เรอัลมาดริด แชมป์ยูฟ่ากี่สมัย

สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด (สเปนReal Madrid Club de Fútbol) หรือที่รู้จักกันในชื่อ เรอัลมาดริดราชันชุดขาว หรือ รีลมาดริด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสเปน ตั้งอยู่ที่กรุงมาดริดเมืองหลวงของประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1902 เล่นในลาลีกาและเป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในวงการฟุตบอลศตวรรษที่ 20 โดยสามารถคว้าแชมป์ลาลีกาได้ทั้งสิ้น 31 สมัย ถ้วยโกปาเดลเรย์ 17 ครั้ง และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 9 สมัยซึ่งเป็นสถิติสูงสุดของรายการ นอกจากนั้น เรอัลมาดริดยังได้เป็นสมาชิกของกลุ่มจี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มของสโมสรฟุตบอลชั้นนำของยุโรปอีกด้วย[4]

สนามเหย้าของสโมสรคือสนามซานเตียโก เบร์นาเบวอันมีชื่อเสียงแห่งกรุงมาดริด เรอัลมาดริดเป็นสโมสรที่มีหุ้นส่วน (socios) เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 ซึ่งแตกต่างกับสโมสรส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ฟีฟ่าได้จัดว่าเรอัลมาดริดเป็นสโมสรที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20[5]

ราชันชุดขาวนั้นเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์รายการแข่งขันของยูฟ่าด้วยการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 9 สมัยและยูฟ่าคัพ 2 สมัย ซึ่งมากกว่าสโมสรอื่น ๆ ทุกสโมสร [6] มีเพียงโทรฟียุโรปเดียวที่เรอัลมาดริดยังไม่เคยได้ นั่นคือ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ซึ่งมีสิทธิ์เล่น 2 ครั้งแต่ก็พ่ายไปทั้งสองนัดโดยครั้งแรกแพ้ให้กับเชลซี 2-1 ในปี ค.ศ. 1971 และเสมอ 1-1 ในนัดแรกก่อนที่จะแพ้ 1-0 ในนัดที่สองให้กับแอเบอร์ดีนด้วยประตูรวม 2-1 ในปี ค.ศ. 1983

เรอัลมาดริดยังเป็นสโมสรที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมสูงสุดในโลกจากกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 2007[7] และยังเป็นสโมสรที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกอีกด้วย[8] เรอัลมาดริดเคยเดินทางมาเตะกับทีมชาติไทยในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ผลการแข่งขันเรอัลมาดริดชนะไป 2-1 ประตู

  • 1 ประวัติของสโมสร
    • 1.1 ช่วงปีแรก (ค.ศ. 1897-1945)
      • 1.1.1 ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต และประสบความสำเร็จในเวทียุโรป (ค.ศ. 1945-1978)
    • 1.2 คูอินตา เดล บูอีเตร และ แชมป์ยุโรปสมัยที่ 7 (1980-2000)
    • 1.3 โลสกาลักตีโกสและประธานคนใหม่ (2000-2009)
    • 1.4 การกลับมาของเปเรซและมูรีนโย (2009-ปัจจุบัน)
  • 2 ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
    • 2.1 ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
  • 3 อดีตผู้เล่นที่โด่งดังของสโมสร
  • 4 บุคลากร
    • 4.1 ทีมงานฝ่ายเทคนิคในปัจจุบัน
    • 4.2 คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • 5 เกียรติประวัติ
    • 5.1 การแข่งขันภายในประเทศ
      • 5.1.1 ลีก
      • 5.1.2 ถ้วยต่างๆในประเทศ
    • 5.2 ถ้วยต่างๆในทวีปยุโรป
    • 5.3 ถ้วยระดับโลก
  • 6 แหล่งข้อมูลอื่น
  • 7 อ้างอิง

ประวัติของสโมสร

ช่วงปีแรก (ค.ศ. 1897-1945)

ต้นกำเนิดของสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดต้องย้อนกลับไปในช่วงที่กีฬาฟุตบอลได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในกรุงมาดริด โดยนักวิชาการและนักศึกษาของโครงการสถาบันการศึกษาเสรี (Institución Libre de Enseñanza) ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดรวมอยู่ด้วย พวกเขารวมตัวกันสร้างสโมสร ฟุตบอลคลับสกาย ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 โดยเล่นกันประจำในวันอาทิตย์ตอนเช้าที่ย่านมองโกลอา และต่อมาได้มีการแยกตัวออกเป็น 2 สโมสรในปี ค.ศ. 1900 ได้แก่ นิว-ฟุตบอลเดมาดริด (New Foot-Ball de Madrid) และ กลุบเอสปัญญอลเดมาดริด (Club Español de Madrid)[9] ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1902 หลังจากที่คณะกรรมการชุดใหม่ (ซึ่งมีฆวน ปาโดรส เป็นประธาน) ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สโมสรฟุตบอลมาดริดจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ[10] สามปีหลังหลังจากที่ก่อตั้งสโมสรขึ้นได้สามปี ในปี ค.ศ. 1905 สโมสรมาดริดสามารถคว้าแชมป์การแข่งขันได้เป็นครั้งแรกหลังจากเอาชนะแอทเลติกบิลบาโอไปในการแข่งขันสแปนิชคัพรอบชิงชนะเลิศ

สโมสรฟุตบอลมาดริดกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1909 เมื่อประธานสโมสร อาดอลโฟ เมเลนเดซ ได้ลงนามข้อตกลงตามรากฐานของสเปนเอฟเอคัพ หลังจากเปลี่ยนสถานที่ฝึกซ้อมอยู่หลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1912 สโมสรก็ได้เปิดใช้สนามของตนเองเป็นครั้งแรกที่กัมโปเดโอโดเนล (Campo de O'Donnell)[11] และในปี ค.ศ. 1920 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรอัลมาดริด (Real Madrid) หลังจากที่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ได้พระราชทานตำแหน่ง "เรอัล" (ในภาษาสเปนแปลว่าของกษัตริย์หรือของหลวง) ให้กับสโมสร[12]

ในปี ค.ศ. 1929 ได้มีการก่อตั้งระบบการแข่งขันระหว่างสโมสรในสเปนขึ้นเป็นครั้งแรก เรอัลมาดริดสามารถครองอันดับที่ 1 มาตลอดในช่วงนัดแรกของฤดูกาลจนมาถึงนัดสุดท้ายซึ่งแพ้ให้กับแอทเลติกบิลบาโอ ทำให้สโมสรได้แค่อันดับที่ 2 และพลาดตำแหน่งแชมป์ให้กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา[13] เรอัลมาดริดสามารถได้แชมป์ลีกสเปนได้ครั้งแรกในฤดูกาล 1931-1932 และในปีถัดมาพวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน จึงทำให้สโมสรนี้เป็นทีมแรกในลีกสเปนที่คว้าแชมป์ติดต่อกันสองสมัย[14]

ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1931 สเปนเปลี่ยนไปใช้การปกครองระบอบสาธารณรัฐอีกครั้ง เมื่อไม่มีกษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ เรอัลมาดริดจึงพ้นจากตำแหน่งสโมสรหลวงและเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อสโมสรฟุตบอลมาดริดตามเดิม การแข่งขันฟุตบอลยังคงดำเนินต่อไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1943 สโมสรมาดริดสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาไปถึง 11-1 ในนัดที่สองของรอบก่อนชิงชนะเลิศ[15] ของการแข่งขันโกปาเดลเฆเนราลิซิโม (โกปาเดลเรย์หรือ "ถ้วยรางวัลของกษัตริย์" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ถ้วยรางวัลของจอมพล" เพื่อเป็นเกียรติแก่นายพลฟรังโก)[16] อย่างไรก็ตาม มีการชี้ให้เห็นว่า ผู้เล่นของบาร์เซโลนาถูกข่มขู่จากตำรวจ[16] และจากผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงของรัฐที่ "ถูกอ้างว่า ได้บอกกับสโมสรว่า นักฟุตบอลบางคน [ของบาร์เซโลนา] ได้ลงเล่นก็เพราะความใจกว้างของรัฐบาลที่อนุญาตให้พวกเขายังอยู่ในประเทศได้เท่านั้น"[17] และประธานสโมสรบาร์เซโลนา เอนริก ปิญเญย์โร ก็ถูกแฟนบอลมาดริดทำร้ายร่างกายด้วย[18]

ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต และประสบความสำเร็จในเวทียุโรป (ค.ศ. 1945-1978)

อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน

, นักฟุตบอลที่ได้คว้าแชมป์ยูโรเปียนส์คัพ 5 สมัย (ปัจจุบันคือ, แชมเปียนส์ลีก)

ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานของสโมสรเรอัลมาดริดในปี ค.ศ. 1945.[19] ภายใต้ประธานสโมสรเขาได้ลงทุนสร้าง สนามกีฬา ซานเตียโก เบร์นาเบว และสิ่งอำนวยความสะดวกการฝึกอบรม คีอูดาด เดปอร์ตีวา, มาดริด ถูกสร้างขึ้นมาใหม่หลังจากที่สงครามกลางเมืองสเปน ได้สงบศึกลงซึ่งความมีเสียหายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 นอกจากนั้นเขาตัดสินใจไปกับกลยุทธ์ด้านการเงินของเขาด้วยการซื้อผู้เล่นในผู้เล่นระดับโลกจากต่างประเทศที่โดดเด่นที่สุดอย่าง อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน เข้ามาร่วทีม.[20]

ในปี ค.ศ. 1955, ได้มีการแสดงความคิดเห็นที่เสนอโดยนักข่าวกีฬาฝรั่งเศสและบรรณาธิการของ กาเบรียล ฮานอต, เบร์นาเบว, เบดริกนาน และกุสซตาฟ เซเบสสร้างการแข่งขันการจัดนิทรรศการของทีมได้รับเชิญจากทั่ว ยุโรปว่า ในที่สุดก็จะเป็นในสิ่งที่วันนี้เป็นที่รู้จักกัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.[21] มันเป็นภายใต้การแนะนำของเบร์นาเบวที่เรอัลมาดริดจัดตั้งตัวเองเป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลสเปนและยุโรป.สโมสรสมารถชนะเลิศและคว้าแชมป์ได้ 5 สมัยในช่วงปี 1956 ถึง 1960 ซึ่งรวมถึงการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ชนะ ไอน์ทรัต แฟรงค์เฟิร์ต 7-3 ที่แฮมป์เดนพาร์ก ในปีค.ศ. 1960.[20] หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ห้าสมัยติดต่อกันจริงอย่างถาวรทำให้สโมสรได้รับรางวัลถ้วยเดิมและได้รับสิทธิในการสวมใส่ เกียรติตรายูฟ่า.[22] สโมสรสามารถคว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่หกได้ในปี ค.ศ. 1966 ด้วยการชนะ พาร์ทีซาน เบลกราเด ไป 2-1 ในรอบชิงชนะเลิศซึ่งเป็นครั้งที่สโมสรส่งผู้เล่นสัญชาติสเปนทั้งหมดลงทำการแข่งขัน[23] สโมสรกลายเป็นที่รู้จักในฐานะ ชื่อ เย-เย มาจากเนื้อร้อง เย่, เย่, เย่ ของวงเดอะบีเทิลส์ จากเพลง "ชี เลิฟส์ ยู" หลังจากสี่สมาชิกของทีมที่ถูกลงเป็นข่าวของ มาร์กา ในอัลบั้มชุดบีทเทิลส์วิกรุ่น เย-เย ยังเป็นเพลงที่ใช้เปิดในการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ 1962 และ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ 1964.[23]

ในปีช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1970, เรอัลมาดริดสามารถคว้าแชมป์ลีกสเปนได้ 5 สมัย และ สเปนนิชคัพได้ 3 สมัย.[24] สโมสรได้มีสิทธิไปเล่นในรายการยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971และก็ต้องปรารชัยให้แก่สโมสรฟุตบอลเชลซีจากอังกฤษไป 2-1.[25] ในวันที่ 2 กรกฎาคมค.ศ. 1978 ประธานสโมสร ซานเตียโก เบร์นาเบวได้เสียชีวิตลง ในขณะที่ฟุตบอลโลก กำลังแข่งขันที่ประเทศอาร์เจนตินา ประเทศพันธมิตรของสมาคมฟุตบอล (ฟีฟ่า) กำหนดไว้สามวันของการไว้ทุกข์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในระหว่างการแข่งขัน.[26] ในปีถัดมาสโมสรได้จัดการแข่งขัน โทรเฟโอ ซานเตียโก เบร์นาเบว เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ท่านประธานสโมสรจนถึงปัจจุบัน.

คูอินตา เดล บูอีเตร และ แชมป์ยุโรปสมัยที่ 7 (1980-2000)

ในช่วงต้นทศวรรษที่ ค.ศ. 1980 สโมสรเรอัลมาดริดไม่สามารถคว้าแชมป์ ลาลีกาได้และพวกเขาใช้เวลาไม่กี่ปีที่จะได้กลับมาอีกครั้งเพื่อไปแย่งแชมป์ลีกด้วยการผ่านความช่วยเหลือของนักเตะใหม่ที่ช่วยนำพาสโมสรกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง.[27] นักข่าวกีฬาชาวสเปนคนหนึ่งที่ชื่อ ชูลีอู เซซาร์ อิกเลซีอัส ได้ให้ฉายากับทีมรุ่นนี้ว่า คูอินตา เดล บูอีเตร,ซึ่งได้มาจากชื่อเล่นให้กับหนึ่งในนักเตะของสโมสร, เอมีลีโอ บูตรากูเอโน. และสมาชิกอีกสี่คนที่เหลือมี มานูเอล ซานชิสมาร์ติน วาซเกวซมีเชล และ มีกูเอล พาร์เดซา.[28] ต่อมาเปลี่ยนฉายยาเป็น ลา คูอินตา เดล บูอีเตร(เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มเหลือ 4 คนโดยพาร์เดซาได้ย้ายไปอยู่กับ ซาราโกซา ในปี ค.ศ. 1986) และนอกจากนั้นยังซื้อผู้เล่นที่โดดเด่นและเป็นกำลังหลักของสโมสรในเวลาต่อมาอาทิเช่น ฟรานซิสโก บูโย ผู้รักษาประตูชาวสเปนมีกูเอล พอร์ลัน เชนโด แบ็กขวาชาวสเปน และกองหน้าชาวเม็กซิโกฮูโก ซานเชซ. เรอัลมาดริดเป็นหนึ่งทีมที่ดีที่สุดในสเปนและยุโรปในช่วงปลายทศวรรษที่ ค.ศ. 1980 ด้วยการคว้าแชมป์ ยูฟ่าคัพ 2 สมัย, สเปนนิชแชมเปียนชิพ 5 สมัย, โกปาเดลเรย์ 1 สมัย และ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา อีก 3 สมัย.[28] ภายหลังฉายา คูอินตา เดล บูอีเตร ได้หายไปจากแฟนบอลเรอัลมาดริด หลังจาก เอมีลีโอ บูตรากูเอโน, มาร์ติน วาซเกวซ และ มีเชล ได้ย้ายออกไปจากสโมสร

ในปี ค.ศ. 1996 ประธานสโมสรลอเรนโซ ซานซ์ ได้แต่งตั้งให้ ฟาบีโอ กาเปลโล อดีตผู้จัดการทีมเอซี มิลาน เข้าเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสร แม้ว่าเขาดำรงตำแหน่งเพียงแค่หนึ่งฤดูกาล, แต่เขาก็สามารถนำเรอัลมาดริดคว้าแชมป์ลีกได้หนึ่งสมัยและได้ซื้อผู้เล่นตัวเก่งมากมาย เช่น โรเบร์ตู การ์ลูสเพรดรัก มีจาโตวิชดาวอร์ ซือเกอร์ และ คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ เข้ามาเล่นร่วมกับผู้เล่นเดิมของสโมสรอย่าง ราอุล กอนซาเลซเฟร์นันโด เฮียร์โร,อีวาน ซาโมราโน และ เฟร์นันโด เรดอนโด เป็นผลทำให้เรอัลมาดริด (ด้วยนอกเหนือจากเฟร์นันโด โมเรียนเตส ในปี ค.ศ. 1997) ในที่สุดสิ้นสุดวันที่รอคอยมา 32 ปีสำหรับถ้วยูโรเปียนคัพ สมัยที่ 7 ในปี ค.ศ. 1998 ภายใต้การคุมทีมของ ยุพพ์ ไฮน์เคส, สโมสรสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ตัวแทนสโมสรจากประเทศอิตาลี ไป 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศด้วยการยิงประตูชัยลูกเดียวของ เพรดรัก มีจาโตวิช.[29]

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง