ประเภทของเทคโนโลยีสื่อสารมีกี่ประเภท

การสื่อสารหรือ Communication นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งชีวิตการทำงาน การทำธุรกิจ รวมไปถึงชีวิตส่วนตัวที่มีความสำคัญไม่แพ้กับความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ และแน่นอนครับว่าหากยิ่งเป็นการสื่อสารหรือพูดคุยในชีวิตการทำงานหรือการทำธุรกิจต่างๆมันก็ย่อมมีความสลับซับซ้อน และจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือเตรียมคำพูดเพื่อสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งหลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับรูปแบบการสื่อสารเหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่หลายๆคนอาจไม่คุ้นเคยกับคำว่าระดับของการสื่อสาร (Levels of Communication) กันสักเท่าไหร่ โดยในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับระดับของการสื่อสารกันให้มากขึ้นครับ

ระดับของการสื่อสาร

หากมองเชิงวิชาการตามแนวคิดเกี่ยวกับระดับการสื่อสารนั้นก็ได้มีการแบ่งออกเป็น 6 ระดับด้วยกัน คือ

1. การสื่อสารระดับตัวเอง (Intrapersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือการพูดคุยกับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้งการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง โดยทั้งหมดจะเป็นการตัดสินใจและตีความหมายด้วยตัวเองทั้งสิ้น

2. การสื่อสารระดับบุคคล (Interpersonal Communication)

การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคนขึ้นไปหรืออาจเรียกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การตั้งคำถาม การแบ่งปันแนวคิด ปรึกษาหารือประเด็นต่างๆ ซึ่งในการสื่อสารระดับนี้จะทำให้เกิดการไว้เนื้อเชื่อใจกัน สามารถนำประเด็นการสื่อสารไปสนับสนุนแนวคิดของตนเอง และอาจลดความกังวลในเรื่องบางอย่างได้เช่นกัน

3. การสื่อสารระดับกลุ่มย่อย

การสื่อสารในระดับนี้จะมีประสิทธิภาพค่อนข้างมากที่เน้นความสัมพันธ์ในการทำงาน เน้นการปรึกษาเสนอความคิดเห็นเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลต่อทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวต่อกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น บรรยากาศในการทำงานเน้นการทำงานในรูปแบบเสมอภาคเท่าเทียมกัน

4. การสื่อสารระดับเทคโนโลยี

การสื่อสารที่นำเอาเครื่องมือต่างๆเข้ามาใช้เพื่อให้การสื่อสารง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นต้องมีความเข้าใจในเครื่องมือต่างๆเป็นอย่างดี และรู้ว่าเทคโนโลยีไหนเหมาะกับอะไรและควรสื่อสารในรูปแบบใดกับคนกลุ่มใด เช่น การใช้โทรศัพท์ อีเมล์ แชท เป็นต้น

5. การสื่อสารระดับชุมชน (Public Communication)

การสื่อสารที่มีผู้รับข้อมูลข่าวสารเป็นจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่ามีจำนวนคนที่มากกว่าการสื่อสารกลุ่มย่อยโดยอาจเป็นได้ในรูปแบบกลุ่มคนในหมู่บ้าน ชุมชนในพื้นที่ กลุ่มคนในตำบล หรือท้องถิ่นต่างๆ และมักจะเกิดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งนัก อาจเป็นการแจ้งประกาศต่างๆหรือเหตุการณ์พิเศษเฉพาะกิจบางอย่าง เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมให้คล้อยตามกัน

6. การสื่อสารระดับมวลชน (Mass Communication)

การสื่อสารที่อาศัยสื่อกลางเป็นจำนวนมากในการเป็นตัวกลางเพื่อส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเป้าหมายของการสื่อสารนั้นถึงขั้นระดับประเทศแบบไม่จำกัดเลยก็ว่าได้ โดยส่วนใหญ่จะสื่อสารผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือในปัจจุบันก็เป็นช่องทางออนไลน์รูปแบบต่างๆ

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT: information technology types) เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในโลก ณ ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ เป็น 4 ประเภท คือ    1.เทคโนโลยีด้านการรับข้อมูล (Sensing Technology) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่อยู่รอบตัวเราแล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องแสกนภาพ(image scanners) เครื่องอ่านรหัสแถบ(bar code scanners) และ อุปกรณ์รับสัญญาณ(Sensors) เป็นต้น                       2. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) เช่น โทรสาร โทรศัพท์ไร้สาย เครือข่ายท้องถิ่น (LAN)                                                                                 3. เทคโนโลยีวิเคราะห์ (Analyzing Technology) ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็น Hardware และ Software                                                                   4.   เทคโนโลยีการแสดงผล (Display Technology)

ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้การคมนาคมและการสื่อสารแม้กระทั่งโลกแห่งธุรกิจต่างๆหมุนเปลี่ยนตาม เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาตนเองเพื่อก้าวให้ทันการพัฒนาทางเทคโนโลยีดังกล่าวก่อนที่จะเป็นคนล้าหลัง

การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราว เหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวม ปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอด จนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย

เทคโนโลยี มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิค ของเราเพิ่มขึ้น

คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์ กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ ประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำ เกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น

เทคโนโลยีการสื่อสาร จึงหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดยการถ่ายทอด รับรู้ข่าวสารร่วมกัน ผ่านเครื่องมือเหล่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักร วัสดุ เพียงอย่างเดียว อาจหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ที่เกิดจากการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์ด้วย

การสื่อสารมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันซึ่งมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร จะขยายออกไปเรื่อยๆ เป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย

เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)ประเภทหนึ่งซึ่งได้ พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)” เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือ ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ (Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่

  • 1.1 เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
  • 1.2 เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
  • 1.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
  • 1.4 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)

บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่าย โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" ( Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข" (Digital Revolution) ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองาน กราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็น ระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)

ประเภทของเทคโนโลยีการสื่อสาร

แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. การสื่อสารแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)

การควบคุมทิศทางการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) ยอมให้มีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเท่านั้น ทางฝั่งผู้รับไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมายังผู้ส่งได้ การไหลของน้ำออกทางท่อประปาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ท่อประปาเปรียบเสมือนสายสื่อสารโดยมีก๊อกเป็นอุปกรณ์สื่อสาร และน้ำคือข้อมูลที่ถูกส่งออกมาจากโรงงานผลิตน้ำประปา จะเห็นได้ว่าเมื่อผู้ใช้น้ำประปา เปิดก๊อก น้ำก็จะไหลออกมาซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อปิดก็อกหรือโรงผลิตน้ำประปาหยุดส่งน้ำ ส่วนผู้ใช้น้ำประปาเองก็ไม่สามารถที่จะส่งน้ำกลับไปยังโรงผลิตน้ำประปาได้ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวก็มีวิธีการทำงานเช่นเดียวกัน อุปกรณ์บางชนิด เช่น จอภาพ CRT เชื่อมต่อเข้ากับโฮสต์แบบทิศทางเดียว ข้อมูลจากโฮสต์จะถูกส่งมาแสดงบนจอภาพได้ แต่ตัวจอภาพเองไม่สามารถส่งข้อมูลใด ๆ กลับไปยังโฮสต์ได้

ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียวกันได้แก่ การถ่ายทอดข้อมูลราคาซื้อ-ขายหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปยังสมาชิกซึ่งมักจะใช้เครื่องพีซีติดต่อเข้ามาจากที่บ้านหรือ ที่ทำงาน ข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลที่เครื่องพีซีของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูราคาหุ้น ทั้งหมดหรือหุ้นบางตัวที่สนใจได้โดยไม่ต้องส่งข้อมูลใด ๆ กลับมาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพียงแค่ส่งข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมายังสมาชิกเท่านั้น

รูป การสื่อสารแบบทิศทางเดียว

2. การสื่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-Duplex Transmission)

การสื่่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-duplex Transmission) ยินยอมให้ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้และผู้รับก็สามารถส่งข้อมูลกลับมายังผู้ส่งข้อมูลได้เช่นกัน แต่มีเงื่อนไขว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะส่งข้อมูลพร้อมกันไม่ได้ ตัวอย่างได้แก่ การใช้วิทยุสื่อสารของตำรวจ หรือวิทยุ สื่อสารใช้งานทั่วไป (CB Radio) ผู้พูดสามารถพูดไปอีกฝ่ายหนึ่งได้ แต่จะพูดพร้อมกันไม่ได้ คือในขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พูด อีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้ฟัง ในระบบนี้ไม่มีการบังคับอย่างชัดเจนว่าฝ่ายใดจะพูด ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นสำคัญมิฉะนั้นก็อาจจะมีแต่ผู้พูดไม่มีใครยอมเป็นผู้ฟัง ในการสื่อสารข้อมูล จะไม่เกิดการแย่งกันส่งข้อมูลเด็ดขาดเนื่องจากการสื่อสารจะต้องมีโพรโทคอลหรือกฎการสื่อสารข้อมูลเป็นตัวบังคับ

รูป การสื่อสารแบบทิศทางเดียว

3. การสื่อสารแบบสองทิศทาง (Full-Duplex Transmission)

แบบสองทิศทาง (Full-Duplex) สามารถสื่อสารได้ 2 ทิศทางพร้อมๆ กันในตัวกลางเดียวกันเป็นทิศทางการสื่อสารที่รวดเร็วที่สุด เช่น การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ทิศทางการ สื่อสารนี้จะคล้ายกัยถนน 2 เลนการคุยโทรศัพท์ และบทสนทนา เป็นต้น

เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใหม่แบ่งเป็น 2 ชนิดมีอะไรบ้าง

การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และ ผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย เทคโนโลยีการ สื่อสาร ได้แก่ อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือ (web)

ชนิดของเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง

เทคโนโลยี มีอะไรบ้าง.
คอมพิวเตอร์ ทำงานตามโปรแกรมคำสั่ง เช่น วาดภาพ ตกแต่งภาพ สร้างงานเอกสาร เป็นต้น ... .
สแกนเนอร์ อุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ... .
กล้องดิจิทัล ถ่ายภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม ... .
อุปกรณ์บันทึกข้อมูล ... .
หน่วยความจำแบบแฟลช ... .
โทรศัพท์เคลื่อนที่ ... .
เครื่องวิทยุ ... .
โทรทัศน์.

เทคโนโลยีและการสื่อสารคืออะไร

2. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology : CT) คือ อุปกรณ์และวิธีการในการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อการเข้าถึง ค้นหาและรับส่งสารสนเทศด้วยความรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น โมเด็ม การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม การประชุมทางไกล เป็นต้น

เทคโนโลยีโทรคมนาคมคืออะไร สําคัญอย่างไร

โทรคมมาคมหรือที่เรียกว่าการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระยะทางที่มีนัยสำคัญด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึงการส่งสัญญาณเสียง ข้อมูลและวิดีโอทุกประเภท หรือเรียกง่ายๆ ว่าการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้การส่งข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว ถูกต้องและครบถ้วนเป็นต้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง