วิธี ป้องกันการเสื่อมสภาพของ เครื่องจักร

หากคุณเป็นผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงและทรัพยากร คุณคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ ถ้ายังไม่พังอย่าพึ่งซ่อม” ความคิดนี้อาจใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่ การบำรุงรักษาเชิงรับ Reactive Maintenance นี้อาจทำให้สิ้นเปลืองเงินหลายแสนบาทในแต่ละปี เนื่องจากขาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance อย่างสม่ำเสมอ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำให้คุณเครียดและต้องใช้เวลานานในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาที่มากกว่าเดิมหลายเท่า

หากทีมของคุณยังคงใช้วิธีการบำรุงรักษาเชิงรับอยู่ ถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เข้มงวดนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ Good Material ได้เขียนถึงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน วิธีการ ข้อดีข้อเสีย  ตัวอย่าง และ เครื่องมือที่จะเพื่อให้บริษัทและเครื่องจักรของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Table of Contents

  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : Preventive Maintenance คือ ?
  • ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?
  • ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง?
    • 1.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา
    • 2.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน
  • ข้อดี – ข้อเสีย ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
    • ข้อดีของ Preventive Maintenance
    • ข้อเสียของ PM
  • Reactive Maintenance VS Preventive Maintenance แตกต่างกันอย่างไร?
  • 4 กิจกรรมสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?
  • อะไรคือตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance
  • ตัวอย่างแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : Preventive Maintenance คือ ?

PM : Preventive Maintenance  คือ การคาดการณ์และป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในอนาคต เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะทำการตรวจสอบ, บำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์หรือวัสดุอยู่ตลอดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการนี้ยังช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับรวมถึงยังมีเวลาเพิ่มในการทำงานด้านอื่นๆอีกด้วย

ตามหลักทั่วไป การป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นถือว่าดีกว่าอยู่แล้ว การบำรุงรักษาเชิงป้องกันช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดโดยการส่งเสริมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ดีที่สุด รายการต่อไปนี้แสดงถึงวิธีการบางประการที่ทีมดูและทรัพย์สินและฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถอยู่เหนือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในแผนกของตนได้:

  • กำหนดเวลาและดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความเครื่องจักรและทรัพย์สินเป็นประจำ
  • หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อลดการสึกหรอ
  • ปรับการควบคุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุด
  • ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุด
  • ดูแลน้ำมันหล่อลื่นให้สะอาดอยู่เสมอ

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีเป้าหมายครอบคลุม 2 ประการ : เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และเพิ่มผลผลิต และ เพื่อให้ผู้คนและทรัพย์สินปลอดภัยจากอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆ ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงและทีมสามารถใช้หลักการของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
  • เพิ่มความปลอดภัยและลดโอกาสบาดเจ็บของพนักงาน
  • ลดค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆลง
  • ป้องกันอุปกรณ์หลักพังก่อนเวลาอันควร
  • ลดขั้นตอนการตรวจสอบและตรวจจับที่ไม่จำเป็นลง
  • พร้อมรับมือและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานประจำวันลง
  • ปรับปรุงความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ (Machine Reliability)

 

ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง?

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันแบ่งออกเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา, การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานหรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน

1.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลาคือการตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในกรณีที่พบความชำรุดหรือเสียหาย

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามเวลาเหมาะที่สุดสำหรับสินทรัพย์ที่มีขอบเขต (เช่นอุปกรณ์ดับเพลิง / รักษาปลอดภัย) และทรัพย์สินที่สำคัญ (เช่นระบบ HVAC และปั๊มต่างๆ) รวมถึงยังสามารถใช้แนวทางนี้สำหรับสินทรัพย์ใดๆที่ต้องการการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้อีกด้วย

2.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานคือแนวทางที่ทำให้เกิดการบำรุงรักษาหลังจากมีการใช้งานไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง (เช่นทุกๆ“ X” ของกิโลเมตร, ไมล์, ชั่วโมงหรือรอบการผลิต)

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน จะช่วยให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ยังคงทำงานได้ตามที่ผู้ผลิตต้องการ ไม่เหมือนกับการบำรุงรักษาตามระยะเวลาซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดที่เข้มงวดกว่า วิธีการนี้สามารถใช้ตรวจสอบได้ทุกเดือนหรือทุกหกเดือนก็ได้

 

ข้อดี – ข้อเสีย ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

ข้อดีของ Preventive Maintenance

  • เพิ่มความปลอดภัย การบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะเข้าไปตรวจสอบและป้องกันกันความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการป้องกันการบาดเจ็บของพนักงาน ลดความเสี่ยงและความเสียหายจากการฟ้องร้องได้
  • อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้น  การเข้าไปตรวจสอบเชิงรุก และป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อแน่ใจว่าเครื่องจักร และอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้อย่างราบลื่นลดโอกาสเสียหายครั้งใหญ่ เพราะถ้าปล่อยให้ชิ้นส่วนที่ล้มเหลวบางชิ้น จะส่งผลต่ออุปกรณ์โดยรวมส่งผลให้ต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่มีราคาแพง
  • เพิ่มผลผลิต สถิติในหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบำรุงรักษาที่ไม่ดีลดกำลังการผลิตของเครื่องจักรและบริษัทได้ถึง 20% แต่หากคุณบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างสม่ำเสมอสามารถป้องกันการลดลงของประสิทธิภาพการผลิต  ลดเวลาหยุดงานของเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ต้นทุนลดลง ต้นทุนที่มองเห็น ไม่แพงเท่ากับ ต้นทุนที่มองไม่เห็น อาจะมากกว่าถึงสิบเท่าด้วยกัน ถ้าคุณสามารถหา รากของปัญหา Root Cause ในเครื่องจักรแล้วซ่อมบำรุงหรือรักษาสภาพได้ดี จะช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับ ลดการหยุดงานของเครื่องจักร Machine Downtime และลดความเสียหายของเครื่องจักรโดยรวม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนของบริษัทในที่สุด

 

ข้อเสียของ PM

แม้ว่าข้อดีของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะมีข้อดีที่ชัดเจน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ต้องพูดถึง

  • ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในธุรกิจขนาดเล็กอาจะพบว่าการ เครื่องมือสำหรับบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการมีราคาสูง และ ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วบริหารจัดการ จึงมีปัญหาด้านงบประมาณได้
  • ต้องการทรัพยากรเพิ่ม การบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้ประสบความสำเร็จอาจจะต้องใช้พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ทำให้อาจจะต้องจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือ จ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยจัดการ

 

Reactive Maintenance VS Preventive Maintenance แตกต่างกันอย่างไร?

การบริหารจัดการทรัพยากรอาคารนั้นกล่าวได้ว่า การบำรุงรักษาแบบเชิงรับ (Reactive Maintenance) ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  สิ่งของทุกชิ้นสามารถเสียหายได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตามเราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้โดยการใช้การบำรุงแบบเชิงรุก และเราจะมาเปรียบเทียบระหว่างการบำรุงรักษาแบบเชิงรุกและเชิงรับกันดังต่อไปนี้

  • การบำรุงรักษาเชิงรับ : มุ่งเน้นไปที่การวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความเสียหายหรือทำงานผิดปกติแล้ว ช่างซ่อมบำรุงจะระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ.
  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  : มุ่งเน้นไปที่การบำรุงรักษาตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือ การดูแลอุปกรณ์ต่างๆที่ยังทำงานอยู่ให้ทำงานได้ตามปกติต่อไป วิธีนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายสูงและลดโอกาสการทำงานผิดปกติในอนาคตอีกด้วย

ความเข้าใจผิดทั่วไป คือ การบำรุงรักษาแบบเชิงรับนั้นไม่ดี ความจริงก็คือแผนกที่ดูแลบริหารทรัพยากรหรือฝ่ายซ่อมบำรุงส่วนใหญ่จะมีการบำรุงรักษาเชิงรับและการบำรุงรักษาเชิงป้องกันร่วมกันตลอด เนื่องจากการที่เราจะคาดการณ์และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์และสินทรัพย์ทั้งหมดถือเป็นเรื่องที่ยาก

 

4 กิจกรรมสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?

4 ขั้นตอนสำคัญมีดังนี้: การตรวจสอบ, การตรวจจับ, การแก้ไข และการป้องกัน เรามาดูกันว่าแต่ละขั้นตอนทำงานกันแบบไหนกันบ้าง

1.การตรวจสอบ

การตรวจสอบเป็นส่วนที่จำเป็นของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการช่วยเหลือองค์กรใน 2 วิธี วิธีแรกการตรวจสอบเครื่องจักร สารหล่อลื่นเครื่องจักร รวมถึงสถานที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักร อุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และพร้อมใช้งาน การตรวจสอบเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเสียหายและช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย อันดับที่สองคือการตรวจสอบเป็นประจำเพื่อปกป้องทรัพย์สินเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดทำงานได้ตามที่ผู้ผลิตต้องการ

2.การตรวจจับ

การใช้งานจนพังนั้นอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพจำนวนมากเลือกใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพราะมันช่วยให้พบปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆโดยที่ปัญหายังค่อนข้างแก้ไขง่ายและใช้เงินไม่มากนัก

3.การแก้ไข

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันสนับสนุนให้ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพใช้แนวทางเชิงรุกในการดูแลอุปกรณ์และแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น หากตรวจพบปัญหา (หรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น)ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพจะเข้าแก้ไขปัญหาทันทีก่อนที่มันจะแย่ลงหรือไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป

4.การป้องกัน

ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพสามารถรวบรวมบันทึกการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเพื่อเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีตและแก้ไขปัญหาที่เกิดซ้ำกับอุปกรณ์ นั้นๆ วิธีนี้จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มผลผลิตได้เมื่ออุปกรณ์ทำงานตามที่ควร เจ้าหน้าที่สามารถมุ่งเน้นไปที่งานบำรุงรักษาเชิงรุก (แทนที่จะเป็นเชิงรับ)

 

อะไรคือตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance

  • ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ถ้าการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของคุณมีประสิทธิภาพ คุณจะวัดผลได้โดยการตรวจวัดจากเวลาการหยุดงานของเครื่องจักร Machine Downtime จะลดลงอย่างมันัยสำคัญและผลผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น

 

  • ประหยัดต้นทุน : ค่าอุปกรณ์การซ่อมแซม ค่าแรงจะลดลง คุณจะสามารถลดการซ่อมบำรุงแบบตอบสนอง Reactive Maintenance ได้ช่วยในการลดเวลาการทำงานของพนักงานนอกเวลาที่ต้องคอยสแตนบายว่าเครื่องจักรอาจจะเสียหายได้ทุกเมื่อ ลดต้นทุนค่าอุปกรณ์และอะไหล่ได้ เพราะเมื่อคุณมีการกำหนดเวลาล่วงหน้าแล้ว การสั่งชิ้นส่วนและวัสดุต่างๆจะมีการจัดส่งในราคาที่ถูกที่สุด แต่ถ้าเกิดคุณไม่มีการวางแผน จนเกิดเหตุเครื่องจักรพังลงและคุณไม่มีอะไหล่ในการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมในสินค้าคงคลังคุณจำเป็นจะต้องใช้การส่งด่วนที่สุดที่มีราคาแพง

 

ตัวอย่างแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

1.ต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กร

ในการบริหารจัดการโรงงานและเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หมายความ คุณต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งเจ้าของบริษัท ผู้บริหารระดับสูง รวมถึงช่างซ่อมบำรุงของคุณ คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเครื่องมือและกระบวนการที่จำเป็น รวมทั้งมีบุคลากรที่รับผิดชอบโปรแกรมการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

2.สร้างและจัดทำรายงานการตรวจสอบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

การสร้างและทำรายงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะเป็นการทำความเข้าใจโครงการสร้างซ่อมบำรุงของเครื่องจักรทุกชนิด อาจจะเริ่มจากการทำ Preventive Maintenance Process Flow และค่อยทำเป็นลิสต์สำหรับการตรวจสอบการซ่อมบำรุง เพื่อที่จะสามารถมอบหมายและสรุปงานกับเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงที่ต้องดำเนินการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงต่อไป

ตัวอย่างของ PM process flow รูปจาก oracle

ถ้าคุณสามารถสร้างลิสต์รายการตรวจสอบที่ถูกออกแบบมาอย่างดีจะช่วยลดข้อผิดพลาดของมนุษย์และจะสามารถปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร Machine Reliability และอื่นๆอีกมามาย ในการสร้างรายการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM ให้ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  • สรุปเป้าหมายการบำรุงรักษาของคุณ
  • เลือกทรัพย์สินหรือเครื่องจักรที่จะซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องจักร สถานที่ของคุณ
  • จดทุกคำแนะนำ มาตรฐานการซ่อมบำรุงและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
  • สรุปงานที่ต้องบำรุงรักษาเชิงป้องกันในเครื่องจักรหรือทรัพย์สินแต่ละชิ้น
  • สร้างรายงานการตรวจสอบ
  • ฝึกอบรมบุคลากร
  • ติดตามผล เก็บสถิติและปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น

3.ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ทรัพย์สินหรือเครื่องจักรพัง!!

ถ้าคุณสามารถค้นหาต้นเหตุจนเจอและสามารถระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องจักรคุณพังได้ คุณจะสามารถสร้างโปรแกรมการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เชื่อมโยงโดยตรงกับการลดโอกาสของความล้มเหลวนั้นๆ การพังของอุปกรณ์หรืออะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้งในเครื่องจักร ในหลายกรณีเกิดจากการสึกหรอของเครื่องจักร ปัญหาด้านอุณหภูมิ และ การหล่อลื่นในระบบ

**บทความนี้จะลงรายละเอียดเพิ่มเติมที่ด้านล่าง การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ!!

4.คุณต้องทำความคุ้นเคยกับเครื่องจักร

หากคุณกำลังจัดการเครื่องจักรใหม่แกะกล่อง สิ่งแรกที่จำเป็นคือการอ่านคู่มือและทำความรู้จักรคุ้นเคยกับอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรของคุณให้ดีที่สุด เมื่อนำไปใช้งานได้แล้วอย่าลืมส่งต่อความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน อุปกรณ์สู่ช่างเทคนิก และฝ่ายที่ต้องอยู่หน้างาน

5.รวมทุกองค์ความรู้และอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง

ในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของบริษัทคุณ พนักงานต้องเข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนวิธีการดูแลเครื่องจักรของตน (มีความเป็นเจ้าของเครื่องจักร) นอกจากนี้หากผู้ปฎิบัติงานได้รับการฝึกฝนและถูกปฎิบติในฐานะสมาชิกที่มีคุณค่าของธุรกิจ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะจับตาดูกิจกรรมอุปกรณ์ที่น่าสงสัย เช่น เครื่องสั่นผิดปกติ มีเสียงที่ผิดปกติ และแจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า

6.เริ่มต้นตารางการบำรุงรักษาตามที่ผู้ผลิตเครื่องจักรแนะนำ

ในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรหนักพวกเขามักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทดสอบเครื่องจักร ่เช่น การกดดันในภาวะต่างๆ การใช้งานที่ผิดปกติ ทดสอบความสกปรกของน้ำมันหล่อลื่น ก่อนที่จะส่งไปให้ลูกค้าใช้งาน เพื่อที่เขาจะแนะนำได้ว่าคุณควรจะบำรุงรักษาอย่างไร เช่น ในเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันควรมีค่าไม่สูงกว่า ISO 13/10 หรือ มีน้ำเข้าไปผสมในน้ำมันไม่ควรเกิน 300 PPM เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมของแผนการซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตามคุณควรพิจาณาถึงองค์ประกอบอื่นควรคู่ไปด้วย เช่น เครื่องจักรคุณทำงานในสภาพอางกาศท้องถิ่นหรือมีสภาพพื้นที่เฉพาะ อยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นและความร้อนเป็นจำนวนมาก อาจจะส่งผลให้ระยะเวลาบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่สั้นลง

7.ติดตามข้อมูลทั้งหมดและบันทึกทุกการเปลี่ยนแปลง

หลังจากเริ่มทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสักระยะคุณจะสามารถสะสมข้อมูล เก็บสถิติ สามารถดูได้ว่ามีการดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรใดไปบ้าง ณ เวลาใด คุณจะสามารถเทียบสถิติกับเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ที่คล้ายคลึกกันเพื่อหาว่าการบำรุงรักษาแบบใดให้ประสิทธิภาพดีกว่า รู้ถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะต้องซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่ มากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนจมในการสต็อกอะไหล่สำรองจะลดลง คุณภาพของข้อมูลจะช่วยให้ทีมผู้บริหารตัดสินได้อย่างชาญฉลาด

  • บทความที่เกี่ยวข้อง : CMMS คืออะไร และช่วยปรับปรุงคุณภาพการซ่อมบำรุงได้อย่างไร

 

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance 

เพียงคุณให้ความสำคัญมากขึ้น 20 % กับการดูแลรักษาเชิงป้องกัน จะสามารถลดต้นทุนและความเสียหายจากการบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) ลดถึง 80 % ทั้งลดอัตราการซ่อม ลดต้นทุนการสำรองอะไหล่ที่คุณต้องสำรองไว้สำหรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

แต่ยังมีวิธีที่ช่วยคุณเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาให้มากยิ่งขึ้น !! นั่นคือ. . .

การบำรุงรักษาที่ต้นเหตุของการพังของเครื่องจักร  (Root cause machine downtime) 

จากงานวิจัยของบริษัท Shell ที่ได้เก็บข้อมูลของลูกค้าในอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรไฮดรอลิก เพื่อหาว่า สาเหตุที่ทำให้เครื่องไฮดรอลิกต้องหยุดเดิน โดยสาเหตุต่างๆเกิดจาก…

  • 80% ของน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้มีสภาพไม่สมบูรณ์
  • 10% จากการวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้องรวมทั้งไม่มีความรู้ดีพอที่จะทำการแก้ไข
  • 10% เกิดจากการติดตั้งระบบไม่ดี เช่น ชิ้นส่วนต่างไม่ได้เข้ากันพอดี ซีลรั่ว

อีกทั้งทางเชลล์ได้ทำการศึกษาผลที่ได้จาก Shell e-quip (โปรแกรมการดูแลสภาพเครื่องจักรของเชลล์) โดยตรวจสอบน้ำมันตัวอย่างที่เอาออกมาจากเครื่องจักรโดยตรง  พบว่าการปนเปื้อนและการกรองน้ำมันที่ไม่ดีเป็นสาเหตุหลักถึง 60% ของปัญหา  การสึกหรออย่างผิดปกติ 22%  การเสื่อมของน้ำมัน 12% และคุณภาพของน้ำมันเองอีก 6%

จะเห็นว่า 80% ของการหยุดงานของเครื่องจักร มาจากน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้มีสภาพไม่สมบูรณ์คือ ปัญหาใหญ่อันดับหนึ่งของระบบไฮดรอลิก

นอกจากคุณจะต้องให้ความสำคัญกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันในเครื่องจักร อุปกรณ์ แล้ว ถ้าคุณให้ความสำคัญในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โดยเล็งเห็นว่า “น้ำมันหล่อลื่น” ในเครื่องจักร ถือเป็นทรัพย์สินที่สามารถซ่อมบำรุงให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาได้ จะเป็นการช่วยให้การซ่อมบำรุงเชิงป้องกันของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง