วิธีการสร้าง แนวคิด ทํา ได้ อย่างไร

เชื่อได้ว่า ในการทำงานเมื่อต้องเจอสภาวะเครียดในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เริ่มไม่เข้าที หรืออาจจะเป็นหัวหน้าคนใหม่ที่เริ่มสร้างแรงกดดันในการทำงาน ความน่าเบื่อจากปัญหาที่ต้องเจอเป็นประจำเหล่านี้

ทัศนคติที่เป็นบวกในการทำงานไม่เพียงแต่จะช่วยให้มองโลกในแง่ดีและมีความมุ่งมั่นในการทำงานเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีแก่เพื่อนร่วมงานอีกด้วย การฝึกให้มีทัศนคติที่ดีช่วยในการทำงานเป็นอย่างมากเพราะช่วยเพิ่มบรรยากาศการทำงานดูน่าร่วมงานมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้บานปลายได้ง่ายกว่าเดิม

เพราะชีวิตการทำงานเราต้องใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหลายๆครั้งเราก็ต้องใช้เวลาไปกับงานในส่วนที่เราไม่ชอบมากกว่างานหรือกิจกรรมที่ชอบ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงควรสร้างและรักษาทัศนคติให้เป็นบวกจึงมีส่วนสำคัญในการทำงานดังกล่าวเป็นระยะเวลานานได้ เรามีวิธีการและเทคนิคในการช่วย สร้างทัศนคติให้เป็นบวก ในการทำงานมาฝากกันครับ

ทัศนคติเป็นบวก – ปรับปรุงคุณภาพของงาน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นและช่วยในการสร้างทัศนคติให้เป็นบวกมากที่สุดคือการรู้ตนเองว่ากำลังทำงานได้ดี  ซึ่งจะยิ่งได้รับแรงกระตุ้นทางบวกมากยิ่งขึ้นหากเห็นผลลัพธ์ตามต้องการและทำได้ดี ลองมาดูวิธีการเพิ่มทัศนคติทางบวกต่อไปนี้

  • เข้าใจถึงความต้องการและทักษะซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้ตามต้องการ
  • มองหาวิธีการในการที่จะทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
  • ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ไปให้ถึงและวางเป้าหมายในลำดับถัดไป
  • รู้จักข้อมูลของบริษัทให้มากที่สุด กฎระเบียบ ปรัชญาและโครงสร้างในการดำเนินงานด้วย

หากคุณทำงานแล้วกำลังเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะเป็นเรื่องง่ายในการปรับทัศนคติในการทำงานให้เป็นไปทางด้านบวก ในทางกลับกัน ทัศนคติในด้านลบเกิดขึ้นจากงานที่เราทำแล้วไม่เกิดประโยชน์หรือมีคุณค่าซึ่งทำให้คุณติดอยู่กับวังวนเดิมๆ

สร้างนิสัยกระตือรือร้นและคิดบวก
ถึงแม้งานที่ทำเพียงคนเดียวมาตลอดก็ยังต้องมีการประสานงานร่วมกับคนอื่นๆอยู่เสมอ ดังนั้นไม่เพียงแต่การ สร้างทัศนคติให้เป็นบวกในการทำงาน เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องส่งต่อไปยังเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆด้วยเช่นกัน ผ่านพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  • มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา สังเกตได้ว่าหากมีใครที่ทำงานด้วยความเฉยชาและไม่ตั้งใจทำงานมักจะสร้างปัญหาในที่ทำงานเสมอ
  • มารยาทอยู่เหนือสิ่งอื่นใด ตัวอักษรและกริยาท่าทางล้วนเป็นพื้นฐานของความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี เลือกปฏิบัติในที่สิ่งที่เราไม่ชอบ อาทิ การพูดโกหกหรือไม่ยอมรับข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่จะทำร้ายความสัมพันธ์ของการทำงานในระยะยาว
  • เรียนรู้วิธัการจัดการความขัดแย้ง ทุกคนล้วนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องกลายเป็นเรื่องขัดแย้งกัน การเรียนรู้ในการแสดงออกความเห็นที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกเป็นสิ่งสำคัญต้องเรียนรู้

ในบรรยากาศทำงานที่ดี แรงจูงใจจะเพิ่มขึ้นเองโดยอัตโนมัติ หากคุณสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีได้ การทำงานในที่ทำงานของคุณจะเหมือนกับการทำงานกับคนที่มีเป้าหมายหรือความสนใจเหมือนๆกัน

ความสำคัญในการกระตุ้นแรงจูงใจด้วยตัวเอง
ไม่มีใครที่จดจำความพยายามในการทำงานของคุณหรือชื่นชมคุณเมื่อคุณทำดีได้ตลอด ดังนั้น การได้รู้ว่าคุณทำดีที่สุดด้วยตัวคุณเองนั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก
การสร้างแรงจูงใจด้วยตัวเองแม้เพียงเล็กน้อยแต่ก็ช่วยคุณได้ ลองดูด้วยวิธีการง่ายๆก็ได้ เช่นเมื่อตอนที่คุณหมดหวัง การมีทัศนคติในทางบวกจะช่วยให้คุณยิ้มได้ มีงานศึกษาวิจัยพบว่าหากคุณยิ้มและยิ้มเข้าไว้แม้ว่าคุณจะไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ ในที่สุดคุณก็จะรู้สึกดีขึ้นจริงๆ

ทุกความสำเร็จล้วนมีคุณค่า อย่าลืมบอกตัวเองด้วยคำพูดที่เป็นบวกซึ่งจะช่วยสร้างความคิดที่เป็นบวก การเคารพตนเองและตระหนักถึงสิ่งดีๆที่คุณมีเป็นสองทัศนคติที่ช่วยให้คุณรู้สึกดียิ่งกว่าเดิม

สิ่งสำคัญคือคุณควรรู้ว่างานที่คุณทำนั้นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งในชีวิตของคุณ อย่ายอมให้ชีวิตของคุณต้องพังไปกับปัญหาของการทำงาน และหากคุณคิดว่างานที่ทำอยู่ไม่สามารถทำให้คุณมีความสุขหรือสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานได้ คุณควรมองหางานที่ใหม่ที่สามารถ สร้างทัศนคติให้เป็นบวกในการทำงาน จะดีที่สุดครับ

 #icanbebetter

Highlight

  • กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทำให้เรามองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ผู้บริโภคได้
  • กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะทำให้เรารู้จักมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่างๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้น
  • กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการบริหารจัดการที่ดีไม่ว่าจะนำไปใช้กับการปฎิบัติงานอย่างไรก็ตาม

Contents

  • ทำไมการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จึงมีความสำคัญกับองค์กรในยุคปัจจุบัน
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ
  •  กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)
    • 1. Empathize – เข้าใจปัญหา
    • 2. Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน
    • 3. Ideate – ระดมความคิด
    • 4. Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก
    • 5. Test – ทดสอบ
      • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
  • โมเดลเพชรคู่ (Double Diamond) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม
      • ขั้นตอนที่ 1 : ค้นพบ – Discover
      • ขั้นตอนที่ 2 : บ่งชี้ / กำหนด – Define
      • ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนา – Develop
      • ขั้นตอนที่ 4 : นำไปปฎิบัติจริง – Deliver
  • บทสรุป

ทำไมองค์กรต้องเรียนรู้เรื่อง Design หรือ “การออกแบบ” ทั้งๆ ที่องค์กรไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับความสร้างสรรค์, ศิลปะ, ผลิตผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่ด้านสถาปัตยกรรมเลยแม้แต่น้อย ความคิดเหล่านั้นเป็นความคิดดั้งเดิมแบบยุคเก่าที่ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของ “การออกแบบ” ใหม่ เพราะในยุคนี้การออกแบบหรือ Design นั้นเป็นได้มากกว่าแค่การคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้ออกมาเป็นวัตถุจับต้องได้ แต่การออกแบบจริงๆ แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

การออกแบบที่กำลังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางกับองค์กรต่างๆ นั้นก็คือ Design Thinking หรือ “กระบวนการคิดในเชิงออกแบบ” นั่นเอง กระบวนการคิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กรตลอดจนปลูกฝังระบบวิธีคิดรูปแบบนี้ให้กับบุคลากรในองค์กรที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองได้ด้วย ซึ่งกระบวนการคิดในรูปแบบนี้มีลักษณะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ขึ้นมาซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างดีทีเดียว

Design Thinking คืออะไร?

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ให้ถูกจุด ตลอดจนพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะหาวิถีทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด การแก้ปัญหาบนพื้นฐานกระบวนการนี้จะเน้นยึดไปที่หลักของผู้ใช้/ผู้บริโภค (User-centered) เป็นหลัก โดยมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ตลอดจนแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย

ทำไมการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จึงมีความสำคัญกับองค์กรในยุคปัจจุบัน

การนำเอากระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นั้นอาจจะเห็นผลชัดเจนและเข้าใจได้แจ่มแจ้งกว่าสำหรับกระบวนการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ผู้บริโภคตลอดจนตอบโจทย์ที่ผู้บริโภคต้องการ รวมไปถึงสามารถผลิตสินค้าและบริการขึ้นมาเพื่ออุดรูรั่วของตลาดนั้นๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งการคิดโดยนำเอากระบวนการคิดเชิงออกแบบมาใช้ให้เกิดประโยชน์นี้จะทำให้เราเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ และผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อตอบโจทย์ตลาดตลอดจนแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

สำหรับการบริหารองค์กรเองนั้น การประยุกต์เอารูปแบบกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มาใช้อาจทำให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ในปัญหาที่เกิดขึ้นมากขึ้น รู้อย่างถี่ถ้วน ถ่องแท้ ละเอียด ซึ่งบางครั้งทำให้เราอาจรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ได้ก็เป็นได้ นั่นทำให้เราจับจุดปัญหาได้ถูก และมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลำดับ มีการคิดวิเคราะห์วิธีแก้ไขอย่างถี่ถ้วน และรอบด้าน นั่นทำให้เราสามารถมองวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ได้รอบมุม หลากหลายมุมมอง และทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือไม่ก็สามารถหาทางแก้อื่นสำรองได้ทันท่วงทีหากทางแก้ที่เลือกไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราได้ลองมองทุกมุมมาแล้ว

นอกจากนั้นกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ยังก่อให้เกิดการคิดแบบสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะนำมาคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา พยายามหาหนทางที่มากกว่าสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย ตลอดจนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งก็รวมถึงนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารองค์กรได้ด้วยเช่นกัน

ในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงนี้ใครๆ ต่างก็ขวนขวายที่จะหาทางคิดผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด ตลอดจนคิดหาวิธีทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ยอดเยี่ยมที่สุด นั่นเลยทำให้หลายองค์กรมีการนำเอาการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นี้มาใช้ในธุรกิจของตน รวมไปถึงองค์กรใหญ่ระดับโลกอย่าง Google, Apple หรือแม้แต่ Airbnb ที่นำเอากระบวนการคิดรูปแบบนี้ไปใช้ในองค์กรจนประสบความสำเร็จมาแล้ว และนั่นก็ทำให้หลายองค์กรต่างนำมาใช้กับองค์กรของตนบ้าง และสร้างความสำเร็จได้ไม่แพ้กันเลยทีเดียว

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: แนวทางการพัฒนางานด้านแรงงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน

แนวทางการพัฒนางานด้านแรงงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในยุคปัจจุบัน สามารถมีออกแบบแนวทางไหนบ้างคะ

A: ก่อนอื่นเราต้องรู้จักวิเคราะห์พนักงานท่านนั้นก่อน 

อาจจะใช้วิธีการถาม แต่ต้องถามในลักษณะที่เป็นเชิงบวกนะครับ เราต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเขาก่อน หลังจากนั้นก็มองหาเครื่องมือมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเขา โดยอาจใช้หลักการใช้ง่าย ๆ โดยการตั้งเป้าหมาย SMART GOAL ดังนี้,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) มีประโยชน์มากมาย ทั้งต่อบุคลากรไปจนถึงองค์กรเลยทีเดียว ซึ่งประโยชน์ในด้านต่างๆ นั้นมีดังนี้

  • ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน :ปกติเราอาจจะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน กระบวนการนี้จะทำให้เรามองอย่างรอบคอบและละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจปัญหาได้อย่างถ่องแท้ และแก้ไขได้ตรงจุด
  • มีทางเลือกที่หลากหลาย :การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน และมีตัวเลือกที่ดีที่สุด ก่อนนำไปใช้แก้ปัญหาจริง หรือนำไปปฎิบัติจริง
  • มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด :เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า
  • ฝึกความคิดสร้างสรรค์ : การแชร์ไอเดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทำให้สมองเราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และทำให้เรารู้จักหาวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการฝึกความคิดสร้างสรรค์ที่ดี ที่เป็นพื้นฐานที่ดีในการแก้ปัญหา ตลอดจนการบริหารจัดการเช่นกัน
  • เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ : มีการคิดมากมายหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย การที่เราได้พยายามฝึกคิดจะทำให้เรามักค้นพบวิธีใหม่ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน
  • มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา : การคิดที่หลากหลายวิธีนอกจากจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้นก็ยังทำให้เรามีตัวเลือกสำรองไปในตัวโดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราสามารถเลือกใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีหากวิธีการที่เลือกไม่ประสบความสำเร็จ
  • องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ : เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทำงานที่ดี นั่นย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรและองค์กรไปในตัว

 กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)

การทำความเข้าใจในขั้นตอนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะสามารถทำให้เราลำดับการปฎิบัติการ ตลอดจนรู้วิธีคิดและกระบวนการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปจนถึงสามารถสร้างนวัตกรรมหรือผลลัพธ์เพื่อมาตอบโจทย์ที่ต้องการได้ ซึ่งกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ในรูปแบบสากลนั้นมีการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจและเป็นขั้นตอนดังนี้

1. Empathize – เข้าใจปัญหา

ขั้นแรกต้องทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมองเสียก่อน ตลอดจนเข้าใจผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย หรือเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการแก้ไขนี้เพื่อหาหนทางที่เหมาะสมและดีที่สุดให้ได้ การเข้าใจคำถามอาจเริ่มตั้งด้วยการตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน กระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่ดีได้ ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาให้ถ้วนถี่ เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนให้ได้ การเข้าใจในปัญหาอย่างลึกซึ้งถูกต้องนั้นจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงประเด็นและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม

2. Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน

เมื่อเรารู้ถึงข้อมูลปัญหาที่ชัดเจน ตลอดจนวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้ว ให้นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปฎิบัติการต่อไป รวมถึงมีแก่นยึดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีทิศทาง

3. Ideate – ระดมความคิด

การระดมความคิดนี้คือการนำเสนอแนวความคิดตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่มีกรอบจำกัด ควรระดมความคิดในหลากหลายมุมมอง หลากหลายวิธีการ ออกมาให้มากที่สุด เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการที่เราจะนำไปประเมินผลเพื่อสรุปเป็นความคิดที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเกิดจากความคิดเดียว หรือเลือกความคิดเดียว แต่เป็นการผสมผสานหลากหลายความคิดให้ออกมาเป็นแนวทางสุดท้ายที่ชัดเจนก็ได้ การระดมความคิดนี้ยังช่วยให้เรามองปัญหาได้อย่างรอบด้านและละเอียดขึ้นด้วย รวมถึงหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบได้ด้วยเช่นกัน

4. Prototype – สร้างต้นแบบที่เลือก

หากเป็นเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมขั้น Prototype นี้ก็คือการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบจริงก่อนที่จะนำไปผลิตจริง สำหรับในด้านอื่นๆ ขั้นนี้ก็คือการลงมือปฎิบัติหรือทดลองทำจริงตามแนวทางที่ได้เลือกแล้ว ตลอดจนสร้างต้นแบบของปฎิบัติการที่เราต้องการจะนำไปใช้จริง

5. Test – ทดสอบ

ทดลองนำต้นแบบหรือข้อสรุปที่จะนำไปใช้จริงมาปฎิบัติก่อน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ ตลอดจนประเมินผล เสร็จแล้วก็นำเอาปัญหาหรือข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงอีกครั้งนั่นเอง

HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

Q: กิจกรรมที่ช่วยพัฒนา Design Thinking ของพนักงานที่น่าสนใจ ?

การสร้างทัศนคติให้พนักงานมี Design Thinking  นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรมมากนัก และวัดผลได้ยาก โดยเฉพาะเรื่อง Soft Skill ใครมีแนวทางหรือวิธีการที่น่าสนใจ ทำได้แล้วได้ผลไหมคะ

A: Design Thinking  แปลตรง ๆ ก็คือ การคิดเชิงออกแบบ 

หลายคนอาจมีคำถามในใจว่า ความคิดจะออกแบบได้อย่างไร เรื่องความคิดเป็น Soft Skill  ความคิดมาจากสมองของคน  ยิ่งคิดยิ่งใช้สมอง ระบบการคิดก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

โมเดลเพชรคู่ (Double Diamond) กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างเหมาะสม

กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) นั้นมีการนำมาประยุกต์ใช้และสร้างเป็นโมเดลขึ้นหลายรูปแบบ และหนึ่งในโมเดลที่นิยมนำมาใช้กับงานบริหารจัดการตลอดจนสร้างสรรค์การทำงานให้กับองค์กรก็คือโมเดลเพชรคู่ หรือ Double Diamond ที่ได้รับความนิยมในระดับสากลนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่เรียกง่ายๆ ว่า 4D ดังนี้

แหล่งอ้างอิง : Design Council 

Double Diamond – Design Thinking Process

  • 1.Discover – ทำความเข้าใจผู้บริโภคเพื่อมองเห็นถึงปัญหา
  • 2.Define – คัดกรองและจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการจะแก้ไข
  • 3.Develop – ระดมไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหา
  • 4.Deliver – นำไอเดียที่ดีที่สุดไปพัฒนาต่อ และทดลองใช้

ขั้นตอนที่ 1 : ค้นพบ – Discover

ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการการคิดเชิงออกแบบทุกครั้งเรามักหยิบเอาปัญหามาเป็นโจทย์สำคัญในการเริ่มต้น ในขั้นตอนแรกนี้ก็คือการค้นพบปัญหาแล้วทำความเข้าใจกับปัญหาให้ลึกซึ้งมากที่สุด หลากหลายมิติที่สุด เพื่อที่จะนำไปสู่การหาทางออกที่ดีและตอบโจทย์มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 2 : บ่งชี้ / กำหนด – Define

หลังจากที่เรามองปัญหาอย่างรอบด้านแล้ว ให้นำเอาข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อที่จะคัดกรองให้เป็นปัญหาที่แท้จริง กำหนดหรือบ่งชี้ว่าเป็นปัญหาอะไร ประเภทไหน เพื่อให้เข้าใจลักษณะของปัญหาให้ได้ชัดเจนที่สุดเพียงประเด็นเดียว เพื่อที่จะได้มีจุดหมายในการหาทางแก้ไขได้อย่างตรงประเด็น มีทิศทางชัดเจน

ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนา – Develop

หลังจากที่เรามีแก่นของปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ขั้นตอนของการพัฒนานี้ก็คือการระดมสมองเพื่อ แชร์ไอเดีย เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ นานา ทั้งในกรอบและนอกกรอบ โดยคิดให้รอบด้านที่สุด ถ้าเปรียบกับการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แล้วขึ้นตอนนี้ก็คือการหาไอเดียเพื่อที่จะออกแบบไปในทิศทางต่างๆ หลากหลายรูปแบบเพื่อนำมาเลือกไอเดียที่ดีที่สุดไปผลิตนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 4 : นำไปปฎิบัติจริง – Deliver

ขั้นตอนนี้เราจะเลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาจริง ปฎิบัติจริง เพื่อตอบโจทย์ปัญหาที่เราตั้งไว้ นำไปทดลองหรือทดสอบจริงว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ ตลอดจนเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผลด้วย

บทสรุป

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การทำงานในส่วนต่างๆ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่จะช่วยให้บุคลากรมีระบบความคิดที่ดีและพร้อมในการหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่พัฒนาอยู่เสมอด้วย ซึ่งนั่นอาจเป็นวิธีการตอบโจทย์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร หรือสร้างแนวทางใดให้ไปสู่ความสำเร็จ

คุณมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการหาคำตอบใช่หรือเปล่า?

หากคุณรู้สึกว่าได้รับเทคนิคดีๆ จากบทความนี้และอยากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก
คุณสามารถตั้งคำถามได้ในชุมชนของเรา ! แล้วคุณจะได้รับคำตอบมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง