ถ้าไม่เสียภาษีที่ดิน

พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยกำหนดให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี แต่เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายใหม่ กระทรวงมหาดไทยยังออกกฎหมายลูกไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นในปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มใช้กฎหมายฉบับนี้ รัฐบาลจึงเลื่อนการเสียภาษีออกไปถึงเดือนสิงหาคม

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจต่อประชาชนอย่างรุนแรง ทำให้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีนี้ลง 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

เรามาดูรายละเอียดกันว่า ในเดือนสิงหาคมนี้ใครจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบ้าง แล้วจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่เมื่อรัฐบาลลดให้ 90 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงกรณีที่ไม่ได้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร

ข้อ 1  ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ใครต้องจ่ายภาษีบ้าง

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นภาษีรูปแบบใหม่ที่มาแทน “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือพูดง่าย ๆ คือรัฐไม่ต้องการให้ที่ดินถูกทิ้งร้างโดยไม่เกิดการพัฒนา

ผู้ที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้มี 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

1. เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง หมายถึง เจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดิน ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากใครมีชื่อเป็น “เจ้าของ” คน ๆ นั้นคือ ผู้ที่ต้องเสียภาษี

2. เจ้าของห้องชุด หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด (คอนโดมิเนียม) ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

3. ผู้ครอบครองทรัพย์สิน ทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของรัฐ เช่น ผู้เช่าที่ราชพัสดุอยู่ แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นั้น ๆ แต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้

โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทจะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี เช่น ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือใช้ในกิจการสาธารณะที่ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ และทรัพย์สินที่เป็นที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงสุล สภากาชาดไทย วัด มัสยิด โบสถ์ ศาลเจ้า เป็นต้น

ข้อ 2  ปี 2563 รัฐจะลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ 90 เปอร์เซ็นต์ ใช่หรือไม่

ใช่ครับ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดภาระให้กับประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด

ข้อ 3  ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อไหร่

พ.ร.บ.ฉบับนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 โดยกำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในวันที่ 1 มกราคมของทุก ๆ ปี จะต้องเสียภาษีภายในเดือนเมษายน แต่เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นกฎหมายใหม่ กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ยังออกกฎหมายลูกไม่เสร็จ ในปี 2563 รัฐบาลจึงเลื่อนการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปถึงเดือนสิงหาคม แต่ในปีต่อ ๆ ไปผู้เสียภาษีจะต้องชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในเดือนเมษายนตามปกติ

กำหนดการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

• ประกาศราคาประเมินที่ดิน เฉพาะปี 2563 ประกาศก่อน 1 มิถุนายน และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ประกาศก่อน 1 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

• แจ้งการประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี เฉพาะปี 2563 แจ้งภายในเดือนมิถุนายน 2563 และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป แจ้งภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

• ชำระภาษี เฉพาะปี 2563 ชำระภายในเดือนสิงหาคม 2563 และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ชำระภายในเดือนเมษายน ของทุกปี

ข้อ 4  ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องเสียภาษีเท่าไหร่

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกษตรกรรม หมายถึง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับทำไร่ ทำนา ปลูกสวนป่า การเลี้ยงปศุสัตว์ เป็นต้น ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ รัฐจะเก็บภาษีสูงสุดเพียง 0.15% ของมูลค่าทรัพย์สิน โดยที่ 3 ปีแรก คือปี 2563 – 2565 รัฐจะยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของที่เป็น “บุคคลธรรมดา” 

และตั้งแต่ปีที่ 4 หรือปี 2566 เป็นต้น “บุคคลธรรมดา” จะได้รับการยกเว้นภาษี หากมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใน 1 เขตองค์กรปกครองส่วนท้องที่ (เทศบาล อบต. กทม. พัทยา) มูลค่ารวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท

เช่น สมมติว่าในปี 2566 นายอดออม มีที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรในเขตพื้นที่ อบต. หนองปรือ 3 แปลง มูลค่ารวม 30 ล้านบาท และมีที่ดินเพื่อการเกษตรในเขตพื้นที่ อบต. บางเสาธง อีก 2 แปลง มูลค่ารวม 40 ล้านบาท แบบนี้ นายอดออม จะไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลย เพราะเขามีที่ดินในแต่ละเขตองค์กรปกครองส่วนท้องที่ (อปท.) ไม่เกิน 50 ล้านบาท

แต่ถ้าในปีนั้น นายอดออม มีที่ดินเพื่อการเกษตรในเขตพื้นที่ อบต. ห้วยยาง จำนวน 3 แปลง มูลค่ารวม 70 ล้านบาท แบบนี้ นายอดออม จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ อบต. ห้วยยาง สำหรับส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท ดังนั้น ในกรณีนี้ นายอดออม จะต้องเสียภาษีที่ดินให้ อบต. ห้วยยาง 2,000 บาท โดยคำนวณจาก 20,000,000 x 0.01%

ส่วนกรณีของ “นิติบุคคล” ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีใน 3 ปีแรกเหมือนบุคคลธรรมดา โดยช่วง 2 ปีแรก คือปี 2563 – 2564 นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.01 – 0.10% ขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สิน และตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป เสียภาษีไม่เกิน 0.15% อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติลดภาษีที่ดินให้ 90 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563 นิติบุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดินเพื่อการเกษตรก็จะได้รับส่วนลดนี้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทบ้านไร่ เป็นเจ้าของสวนส้มมูลค่า 10 ล้านบาท ปกติบริษัทบ้านไร่จะต้องเสียภาษีที่ดิน 10,000,000 x 0.01% = 1,000 บาท แต่ในปี 2563 บริษัทบ้านไร่จะได้ส่วนลดภาษี 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นในปี 2563 บริษัทบ้านไร่จะต้องจ่ายภาษีเพียงแค่ 100 บาทเท่านั้น

ข้อ 5  ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ต้องเสียภาษีเท่าไหร่

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย หมายถึง ที่ดิน โรงเรือน อาคาร ตึก ห้องชุด หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นใดที่มีลักษณะให้บุคคลใช้เพื่อการอยู่อาศัย รัฐจะเก็บภาษีสูงสุด 0.30% ของมูลค่าทรัพย์สิน โดยผู้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นเพียงเจ้าของบ้านที่ไปปลูกในที่ดินของคนอื่นจะได้รับการยกเว้นในกรณีที่บ้านหลังนั้นมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้หากมีบ้านหลายหลังก็จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉพาะบ้านหลังหลักเท่านั้น

การพิจารณาว่าบ้านหลังไหนเป็นบ้านหลังหลัก เจ้าหน้าที่จะดูจากการที่เรามีชื่ออยู่ในโฉนดและทะเบียนบ้าน ส่วนบ้านหลังไหนที่เรามีชื่ออยู่ในโฉนดเพียงอย่างเดียวจะถือว่าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านหลังอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยช่วง 2 ปีแรก คือปี 2563 – 2564 ที่อยู่อาศัยหลังอื่น ๆ จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.02 – 0.10% ขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สิน และตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จะเสียภาษีไม่เกิน 0.30%

เช่น สมมติว่า นายอดออม มีบ้านหลังหนึ่งมูลค่า 20 ล้านบาท และมีคอนโดอีก 1 ห้องมูลค่า 5 ล้านบาท อันดับแรกเจ้าหน้าที่จะดูก่อนว่า นายอดออม มีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน ถ้ามีชื่ออยู่ในบ้าน นายอดออม จะได้รับการยกเว้นภาษีที่คำนวณจากมูลค่าบ้าน และเสียภาษีเฉพาะในส่วนของคอนโด คือเอามูลค่าของคอนโด 5 ล้านบาท คูณด้วยอัตราภาษี 0.02% เท่ากับ 1,000 บาท ซึ่งในปี 2563 รัฐบาลลดภาษีให้ 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น นายอดออมจะต้องเสียภาษีเพียง 100 บาทเท่านั้น

แต่ถ้า นายอดออม มีชื่อตามทะเบียนบ้านอยู่ในคอนโด เขาก็จะได้รับการยกเว้นเสียภาษีที่คำนวณจากมูลค่าคอนโด และต้องเสียภาษีในส่วนของบ้านแทน

ข้อ 6  ที่ดินเพื่อการใช้ประโยชน์อื่นๆ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการใช้ประโยชน์อื่น ๆ หมายถึง ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์ด้านการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ โดยช่วง 2 ปีแรก คือปี 2563-2564 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อประโยชน์อื่น ๆ จะต้องเสียภาษีในอัตรา 0.03 – 0.70% ขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สิน และตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จะเสียภาษีไม่เกิน 1.20%

เช่น สมมมติว่า นายอดออม เป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่ง โดยที่ดินและตัวอาคารที่ใช้ทำร้านอาหารนั้นมีมูลค่ารวม 20 ล้านบาท แบบนี้ นายอดออม จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น 20,000,000 x 0.3% เท่ากับ 60,000 บาท แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 รัฐบาลลดภาษีที่ดินให้ 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เขาจะต้องเสียภาษีที่ดินเพียง 6,000 บาท

ข้อ 7  ถ้าให้คนอื่นเช่าบ้าน – คอนโด เจ้าของต้องเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัยหรือเพื่อการพาณิชย์

เดิมเรื่องการเช่าบ้านและคอนโดเป็นปัญหามากว่า เจ้าหน้าที่จะตีความเป็นการใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่ออยู่อาศัย หรือใช้ เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีอัตราภาษีต่างกันค่อนข้างมาก แต่เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 มีประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ออกมากำหนดแล้วว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยให้รวมถึงการเช่าที่มีการคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือนขึ้นไปหรือโฮมสเตย์ด้วย

ดังนั้น การให้เช่าบ้านและคอนโดเป็นรายเดือนหรือรายปี จะถือว่าบ้านและคอนโดนั้นเป็นการใช้เพื่ออยู่อาศัย เสียภาษีเริ่มต้นแค่ 0.02% แต่หากถ้าเป็นการให้เช่าเป็นรายวัน จะถือว่าเป็นการเช่าเพื่อการพาณิชย์ จะเสียภาษีเริ่มต้นในอัตรา 0.30%

โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย คือ เจ้าของบ้านหรือคอนโดนั้น ส่วนคนที่มาเช่าอยู่ไม่ได้มีหน้าที่เสียภาษีแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติเจ้าของบ้านก็อาจจะผลักภาระให้ผู้เช่า โดยมาเรียกเก็บค่าภาษีหรือเพิ่มค่าเช่าอีกทีหนึ่ง

ข้อ 8  ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ต้องเสียภาษีเท่าไหร่

ที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ หมายถึง ที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพ รัฐจะเก็บภาษีในช่วง 2 ปีแรก คือปี 2563-2564 ในอัตรา 0.30 – 0.70% ขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สิน และตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป จะเก็บภาษีสูงสุด 1.20% แต่ในกรณีที่ที่ดินนั้นไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยติดต่อกัน 3 ปี รัฐจะเก็บภาษีเพิ่ม 0.30% ทุก ๆ 3 ปี แต่รวมแล้วจะไม่เกิน 3% เช่น ปีนี้เรามีที่ดินเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์อยู่ เราต้องเสียภาษี 0.30% เมื่อผ่านไป 3 ปี ถ้าเรายังไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นอีก ก็จะต้องเสียภาษีที่ดินแปลงนั้นเพิ่มเป็น 0.60%

ข้อ 9  ต้องไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไหน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องที่ ดังนั้น เราจะต้องไปเสีย ณ องค์กรปกครองส่วนท้องที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ ดังนี้

1. ถ้าตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ จะต้องไปเสียภาษีที่สำนักงานเขตที่

2. ถ้าตั้งอยู่ในเขตเมืองพัทยา จะต้องไปเสียที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

3. ถ้าตั้งอยู่ในเขตเทศบาล จะต้องไปเสียที่สำนักงานเทศบาล

4. ถ้าตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบาล จะต้องไปเสียที่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

ข้อ 10  ถ้าไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีโทษอย่างไร

การที่เราไม่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือเสียล่าช้าจะมีโทษตามกฎหมาย ดังนี้

1. กรณีค้างชำระภาษี เราอาจถูกสำนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนสิทธิ์ นิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

2. เสียเบี้ยปรับ 10% – 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ ขึ้นอยู่กับว่าเราไปชำระภาษีล่าช้าขนาดไหน

3. เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1% ต่อเดือนจากภาษีที่ค้างชำระ

4. ถ้าแสดงหลักฐานเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีที่ดินเปล่า ต้องเสียภาษีไหม

ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ เช่น ร้านอาหาร ออฟฟิศ โรงแรม สำนักงาน ฯลฯ มีหน้าที่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตรา ดังนี้ 0-50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.3% หรือคิดเป็นล้านละ 3,000 บาท 50-200 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.4% หรือคิดเป็นล้านละ 4,000 บาท

เสียภาษีที่ดินต้องเสียที่ไหน

ชำระภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน สำนักงานเขต ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ เครื่องเอทีเอ็ม (ATM) ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ บัตรเครดิตประเภท Visa และ Master ของธนาคารและสถาบันการเงินทุกแห่ง หรือบัตรกรุงไทยวีซ่าเดบิต

ใครไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน

มูลค่ายกเว้น ยกเว้นภาษีที่ดินให้กับบุคคลธรรมดาที่มีที่ดินที่ใช้ทำเกษตรกรรม ซึ่งในปี 2565 จะเป็นปีสุดท้ายที่ยกเว้นทั้งหมด โดยในปี 2566 จะเริ่มยกเว้นแค่ 50 ล้านบาทแรกเท่านั้น

ที่ดินเสียภาษียังไง

ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เริ่มใช้บังคับตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และจะเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยอัตราภาษีจะคำนวณตามประเภทการใช้ประโยชน์ ตั้งแต่ปีละ 0.01% ไปจนถึงปีละ 3% ของมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565 กระทรวงมหาดไทยประกาศเลื่อนเก็บภาษีที่ดินออกไปอีก 3 เดือน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง