การวิจัยเชิงคุณภาพ มีกี่ขั้นตอน

20 ส.ค. 58 — Day 5 วันสุดท้ายของการเข้าร่วมฟังการบรรยาย Twilight Program (18:00-20:00 น.) ในชุด “การวิจัยเชิงคุณภาพ” จัดโดย วช. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ Central World

อ่านบันทึกการถอดบทเรียนการวิจัยเชิงคุณภาพ ครั้งก่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ

  • Day 1 //wp.me/p9hp9-1m6
  • Day 2 //wp.me/p9hp9-1mm
  • Day 3 //wp.me/p9hp9-1my
  • Day 4 //wp.me/p9hp9-1n0

สำหรับวันนี้เป็นการบรรยายในหัวข้อ “การเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ” โดย ผศ.ดร. สมสุดา ผู้พัฒน์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ความหมายสำคัญ ของการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ

  • เขียนความจริง เพื่อตอบคำถามหรือปัญหาซึ่งยังไม่มีผู้ใดรู้มาก่อน
  • เปิดเผยแก่สาธารณชน
  • ความจริงนั้น ได้มาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (พิสูจน์ได้)
  • นำเสนอในรูปแบบการพรรณนา “ข้อเท็จจริง” เชื่อมโยงไปสู่ “ข้อสรุปความจริง”

ผู้วิจัยมาหาความจริง เอาความจริงมาเปิดเผย ต้องมีใจเป็นกลาง  จิตต้องไม่คิดอกุศล อย่ามโน

ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ไม่ต้องทำวิจัย แต่ความจริงบางอย่างต้องพิสูจน์ จึงต้องทำวิจัย ความจริงในระดับอริยสัจจ์ รู้และเห็นได้ด้วยญานทัศนะ ธรรมจักขุของผู้ปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แต่สามัญสัจจ์ รู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 หลักฐานซึ่งหน้า หลักฐานร่องรอย พยานบุคคล และพยานวัตถุ

หลักการเขียนรายงานวิจัย

  • ต้องรู้ว่า ผู้อ่านเป็นใคร ใครคือ target reader
  • เขียนถูกต้อง ตรงตามความจริง (ไม่ใช่ความคิดเห็น อย่ามโน)
  • เขียนถูกหลักไวยากรณ์
  • เลือกใช้คำและภาษาที่ตรงความหมายที่จะสื่อสารกับผู้อ่าน (be precise)
  • ไม่มีอคติในการเขียน (อย่าทึกทักเอาเอง)
  • วัตถุประสงค์ของการเขียนต้องชัดเจน คือ
    • เพื่อให้ผู้อ่านรับรู้ความจริง
    • เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเหตุการณ์หรือพฤติกรรมถูกต้อง ตรงตามความจริง
    • เพื่ออธิบายทฤษฎีให้ลุ่มลึก
    • เพื่อปรับปรุงและพัฒนาวิธีปฏิบัติ

การวางแผนเตรียมเขียนรายงานวิจัย

ก่อนวิจัย (ออกแบบวิจัย)

  • วิเคราะห์ชื่อเรื่องวิจัย เพื่อหาคำสำคัญ และความสัมพันธ์ของคำสำคัญเหล่านั้น
  • กำหนดคำถามวิจัย จากคำสำคัญเหล่านั้นอย่างชาญฉลาด
  • ทำไมต้องหาคำตอบจากคำถามนั้น
  • มีหลักฐานในการค้นหาคำตอบมาก่อนหรือไม่
  • ต้องระบุได้อย่างชัดเจนว่า ใครหรือองค์กรได้ ใช้ประโยชน์งานวิจัย
  • อะไรคือวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ขณะวิจัย (วิธีวิจัย)

  • ตัวแปรในงานวิจัยชื่ออะไร ตัวแปรต้องสอดคล้องกับคำสำคัญ คำถามวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย
  • รูปแบบวิจัย ต้องเที่ยงตรงต่อการได้คำตอบของคำถามวิจัย
  • การเก็บข้อมูล ต้องถูกคนที่รู้ความจริง รู้ว่าความจริงอยู่ที่ใครกันแน่ คนนั้นต้องเต็มใจให้ความจริง และต้องเก็บข้อมูลถูกเวลา ถูกสถานที่ จึงจะได้ความจริง
  • การวิเคราะห์ข้อมูล ต้องมีข้อเท็จจริงครบสมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงข้อเท็จจริงได้ถูกต้อง และสรุปตีความได้ตรงประเด็นคำถามวิจัย

หลังวิจัย (เขียนรายงานวิจัย)

  • ต้องเขียนรายงานได้ถูกต้องตามแบบฟอร์มมาตรฐานสากล
  • ถูกต้องตามหลักการเขียน
  • เขียนให้เชื่อมโยงตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย
  • ห้ามขโมย หรือฉ้อฉลทางวิชาการ (plagiarism)
  • การตรวจเอกสารแสดงถึงความรอบรู้ ลุ่มลึก ตรงประเด็น และความเข้าใจของนักวิจัยที่มีต่อคำสำคัญและตัวแปร
  • ระบุรายละเอียดวิธีการวิจัยอย่างละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านมั่นใจว่าวิธีวิจัยมีความเที่ยงตรง
  • ผลการวิจัยได้องค์ความรู้ใหม่ ตรงกับคำถามวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย

แนวคิดสำคัญในการเขียนรายงานวิจัย

บทที่ 1 ทำไมจึงทำวิจัย

  • อะไรคือตัวแปร จะหาคำตอบเรื่องอะไร
  • ทำไมต้องหาคำตอบนั้น
  • อะไรคือหลักฐานสนับสนุน
  • มีองค์ความรู้ใหม่อะไรที่เกิดขึ้น
  • ใครคือผู้ใช้ประโยชน์

บทที่ 2 ความรอบรู้ตัวแปร

  • ต้องรอบรู้คำนิยาม (ตามพจนานุกรม ตามตำรา ตามทฤษฎี)
  • ต้องทราบความเป็นมา บริบท ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีการหาคำตอบ

  • ชื่อเรื่อง รายละเอียด และเหตุผลที่เลือก
  • จะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร ใคร-ทำไม รู้ได้อย่างไร อยู่ที่ไหน เข้าถึงได้อย่างไร
  • จะใช้เครื่องมือหรือวิธีการอะไร จึงจะได้ความจริง
  • การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการอะไร

บทที่ 4 ผลการหาคำตอบ

  • ได้คำตอบตรงตามคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่
  • คำตอบนั้น มีสาระสำคัญและรายละเอียดอย่างไร
  • คำตอบนั้นถูกต้องจริงหรือไม่
  • คำตอบนั้นได้มาจากกระบวนการวิจัยหรือไม่ (ให้เหตุผล)

บทที่ 5 สรุปผล

  • ได้องค์ความรู้ใหม่อะไร
  • ใช้ประโยชน์อย่างไร กับใครหรือองค์กรใด

19 ส.ค. 58 — Day 4 ของการเข้าร่วมฟังการบรรยาย Twilight Program (18:00-20:00 น.) ในชุด “การวิจัยเชิงคุณภาพ” จัดโดย วช. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ Central World

สำหรับวันนี้เป็นการบรรยายในหัวข้อ “การตรวจสอบข้อมููลและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ” โดย ผศ.ดร. วรรณดี สุทธินรากร จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ

  • ตีความคำพูดและการกระทำ เพื่ออธิบายและให้ความหมาย
  • มุ่งเข้าใจในทางลึก โดยไม่มุ่งหาข้อสรุปเชิงนัยทั่วไป ไม่สุ่มตัวอย่างเพื่ออ้างอิงกลับไปยังประชากร แบบงานวิจัยเชิงปริมาณ
  • ทฤษฎีหลัก (grand theory) ต่างๆ นั้น สำคัญก็จริง แต่ไม่สำคัญที่สุด การตั้งสมมุติฐานใน proposal จะเป็นข้อสงสัยแบบชั่วคราว (working hypothesis) และมีพลวัต (dynamic) ตลอดการทำวิจัย
  • ทฤษฎีฐานราก (grounded theory) สำคัญมาก
  • นักวิจัยแม้ว่าจะต้องทำตัวเป็นกลาง แต่บางครั้งต้อง “non value free” หรือ “value bounded” ด้วย เนื่องจากนักวิจัยและผู้ให้ข้อมูล (subject) จำเป็นต้องมีความใกล้ชิดกัน และให้ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ประเภทของการวิจัยเชิงคุณภาพ

การเลือกวิธีวิจัย ขึ้นกับทัศนะในการมองโลก (world view) ของนักวิจัย

  • Phenomenology
  • Ethnography / Autoethnography / Nethnography
  • Narrative study
  • Feminist approach
  • Case study
  • Grounded study
  • Mixed method

การเตรียมตัวสู่ภาคสนาม

ศึกษาหรือสังเกตจากสภาพการณ์ (setting) จากความรู้ ความคิด และการกระทำ นักวิจัยทำตัวเป็นคนใน (emic) เข้าไปคลุกคลีให้รู้ถึงรากวัฒนธรรม หรือทำตัวเป็นคนนอก (etic) ศึกษาโดยการสังเกตและจดบันทึก ทั้งแบบเปิดเผยตัว (overt) หรือไม่เปิดเผยตัว (covert)

กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล

สร้างความสัมพันธ์ที่ดี (rapport) กับผู้ให้ข้อมูล จากนั้นใช้การสังเกต การศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่ม (focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เทคนิคตะล่อมกล่อมเกลา (probe) การใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น diary, memo, field note ในการจดบันทึกเรื่องราว

ประเภทของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

  • Content analysis (of text or visual documents)
  • Narrative analysis
  • Conversation or discourse analysis
  • Semiotic structural and post-structural analysis

ผู้วิเคราะห์มีบทบาทสำคัญในฐานะ human as instrument มีความรอบรู้ในทฤษฎี สามารถตีความคำพูด (ที่สะท้อนความคิด ความเชื่อ โลกทัศน์ ค่านิยม จิตสำนึก วัฒนธรรม) เพื่อค้นหาความหมายของข้อมูล (ที่ตรงตามคำพูด และมีนัยที่ต้องตีความ) จากนั้นสามารถเชื่อมโยงข้อมูล สร้างข้อสรุป และนำไปสู่ข้อค้นพบได้

ด้วยเหตุของ human as instrument — จรรยาบรรณ จึงเป็นเรื่องที่ผู้วิจัยต้องระมัดระวังอย่างถึงที่สุด

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ต้องทำไปพร้อมๆ กัน แต่อย่าทำไปเรื่อยๆ แบบเครื่องจักร ต้องหยุดและฉุกคิดเป็นระยะ
  • แสดงข้อมูล
    • ถอดเทปสัมภาษณ์
    • ลดทอนข้อมูล (data reduction)  นักวิจัยต้องลดทอนข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาตลอดเวลา ตีความ (จากคำพูด วิวาทะ การกระทำ) และหาความหมาย (เกิดอะไรขึ้น ทำไม อย่างไร) เฟ้นหาจุดที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความชัดเจนในข้อค้นพบ
    • ย่อย และวิเคราะห์ข้อมูลคร่าวๆ ไปก่อน ให้รหัสข้อมูล (code) ให้ละเอียด ช่วงแรกอย่าย่อข้อมูล เพราะจะทำให้ผลขาดความลุ่มลึก จัดหมวดหมู่ สร้างหัวข้อเรื่องหลัก และหัวเรื่องย่อย
    • สังเคราะห์ (สร้างเป็นแผนภาพ diagram หรือ chart หรืออาจใช้ตาราง concept mapping ช่วยในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล)
  • สร้างข้อสรุป (เขียนข้อสรุปชั่วคราวไปก่อน รอหลักฐานยืนยัน)
  • ตรวจสอบความถูกต้อง (trustworthiness) การตรวจสอบตลอดเวลา ด้วยวิธี triangulation  (เช่น ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำงานกันเป็นทีมวิจัยเพื่อกันอคติ ทำหน้าที่เหมือนเป็นคนนอก หรือมีการทดลองตรวจสอบไปตลอดเส้นทาง ฯลฯ) เป็นเหมือนการ audit ในตัว
  • ยืนยันผลสรุป  (อาจมีการเปิดเวทีให้วิพากย์ผล)เก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย

(ทำเป็นวงจรแบบนี้ซ้ำๆ ไปทีละราย เขียนข้อสรุปชั่วคราว ไปจนข้อมูลที่ได้เกิดความอิ่มตัว จนกระทั่งได้รายงานฉบับสมบูรณ์)

งานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นงานมีสไตล์ ไม่ใช่งานเหมาโหล ไม่เหมือนงานวิจัยเชิงปริมาณที่มี pattern ตายตัว

18 ส.ค. 58 — Day 3 ของการเข้าร่วมฟังการบรรยาย Twilight Program (18:00-20:00 น.) ในชุด “การวิจัยเชิงคุณภาพ” จัดโดย วช. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ Central World

สำหรับวันนี้เป็นการบรรยายในหัวข้อ “เทคนิคและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ” โดย ผศ.ดร. อารีย์วรรณ อ่วมตานี จากคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขั้นตอนของการทำวิจัยเชิงคุณภาพ มีดังนี้คือ  ศึกษาข้อมูลในบริบทจริง –> จากนั้น ตั้งคำถามวิจัย (อาจมีสมมุติฐานชั่วคราว) –> จัดกลุ่มข้อมูลจากที่พบจริง –> วิเคราะห์ ค้นหาแบบแผนของความสัมพันธ์ (pattern) ระหว่างกลุ่มของข้อมูล โดยวิธีการอุปมาน (Induction method) –> สังเคราะห์เป็นข้อสรุป หรือทฤษฎี

ประเภทของการวิจัยเชิงคุณภาพ

  • ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology)
  • ทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory)
  • ชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography)
  • ประวัติศาสตร์ (History)
  • กรณีศึกษา (Case Study)
  • ทฤษฎีระบบ  (System Theory)
  • จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Ecological Psychology)  ฯ ล ฯ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

  1. การสัมภาษณ์
  2. การสังเกต
  3. การสนทนากลุ่ม
  4. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอื่นๆ

1) การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เป็นการสนทนาโดยมีจุดมุ่งหมายอยู่แล้ว แต่ต้องค่อยๆ ตะล่อมถามไปเรื่อยๆ ให้นึกถึงคำถาม  6 Question Words (ใคร / ทำอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / ทำไม / อย่างไร) ให้ถามความคิดเห็น เหตุผล และมุมมอง ไม่ใช่ถามแบบบังคับให้ตอบว่า “ใช่-ไม่ใช่” “ถูกต้อง-ไม่ถูกต้อง” ต้องเป็นมุมมองของผู้ให้ข้อมูล ไม่ใช่มุมมองของผู้วิจัย ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ตอบเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ อย่าใช้คำถามชี้นำเพื่อให้ตอบในแนวที่วางไว้ อย่าใช้คำถามที่ทำให้ผู้ตอบไม่อยากตอบ รู้สึกอับอายหรือไม่สบายใจ และไม่ควรใช้คำถามที่เป็นความรู้ทางวิชาการเกินไป (ต้องรู้ background การศึกษาของผู้ตอบด้วย) และนอกจากนั้น ถ้ามีโอกาสสัมภาษณ์หลายๆ รอบ วิเคราะห์หลายๆ รอบ จะทำให้ได้รายละเอียดมากขึ้น เวลาเขียนบรรยายจะทำให้ได้อรรถรสมากขึ้น

  • Unstructured interview เริ่มต้นจากคำถามทั่วๆ ไป
  • Semi-structured interview สร้างข้อคำถามไว้ล่วงหน้าเป็นข้อๆ และค่อยๆ ตะล่อมถาม อย่างไรก็ตาม การถามแต่ละครั้งของแต่ละคน จะแตกต่างกันไปตามบริบทของคำตอบของผู้ให้ข้อมูล

ลักษณะของคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

  1. Experience/behavior questions ถามประสบการณ์หรือเหตุการณ์ (ช่วยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อยได้มั้ยคะ ? ….)
  2. Opinion/value questions ถามความคิดเห็น (คิดอย่างไรกับ ..)
  3. Feeling questions ถามความรู้สึก (รู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น …)
  4. Sensory questions ถามถึงสัมผัสทั้ง 5 (การเห็น การสัมผัส การรับรส การดมกลิ่น การได้ยิน) เห็นอะไร รสชาติเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินว่าอย่างไร
  5. Knowledge questions ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ (ในเรื่องที่เป็นจริง ไม่ใช่ความรู้สึก)
  6. Background/demographic questions ถามภูมิหลังของผู้ให้ข้อมูล เช่น ทำงานมากี่ปีแล้วคะ ?

ข้อควรระวังของการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์มีข้อดีคือ ได้ข้อมูลมาก ใช้เวลาน้อย แต่ข้อจำกัดคือ ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ข้อมูลจริง ผู้สัมภาษณ์ต้องมีทักษะในการเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อมูล ต้องใช้เวลาในการผูกมิตรกับผู้ให้ข้อมูล

2) การสังเกต (Observation)

  • การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  (Participation) ต้องเอาใจใส่ต่อทุกอย่างที่เกิดขึ้น ใช้ประสบการณ์ทั้งในฐานะคนในและคนนอกในเวลาเดียวกัน
  • การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นักวิจัยทำตัวเป็นคนนอก คอยจดบันทึกเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็น ขณะอยู่ใน setting ที่เลือกศึกษา

การบันทึกภาคสนาม (field note) บันทึกอะไร ?

บันทึกฉากและบุคคล (setting) การกระทำ (acts) แบบแผนกิจกรรม (pattern of activities) ความสัมพันธ์ (relationship) ความหมาย (meaning) เพื่อให้ได้คำตอบว่า ทำไมจึงเกิดพฤติกรรมและการกระทำนั้นๆ

3) การอภิปรายกลุ่ม (Focus group discussion)

หลักสำคัญคือ ผู้ร่วมสนทนาทุกคน (ซึ่งควรมีประมาณ 6-12 คน) ควรมีภูมิหลังคล้ายกัน จะต้องไม่มีความขัดแย้งกันเป็นส่วนตัว และไม่มีใครมีอำนาจเหนือคนอื่นในกลุ่ม เป็นการเก็บข้อมูลในกลุ่มที่มีปัญหาเดียวกัน มีประสบการณ์เดียวกัน มาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ประเด็นสนทนาต้องไม่ลึกซึ้ง หรือเป็นเรื่องส่วนตัว หรือ sensitive เกินไป

4) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารอื่นๆ

  • เอกสารส่วนบุคคล เช่น intimate diaries, personal letters (จดหมายส่วนตัว), autobiographies (ชีวิตและผลงาน หนังสือมุทิตาจิต)
  • เอกสารทางการ เช่น internal documents (บันทึกข้อความ รายงานการประชุม), external communications (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน), personal records/files (แฟ้มประวัติบุคคล เวชระเบียน)
  • ภาพถ่าย อาจเป็นภาพถ่ายที่ถูกค้นพบ หรือภาพถ่ายที่ผู้วิจัยได้ถ่ายขึ้นเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน
  • สถิติหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณ (ใช้อ้างอิง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ)
  • สัญลักษณ์หรือสิ่งของที่มีความหมาย เช่น พระพุทธรูป ไม้กางเขน
  • ฟิล์มภาพยนตร์ วิดีทัศน์  และข้อมูลจาก social media

ข้อควรระวังของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

ข้อมูลเอกสารส่วนตัว อาจไม่ใช่ตัวแทนของประชากร  ข้อมูลส่วนมากใส่ความคิดเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก ทำให้ bias ได้ เอกสารบางอย่างผู้เขียนไม่ได้ศึกษาถ่องแท้ หรือเขียนบิดเบือนเพื่อลบล้างความผิดของตนในอดีต

วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เป็นวันที่ 2 ของการเข้าฟังบรรยาย Twilight Program (ภาคค่ำ 18:00-20:00 น.) ในชุดการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ทาง วช. จัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ Central World

วันนี้ คนฟังแน่นขนัดเต็มห้องบรรยาย เพราะวิทยากรคือ รศ.ดร. โยธิน แสวงดี จากสถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่บรรยายได้สนุกสนานเฮฮาและบันเทิงมาก แต่แฝงไว้ซึ่งแก่นแท้ของความรู้เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ

มีคำ 2-3 คำ เกี่ยวกับระบบคิดของการวิจัยในเชิงปรัชญา ซึ่งวิทยากรทุกท่านที่มาบรรยายเรื่อง วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จะเน้นย้ำให้เราทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ได้แก่ คำว่า

  • Ontology (ภววิทยา – ความจริงคืออะไร?)
  • Epistemology (ญาณวิทยา – รู้ได้อย่างไร)
  • Methodology (วิธีวิทยา)
  • Paradigm (กระบวนทัศน์)
  • Holistic (ความเข้าใจแบบเป็นองค์รวม)

รศ.ดร. โยธิน แสวงดี ได้ให้หลักแนวคิดที่สำคัญเอาไว้ว่า หัวใจสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ

  1. นักวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องเป็นคนที่เชื่อในหลักการ “ปรากฏการณ์วิทยา” (Phenomenology) ต้องเข้าใจปรัชญาของปรากฏการณ์วิทยาอย่างถ่องแท้ ปรากฏการณ์ หมายถึง “เรื่อง” หรือการปรากฏตัวของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งทำให้มีประเด็นที่น่าสนใจจะศึกษา
  2. ใช้หลักในการค้นหาความรู้ความจริง จากแหล่งรากเง้าของข้อมูล (Grounded Theory Approach)
  3. รู้ลึก รู้จริง เป็นนักวิจัยตลอดเวลา ต้องสืบค้นอย่างจริงจังและพิสูจน์โดยละเอียด ต้องเก็บข้อมูลเอง วิเคราะห์เอง ทำเองเพื่อให้เกิดความเข้าใจทุกส่วนของประเด็นที่จะศึกษา แบบเป็นองค์รวม (Holistic) 360 องศา ทุกมิติอย่างถ่องแท้
  4. ต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในทุกมิติ มีความซื่อสัตย์และเก็บความลับได้ดี
  5. ข้อมูลของการวิจัย เป็นข้อมูลเนื้อหา (Content Data) เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้องตามปรากฏการณ์ ต้องยึดถือคุณภาพของข้อมูลเป็นสำคัญ เป็นความรู้และความจริง-ไม่ใช่ความเห็น ไม่ยึดติดแหล่งข้อมูลใดมากเกินไป ต้องตรวจสอบสามเส้า (Triangular Check) ไขว้ข้อมูลจากหลายแหล่ง หลายวิธี และหลายกลุ่มผู้รู้อยู่เสมอ เพื่อความมั่นใจว่าข้อมูลที่ได้นั้นถูกต้อง
  6. การวิเคราะห์เนื้อหา เน้นการใช้หลักการรังสรรค์วิทยา (Constructionism) ในการตีความหมายปรากฏการณ์ ขึ้นมาเป็นข้อค้นพบ และอภิปรายผล

พื้นฐานทางปรัชญาของการวิจัย

  • ปฏิฐานนิยม (Positivism) หมายถึง ข้อเท็จจริงทางสังคมเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งสากล
  • ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) หมายถึง สังคมมนุษย์นั้น มีลักษณะเคลื่อนไหว (dynamic) อยู่ตลอดเวลา

วิธีการค้นหาความจริง

  • Deductive Approach (วิธีอนุมาน) เริ่มจากการตั้งสมมุติฐาน หรือทฤษฎี แล้วพิสูจน์
  • Inductive Approach (วิธีอุปมาน) เริ่มจากข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์
    • Grounded Theory Approach การสร้างทฤษฎีจากข้อมูลพื้นฐาน

ประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ และควรจดจำ

  • ข้อมูลปรากฏการณ์ต่างๆ ที่นักวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมมาได้ด้วยวิธีต่างๆ  เช่น การจดบันทึก ขีด เขียน วาด ถ่ายภาพ บันทึกเสียง ฯลฯ เมื่อนำมาวิเคราะห์พรรณนานั้น จะต้องไม่ตีความเกินจริง (Over Statement) และอย่า “แปลงสาร“
  • การรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group Discussion) ต้องคัดเลือกผู้รู้ที่จะมาให้ข้อมูลจำนวนหนึ่ง โดยใช้หลักปรากฏการณ์วิทยา คือ ผู้รู้มีลักษณะที่ปรากฏตรงตามวัตถุประสงค์ แต่ต้องระวังอย่าให้มีผู้รู้บางรายมีคุณลักษณะที่จะ “ข่มทางปัญญา” ผู้อื่นภายในกลุ่ม จนทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
  • การสุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากร ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เพราะการคัดเลือกผู้รู้ที่จะมาให้ข้อมูลจะใช้หลักปรากฎการณ์วิทยา เพื่อคัดเลือกตัวแทนแบบสามัญการ (Generalization) หรือสามัญอาการที่พบได้ในกลุ่มคนทั่วไปที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน
  • การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เดี่ยวแบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ควรสัมภาษณ์ตามลำพังสองต่อสอง อย่าให้มีญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดมาร่วมฟังการสัมภาษณ์ด้วย เพราะจะทำให้ไม่ได้รับข้อมูลในเชิงลึก
  • ประเด็นจริยธรรมการวิจัย ต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด ต้องระวังอย่าทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดความเสียหาย ความลับรั่วไหล หรือแม้แต่เกิดความไม่สบายใจในภายหลัง

หมายเหตุ : การบรรยายวันนี้ น่าเสียดายที่ฟังได้ไม่จบ เนื่องจากเกิดเหตุมีผู้วางระเบิดแสวงเครื่องขนาด 3 กิโลกรัม ที่ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ เกิดระเบิดรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก — เลยรีบกลับบ้านค่ะ

อ้อ .. หากต้องการอ่านบันทึกอื่นๆ ภายในบล็อกนี้ ที่เกี่ยวกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ขอเชิญคลิกที่นี่ค่ะ

  • //wp.me/p9hp9-1m6
  • //wp.me/p9hp9-I4

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2558 ได้มีโอกาสไปฟังบรรยายของ รศ.ดร. องอาจ นัยพัฒน์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  เป็นการอบรมภาคค่ำ Twilight Program ในงาน Thailand Research Expo 2015 ของ วช. ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวข้อเรื่อง “การออกแบบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Designs)” ได้เกร็ดความรู้ดีๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

การบรรยายครั้งนี้ เน้น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มโนทัศน์พื้นฐาน 2) แนวคิดและหลักการทั่วไป และ 3) วิธีดำเนินการวิจัย

มโนทัศน์พื้นฐาน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญก่อนการออกแบบการวิจัย คำถามหลัก 2 ข้อ ที่เราจำเป็นต้องตอบให้ได้ ก่อนจะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (research proposal) คือ

  1. เราจะใช้วิธีการวิจัยอะไร
  2. เราจะตัดสินใจเลือก และใช้วิธีการวิจัยนั้นอย่างไร

คำตอบขึ้นอยู่กับ ฐานคติ (assumptions) โลกทัศน์ (worldview) มุมมอง (perspectives) ชุดความคิดหรือกระบวนทัศน์ (paradigms) ในเชิงปรัชญาของผู้วิจัย นั่นคือ ต้องตอบให้ได้ว่า

  1. วิธีการ (methods) อะไรที่จะนำมาใช้ในการทำวิจัย
  2. วิธีวิทยา (methodology) อะไร ที่ให้แนวทางในการตัดสินใจเลือก และใช้วิธีการวิจัยนั้น
  3. ทัศนมิติ/แนวคิดเชิงทฤษฎี (theoretical perspective) แนวคืดหรือมุมมองอะไร ที่รองรับวิธีวิทยาดังกล่าว
  4. ภววิทยา (ontology) และญาณวิทยา (epistemology) อะไรที่เป็นฐานคิดเกี่ยวกับความรู้และความจริง  เพื่อช่วยให้เข้าใจในทัศนมิติเชิงทฤษฎีนั้น

แนวคิดและหลักการทั่วไปของการออกแบบงานวิจัย

การออกแบบที่ดี จะช่วยให้เราเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (proposal) ได้ดีขึ้น Stake (2010) ให้คำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

  1. คำถาม
  2. วิธีการ
  3. สถานที่ (การเลือกตัวอย่าง สถานที่และผู้เข้าร่วมในการวิจัย)

ส่วน Maxwell (2005) ให้คำนึงถึงองค์ประกอบ 5 ประการ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกัน คือ

  1. เป้าหมาย (goal)
  2. กรอบแนวคิด (conceptual framework)
  3. คำถามวิจัย (research questions)
  4. วิธีการวิจัย (methods)
  5. ความถูกต้องเชื่อถือได้ (validity)

การทบทวนวรรณกรรม จะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง และใช้ในลักษณะอุปนัย (inductive) เพื่อไม่ให้มีอิทธิพลครอบงำต่อการแสวงหาคำตอบ โดยเฉพาะสำหรับการวิจัยที่เน้นสร้างทฤษฎี (grounded theory)

วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวคิดแบบอุปนัยนิยม (inductive) ดังนั้น จึงอาจไม่จำเป็นต้องตั้งสมมุติฐานเพื่อพิสูจน์ เหมือนงานวิจัยแบบนิรนัยนิยม (deductive) แต่จะเขียนเป็นข้อเสนอเชิงสันนิษฐาน (propositions) เพื่ออธิบายมโนทัศน์ (concepts) ต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กัน และในที่สุดอาจสรุปเป็นทฤษฎีฐานรากได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง