โครงสร้างโปรแกรมมีทั้งหมดกี่รูปแบบ

2.1 โครงสร้างโปรแกรม (program structure)
รูปแบบการสร้างโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ โปรแกรมที่ใช้รูปแบบพื้นฐานดังกล่าวมาประกอบกัน เรียกว่า โปรแกรมโครงสร้าง ซึ่งมีรายละเอียดดันนี้
1)โครงสร้างตามลำดับ (sequence structure) เป็นโครงสร้างแสดงขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามลำดับก่อน-หลัง ทำงานจากบนล่าง หรือทำงานจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด โดยมีจุดเริ่มต้นจุดเดียวและจุดสิ้นสุดจุดเดียว และแต่ล่ะขั้นตอนจะถูกประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแสดงผลได้ดังผังงานต่อไปนี้

ตัวอย่างที่1 โปรแกมคำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 10 คน และแสดงผลที่คำณวนได้
วิธีทำ
1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ คือ คำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3/1
2. แสดงผลลัพธ์ คือ แสดงการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ได้
3. ข้อมูลนำเข้า คือ คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละคนจำนาน 10 คน
4. ตัวแปรจำนวน 11 ตัวแปร ตั้งแต่ score 1 ถึง score 10 และค่าเฉลี่ย ซึ่งกำหนด ดังนี้
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 1 แทนด้วย score 1
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 2 แทนด้วย score 2
… … … …
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 10 แทนด้วย score 10
5. ขั้นตอนการประมวล
– รับข้อมูลคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 คือ score 1 ถึง score 10
– คำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
– แสดงผลการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกาปีที่ 3/1
6. จบการทำงาน
– ผลการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3/1 แทนด้วย mean

เริ่มต้น

รับข้อมูล score 1 , score 2 , score 3 , score 4 , score 5 , score6 ,
score 7 , score 8 , score 9 , score 10

คำนวณหาค่า mean
(score 1+ score 2+ score 3+ score 4+ score 5+ score 6+ score 7+ score 8
+ score 9+ score 10) /10

แสดงผลการคำนวณค่า mean

จบการ

2)โครงสร้างแบบมีเลือก (selection structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสอนใจเลือกว่าจะใช้วิธีใด โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงจะต้องไปทำคำสั่งชุดหนึ่ง แต่ถ้าป็นเท็จต้องไปทำคำสั่งอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1) เลือกทำงานเฉพาะเงื่อนไขเป็นจริง เป็นการทำงานที่ตรวจสอบเงื่อนไขจริงเท่านั้น แสดงได้ดังผังงานต่อไปนี้

เงื่อนไข

คำสั่ง A

จบการทำงาน

ตัวอย่างที่ 2 โปรแกรมการแสดงผลการสอบถามทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยถ้าคะแนน 50 ขึ้นไป จะแสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน”
วิธีทำ
1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ คือ ตรวจสอบคะแนนว่าผ่านหรือไม่ แล้วแสดงผลการตรวจสอบคะแนนนั้น
2. แสดงผลลัพธ์ คือ แสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน”
3. ข้อมูลนำเข้า คือ คะแนนที่จะใช้ตรวจสอบ
4. ตัวแปรที่ใช้มีจำนวน 1 ตัวแปร คือคะแนนที่รับเข้ามาตรวจ แทนด้วย score
5. ขั้นตอนการประมวลผล
– รับข้อมูลคะแนนการแสดงผลการสอบทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ คือ score
– ตรวจสอบค่าคะแนน 50 คะแนน ขึ้นไป หรือไม่
– แสดงผล กรณีที่ได้ 50 คะแนนขึ้นไป แสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน” แต่ถ้าได้น้อยกว่า 50 คะแนน ให้
จบการทำงาน
6. จบการทำงาน

เริ่มต้น

รับข้อมูล

เท็จ/false
Score > =50
จริง/true
แสดงผล “นักเรียนสอบ

จบการทำงาน

2.2) เลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการทำงานที่ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าเป็นจริงให้ทำคำสั่งหนึ่งและถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง แสดงได้ดังผังงานต่อไปนี้

เงื่อนไข
คำสั่ง A

คำสั่ง B

โครงสร้างของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมจะมีรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ ( Sequence structure ) เป็นโครงสร้างที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน ก่อน-หลัง ทำงานจากบนลงล่าง หรือจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด

2. โครงสร้างแบบทางเลือก ( Selection Structure ) คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นจริงให้ทำในคำสั่งสั่งชุดหนึ่ง และถ้าตรวจสอบแล้วเป็นเท็จให้ทำในคำสั่งอีกชุดหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

   2.1. เลือกทำเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริง เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น ดังผังงานต่อไปนี้

   2.2. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขโดยถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำในคำสั่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง ดังผังงานดังต่อไปนี้

   2.3. เลือกทำแบบซ้ำซ้อน เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่มีลักษณะคล้ายๆกับเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างจริงและเท็จแต่มีข้อแตกต่างคือเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงหรือเท็จจะมีเงื่อนไขเพื่อทำการตรวจสอบอีกรอบ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดังผังงานต่อไปนี้

   2.4. คำสั่งแบบหลายทางเลือก เมื่อมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข และทำตามคำสั่งเมี่อเงื่อนไขตรงกับคำสั่งที่กำหนดไว้ ดังผังงานต่อไปนี้

3. โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ (Iteration Structure) เป็นโครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ โดยทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การแสดงข้อมูลของนักเรียนจากฐานข้อมูลโดยกำหนดจำนวนการแสดง ดังตัวอย่าง

    เมื่อกำหนดจำนวนที่แสดงหรือกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรแล้ว เงื่อนไขจะทำการตรวจสอบว่าตัวแปรมีค่าเท่าไหร่ แล้วทำการค้นหาข้อมูลนักเรียนตามจำนวนที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงออกจาก การวนซ้ำ ( Loop ) เช่น ถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 10 ก็แสดงว่าต้องการแสดงข้อมูลของนักเรียน 10 คน และเมื่อครบ 10 คนจะทำตามเงื่อนไขถัดไปหรือออกจากการวนซ้ำ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง