บัตรอิเล็กทรอนิกส์ มีกี่ประเภท

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยยกระดับวิถีชีวิตของประชาชน และสนับสนุนให้ประชาชน ภาคธุรกิจ ภาครัฐ เข้าถึงบริการทางการเงิน/การชำระเงินได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสื่อการชำระเงินที่ประชาชนมีความคุ้นเคยมากกว่าสื่อประเภทอื่น จากกรณีศึกษาในต่างประเทศ พบว่าโดยเฉพาะประเทศที่มีระดับการพัฒนาประเทศสูง มีการใช้บัตรเดบิตในการชำระเงินแทนเงินสดอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้ประเทศเข้าสู่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง ครบวงจร ทั้งในภาคประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐที่ติดต่อกับประชาชน อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมของไทยในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การใช้บัตรยังไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร เช่น ประชาชน ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้บัตรเดบิตเพื่อถอนเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็มมากกว่าการใช้เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้า รวมทั้งร้านค้าที่รับบัตรยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองและแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้าบางรายเลือกที่จะไม่รับชำระเงินด้วยบัตร หรือรับชำระเงินด้วยบัตรแต่กำหนดยอดซื้อขั้นต่ำ หรือให้ส่วนลดการชำระด้วยเงินสดมากกว่าการชำระด้วยบัตร เนื่องจากร้านค้ามีภาระค่าธรรมเนียมการรับบัตร (Merchant Discount Rate) และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างสูง นอกจากนี้ สถาบันการเงินผู้รับบัตร (Acquirer) เอง ก็มีต้นทุนในการวางเครื่องรับบัตรสูง ประกอบกับรูปแบบของธุรกิจที่อาจไม่เอื้อกับร้านค้าหรือธุรกิจขนาดเล็ก จึงเลือกให้บริการเฉพาะในบางพื้นที่ที่อยู่ในเขตเมืองและมีธุรกรรมของบัตรเครดิตเป็นหลัก

โครงการนี้จึงเป็นการส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำแทนการใช้เงินสดเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งการกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่อง EDC เครื่องรูดบัตรมือถือ (MPOS) และ Mobile Application ตามความเหมาะสมของร้านค้าและพื้นที่ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับประชาชน และเป็นช่องทางในการส่งข้อมูลการซื้อขายและภาษีให้กับกรมสรรพากร อีกทั้ง จะส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสดในทุกภาคส่วน โดยภาครัฐที่จะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการจ่ายเงินสวัสดิการจากภาครัฐไปสู่ประชาชนโดยตรง และการมีมาตรการจูงใจประชาชนและร้านค้าในการใช้บัตรและรับบัตร เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระเงินจากเงินสดไปสู่การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างทั่วถึง แพร่หลาย เอื้อต่อการสร้างสังคมที่เป็น Cashless society ซึ่งจะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน และศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจ และประเทศ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

เป้าหมายการดำเนินงานปี 2559

(1) ออกประกาศให้นิติบุคคลติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงิน ในเดือนพฤษภาคม 2559
(2) ออกหลักเกณฑ์ให้หน่วยงานราชการติดตั้งอุปกรณ์รับชำระเงิน ในเดือนกรกฎาคม 2559
(3) ผู้ให้บริการวางอุปกรณ์มีความพร้อมที่จะเริ่มกระจายอุปกรณ์รับชำระเงิน ในเดือนสิงหาคม 2559

ประโยชน์ที่จะได้รับ

โครงการขยายการใช้บัตร มุ่งเน้นพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร เพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดในภาคประชาชน รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1) ภาคประชาชน : สามารถเข้าถึงบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก และด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ทั้งการใช้จ่ายด้วยบัตรแทนการใช้เงินสด และการรับเงินสวัสดิการจากภาครัฐผ่านบัตร

2) ภาคธุรกิจ : เพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจและลดต้นทุนจัดการเงินสดและเช็ค โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) สามารถรับชำระเงินด้วยบัตรได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ทำให้สามารถบริหารจัดการเงินได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดโอกาสเกิดความผิดพลาดและการทุจริตจากการใช้เงินสด ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและสร้างโอกาสทางธุรกิจ 3)ภาครัฐ : สามารถบริหารจัดการการจ่ายเงินสวัสดิการและเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถประเมินประสิทธิผลของเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยภาครัฐสามารถจ่ายเงินสวัสดิการให้แก่ประชาชนได้โดยตรง รวดเร็ว ตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดความซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาด ซึ่งทำให้ กระบวนการจ่ายเงินสวัสดิการของภาครัฐมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้ง มีข้อมูลการใช้จ่ายของประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือ เพื่อนำมาใช้พิจารณาจัดสรรเงินและกำหนดรูปแบบสวัสดิการที่เหมาะสม ให้ตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้นในอนาคต เช่น การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการใช้บริการต่าง ๆ ของภาครัฐตามที่รัฐบาลจะกำหนดต่อไป (เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการรักษาพยาบาล) นอกจากนี้ ภาครัฐจะได้รับข้อมูลธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านการชำระเงินทางบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ระบบบัตรอิเล็กทรอนิกส์

              ระบบที่มีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่เรารู้จักกันดี คือระบบการฝากหรือถอนเงินอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า บัตรเอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังมีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นบัตรเครดิต (credit card) ผู้ใช้บัตรเครดิตสามารถซื้อสินค้าจากที่ต่างๆ แทนเงินสด ซึ่งจะมีการเรียกเก็บเงินภายหลัง การเรียกเก็บเงินอาจใช้วิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร ระบบนี้ให้ความสะดวกที่ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัว บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นบัตรพลาสติกมีแถบแม่เหล็กที่มีรหัสประจำตัวของผู้ใช้ เพื่อบอกรายละเอียดว่าผู้ถือบัตรเป็นใคร อาจจะต้องใช้ควบคู่กับรหัสประจำตัวที่ผู้ใช้นั้นได้มาและเป็นรหัสเฉพาะ

บัตรเครดิต

      บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่ง คือ บัตรเก่ง (smart card) บัตรชนิดใหม่นี้บรรจุชิปที่เป็นหน่วยความจำและวงจรไมโครโพรเซสเซอร์ลงไปด้วย ทำให้บัตรมีขีดความสามารถในการประมวลผลและจดจำข้อมูลไว้ในบัตร บัตรนี้อาจนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ใช้เก็บประวัติคนไข้เมื่อคนไข้จะเข้ารักษาพยาบาล แพทย์สามารถดูข้อมูลในบัตรได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้จ่ายค่าบริการต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลยอดบัญชีเงินคงเหลืออยู่ในบัตร ในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มที่จะมีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา

บัตรเก่งและเครื่องอ่าน

บัตรอิเล็กทรอนิกส์คือบัตรอะไร

น. บัตรที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ในบัตรด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็ก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด.

ระบบชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. ชำระโดยการตัดบัญชีเงินฝากผ่าน Internet Banking ซึ่งมีการเชื่อมโยงไว้กับเว็บไซต์ของร้านค้า 2. ชำระผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าออนไลน์ ด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต 3. ชำระผ่านเว็บไซต์ของร้านค้าออนไลน์ ด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะแบบใด

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (E – Card, Digital Card) เป็นบัตรที่มีมูลค่าเงินจัดเก็บอยู่ในแถบแม่เหล็กหรือ ชิพขนาดเล็กที่ฝังอยู่ในวัตถุต่าง ๆ เช่น บัตรพลาสติก เหรียญพลาสติก พวงกุญแจ บัตรสมาร์ทการ์ด ผู้ใช้บริการสามารถเติมมูลค่าเงินลงในบัตรแล้วนำไปชำระสินค้าหรือบริการในธุรกิจค้าปลีกที่ผู้ออกบัตรกำหนด โดยผู้ให้บริการจะมีเครื่องรูด ...

การชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คือข้อใด

หมายถึง กระบวนการชาระเงินระหว่างผู้จ่าย/ผู้โอนเงินไปยังผู้รับเงินที่เกิดขึ้นผ่านสื่อ และ ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ การชาระเงินผ่าน อินเทอร์เน็ต การชาระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง