โพ ส ยัง ไง ไม่ให้ ผิด พร บ คอม

3 มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้นน่าจะทําให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็น การติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย”

ที่ผ่านมาเราคงจะเห็นข่าวการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้นโดยไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง ถึงแม้ว่าทางภาครัฐและเอกชนจะออกมาตรการป้องกันแค่ไหนก็ตามพวกมิจฉาชีพก็ยังคงหากลลวงใหม่ ๆ มาหลอกเหยื่ออยู่ดีนี่ยังไม่รวมภัยร้ายทางโลกไซเบอร์นะคะ วันนี้ทาง AIS อุ่นใจไซเบอร์ถือโอกาสเปิดตัวแคมเปญภายใต้แนวคิด “มีความรู้ก็อยู่รอด” เพื่อสะท้อนให้คนไทยเห็นถึงปัญหาภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบได้อย่างเท่าทันโลกออนไลน์

  • ต้องทำอย่างไรเมื่อโดนคอมเมนต์แย่ๆ หรือโดนบูลลี่ในโซเชียล?

    ในยุคที่ใครก็สามารถมีชื่อเสียงขึ้นมาได้จากการสร้างสรรค์เนื้อหาลงใน Social Media ต่าง ๆ ทำให้เราเห็นคนเก่งมีความสามารถเกิดขึ้นกันเต็มไปหมดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่สิ่งนึงที่ทุกคนที่ก้าวเข้าสู่วงการนี้ต้องเจอ คือ คอมเมนต์หรือคำวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าได้คำชมก็เป็นกำลังใจที่ดีให้ทำต่อไป แต่ในทางกลับกันถ้าเจอในด้านลบ ก็อาจจะทำให้หมดแรงทำต่อ รวมถึงนำพาให้ชีวิตพัง เสียความมั่นใจในตัวเองกันไป

  • รีวิว Mastodon แอปโซเชียลตัวสำรอง Twitter น่าเล่นขนาดไหน พร้อมแนะนำวิธีเริ่มใช้งานแบบง่าย ๆ

    ในช่วงที่โลกกำลังวุ่นวายจากการที่ Elon Musk เข้าครอง Twitter ก็ได้เกิดกระแสอพยพแพลตฟอร์มครั้งใหญ่ หนึ่งในจุดมุงหมายที่ทั้งสื่อและผู้ใช้งานพูดถึงกันอย่างมากคือ Mastodon สื่อโซเชียล open-source ที่มีหน้าตาและฟังก์ชันหลายอย่างละม้ายคล้ายกับ Twitter ทำให้เป็นเป้าหมายการย้ายถิ่นฐานและถูกแนะนำไปซะเยอะ แต่เมื่อใช้งานจริงแล้วมีประสบการณ์ยังไงบ้าง มีความน่าเล่นแค่ไหน คราวนี้เราลองมาให้แล้วครับ

  • พาไปรู้จัก Blind เว็บบอร์ดลับสุดแซ่บ สำหรับพนักงานบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Google, Meta, Amazon, Microsoft, ฯลฯ

    หากใครติดตามข่าวเทคโนโลยีก็จะพบเห็นชื่อ Blind ขึ้นมาบ่อย ๆ ในฐานะแพลตฟอร์มวงในของพนักงาน IT ในบริษัทระดับโลก ที่เอาไว้พูดคุยกันทุกเรื่องตั้งแต่ชีวิตการงาน จนไปถึงเรื่องฉาว ประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในโลกผู้พัฒนา ดังนั้นคราวนี้เราเลยอยากพาทุกคนไปทำความรู้จัก Blind กันว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นแพลตฟอร์มอะไร มีวิธีเข้าไปใช้งานยังไง และที่ผ่านมีเว็บนี้ส่งผลอะไรกับโลกเทคโนโลยีบ้างครับ

  • ดูเหมือนประเด็นกฎหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับชาวเน็ตโดยตรงจะกลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมไทยอีกครั้ง หลังจากที่เกิดกรณีดาราชื่อดังไล่ฟ้องหมิ่นประมาทคู่กรณีบนโลกออนไลน์ที่เล่นเอาชนิดต้องชดใช้กันหลักล้าน หรือล่าสุดกับประเด็นดราม่าออกข่าวไปทั่วโลกกับกรณีนักท่องเที่ยวรีวิวเชิงลบกับรีสอร์ทในไทยบนโลกออนไลน์สุดท้ายได้นอนคุกเฉยเลย งานนี้ DroidSans จะพาไปทบทวนกันหน่อยว่า ชาวเน็ตสายลงทัวร์มีข้อจำกัดและความพอดีอยู่ตรงไหน

    หมิ่นประมาทคือกฎหมายสุดคลาสสิค ใช้กันมานานแล้ว แถมยังใช้ได้ดีในโลกออนไลน์

    อันดับแรกไปดูที่ตัวกฎหมายอาญาที่มีใช้กันมานานแล้ว แต่กลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยความที่โลกอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้น การจะโพสต์เนื้อหาเชิงให้ร้ายบุคคลอื่นนั้นทำได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก เรียกได้ว่าจัดทัวร์ไปลงได้ทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น Facebook – Instagram หรือ Twitter ก็ตาม ซึ่งกฎหมายคดีหมิ่นประมาทมีสาระสำคัญชวนจำง่าย ๆ 3 ข้อ จะกระทำความผิดได้ต้องมีครบทุกข้อ คือ

    • เป็นการใส่ความด้วยข้อเท็จจริง | ความหมายคือ ประเด็นเหนือโลกมนุษย์ 😆 เหตุการณ์ที่เป็นจริงไม่ได้นั้น ไม่นับเป็นการใส่ความ
    • ต่อบุคคลที่สาม | ขอแค่มีคนรับรู้การใส่ความนั้น ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงเพียงแค่คนเดียวก็เกินพอ
    • โดยอาจเป็นเหตุทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

    หากผู้ถูกกระทำคิดว่าโดนครบทั้งสามข้อนี้แล้วก็ทำให้เกิดความเสี่ยงจะถูกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทได้ทันที ซึ่งอันที่จริงนั้นถูกฟ้องง่ายมาก ๆ แต่ต้องไปพิสูจน์กันต่อว่าผิดจริงหรือไม่ ซึ่งในความผิดนี้มีโทษทั้งจำคุก 1 ปี ปรับอีก 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ! นี่แค่โทษขั้นต้นเท่านั้น เพราะถ้าหากเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งมีเงื่อนไขเพียงแค่เป็นการ ป่าวประกาศเผยแพร่กันในวงกว้าง (แน่นอนว่าโพสต์บน Facebook – Instagram เข้าข้อนี้หมด) ก็เตรียมใจเสี่ยงรับโทษหนักคุก 2 ปีปรับ 2 แสนหรือทั้ง 2 อย่างเป็นคอมโบกันได้เลยล่ะ

    อย่างไรก็ตามคดีประเภทนี้ เป็นความผิดที่เรียกว่า “ยอมความกันได้” ซึ่งหมายถึงว่าผู้เสียหายอาจยกฟ้องได้ง่าย ๆ ขอแค่คุยกันรู้เรื่อง จึงเป็นที่มาของการเรียกเงินค่าเสียหายหลักแสนหลักล้านอย่างที่เห็นกันอยู่จากประเภทดราม่าทั้งหลายนั่นเอง เพราะแน่นอนว่าผู้กระทำผิดย่อมเลือกเสียเงินดีกว่าได้นอนคุกเป็นปี ๆ อย่างแน่นอน

    พรบ.คอมพิวเตอร์ ฯ เอาไว้สู้กับข่าวปั่น ข่าวปลอม เป็นหลัก แต่ก็อย่าได้โพสต์กันส่งเดชนะ !

    สำหรับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือที่เรียกกันติดปากว่ากฎหมาย พรบ.คอม ฯ นั้นมีเจตนาในการบังคับใช้กับประชาชนทั่วไปในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปโดยมาตราที่เป็นใจความสำคัญและมักถูกพูดถึงที่สุดคือ มาตรา 14 เกี่ยวกับความผิดที่เรียกกันว่าการเผยแพร่ข่าวเท็จ หรือ Fake News นั่นเอง ซึ่งมีสาระสำคัญแบบย่อยง่าย ๆ แบบนี้

    • เป็นการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ (แน่นอนว่าใด ๆ บนโลกออนไลน์เข้าข้อนี้หมด ไม่ว่าจะแค่ชอบกด Like หรือใช่กด Share ก็เข้านะ 😂)
    • และผู้กระทำผิดรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
      1. ตั้งใจนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือน ปลอม หรือเป็นเท็จไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียหาย แต่ไม่ใช่ความผิดข้อหาหมิ่นประมาทอาญา (คือถ้าผิดหมิ่นประมาทแล้ว ก็ไม่ใช้พรบ.คอมนะ)
      2. นำเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จ และข้อมูลเท็จนั้นน่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ
      3. นำเสนอข้อมูลใด ๆ ที่ผิดกฎหมายความมั่นคงทั้งหลาย
      4. นำเสนอข้อมูลอันลามก ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

    สำหรับโทษตามพรบ.คอม ฯ นี้ถือว่าแรงกว่ากันพอสมควรเลย โดยธรรมชาติที่มุ่งคุ้มครองดูแลเรื่องของ Fake News และก็ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นหลัก ความผิดตามพรบ.นี้มีโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับโดยจะนับเป็น “ความผิดประเภทยอมความไม่ได้” จะเห็นว่าไม่มีเรื่องของการต่อรองเข้ามาเกี่ยวข้องได้เลย ไม่เหมือนกับกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาท

    กรณีตัวอย่าง | เคสดาราซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล – วิจารณ์เรื่องสาธารณะต้องมีขอบเขต

    หากเปรียบเทียบกันอย่างง่าย ๆ แล้วจะเห็นเลยว่า ดราม่ารายเดือนที่เราเห็นกันบนโลกออนไลน์กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหายกันหลักแสนหลักล้านนั้น ล้วนเป็นการใช้กระบวนการตามกฎหมายความผิดฐานหมิ่นประมาทล้วน ๆ เพราะเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ ก็คือเอาเงินมาแลกกับการถอนฟ้องจะได้ไม่ต้องเสี่ยงรอศาลตัดสินแล้วอาจได้ไปนอนคุกกันนั่นเอง

    อย่างกรณีดราม่าดาราฟ้องชาวเน็ตไม่ว่าจะเป็นคุณแมท ภีรนีย์ หรือ คุณทราย เจริญปุระ ต่างก็เข้ากรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณากันทั้งหมด (แน่นอนล่ะ ให้ร้ายกันบนโลกออนไลน์ก็คือโฆษณาดี ๆ นี่เอง) ซึ่งยอมความกันได้และคู่กรณีส่วนมากถ้าพิจารณาถี่ถ้วนดีแล้วร้อยทั้งร้อยจะขอให้ยอมความกันทั้งหมดยอมเสียเงินหมดไม่ว่าจะหลักแสน หรือต้องเป็นหนี้เรือนล้านเพราะความปากพล่อยก็ตาม

    เคสของคุณแมทนั้นชัดเจนในตัวเองอยู่แล้วว่าเป็นการให้ร้ายกันทำให้เธอต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง อันที่จริงแน่นอนว่าการเป็นบุคคลสาธารณะอย่างเช่นดาราย่อมมีกรอบให้วิจารณ์กันได้ อย่างที่เจ้าตัวเองก็ยอมปล่อยมาร่วม 2 ปีได้ แต่เรื่องที่เห็น ๆ กันพวกเราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันเป็นเรื่องส่วนบุคคลโดยล้วน ๆ ของคุณแมทเอง ซึ่งการนำเรื่องแบบนี้มาให้ร้ายกัน ก็นับว่าผิดเต็ม ๆ ไม่ต้องสืบเลยล่ะ

    พูดถึงความเป็นเรื่องส่วนตัว… อันที่จริงแล้วความผิดฐานหมิ่นประมาท หากสืบหาข้อเท็จจริงกันได้ว่าข้อความหมิ่นประมาทนั้นเป็นเรื่องจริงก็จะไม่ต้องรับโทษ แต่กฎหมายอนุญาตเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะเท่านั้น (การเมือง ศีลธรรม สังคมโดยรวม) ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องส่วนบุคคล กฎหมายห้ามพิสูจน์ต่อให้เป็นเรื่องจริง แต่ถ้าทำให้ผู้อื่นต้องเสื่อมเสียได้ ก็ผิดเต็ม ๆ ส่วนกรณีของคุณทราย เจริญปุระ นั้นถึงแม้เธอจะถูกให้ร้ายบนโลกออนไลน์ เนื่องมาจากความคิดเห็นทางการเมือง แต่ปรากฎว่าชาวเน็ตที่ถูกฟ้องนั้นให้ร้ายเธอในเรื่องส่วนบุคคลชนิดไม่เกี่ยวอะไรกับรสนิยมทางการเมืองแม้แต่นิดเดียวงานนี้ก็โดนกันไปเต็ม ๆ ไม่ต้องพิสูจน์เช่นกัน 💡

    คิดสักนิดก่อนวิจารณ์กันมันส์มือในโลกออนไลน์ – งานนี้สายลงทัวร์ควรคิดให้มากขึ้น

    สำหรับเคสนักท่องเที่ยวที่ถูกจับนอนคุกเพราะดันไปรีวิวรีสอร์ทชื่อดังบนเกาะช้างแบบเชิงลบบน Google และ TripAdvisor นั้นก็ไม่ได้ต่างกันมาก เพราะตัวเค้าเองก็ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทเช่นกัน เรื่องนี้ถูกเล่นเป็นข่าวทั้งสำนักข่าวไทย และข่าวต่างประเทศชนิดไม่สนใจรายละเอียดกันเลยราวกับว่ากฎหมายบ้านเรามันป่าเถื่อนน่ากลัว ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วนักท่องเที่ยวรายดังกล่าวท่านเล่นรีวิวรีสอร์ทแรงมาก ๆ ความว่า “ที่นี่เหมือนใช้ระบบทาสแห่งยุคปัจจุบัน” หรือแม้แต่ “ให้หลีกเลี่ยงที่นี่เหมือนกับว่ามันเป็นโคโรน่าไวรัส” สาเหตุเพียงจากความไม่พอใจที่ทางรีสอร์ทจะขอค่าเปิดขวดเครื่องดื่มแอลกอฮล์ที่เขาพกมาเองในราคาค่อนข้างสูง ซึ่งเนื้อหาในรีวิวเกินเรื่อง เกินสาระหลักของคำวิจารณ์ไปมากและอาจส่งผลให้รีสอร์ทเสียหายจึงต้องใช้วิธีแจ้งความนั่นเอง

    งานนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ชั้นดีสำหรับชาวเน็ตอย่างเรา ๆ ให้เข้าใจกันโดยง่ายได้เลยว่า การวิจารณ์บนโลกออนไลน์ก็เหมือนบนโลกจริง ควรวิจารณ์แต่พอดี มีขอบเขตไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ครั้นจะมองเรื่องที่วิจารณ์ซึ่งเป็นเรื่องเหตุบ้านการเมือง หรือสังคมก็ตาม ต้องวิจารณ์โดยยึดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

    ตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการเมืองก็คือไม่ว่าเพื่อน ๆ จะยืนฝั่งซ้ายหรือฝ่ายขวา การวิจารณ์ควรอยู่ที่หลักการและเหตุผล ไม่ใช่เป็นการให้ร้ายตัวบุคคลที่เรากำลังโต้เถียงอยู่ด้วยในสังคมออนไลน์ ไม่อย่างนั้นสายทัวร์ลงมีหวังได้ผลาญเงินเล่นไปกับการจ่ายค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาทเหมือนกรณีตัวอย่างเป็นแน่ แถมที่สำคัญคือ ในทางเทคนิคแล้ว ไม่ว่าเพื่อน ๆ จะใช้แอ้คหลุมบนโลกทวิตภพหรือโปรไฟล์อวตารบนเฟซบุ๊ค เจ้าหน้าที่ก็สามารถตามหาเจ้าตัวผู้กระทำผิดเจอได้อยู่ดี (อ้างอิงจากกรณีของแมท ที่แอคหลุมหลายรายก็ไม่รอดโดนตามเจอและฟ้องไปด้วยกันเลย) งานนี้ควรคิดให้มาก ๆ ก่อนวิจารณ์ให้ร้ายหรือบูลลี่บุคคลอื่นกันเพียงเพื่อความสะใจส่วนบุคคลนะ

     

    อ่านเพิ่มเติม :

    • iLaw : วิจารณ์อย่างเท่าทัน ทำความเข้าใจกฎหมายพื้นฐาน หมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

    Cyber BullyingFake NewsLawsLegalSocial Media

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    • AIS อุ่นใจไซเบอร์เปิดตัวแคมเปญ “มีความรู้ก็อยู่รอด” สะท้อนสังคมให้ทุกคนรู้เท่าทันทุกภัยไซเบอร์

      ที่ผ่านมาเราคงจะเห็นข่าวการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้นโดยไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง ถึงแม้ว่าทางภาครัฐและเอกชนจะออกมาตรการป้องกันแค่ไหนก็ตามพวกมิจฉาชีพก็ยังคงหากลลวงใหม่ ๆ มาหลอกเหยื่ออยู่ดีนี่ยังไม่รวมภัยร้ายทางโลกไซเบอร์นะคะ วันนี้ทาง AIS อุ่นใจไซเบอร์ถือโอกาสเปิดตัวแคมเปญภายใต้แนวคิด “มีความรู้ก็อยู่รอด” เพื่อสะท้อนให้คนไทยเห็นถึงปัญหาภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบได้อย่างเท่าทันโลกออนไลน์

    • ต้องทำอย่างไรเมื่อโดนคอมเมนต์แย่ๆ หรือโดนบูลลี่ในโซเชียล?

      ในยุคที่ใครก็สามารถมีชื่อเสียงขึ้นมาได้จากการสร้างสรรค์เนื้อหาลงใน Social Media ต่าง ๆ ทำให้เราเห็นคนเก่งมีความสามารถเกิดขึ้นกันเต็มไปหมดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่สิ่งนึงที่ทุกคนที่ก้าวเข้าสู่วงการนี้ต้องเจอ คือ คอมเมนต์หรือคำวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าได้คำชมก็เป็นกำลังใจที่ดีให้ทำต่อไป แต่ในทางกลับกันถ้าเจอในด้านลบ ก็อาจจะทำให้หมดแรงทำต่อ รวมถึงนำพาให้ชีวิตพัง เสียความมั่นใจในตัวเองกันไป

    • รีวิว Mastodon แอปโซเชียลตัวสำรอง Twitter น่าเล่นขนาดไหน พร้อมแนะนำวิธีเริ่มใช้งานแบบง่าย ๆ

      ในช่วงที่โลกกำลังวุ่นวายจากการที่ Elon Musk เข้าครอง Twitter ก็ได้เกิดกระแสอพยพแพลตฟอร์มครั้งใหญ่ หนึ่งในจุดมุงหมายที่ทั้งสื่อและผู้ใช้งานพูดถึงกันอย่างมากคือ Mastodon สื่อโซเชียล open-source ที่มีหน้าตาและฟังก์ชันหลายอย่างละม้ายคล้ายกับ Twitter ทำให้เป็นเป้าหมายการย้ายถิ่นฐานและถูกแนะนำไปซะเยอะ แต่เมื่อใช้งานจริงแล้วมีประสบการณ์ยังไงบ้าง มีความน่าเล่นแค่ไหน คราวนี้เราลองมาให้แล้วครับ

    • พาไปรู้จัก Blind เว็บบอร์ดลับสุดแซ่บ สำหรับพนักงานบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Google, Meta, Amazon, Microsoft, ฯลฯ

      หากใครติดตามข่าวเทคโนโลยีก็จะพบเห็นชื่อ Blind ขึ้นมาบ่อย ๆ ในฐานะแพลตฟอร์มวงในของพนักงาน IT ในบริษัทระดับโลก ที่เอาไว้พูดคุยกันทุกเรื่องตั้งแต่ชีวิตการงาน จนไปถึงเรื่องฉาว ประเด็นร้อนที่เกิดขึ้นในโลกผู้พัฒนา ดังนั้นคราวนี้เราเลยอยากพาทุกคนไปทำความรู้จัก Blind กันว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นแพลตฟอร์มอะไร มีวิธีเข้าไปใช้งานยังไง และที่ผ่านมีเว็บนี้ส่งผลอะไรกับโลกเทคโนโลยีบ้างครับ

    4 Comments

    1. Suppachoke Punyayut Post on December 14, 2020 at 7:54 am

      อ่านมาเกือบจบเห็นอ้างอิง iLaw เว็บนี้สนับสนุนกลุ่มต่างชาติรับเงินมาปั่นประเทศไทยหรอครับ จะได้เลิกติดตาม

      Log in to Reply

      • thara Post on December 14, 2020 at 8:16 am

        ต้องเป็นข้อมูลจากเว็บ สลิ่ม.com ป่าวครับ ถึงจะรับได้

      • INSOMNIA Post on December 14, 2020 at 8:49 am

        ทำไมพวกนี้ชอบอ้างต่างชาติปั่นประเทศ ทั้งๆ ที่รบ.ทำประเทศชิบหายขนาดนี้

      • nutartworks Post on December 15, 2020 at 10:02 am

        สมัยนี้แล้วยังเชื่อเรื่องแบบนี้กันอยู่อีกเหรอครับ บอกว่าเชื่อเรื่องผีแม่ย่านางในรถบังคับวิทยุผมว่ายังมีเหตุผลกว่าเลยนะ

        โพสด่าคนอื่นผิด พรบ.คอมไหม

        จากการที่คอมพิวเตอร์และสือ social มีบทบาทกับชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และ มีอิทธิพลกับสังคมเป็นอย่างมาก ทั้งการโพสข้อความที่เป็นเท็จ หรือเป็นการต่อว่าพาดพิงถึงบุคคลอื่นๆ รวมทั้ง แชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อผ่านสื่อ social ต่างๆ อาจทำให้เข้าข่ายความผิด พรบ คอมพิวเตอร์

        โพสต์ยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

        รับแชร์โพสบนเฟสอย่างไร ไม่ผิดกฏหมาย.
        ที่มาต้องชัด - ควรอ้างอิงที่มา ข้อมูลที่กล่าวถึงอย่างชัดเจน เช่น สถานที่ เวลา บุคคลที่สามที่กล่าวถึง หากไม่ระบุข้อมูลใด ๆ อาจะเป็นไปได้ว่าตั้งใจเผยแพร่ข่าวปลอม.
        นำเสนอกันหลายแหล่ง - เช็คง่ายๆ ด้วย Google เลยค่ะ ถ้าพบว่าไม่มีสื่อไหนนำเสนอเรื่องนี้เลย เป็นไปได้มากว่าจะเป็นข่าวปลอม.

        โพสต์รูปประจาน ผิดกฎหมายไหม

        การโพสต์เฟสบุคด่าคนอื่น,ประจานเมียน้อย,ประจานลูกหนี้,ทวงถามหนี้ลูกหนี้ผ่านทางเฟสบุค ระบุชื่อ-นามสกุล ลงรูป โดยมีลักษณะเป็นการเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชน หรือประชาชนทั่ว เป็นความผิดอาญา ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน ...

        ประจานโดนพรบคอมไหม

        โทษของหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา สูงสุดคุก 2 ปี ปรับอีก 2 แสน ยิ่งถ้าเอารูปมาลงเห็นหน้าตาชัดเจน อาจเข้าข่าย พรบ คอม ด้วย การจะลงเฟซบุ๊กประจานคนอื่น อาจต้องระวังให้ดี ไม่งั้นจะเข้าคุกเสียเอง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง