บัตรประชาชน หมดอายุ ต่อ ที่ไหนได้ บ้าง

บัตรประชาชนหาย! จองคิวออนไลน์ ทำใหม่ได้ง่ายๆ ไม่ต้องแจ้งความ

สำหรับใครที่ประสบปัญหาในเรื่องของบัตรประชาชนหาย ไม่ว่าจะลืมไว้ เก็บไว้แล้วหาไม่เจอ หรือทำหล่นหายไปที่ไหน สามารถจองคิวบัตรประชาชนหายผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายๆ ไม่ต้องเดินทางไปเองได้เลย

  • การทำบัตรประจำตัวประชาชน
    • คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประชาชน
    • ทําบัตรประชาชนที่ไหนได้บ้าง?
    • ทำบัตรประชาชนครั้งแรก ทำอะไรบ้าง?
    • บัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำยังไง?
    • บัตรประชาชนหาย บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?
    • เปลี่ยนชื่อตัวหรือนามสกุล ทำบัตรใหม่ ต้องทำยังไง?
    • บัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?
    • บุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น พระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประชาชน
    • กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร
    • กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่
    • กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร
    • การขอมีบัตรกรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    • การขอมีบัตรกรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
    • ขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม
  • จองคิวทำบัตรประชาชน ออนไลน์

การทำบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนไทย เป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 70 ปี โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเดิมได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ให้ไปร้องขอทำบัตร ต่อมาลดอายุลงเหลือ 15 ปีในปี พ.ศ. 2526 และ 7 ปีในปี พ.ศ. 2554

บัตรนี้ถูกใช้เพื่อการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรและรับการบริการจากภาครัฐ รวมทั้งในธุรกิจเอกชนบางประเภท เช่น การเปิดใช้หมายเลขโทรศัพท์ หรือการเปิดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้หากผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรโดยไม่มีเหตุอันควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน ใช้พิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลในการติดต่อราชการ การขอรับบริการหรือสวัสดิการในด้านต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐรวมทั้งใช้ประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ทำนิติกรรม ฯลฯ เช่น การสมัครงาน การขอเปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร การโอนอสังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

  1. มีสัญชาติไทย
  2. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
  3. มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
  4. สำหรับผู้มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

  1. สมเด็จพระบรมราชินี
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
  3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
  4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
  5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
  6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

ทําบัตรประชาชนที่ไหนได้บ้าง?

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ก็ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่เปิดให้ไปติดต่อทำบัตรประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

ทำบัตรประชาชนครั้งแรก ทำอะไรบ้าง?

ทำได้ทันทีเมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีทำบัตรครั้งแรก

  • สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย และหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
  • หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
  • กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
  • การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง

บุคคลน่าเชื่อถือ หมายถึง “บุคคลใดๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้”

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำยังไง?

เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ 

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
  • หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบัตรประชาชนหาย บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?

หลายคนคงคุ้นชินกับการต้องแจ้งความในกรณีเอกสารอื่นๆ หาย แต่สำหรับการทำบัตรประชาชนหายนั้น เราไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความ เพราะเมื่อเราทำบัตรใหม่ เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกแจ้งบัตรประชาชนหายในเอกสาร บป.7 อย่างไรก็ตาม เราควรแจ้งขอเก็บใบ บป.7 ไว้เป็นหลักฐานด้วย

การทำบัตรใหม่นั้น ให้เราขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรประชาชนหาย

  • เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  • หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีบัตรประชาชนหาย เราไม่สามารถทำบัตรใหม่ที่จุดทำบัตรบนจุดบริการที่ BTS ได้

กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตรประชาชน ต้องทำยังไง?

เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุล ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?

หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรเดิมชำรุด

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
  • เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  • หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่นพระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน

  • กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
  • หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร

ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร

  • หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี เป็นต้น
  • หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานแล้ว ต้องนำเจ้าบ้านและบุคคลน่าเชื่อถือมารับรองด้วย

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่

เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้านผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร

คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
  • หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การขอมีบัตรกรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

  • เพิ่มชื่อกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ใช้หลักฐานสูติบัตร และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มชื่อกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การขอมีบัตรกรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย

ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย 

  • กรณีได้ได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทยแล้วแต่กรณี
  • หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ

ขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
  • หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนอย่า เป็นต้น

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

จองคิวทำบัตรประชาชน ออนไลน์

ปัจจุบันนี้ เวลาที่เราทำบัตรหายนั้น นอกจากที่เราไม่จำเป็นต้องเดินไปแจ้งความถึงสถานีตำรวจหรือโรงพักแล้ว เรายังสามารถจองคิวเพื่อทำบัตรประชาชนผ่านระบบออนไลน์ได้เลย สะดวกมากๆ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือรอคอย โดยเฉพาะกับในสถานการณ์ COVID-19 ที่เราต้องเน้นการเว้นระยะห่าง และไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่จำเป็น

ก่อนหน้านี้เราได้เกริ่นไปเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน ในกรณีที่บัตรหายไปเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการยื่นจองคิวบัตรประชาชนหาย ออนไลน์ นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านทางแอพพลิเคชันที่ชื่อว่า BMAQ ซึ่งพัฒนาโดย Bangkok Metropolitan Administration หรือทางกรุงเทพมหานคร เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ต้องการจองคิวเข้าใช้บริการทำบัตรประชาชน ย้ายทะเบียนบ้าน คัดสำเนา ตลอดจนงานทะเบียนราษฏร์อื่นๆ ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต หรือจุดบริการด่วน 12 จุดใน กรุงเทพฯ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งโทรศัพท์มือถือระบบ Android และ iOS

  • ดาวน์โหลดแอพ  BMAQ : Android
  • ดาวน์โหลดแอพ  BMAQ : iOS

ขั้นตอนการจองคิวทำบัตรประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน BMAQ

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ผ่านทาง Google Play store สำหรับโทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์ และ App Store สำหรับโทรศัพท์มือถือระบบ iOS
  • เปิดใช้งานแอปพลิเคชัน โดยระบบของแอปพลิเคชันจะขออนุญาตเข้าถึงตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งาน เพื่อค้นหาสำนักงานเขตหรือจุดให้บริการที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเราต้องกดยอมรับให้ระบบเข้าถึงตำแหน่งปัจจุบันก่อนเริ่มใช้งาน

ขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน BMAQ

  • เลือกหมวดนัดล่วงหน้า
  • ในส่วนเลือกจุดบริการ ให้เลือกสำนักงานเขตที่ต้องการเข้ารับบริการ
  • ในส่วนเลือกบริการ ให้เลือกบริการที่ต้องการ ในที่นี้ต้องเลือก ‘บัตรประจำตัวประชาชน’
  • เลือกวันและเวลาที่ต้องการนัดหมายเข้าใช้บริการ
  • กดรับ QR Code ยืนยันการจองคิวรับบริการ
  • เดินทางไปยังสำนักงานเขตที่เลือกไว้ ตามวันและเวลาที่นัดหมาย โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามาทำบัตรประชาชนและจองคิวไว้ผ่านแอพพลิเคชัน BMAQ
  • เจ้าหน้าที่จะสแกน QR Code ยืนยันการเข้ารับบริการ และให้ไปนั่งรอทำบัตรประชาชนที่หน้าเคาท์เตอร์ เมื่อถึงคิว จะมีหมายเลขคิวปรากฎบนหน้าจอโทรศัพท์ และรอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะเรียก
  • เจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบฟอร์มระบุข้อมูลส่วนบุคคล และเหตุผลในการทำบัตรประชาชนใหม่ (สำหรับผู้ที่ทำหาย จะต้องแจ้งข้อมูลสถานที่และวันที่ ที่ทำบัตรประชาชนหาย) ก่อนยื่นสำเนาบัตรประชาชนเก่าที่เตรียมไปด้วย เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จ จึงพิมพ์ลายนิ้วมือทั้ง 2 ข้าง บนเครื่องสแกนลายนิ้วมือ จากนั้นจึงนำเอกสารไปยื่นให้กับพนักงานที่จุดถ่ายภาพ เพื่อถ่ายภาพทำบัตรประชาชน
  • เมื่อถ่ายภาพเสร็จ จึงนำเอกสารกลับมาและนั่งรอเจ้าหน้าที่เรียก เพื่อไปสแกนลายนิ้วมือลงบนบัตรและรับบัตรประชาชน
  • ขั้นตอนทำบัตรประชาชนทั้งหมด ค่อนข้างง่ายและใช้เวลาเพียง 15 – 20 นาที โดยการใช้แอปพลิชัน BMAQ จะช่วยให้การจองคิวเข้าใช้บริการ เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

และทั้งหมดนี้ก็คือการทำบัตรประชาชน รวมไปถึงในกรณีที่บัตรประชาชนหาย ไม่ต้องแจ้งความ เราสามารถทำบัตรใหม่ได้เลย ซึ่งการทำบัตรใหม่ ในสถานการณ์เช่นนี้นั้น เราก็ไม่ต้องเสียเวลาไปนั่งรอคิวด้วยตัวเองแล้ว แต่สามารถที่จะจองคิวผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย ง่ายมากๆ สำหรับใครที่กำลังต้องการทำบัตรประชาชนใหม่ หรือติดต่อเอกสารอื่นๆ ก็ลองดาวน์โหลดแอพพลิเคชันไปใช้งานกันได้เลย

อ่านบทความเพิ่มเติม/บทความที่เกี่ยวข้อง

  • จับโน๊ตบุ๊คเก่ามาเปลี่ยน HDD เป็น SSD จะดีขึ้นขนาดไหน

  • เปลี่ยนแรมโน๊ตบุ๊คครั้งแรก แกะเครื่องเปลี่ยนเอง จะปังหรือพัง??

  • 8 แอพลบคนออกจากรูปได้ง่าย ๆ ลบเนียน โหลดฟรี ทั้ง Android และ IOS

  • วิธีค้นหาด้วยรูปภาพบนคอมฯ มือถือ หารูปที่คล้ายกัน สะดวก รวดเร็ว ได้ชัวร์

  • 5 เกมออกกำลังกาย เล่นเพลิน ไม่ต้องออกไปยิมก็ฟิตได้

  • 10 แอพกล้องฟิล์ม โหลดใช้งานฟรี สวยเหมือนถ่ายด้วยกล้องจริง

บัตรประชาชนหมดอายุต้องไปทำที่ไหน

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท) 2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) - เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

บัตรประชาชนหมดอายุต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

บัตรประชาชน หาย บัตรประชาชนหมดอายุ ต้องทำอย่างไรบ้าง.
ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน.
เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง.
หากไม่มีหลักฐานเหล่านั้น ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ มาให้การรับรอง.

บัตรประชาชนหมดอายุทำอย่างไร

เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ

บัตรประชาชนหมดอายุต้องใช้ทะเบียนบ้านไหม

เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับการต่ออายุบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประชาชนใบเดิมที่หมดอายุแล้ว หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน จะต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารองรับด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง