ธุรกรรมทางบัญชีมีกี่ประเภท

โดยการเตรียมเอกสารประกอบการลงบัญชี ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่เป็นหลักฐานในการลงบัญชี จะต้องส่งให้แก่สำนักงานบัญชี เพื่อลงบัญชีตามความเป็นจริง ดังนี้

1.ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี (ขาย)

2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ที่ถูกหักไป)

3.ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี (ซื้อ)

4.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ที่กิจการเป็นผู้หัก)

5.สปส 1-01 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (ประกันสังคม)

 

สิ่งที่ต้องคิดก่อนส่งเอกสารทางบัญชีให้สำนักงานบัญชี

 

ก่อนที่กิจการจะรวบรวม เอกสารทางบัญชี ส่งให้สำนักงานบัญชี ตามหลักการแล้วจะต้องทราบก่อนว่ากิจการจะต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้อย่างต่ำ 5 ปี และหากกิจการจ้างสำนักงานบัญชีดูแลบัญชีรายเดือนก็ต้องส่งเอกสารให้สำนักงานบัญชีทุกเดือนเพื่อจัดทำบัญชีและนำส่งภาษีอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปกิจการจะได้รับเอกสารคืนเมื่อสรุปงบปลายปีพร้อมยื่นงบการเงินเสร็จ หรืออาจเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชี แล้วแต่ตามที่กิจการและสำนักงานบัญชีตกลงกัน

อย่างไรก็ตาม การรวบรวมและนำส่งเอกสารทางบัญชีของกิจการนั้น อาจต้องมีการจัดเตรียม โดยควรคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้  

– ระหว่างปีต้องใช้รายละเอียดในเอกสารทางบัญชีหรือไม่ ถ้าคิดแล้วว่าต้องใช้ แสดงว่าเอกสารทางบัญชีนั้นสำคัญ

– เมื่อเอกสารนั้นสำคัญ ก่อนส่งเอกสารให้สำนักงานบัญชี บางกิจการอาจเลือกคีย์ หรือบันทึกข้อมูลรายการธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ลงโปรแกรมที่ใช้ในกิจการ เพราะหากมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเหล่านั้นในระหว่างปี ซึ่งกว่าจะได้เอกสารตัวจริงคืนจากสำนักงานบัญชี อาจต้องรออีกเป็นเวลานาน

ด้วยเหตุนี้ กิจการอาจจะต้องใช้โปรแกรมเก็บข้อมูลเอกสารทางบัญชีต่างๆ สำหรับกิจการขึ้น หรืออาจใช้วิธีถ่ายเอกสารเก็บเข้าแฟ้มแยกตามประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา หรือสแกนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการเสียหายหรือข้อมูลสูญหาย

เอกสารทางบัญชีที่ต้องเตรียมเพื่อส่งสำนักงานบัญชี

 

ในทางปฏิบัติเมื่อกิจการคำนวณแล้วว่า จะใช้โปรแกรมเพื่อไว้ใช้สำหรับลงข้อมูลของกิจการ หรือเลือกที่จะถ่ายเอกสารไว้ รวมถึงบางรายใช้วิธีการสแกนเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถกลับมาตรวจสอบรายละเอียดได้สะดวกในภายหลัง

ซึ่งหลังจากเก็บข้อมูลเอกสารทางบัญชีทั้งหมดไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว กิจการจะต้องเตรียมเอกสารประเภทไหนบ้างให้กับสำนักงานบัญชีนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

1.ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี (ขาย) คือเอกสารที่แสดงรายการขายสินค้าหรือการให้บริการของกิจการ ที่จัดทำให้กับผู้ซื้อหรือลูกค้า โดยในเอกสารบัญชีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น กิจการได้ออกให้ใคร ประเภทค่าใช้จ่าย รายละเอียดสินค้า จำนวนเงินเท่าไร ระบุวิธีรับชำระเงิน เป็นต้น

ทั้งนี้ ถ้าหากเป็นกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีการแยกยอดภาษีมูลค่าเพิ่มออกมาอย่างชัดเจน แนบใบเสนอราคา และใบแจ้งหนี้ และถ้าหากในใบเสร็จรับเงินไม่ได้ระบุวิธีรับชำระเงินไว้ จะต้องใช้ใบสำคัญรับในการแปะเอกสารบัญชีเพื่อยืนยันการรับเงินด้วย พร้อมส่งให้สำนักงานบัญชีทุกเดือน

 

2.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ที่ถูกหักไป) คือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับรายได้ของกิจการ ซึ่งถ้าหากกิจการทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการ ลูกค้าที่ชำระค่าบริการให้กับกิจการ จะมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนที่จะจ่ายเงิน พร้อมกับจัดทำเอกสารการรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับกิจการ ซึ่งในกรณีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ไม่มีเอกสารให้ กิจการต้องทำการทวงขอจากลูกค้า เพื่อยืนยันว่ามีการหักเกิดขึ้นจริง

เพราะเอกสารทางบัญชีเหล่านี้ กิจการต้องเก็บรวบรวมและจัดเตรียมไว้ให้ครบถ้วนเพื่อส่งให้กับสำนักงานบัญชีทุกเดือน

 

3.ใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี (ซื้อ) คือเอกสารยืนยันการชำระเงินที่ใช้ไปของกิจการ เมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการ จะต้องมีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษีซื้อ เพื่อใช้ยืนยันว่ามีการซื้อสินค้าของกิจการจริง และถ้าหากในใบเสร็จรับเงินไม่ได้ระบุชนิดของการจ่ายเงินไว้ จะต้องใช้ใบสำคัญจ่ายในการแปะเอกสารเพื่อยืนยันการรับเงินด้วย พร้อมนำเอกสารบัญชีนี้ส่งให้สำนักงานบัญชีให้ครบถ้วน

 

4.หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ที่กิจการเป็นผู้หัก) คือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ใบทวิ 50 ซึ่งกิจการต้องเป็นผู้จัดทำ สำหรับค่าใช้จ่ายตามประเภทที่กฎหมายกำหนดที่กิจการจ่ายไป โดยต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราส่วนที่กฎหมายกำหนด ณ ตอนที่จ่ายเงินพร้อมออกเอกสารใบรับรอง การหักภาษี  ที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการ (ผู้ที่รับเงิน)

และเก็บสำเนาเอกสารใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้กับใบเสร็จรับเงิน-ใบกำกับภาษี สำหรับจัดส่งเอกสารบัญชีเหล่านี้ให้กับสำนักงานบัญชี เพื่อนำไปทำการบันทึกบัญชี และนำส่งยอดที่กิจการหักไว้นี้ แก่สรรพากรโดยการยื่นแบบภ.ง. ด.3, 53 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

 

5.สปส 1-01 ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (ส่งประกันสังคม) ในกรณีที่กิจการมีการจ้างพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป กิจการจะต้องทำประกันสังคมให้กับพนักงาน และนำส่งประกันสังคมไม่เกินวันที่ 15 ของทุกเดือนถัดไป พร้อมเก็บสำเนาเอกสารการนำส่งและหลักฐานการชำระเงินไว้ เพื่อจัดส่งให้สำนักงานบัญชี

 

สรุป

นอกจากเอกสารบัญชีต่างๆ ที่กิจการจะต้องส่งให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อทำงบการเงินแล้ว กิจการควรสรุปจำนวนเอกสารบัญชีว่าแต่ละประเภทมีกี่รายการ ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น เพื่อป้องกันเอกสารตกหล่น และง่ายต่อกิจการ และสำนักงานบัญชีในการตรวจเช็กความครบถ้วนของเอกสารทั้งหมด

จะเห็นว่าถึงแม้กิจการจะจ้างสำนักงานบัญชี ดูแลเรื่องบัญชีและภาษี แต่เจ้าของกิจการยังจำเป็นต้องเข้าใจถึงเอกสารต่างๆ รวมถึงจัดเตรียมและจัดเก็บให้ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งอาจดูยุ่งยากในช่วงแรก โดยเจ้าของกิจการสามารถปรึกษา และขอคำแนะนำจากสำนักงานบัญชี ในเรื่องการจัดเก็บเอกสารบัญชีเหล่านี้ได้เช่นกันค่ะ

PrevPreviousเมื่อไหร่ที่กิจการควรตัดสินใจ จ้างทำบัญชี

Nextหลังจดบริษัท… การทำบัญชี จำเป็นต้องใช้บริการบริษัทรับจ้างหรือไม่Next

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

บัญชีมีทั้งหมดกี่ประเภท

ประเภทของบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.บัญชีประเภทสินทรัพย์ ได้แก บัญชีประเภทสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์อื่น ๆ 2.บัญชีประเภทหนี้สิน ได้แก่ บัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาว 3.บัญชีรปะเภทส่วนของเจ้าของ ได้แก่ บัญชีประเภททุน และการถอนเงินไปใช้

การทำบัญชีต้องมีอะไรบ้าง

4 ขั้นตอนในการทำบัญชี ที่มาของข้อมูลธุรกิจ !.
🌟4 ขั้นตอนในการทำบัญชี ที่มาของข้อมูลธุรกิจ ! ... .
1️⃣เก็บรวบรวมข้อมูล ... .
2️⃣การบันทึกข้อมูล ... .
3️⃣จำแนกข้อมูล ... .
4️⃣วิเคราะห์ข้อมูล.

เอกสารทางบัญชีมีกี่ลักษณะ

เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี โดยตามความหมายของกรมทะเบียนการค้าแยกได้ 3 ประเภท ดังนี้.
(1) เอกสารที่จัดทำขึ้น โดยบุคคลภายนอก (น่าเชื่อถือมากที่สุด).
(2) เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก.
(3) เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง.

เอกสารทางบัญชีหมายถึงอะไร จงยกตัวอย่างประกอบ

เอกสารทางการบัญชี คือ เอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำบัญชี ซึ่งได้รับจากการทำธุรกิจ หรือบุคคลภายนอก เช่น บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อ ใบกำกับภาษี เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง