วิธี กำจัด แบคทีเรียในกระเพาะอาหาร

อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน อาจเกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ในระบบทางเดินอาหารก็เป็นได้
ทำความรู้จัก เชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)
    H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือเชื้อเอชไพโลไร เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร ติดต่อระหว่างคนสู่คน โดยเชื้อเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่บางรายเชื้ออาจทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นรวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
อาการของการติดเชื้อเอชไพโลไรเป็นอย่างไร
การติดเชื้อชนิดนี้มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ก็ยังผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติได้ ได้แก่
• ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ
• ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
• คลื่นไส้ อาเจียน
• จุกเสียดลิ้นปี่
• ท้องอืด เรอบ่อย
• เบื่ออาหาร
• น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
    อาการดังที่กล่าวมานี้ ล้วนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เรื้อรัง ดังนั้น หากมีอาการลักษณะนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและทำการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีอาการจากการติดเชื้อ H. Pylori ที่มีความรุนแรงมากขึ้นและจำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

ลักษณะอาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) แบบรุนแรงที่ควรพบแพทย์ด่วน
1. มีปัญหาในการกลืน
2. ปวดท้องอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
3. อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนมีสีน้ำตาลคล้ำ
4. อุจจาระเป็นเลือด ลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
    ผู้ป่วยบางรายเมื่อมีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้นจนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาจมีถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนยางมะตอยได้ (อุจจาระเป็นเลือด) จากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก เสี่ยงต่อ ภาวะโลหิตจาง, กระเพาะอาหารทะลุ รวมถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
DID YOU KNOW: องค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ Helicobacter pylori เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็ง เช่นเดียวกับบุหรี่ และไวรัสตับอักเสบบี ดังนั้น การกำจัดเชื้อให้หมดจึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารในอนาคตได้
สาเหตุของการติดเชื้อเอชไพโลไร ติดได้อย่างไร
    จากการศึกษาปัจจุบันยังหาสาเหตุของการติดเชื้อ H. Pylori ได้ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากแบบไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งสามารถติดเชื้อชนิดนี้ได้กับทุกเพศทุกวัย โดยที่เมื่อมีเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori เข้ามาในร่างกายเราแล้ว ร่างกายเราก็พยายามจะกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ ด้วยการส่งเม็ดเลือดขาว และสร้างแอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody)เพื่อทำลายแบคทีเรียนี้ แต่ก็ไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียนี้ได้ เนื่องจากเชื้อ H. Pylori มีอยู่หลายชนิดย่อย ขณะเดียวกับเชื้อ H. Pylori ก็จะเข้าไปโจมตีเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลงจนไม่สามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

เมื่อไม่มีแน่ใจว่าติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ตรวจอย่างไร
   เบื่องต้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการให้แน่ชัด ในส่วนของการตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้โดย
1. การตรวจเลือด เป็นการตรวจหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อ วิธีนี้จำเป็นต้องใช้ผลจากการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ วินิจฉัยร่วมด้วย
2. การตรวจลมหายใจ ผู้ป่วยต้องรับประทานสารที่มีส่วนประกอบของโมเลกุลคาร์บอน จากนั้นแพทย์จะให้ผู้ป่วยหายใจใส่ถุง แล้วนำตัวอย่างลมหายใจไปตรวจหาร่องรอยของการติดเชื้อที่ออกมากับแอมโมเนียและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. การตรวจอุจจาระ เป็นการเก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจน ซึ่งบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori
4. การส่องกล้อง Endoscopy โดยใช้ท่อที่ต่อกล้องลงไปในทางเดินอาหารซึ่งวิธีนี้สามารถนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจได้ด้วย (biopsy) เพื่อใช้ตรวจหาเชื้อ H.pylor โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่บริเวณส่วนปลายเข้าไปทางปากเพื่อตรวจดูความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

รักษาการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ได้อย่างไร
    การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติิดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยาตามอาการของแต่ละบุคคล เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาเกิดขึ้น
โรคติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร)มีการดูแลตนเองและการป้องกันอย่างไร
    วิธีที่ง่ายและสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตัวเองคือ การดูแลสุขอนามัยที่ดี ด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ก็จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้ เช่น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงไม่สุกลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ รวมถึงเลิกสูบบุหรี่นอกจากนี้ ในส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเชื้อ H. pylori และได้รับยาปฏิชีวนะรักษา การรับประทานยาให้ครบตามจำนวนวันที่กำหนด เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื้อมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย ทำให้การรักษาอาจไม่ได้ผล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
โทร. 0-2271-7000 ต่อ โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ

ติดเชื้อ H pylori หายเองได้ไหม

การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาลดกรด ดังนั้นการสังเกตอาการที่น่าสงสัย เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรงเรื้อรัง แม้ทานยาลดกรดก็ไม่ดีขึ้น, ท้องอืด, อาเจียน, เรอบ่อย, มีปัญหาในการกลืน, น้ำหนักลด, อุจจาระเป็นสีดำ เป็นสัญญาณเตือนให้เราควรรีบไปพบ ...

ติดเชื้อในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบยังไม่ทราบได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าส่วนใหญ่มักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียนเอชไพโลไร (H.pylori) การรับประทานยากลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น สาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

Helicobacter pylori ก่อโรคอะไร

เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) คือเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ติดเชื้อนี้มีความเสียงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20 % โดยมีการอักเสบที่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย และมีโอกาสสูงที่จะเกิดในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงผู้ติดเชื้อนี้ ...

H pylori รักษายังไง

การติดเชื้อ H. Pylori สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะรักษาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อมากขึ้น โดยหลังจากการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง