วิธีปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน

ในการทำงาน สิ่งหนึ่งที่เราเห็นว่าสำคัญมากเลย คือ สังคม เพราะถ้าเราสามารถเข้ากับคนในที่ทำงานได้ดี ความสุขในการทำงานมันก็จะมีมากขึ้น และทำงานได้นานขึ้นด้วย Annie McKee ผู้เขียนหนังสือ “How To Be Happy At Work” เคยกล่าวไว้ว่า วิธีการหนึ่งที่ช่วยสร้างความสุข และทำให้รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จมากขึ้นในการทำงาน คือ การสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรกับคนที่ทำงานกับเรา ทำงานเพื่อเรา และหัวหน้าของเรา

ซึ่งคำกล่าวนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Harvard Study of Adult Development ที่ได้ตามติดชีวิตของผู้ชาย 724 คนเป็นเวลาเกือบ 80 ปี เพื่อค้นหาความลับที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จ มีความสุข และมีชีวิตที่ดี

จากการสอบถามและศึกษาผู้เข้าร่วมการทดลอง นักวิจัย พบว่า ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เกี่ยวข้องกับ การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว เพื่อน และสังคม มากกว่าปัจจัยอื่นๆ เช่น ชื่อเสียง ความร่ำรวย ระดับชั้นทางสังคม ฯลฯ อีกทั้งความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพยังส่งผลดีต่อ สุขภาพ ความสุข และคุณภาพชีวิตของเรา

การมีเพื่อน หรือ การมีความสัมพันธ์กับคนในที่ทำงาน ช่วยให้เราเกิดความจงรักภักดีและความผูกพันกับที่ทำงาน ส่งผลดีต่อความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ความร่วมมือกันทำงาน รวมถึง ประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะความสัมพันธ์ที่ดีช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เราจึงสามารถทุ่มเทกับงานได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

ในทางกลับกัน ถ้าเราเข้ากับเพื่อนในที่ทำงานไม่ได้ หรือ รู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ เราอาจทำงานได้อย่างไม่มีความสุข เพราะไม่รู้สึกผูกพันกับที่ทำงาน ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความจำเป็นกับบริษัทหรือองค์กรที่ตัวเองทำงานให้ ไม่มีแพสชั่นในการทำงาน ส่งผลให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจตัดสินใจลาออกได้ง่ายด้วย

วิธีการรับมือเมื่อเรารู้สึกว่าตัวเองเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้

เมื่อความรู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกับคนในที่ทำงาน เป็นปัญหาใหญ่ต่อการทำงานของเรา เราเลยจำเป็นต้องรู้วิธีรับมือกับมันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เราทำงานได้อย่างมีความสุข และอยู่กับบริษัทไปได้นานๆ ซึ่ง UNLOCKMEN ได้นำวิธีการรับมือกับความแปลกแยกมาฝากทุกคนด้วย

อย่ามองหา ‘เพื่อน’ แต่ให้มองหา ‘พวกพ้อง’

การทำงานร่วมกับเพื่อนสนิท อาจเป็นอุดมคติของใครหลายๆ คน แต่ในความเป็นจริง ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ (เพราะ ยิ่งสนิทกันก็อาจยิ่งเกรงใจกันมากขึ้น) การสร้างความสัมพันธ์แบบมองหาพวกพ้อง จึงอาจดีกว่า แบบมองหาเพื่อน ในบริบทของการทำงาน และอาจช่วยให้เราทำงานได้อย่างมีความสุขมากกว่าด้วย เพราะพวกพ้องในที่ทำงานจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน มากกว่าเรื่องความเกรงใจ เวลามีปัญหาอะไรก็อาจจะกล้าพูดกันตรงๆ มากกว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ นอกจากนี้ พวกเขาจะอยู่กับเราเสมอเวลาเจอปัญหาในการทำงานด้วย การมีพวกพ้องในที่ทำงานจึงทำให้เราทำงานได้อย่างราบรื่น

ประยุกต์วิธีการสื่อสารที่ใช้กันทั่วไปในที่ทำงานให้เข้ากับสไตล์ของเรา

สัญชาตญาณสำคัญมากเวลาที่เรากำลังเผชิญกับความรู้สึกแปลกแยกในที่ทำงาน ถ้าเราสามารถสังเกตรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในออฟฟิศได้ เราก็จะสามารถปรับวิธีการสื่อสารของตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานได้มากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าที่ทำงานของเราชอบการพูดคุยต่อหน้ามากกว่าการรับส่งอีเมล์ เราก็จะรู้ว่าต้องปรับวิธีการสื่อสารของเราไปทางนั้น จะช่วยให้เรากลมกลืนกับคนในที่ทำงานได้เร็วขึ้น

อย่าหนีการเข้าสังคม

ถ้าเรารู้สึกว่า เพื่อนร่วมงานกีดกันเราออกจากวงแบบตั้งใจ หลายคนคงเกิดอาการไม่อยากคุยกับใคร และอยากกักตัวเองอยู่แต่ในห้องทำงาน แต่เวลาที่เกิดสถานการณ์แบบนี้ เราไม่แนะนำให้ทุกคนถอยห่างจากเพื่อนร่วมงาน เพราะจะทำให้เรารู้สึกแปลกแยกมากขึ้น และทำให้เราสูญเสียผลประโยชน์ทางสังคมที่อาจทำให้เราก้าวหน้าในการทำงานด้วย ควรพยายามเปิดใจให้กับคนอื่นมากขึ้น ทำตัวให้คนอื่นเข้าหาได้ง่าย รวมถึง ทำให้เพื่อนร่วมงานเห็นว่าเรามีประโยชน์ต่อที่ทำงาน แล้วทุกอย่างมันจะง่ายขึ้นเอง!

เช็คว่าตัวเองคิดมากไปรึเปล่า

เวลาปัญหาเกิดขึ้น เรามักโทษตัวเองต่างๆ นาๆ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้ช่วยอะไรแล้ว ยังทำให้เราเป็นทุกข์มากกว่าเดิม เราเลยอยากแนะนำให้ทุกคนลองตั้งคำถามกับความคิดของตัวเอง โดยเฉพาะความคิดที่ทำให้เรากล่าวโทษตัวเอง เช่น ความคิดแบบนี้มันเป็นจริงแค่ไหน และส่งผลเสียต่อเราอย่างไร แล้วเราอาจจะพบว่า เราอาจคิดมากไปเอง และเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ที่ส่งผลดีต่อปัญหามากขึ้น

พัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

แม้การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน จะส่งผลต่อความก้าวหน้าในที่การงานได้ เช่น ถ้าเราสนิทกับหัวหน้า โอกาสทำงานในตำแหน่งสูงขึ้นก็อาจจะสูงขึ้น แต่ถ้าคุณเป็นประเภทที่เข้าสังคมไม่เก่ง หรือ Introvert เราอยากบอกว่า คุณไม่จำเป็นต้องทำแบบนั้นก็ได้ แต่พยายามพัฒนาทักษะของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อใช้มันเป็นปากเสียงที่บอกว่าคุณมีคุณค่าต่อที่ทำงานของคุณ แล้วคุณจะถูกมองข้ามน้อยลง พร้อมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงานมากขึ้น

เพราะสังคมในการทำงาน ได้รวบรวมผู้คนจากหลากหลายครอบครัว ร้อยพ่อพันแม่ แต่ละคนล้วนแล้วแต่ผ่านสิ่งแวดล้อมที่ต่างๆกันมา ทำให้เกิดปัญหาเข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ก็มี สุดท้ายก็กลายเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับเพื่อนร่วมงานได้ในที่สุด

สารพัดวิธีปรับตัว เมื่อเจอ เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา

วันนี้ เราได้รวบรวมวิธีปรับตัวให้ทำงานร่วมกับ เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา ในที่ทำงานมาฝากกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

ทุกครั้งที่มีปัญหาจากเพื่อนร่วมงานเข้ามากระทบ คุณต้องปรับใจตัวเอง มองปัญหาเหล่านั้นให้เป็นเรื่องปกติ เหมือนเป็นสายลมที่พัดผ่านหูหรือโสตประสาททั่วไป คิดเสียว่าเป็นเสียงนกเสียงกา แล้วหันมาโฟกัสที่เรื่องการทำงานจะดีกว่า

ปัญหาในที่ทำงานนั้นมีทุกที่ แต่ละที่ต่างก็ประสบปัญหาในรูปแบบที่คล้ายกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่คุณควรจะปรับใจให้ชิน อย่าลืมว่าในโลกของการทำงานนั้น ผลของการทำงาน มักมีอิทธิพลกับความมั่นคงของคุณเสมอ หากคุณเอาเวลามาใส่ใจในเรื่องไม่เป็นเรื่องแล้วลดบทบาทในการทำงานลงไป คุณอาจจะกลายเป็นคนแรกที่ถูกพิจารณาคัดออกเวลาที่เกิดปัญหาก็ได้ ใครจะรู้

  1. โฟกัสไปที่เรื่องงาน เพราะคุณมาเพื่อทำงาน

ตามที่ระบุไว้ในข้อแรก ผลงานถือเป็นเรื่องสำคัญที่หัวหน้างานจะนำมาพิจารณาก่อนเรื่องอื่นๆเสมอ หากคุณมัวแต่เอาเวลาไปสนใจเรื่องอื่นๆจนเสียสมาธิในการทำงาน ส่งผลให้ผลงานของคุณแย่ลง คนที่ถูกตำหนิก็จะไม่ใช่เพื่อนร่วมงานที่สร้างปัญหาให้กับคุณ แต่จะเป็นคุณ ที่ทำงานให้บริษัทได้ไม่เต็มที่ต่างหาก

ดังนั้น คุณต้องท่องไว้เสมอว่าคุณมาเพื่อทำงาน ไม่ได้มาเพื่อเข้าสังคมหรือหาเพื่อน คุณมาเพื่อทำงาน ดังนั้นคุณก็ต้องทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมาให้ดีที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้ เพื่ออนาคตของตัวคุณเอง

  1. มองข้ามเรื่องแย่ๆ โฟกัสแต่เรื่องที่ดีๆ

แน่นอนว่าถึงคุณจะโฟกัสมาที่เรื่องงาน และวางเฉยกับทุกๆเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่วายที่จะรู้สึกแย่ๆกับพฤติกรรมด้านลบของเพื่อนร่วมงาน เพราะส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่สร้างปัญหามักจะหาทางยุยงเพื่อรวบรวมทีม และดึงเพื่อนรวมงานท่านอื่นๆให้คล้อยตาม เพื่อที่คุณจะได้อยู่ในสังคมเพียงลำพัง และพิจารณาตัวเองออกไปจากที่ทำงานในสักวันหนึ่ง ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ถือว่าค่อนข้างไร้สาระ แต่ก็อาจมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคุณได้บ้างไม่มากก็น้อย

ทันทีที่คุณพบเจอเรื่องราวแบบนี้ แนะนำให้คุณมองข้ามพฤติการณ์แย่ๆของเพื่อนร่วมงานเหล่านี้ไปเสีย แล้วหันมาโฟกัสในเรื่องดีๆที่เคยทำให้ต่อกัน ปฏิบัติดีต่อพวกเขาด้วยความจริงใจ จนกว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น แล้วคุณจะได้รับสิ่งดีๆ ตอบกลับมา พร้อมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอย่างแน่นอน

มองโลกในแง่บวก คือวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดเมื่อเจอเหตุการณ์เหล่านี้ ก่อนอื่นคุณต้องมองไปที่เป้าหมายในอนาคตของคุณ ว่าคุณพุ่งเป้าไปที่อะไรบ้าง แล้วจดจ่ออยู่แต่กับสิ่งนั้น คิดเสียว่าปัญหาเหล่านี้คือบททดสอบที่จะช่วยผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น และมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน หากคุณคิดแบบนี้ คุณก็จะสนุกกับการแก้ปัญหาในแต่ละวัน และผ่านพ้นมันไปได้อย่างสวยงามในที่สุด

  1. จงเชื่อมั่นในผลแห่งการกระทำที่ดี

เพราะทุกอย่างบนโลกใบนี้ล้วนขับเคลื่อนไปด้วยกฎแห่งการกระทำ คนที่ทำแต่สิ่งดีๆ คิดในเรื่องที่ดีๆ ย่อมได้ผลดีเป็นสิ่งตอบแทนเสมอ ช้าเร็วไม่สำคัญ ขอเพียงคุณเชื่อมั่นในผลแห่งการกระทำที่ดี แล้วคุณก็จะได้รับผลแห่งการกระทำที่ดีด้วยเช่นกัน

  1. วางตัวให้เหมาะสม งดปรึกษาเพื่อนร่วมงานด้วยกันเอง

เมื่อคุณวางเฉยได้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญก็คือ งดเล่าหรือระบายปัญหาต่างๆให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆได้ฟัง เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่า เพื่อนร่วมงานเหล่านั้น จะไม่นำเรื่องที่คุณเล่าหรือระบายให้ฟังไปดัดแปลงเนื้อความ แล้วสื่อสารให้คู่กรณีฟังแบบผิดๆ ทำให้คุณเกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมได้โดยไม่รู้ตัว

  1. ปัญหาในที่ทำงาน ควรอยู่แต่ในที่ทำงานเท่านั้น

ไม่ควรเก็บไปเล่าให้คนที่บ้านฟังอยู่บ่อยๆ เพราะแต่ละคนต่างก็มีปัญหาเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น การที่จะต้องมาคอยรับฟังปัญหาของคนอื่นๆอีกจึงกลายเป็นเรื่องที่เกินความสามารถในการรับรู้ไป จนในบางครั้ง อาจกลายเป็นเรื่องน่ารำคาญ และพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดีภายในครอบครัวไปอีกกรณีหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >> มนุษย์ออฟฟิศ ทำงานร่วมกันยังไงให้มีความสุข <<

ดังนั้น ทันทีที่ออกมาจากที่ทำงาน คุณควรทิ้งทุกปัญหาไว้ที่นั่นเสียให้หมด คิดง่ายๆว่าวันพรุ่งนี้ค่อยกลับไปเผชิญหน้าและหาทางแก้ปัญหาใหม่กันอีกครั้ง เพื่อที่คุณจะได้ใช้เวลาที่เหลือ พักผ่อนอย่างมีความสุขกับครอบครัว และนอนหลับสนิทพร้อมที่จะตื่นขึ้นมาทำงานในเช้าวันถัดไปด้วยความสดใสและเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังใจอีกครั้ง

ทำยังไงถึงจะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้

เริ่มงานวันแรก จะหาเพื่อนใหม่ยังไงดีนะ.
เริ่มจากตัวเอง เปิดใจให้กว้าง ... .
เชื่อมสะพานมิตรภาพด้วยรอยยิ้ม ... .
แนะนำตัวเองก่อน ... .
บันทึกชื่อเพื่อนร่วมงานไว้ในเมมโมรี่ ... .
อย่าปฏิเสธมื้อกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน ... .
รู้จักเทคนิคและจังหวะในวงสนทนา ... .
วางตัวให้เป็นกลาง ... .
คอยสังเกตบุคลิกและนิสัยของเพื่อนร่วมงาน.

เข้างานใหม่ ทําตัวยังไง

พนักงานใหม่ ต้องทำตัวอย่างไร.
เคารพในวัฒนธรรมองค์กร.
เต็มใจเรียนรู้.
ทำความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ.
รู้ตัวเองว่าเมื่อไรที่คุณต้องการคำแนะนำ.
สังเกตสไตล์ในการสื่อสาร.
ให้เวลากับการเข้าสังคม.
ทำงานให้มากขึ้น.
ขอความคิดเห็น.

ทำไม เราต้องปรับตัว เมื่อ เริ่มงานใหม่

ดังนั้น "การปรับตนเอง" จะทำให้คุณมีความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ ชีวิตมีสีสันและรสชาติมากขึ้น เพราะคุณจะต้องพยายามหาเทคนิค กลวิธี รูปแบบ และกระบวนการต่าง ๆ ในการปรับตัวของคุณเองให้เข้ากับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากคุณปรับตนเองได้ ผลที่ตามมาก็คือความสุขและความสนุกในชีวิตการทำงานของคุณ

การเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมงานสำคัญแค่ไหน

การมีเพื่อน หรือ การมีความสัมพันธ์กับคนในที่ทำงาน ช่วยให้เราเกิดความจงรักภักดีและความผูกพันกับที่ทำงาน ส่งผลดีต่อความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม ความร่วมมือกันทำงาน รวมถึง ประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะความสัมพันธ์ที่ดีช่วยสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เราจึงสามารถทุ่มเทกับงานได้อย่างเต็มที่ และมีความสุข

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง