่าจับตา เพราะเป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายนี้มีเส้นทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มในอนาคตได้อีกด้วย คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 65 ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเดิม

*** สายสีเหลือง 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นอีกเส้นทางที่เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบโมโนเรล โครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทาง 30.4 กิโลเมตร รวม 23 สถานี มีเป้าหมายเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา  และอีก 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมแอร์พอร์ต เรล ลิงค์  บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียวที่สถานีสำโรง เป้าหมายคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 65 เช่นกัน

*** สายสีส้ม

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เส้นทางนี้มีความพิเศษ เนื่องจากมีเส้นทางวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา จากสถานีศิริราชขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

     โครงการนี้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ เส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 67 ส่วนโครงการช่วงตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ยังอยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการ หลังจากได้มีการยกเลิกการประมูลรอบแรกไป และเตรียมเปิดประมูลใหม่ จึงคาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการในปี 70

 *** สายสีน้ำตาล

 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล คราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) ถือเป็นอีกเส้นทางที่เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบรางโมโนเรล เป็นเส้นทางที่มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทางรางได้ถึง  7 เส้นทาง ได้แก่รถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณแยกแคราย  รถไฟฟ้าสายสีแดง ที่แยกบางเขน  รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่แยกเกษตร โ รถไฟฟ้าสายสีเทา ที่แยกทางต่างระดับศรีรัช รถไฟฟ้าสายสีส้ม และสีเหลืองฯ ที่แยกลำสาลี

เส้นทางนี้ยังมีความพิเศษของระบบการก่อสร้าง เนื่องจากจะใช้ตอม่อเดียวกับโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2   การก่อสร้างทางวิ่งจึงเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และBearing Shoe และออกแบบให้มีเสาตอม่อสายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วนที่ก่อสร้างไว้แล้ว โครงการนี้วางเป้าหมายจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 68

*** สายสีเทา

    รถไฟฟ้าสายสีเทา เส้นทาง วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ ถือเป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพฯเชื่อมเส้นทางจากชานเมืองฝั่งเหนือ เข้าสู่ใจกลางเมืองแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิท สาทร ถนนพระรามที่ 3  โดยเส้นทางสีเทาเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ) มีแผนจะเปิดให้บริการในปี 70 ส่วนสีเทาใต้ (พระโขนง-ท่าพระ)ยังอยู่ในแผนแม่บท

    เส้นทางนี้การก่อสร้างจะเป็นระบบโมโนเรล มีจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งระบบรางในหลายเส้นทาง โดยเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9  และเชื่อต่อรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ - หัวหมาก ส่วนสถานีทองหล่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท  นอกจากนี้ยังมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี  และสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี สถานีตลาดพลู  

*** สายสีฟ้า

    โครงการถไฟฟ้าสายสีฟ้า เส้นทาง ดินแดง-สาทร มีเป้าหมายรองรับการพัฒนาพื้นที่ย่านดินแดง ซึ่งมีโครงการพัฒนาย่านมักกะสัน เคหะชุมชนดินแดง และการเปิดใช้ศาลาว่าการกรุงเทพฯ 2 ระยะที่ 2-4  เชื่อมต่อย่านธุรกิจบนถนนวิทยุ สาทร รวมระยะทาง 9.5 กิโลเมตร  ตามแผนแม่บทคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 72

    เส้นทางนี้การก่อสร้างจะเป็นระบบโมโนเรล เริ่มต้นต้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 จากสถานีประชาสงเคราะห์ ผ่านเคหะชุมชนดินแดง สถานีมักกะสัน  แยกอโศก-เพชรบุรีซอยนานาเหนือ เข้าสู่ถนนวิทยุ แยกเพลินจต ก่อนเข้าสู่ถนนสาทร

     ความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่กระจายสู่ชานเมืองมากขึ้น ดังนั้นรถไฟฟ้าหลากสีที่เกิดขึ้น จึงช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการเดินทาง แต่ปัญหาสำคัญคือค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทย สร้างภาระต้นทุนการเดินทางที่แพงลิ่ว หากเทียบบริการรถไฟฟ้าในต่างประเทศ  ดังนั้นแม้รถไฟฟ้าจะคาดหวังเพื่อช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ แต่ในเมื่อค่าโดยสารที่ยังแพงอยู่แบบนี้รถไฟฟ้าที่มีอยู่อาจไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ทั้งหมด

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม

Refresh


เราใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากยิ่งขึ้น คุณสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้

รถไฟฟ้าบีทีเอสมีกี่สถานี

ทางวิ่ง เส้นทางเดินรถ ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส มีเส้นทางเดินรถ 2 เส้นทาง รวมระยะทางโดยประมาณ 68.25 กิโลเมตร รวม 60 สถานี

รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมมีกี่สถานี

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม.

รถไฟฟ้า MRT มีกี่ขบวน

จำนวนรถไฟฟ้า MRT วิ่งบริการสูงสุด 54 ขบวน

MRT สายสีน้ําเงิน มีกี่สถานี

เส้นทางรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. 38 สถานี ประกอบไปด้วย โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 18 สถานี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง