บ้านชั้นเดียวใช้เสาเข็มขนาดเท่าไร

เสาเข็มต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? เพื่อความปลอดภัยและมั่นคง

หากจะกล่าวถึงการก่อสร้าง สิ่งที่สำคัญที่สุดและถือเป็นขั้นตอนแรกๆของการก่อสร้างเลยก็คือ การวางฐานราก หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า การลงเสาเข็มนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ทุกคนกังวลมากที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้ก็คงจะไม่หลุดไปจากเรื่องความยาวของเสาเข็ม จำเป็นต้องยาวแค่ไหน? ลึกเท่าไหร่? ถึงจะสามารถรับน้ำหนักโครงสร้างข้างบนได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง วันนี้เข็มเหล็กมีคำตอบมาบอกให้ทุกคนได้กระจ่างกันครับ

โดยทั่วไปแล้วการลงเสาเข็มให้สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้นั้น ควรที่จะลงให้ลึกไปจนถึงชั้นดินดานหรือชั้นดินแข็ง เพื่อที่เสาเข็มจะได้รับแรงต้านจากทั้ง Skin Fiction (แรงเสียดทานจากพื้นผิวด้านข้าง) และ End Bearing (แรงเสียดทานจากปลายเสาเข็ม) ซึ่งหากเสาเข็มลงไปไม่ถึงชั้นดินดานแล้วนั้น ถ้าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินที่พึ่งถมได้ไม่นาน หรือเป็นดินเลน เคยเป็นบ่อน้ำเป็นบึงมาก่อน อาจส่งผลให้โครงสร้างเกิดการทรุดตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบางกรณี บางพื้นที่มีดินชั้นบนที่แข็งมากจนไม่สามารถลงเสาเข็มไปได้ลึกกว่านี้อีกแล้ว ก็ยังสามารถใช้เสาเข็มแบบสั้นได้ แต่หากอยู่ในพื้นที่กรุงเทพอาจจะต้องใช้เสาเข็มแบบยาว เนื่องจากชั้นดินแข็งภายในพื้นที่กรุงเทพโดยปกติจะอยู่ลึกประมาณ 15 - 20 เมตร เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานมากพอที่จะไม่ทำให้โครงสร้างทรุดลงไปด้วย 

แต่หากจะพูดถึงการติดตั้งฐานรากเพื่อการต่อเติมนั้น คำถามที่คนส่วนมากจะสงสัยก็คือ ต้องใช้ฐานรากด้วยหรือ? ฐานรากต้องไปถึงดินดานด้วยหรือไม่? ซึ่งถ้าตอบตามจริงแล้ว การติดตั้งฐานรากลงไปให้ถึงชั้นดินแข็งอย่างไรก็ดีกว่าอยู่แล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสียหายของโครงสร้างที่เชื่อมกับตัวบ้านซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของส่วนต่อเติม เนื่องจากไม่ได้ติดตั้งฐานรากหรืออาจติดตั้งฐานรากไปไม่ถึงชั้นดินแข็งหรือไม่ได้ระดับเดียวกับฐานรากของตัวบ้าน แต่ปัญหาที่หลายๆท่านต้องเจอก็คือ หากจะต้องติดตั้งฐานรากที่สามารถลงลึกไปถึงชั้นดินแข็งก็อาจจะต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อเข้าไปติดตั้งภายในหน้างาน ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องพื้นที่ที่ต้องเข้าไปทำการก่อสร้างที่อาจจะมีไม่มากพอ ไหนจะต้องเคลียร์พื้นที่กันยกใหญ่ สนามหญ้าที่คุณรักก็อาจไม่เหลืออยู่เพราะจำเป็นต้องขุดดินเพื่อเตรียมการตอกเสาเข็ม แถมยังต้องใช้เวลานานมากกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด มิหนำซ้ำแรงสั่นสะเทือนของการตอกเสาเข็มก็อาจจะสร้างความเสียหายและผลกระทบหลายๆอย่างกับตัวบ้านอีกด้วย

จะดีกว่าไหม? ถ้าวันนี้เข็มเหล็กจะขอเสนอทางออกที่ดีที่สุดให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ที่ถูกคิดค้นมาจากโจทย์ที่ลูกค้าถามเรามาตลอด เข็มเหล็กยาวกว่านี้ได้ไหม? ถึงดินดานไหม? จึงเกิดมาเป็น Kemrex Series D ฐานรากเข็มเหล็กที่ยาวที่สุดที่เคยมีมา รองรับน้ำหนักได้มากที่สุดกว่าที่เคยเป็น ลึกไปถึงดินดาน บวกกับการติดตั้งที่ไม่ก่อมลพิษ ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือน คุณจึงมั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับฐานรากที่ตอบโจทย์คุณมากที่สุด เลือกฐานรากปลอดภัย มั่นใจ เลือกเข็มเหล็ก

ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับสิทธิพิเศษเฉพาะคุณได้ที่ :

Facebook : m.me/Kemrexfanpage

Line@ : @Kemrex หรือคลิก! //lin.ee/2ivBv5z

จากประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรรมมากกว่า 50 ปี ของ SUTEE GROUP ทำให้ทราบถึงปัญหาและความยุ่งยากของระบบฐ
านรากในรูปแบบเดิม เช่น การควบคุมระยะเวลา และปัญหาด้านค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการเกิดความเสียหายของพื้นที่บริเวณใกล้เคียง บริษัท SUTEE GROUP จึงนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีระบบฐานรากแบบใหม่จากเยอรมนี ซึ่งเป็นที่ยอมรับด้านวิศวกรรมมาตราฐานระดับสากลมาเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับงานก่อสร้าง โครงสร้างทุกรูปแบบและบริษัทเข็มเหล็กยังเป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายเจ้าเดียวในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย

เข็มเหล็ก ผู้นำนวัตกรรมด้านฐานราก โดยพลิกโฉมระบบฐานรากของเมืองไทยและภาคพื้นเอเชีย ให้การก่อสร้างระบบฐานรากเป็นเรื่องง่าย ควบคุมได้แม่นยำ ทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจของคุณและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ตอบรับการขยายตัวของประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นเอเชีย สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

ลูกค้าที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก ทางบริษัทฯ จะให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การแนะนำผลิตภัณฑ์ ปรึกษาการใช้งานเบื้องต้น โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรคอยให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ... อ่านเพิ่มเติม

การเลือกขนาดเสาบ้านชั้นเดียว เป็นสิ่งสำคัญ เสาบ้าน ถือเป็นฐานรากที่นิยมมาอย่างยาวนาน โดยมีหน้าที่รับน้ำหนักของตัวบ้าน ทั้งส่วนที่เป็นพื้นชั้นล่าง ชั้นบน ผนัง และหลังคา ซึ่งโครงสร้างเสาต้องมีความมั่นคง และแข็งแรง ยิ่งถ้าบ้านหลายชั้น การออกแบบยิ่งมีความสำคัญมาก และการเลือกเสาในการใช้งานก็มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัสดุ

เสามีกี่ประเภท และอะไรบ้าง

เริ่มต้นกันที่การมาทำความรู้จักกับประเภทของเสาบ้าน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่วันนี้ขอแบ่งเป็น 3 ประเภทโดยยึดตามวัสดุที่ใช้งาน 

1. เสาไม้

เป็นวัสดุที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้พยุง ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้ชิงชัง ซึ่งปัจจุบันไม้เหล่านี้หายากมาก และราคาแพง แต่คุ้มค่าสำหรับท่านที่หลงใหลในความงดงามแบบธรรมชาติ ที่มาพร้อมลายไม้ที่สวยงาม  

2. เสาปูน

หรือเสาคอนกรีต ทำมาจากคอนกรีตที่ใส่เหล็กเสริม เพิ่มความสามารถในการรับแรงอัด แรงดัด และแรงดึง โดยปกติคอนกรีตจะรับแรงอัด ส่วนเหล็กจะรับแรงดัด และแรงดึง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เสาคอนกรีตหล่อในที่ และเสาคอนกรีตสำเร็จรูป

3. เสาเหล็ก

จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือ เสาเหล็กรูปพรรณ และเสาเหล็กโครงข้อแข็ง หากนำมาสร้างบ้านมักจะนิยมเสาเหล็กรูปพรรณที่เป็นเหล็กรูปตัวไป (I) ตัวเฮช (H) หรือกล่อง (Tube)

จะเห็นได้ว่าประเภทของเสานั้นมีหลากหลายประเภท ซึ่งเจ้าของบ้านอาจจะสับสนในการเลือกใช้งานได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี จึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ เช่น วิศวกร เพราะการเลือกวัสดุนั้นยังหมายถึงการรับน้ำหนักที่ต้องผ่านการคำนวณมาอย่างถูกต้อง และถูกวัตถุประสงค์ของการใช้งานอีกด้วย จึงจะมั่นใจได้ว่ามีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย

เสาบ้านชั้นเดียว และบ้านสองชั้นต่างกันอย่างไร

ถ้าพูดถึงบ้านชั้นเดียว กับบ้านสองชั้น ความต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ จำนวนชั้น แต่จริง ๆ แล้ว โครงสร้าง ก็คืออีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญ เพราะยิ่งน้ำหนักมาก โครงสร้างก็ต้องรับน้ำหนักได้มากตามเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนเกี่ยวกับบ้านชั้นเดียว และบ้านสองชั้น คือจำนวนเสาที่ใช้ในการก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น บ้านหลังชั้นเดียว มักจะใช้เสา 9 ต้น แต่บ้านสองชั้นจะใช้เสาส่วนใหญ่ 12 ต้น

จะเห็นว่าได้ จำนวนเสามีผลต่อการรับน้ำหนัก ยิ่งสูงยิ่งต้องมีโครงสร้างรากฐานที่แข็งแรง แต่ถึงอย่างไรก็ต้องคำนึงถึงการวางระยะห่างระหว่างเสาให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อช่วยในการกระจายน้ำหนักของบ้านได้อย่างสมดุล

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับเสาบ้านชั้นเดียว

มาต่อกันที่ 3 ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับเสาบ้านชั้นเดียว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. ระยะห่างระหว่างเสา

โดยเปรียบเทียบระยะห่างระหว่างเสาไม่เกิน 4.5 เมตร จะมีต้นทุนค่าก่อสร้างต่ำกว่าแบบบ้านที่มีระยะห่างระหว่างเสาที่ 5.5 เมตร เพราะระยะห่างระหว่างเสายิ่งกว้าง คานบนจะต้องใหญ่ขึ้น ต้องเสริมเหล็กมากขึ้น เปลืองหลังคาเพิ่มขึ้น รวมถึงเข็มก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ ระยะห่างระหว่างเสาที่เหมาะสมอย่างน้อย คือ 4 เมตร หากจะมีการปรับลดเพื่อลดต้นทุนต่าง ๆ ควรได้รับการยินยอมจากวิศวกร หรือที่ปรึกษาโครงการก่อน

2. มาตรฐาน

ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องพิจารณาเพื่อช่วยให้การดำเนินงานของท่านนั่นมีประสิทธิภาพ อาทิ

  • ผ่านการรับรองมาตรฐานของ ASTM ซึ่งเกี่ยวกับสมาคมการทดสอบและวัสดุของอเมริกา มาตรฐาน BS ของอังกฤษ หรือ ANSI สถาบันมาตรฐานของอเมริกา 
  • วัสดุต้องผ่านการทดสอบต่าง ๆ เป็นตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง 
  • สำหรับวิศวกรที่ถูกว่าจ้าง จะต้องมีใบกว. คือ ใบอนุญาตเพื่อประกอบอาชีพวิศวกร โดยได้รับอนุญาตจากวิศวกร 

3. ความสิ้นเปลือง

ท่านจะต้องพิจารณาถึงขนาด วัสดุ จำนวนเสา และระยะห่าง หรือปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งควรผ่านการคำนวณอย่างถูกต้อง และแม่นยำจากวิศวกรโครงสร้างก่อนดำเนินการก่อสร้าง เพื่อช่วยลดทั้งต้นทุน ทรัพยากร แรงงาน และระยะเวลา 

ทั้ง 3 ข้อที่หยิบยกมานี้ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงโดยส่วนใหญ่เพื่อให้ท่านได้งานที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้ได้มากที่สุด 

ขนาดเสาบ้านชั้นเดียวควรมีขนาดเท่าไหร่

ขนาดเสาบ้านนั้นมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ และหลายขนาดโดยขนาดเสาคอนกรีตสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีขนาดหน้าตัดตั้งแต่ 4, 5, 6, 7 และ 8 นิ้ว ซึ่งเสาบ้านขนาดหน้าตัด 6 นิ้ว ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาสร้างบ้าน หรือเลือกหน้าตัดขนาด 4 หรือ 5 นิ้วก็ได้เช่นกัน โดยความสูงมาตรฐานจะอยู่ที่ 2.5 - 2.8 เมตร ซึ่งหากท่านที่ชอบความโปร่ง ก็อาจจะเลือกความสูงที่ขนาด 2.8 - 3.2 เมตร ดังนั้น หากจะพิจารณาเลือกขนาดเสาบ้านชั้นเดียว ควรเลือกพื้นที่หน้าตัดตั้งแต่ 4 - 6 นิ้ว และความสูงในช่วงประมาณ 2.5 - 3.2 โดยพิจารณาตามความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก และการรับน้ำหนัก และเเรงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ขนาดเสาบ้านชั้นเดียว ที่ Baania ได้นำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ มาเป็นพื้นฐานให้ท่านได้พอเข้าใจ และมองเห็นภาพเพื่อช่วยในการพิจารณาเบื้องต้น หรืออาจนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพูดคุยกับวิศวกรรม หรือผู้รับเหมาให้ได้งานฐานรากที่มั่นคงตั้งแต่แรกเริ่มก่อสร้าง และคงความแข็งแรง รองรับน้ำได้ดี ที่สำคัญคือ ผู้ที่อยู่อาศัยรู้สึกอุ่นใจอย่างแน่นอน 

ที่มาภาพประกอบ :

//www.sacsteelwork.com

//horoscope.thaiorc.com

//www.banidea.com

//www.nucifer.com

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง