วิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีกี่วิธี

          จริง ๆ แล้วยังมีวิธีประหยัดพลังงานอีกมากมายที่เราสามารถทำได้ อย่างเช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ หรือใช้จักรยาน และใช้บริการรถสาธารณะแทนการขับรถส่วนตัว แต่บางอย่างก็ต้องยอมรับว่า ค่อนข้างลำบากที่จะทำ ดังนั้นวิธีประหยัดพลังงานที่เราแนะนำ ก็น่าจะเป็นเรื่องพื้นฐานที่ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ เนอะ

           การอนุรักษ์พลังงาน คือ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย การสร้างนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

เมื่อทุกอย่างบนโลกล้วนขับเคลื่อนด้วยพลังงาน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากพลังงานหมดโลก? ทุกคนรู้ว่าปัญหาเกี่ยวกับพลังงานสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย แต่เราตระหนักปัญหานี้จริงๆ แล้วหรือยัง?

ปัญหาด้านพลังงานของไทย คือ ผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราจึงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ส่งผลให้งบประมาณด้านพลังงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากการบริหารจัดการผลิตไม่ถูกวิธี และอีกมากมายที่อยู่รอบตัว ซึ่งส่งสัญญาณเตือนให้เราแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา

พลังงานเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกชีวิต การอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นทางหนึ่งที่ “ทุกคน” ควรจะทำ ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อมีหนึ่งคนทำ ขยายไปเป็นระดับองค์กร ย่อมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศอย่างแน่นอน

3 เหตุผลที่ต้องใส่ใจการอนุรักษ์พลังงาน

1. ในอนาคตการใช้พลังงานจะมีแต่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ

จำนวนประชากรในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศปรับตัวดีขึ้นอ้างอิงจากรายงานสถานการณ์พลังงานไทยปี 2561 ทำให้การใช้ การผลิต การนำเข้าพลังงานเกือบทุกประเภทเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากแหล่งน้ำมันสำเร็จรูปและไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานหลัก

จากตารางจะเห็นได้เลยว่าการใช้ การผลิต การนำเข้าพลังงานในขั้นต้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการใช้พลังงานสูงขึ้นจนไม่เพียงกับความต้องการ จึงต้องนำเข้าเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น นั่นหมายความว่าภาระค่าไฟฟ้าก็สูงขึ้นตามไปด้วย

ในอนาคตการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราไม่รีบใส่ใจการอนุรักษ์พลังงานในวันนี้ แล้วจะเริ่มต้นวันไหนล่ะ? ​

2. ลดผลกระทบเชิงลบต่อโลก

โลกพัฒนาไปข้างหน้าอย่างมาก แต่สภาพสิ่งแวดล้อมกลับแย่ลง มนุษย์ใช้พลังงานเพื่อความสะดวกสบาย ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย นี่คือตัวอย่างผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นกับโลก

โลกร้อน
อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ทำให้เกิดก๊าซต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ เป็นต้น จนกลายเป็นภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) เก็บกักรังสีความร้อนที่สะท้อนออกจากผิวโลก

อากาศเป็นพิษ
การเผาไหม้เชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของก๊าซพิษในอากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ฝนกรด
ฝนกรดเกิดจากการการเผาไหม้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ ก๊าซหุงต้ม ทำให้เกิดออกไซด์ของไนโตรเจนและกำมะถันกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งออกไซด์เหล่านี้สามารถรวมตัวกับไอน้ำในบรรยากาศจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดไนตริกและกรดกำมะถันได้ จึงทำให้ไอน้ำในบรรยากาศมีสภาพเป็นกรดมากกว่าที่ควรจะเป็น

…และยังมีอีกหลายผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้เราใส่ใจกับโลกมากขึ้น

3. เพื่อความยั่งยืนในอนาคต ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและผู้คน

ปัญหาขาดแคลนพลังงานดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่จากแนวโน้มการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามการเติบโตของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ ภาวะขาดแคลนพลังงานอาจจะใกล้เข้ามามากกว่าที่คิด เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่เราใช้อยู่กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ด้วยอัตราการใช้พลังงานแบบทุกวันนี้ อาจจะทำให้ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยหมดในอีก 10 ปีข้างหน้า

ปัญหาของทุกคนที่ควรช่วยกันแก้ไขไม่ใช่แค่เรื่องพลังงานที่ลดน้อยลง หรือมลพิษต่างๆ แต่เราควรมองไปข้างหน้าอีกหลายสิบปีว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนรุ่นใหม่มีพลังงานใช้ และได้อาศัยอยู่ในโลกที่น่าอยู่ต่อไป

แนวทางการใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์พลังงาน

เมื่อเราเข้าใจสถานการณ์พลังงาน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกแล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อมาคือ “เราจะทำอย่างไรดีเพื่ออนุรักษ์พลังงาน?” และนี่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกัน

“การอนุรักษ์พลังงาน” หมายถึง การผลิตและการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานลดลง นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ด้วย

เราไปดูแนวทางกันว่า ถ้าวันนี้เราอยากช่วยโลกอนุรักษ์พลังงานแล้ว ควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

1. ประหยัดการใช้พลังงาน

สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ทันทีคือประหยัดการใช้พลังงาน โดยเริ่มจากความตั้งใจของตนเองก่อน และขยายไปในระดับครัวเรือนและองค์กร ดังนี้

วิธีประหยัดพลังงานสำหรับใช้ในครัวเรือน
1. การออกแบบที่อยู่อาศัย มีผลต่อการอนุรักษ์พลังงานอย่างมาก บ้านที่ถูกออกแบบให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และใช้วัสดุที่เหมาะสม ก่อสร้างอย่างประณีต จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานได้ดี
2. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน สังเกตฉลากเหล่านี้: ฉลากประสิทธิภาพสูง, ฉลากเขียว (Green Label), ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5, Energy star
3. ดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเปลี่ยนกรณีที่ไม่มีประสิทธิภาพ
4. ลดนิสัยที่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าพฤติกรรมบางอย่างที่ทำจนเป็นนิสัยนั้นทำให้เกิดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองไปมากกว่าที่คิด เริ่มต้นเปลี่ยนนิสัยจากลดการเปิดไฟและเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีคนอยู่ หรือเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ ปิดโทรทัศน์ทุกครั้งโดยไม่ใช้รีโมทปิด และอีกมากมาย
5. ปลูกต้นไม้ ประเภทผลัดใบให้ร่มในบริเวณบ้าน
6. เปรียบเทียบค่าไฟในแต่ละเดือน เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคนในบ้าน

วิธีประหยัดพลังงานในระดับองค์กร
1. จำกัดการใช้ไฟฟ้าที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นลง เช่น ไฟโฆษณาสินค้า
2. ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเลิกงาน
3. ลดชั่วโมงการทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องทำน้ำเย็น พัดลมระบายอากาศ เป็นต้น และหมั่นบำรุงอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
4. ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม การปรับอุณหภูมิเพิ่มทุกๆ 1 องศาเซลเซียสจะช่วยประหยัดพลังงานประมาณ 10% ของเครื่องปรับอากาศ
5. ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน
6. ถอดหลอดไฟบริเวณที่มีความสว่างมากเกินความจำเป็น และตรวจสอบการทำงานทุกๆ 3-6 เดือน

2. เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่สามารถใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

พลังงานสิ้นเปลือง คือ พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น

พลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น

จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 1,200 เมกะวัตต์ นอกจากการพัฒนาโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักแล้ว การพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนควบคู่ด้วยก็เป็นอีกทางเลือกที่ควรทำ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม อยู่ในกลุ่มแหล่งพลังงานที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วสูงสุด ซึ่งช่วยให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าลดลง

สำหรับการใช้พลังงานทดแทนในระดับครัวเรือนในปัจจุบันอาจทำได้ไม่เต็มที่นัก แต่ยังมีการแก้ไขข้อกฎหมายลายประการเพื่อช่วยเหลือในจุดนี้อยู่ เช่น การเปิดให้ประชาชนใช้งานโซลาร์เซลล์และสามารถขายไฟฟ้าได้ รวมถึงการตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนที่ทุกคนมีส่วนร่วม เป็นต้น

3. ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยจัดการพลังงาน

พลังงานทดแทน อย่างเช่นพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม เป็นพลังงานสะอาด และเป็นทางออกที่น่าสนใจเพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงาน แต่ข้อเสียของพลังงานทดแทนคือมีราคาสูงและไม่ค่อยมีเสถียรภาพ จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักได้อย่างแพร่หลายมากนัก

ทีม ExpresSo จาก ปตท. ซึ่งเป็นทีมที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน เราเข้าใจข้อดีและข้อเสียของพลังงานทดแทน จึงได้เข้าร่วมกับองค์กรด้านพลังงานระดับโลกอย่าง Energy Web Foundation (EWF) อีกทั้งจับมือกับบริษัทเซอร์ทิส (Setris) และ Startup ด้านพลังงาน เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการข้อมูลพลังงาน (Energy Management) ด้วยแนวทางและระบบรูปแบบใหม่ อาทิ เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ผู้ใช้สามารถประเมินทิศทางการใช้ไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และรองรับการพัฒนา Smart City ต่อไป

สรุป

พลังงานมีจำกัด ในขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับความต้องการของคนที่ไม่สิ้นสุด สภาวะขาดแคลนพลังงานจึงไม่ใช่เรื่องที่ดูห่างไกลอีกต่อไป

กลับไปที่คำถามแรก “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าพลังงานหมดโลก?” แทนที่จะตอบคำถาม ExpresSo เลือกที่จะตั้งคำถามต่อไป “แล้วจะทำอย่างไรให้เรามีพลังงานใช้ในอนาคตอย่างยั่งยืนล่ะ?” และหน้าที่ของเราก็คือค้นหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหา

“การอนุรักษ์พลังงานคือหน้าที่ของทุกคน”

การที่เราแต่ละคนช่วยกันอนุรักษ์พลังงานอาจจะเหมือนเป็นแค่หยดน้ำเล็กๆ แต่เมื่อหยดน้ำรวมตัวกันสุดท้ายก็สามารถกลายเป็นมหาสมุทรได้ แทนที่จะรอให้ปัญหาพลังงานทวีความรุนแรงขึ้น…จะดีกว่าไหมถ้าวันนี้เราเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหา?

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง