หาก ต้องการ ชม กลองมโหระทึก ควร ศึกษา จากแหล่ง ใด

หากเอ่ยถึง “กลอง” เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากในวิถีชีวิตของชาวไทยนั้น กลอง นับว่ามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะงานบุญ งานรื่นเริง การร้องรำทำเพลง มักจะต้องมีเจ้าเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “กลอง”รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้ง แต่จะมีสักกี่คนกันที่รู้จักกลองมโหระทึก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองทอง ซึ่งเป็นกลองโบราณอายุนับพันๆปี

               กลองมโหระทึก หรือชาวบ้านเรียกว่า “กลองทอง” ถูกเก็บไว้ในวัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อ. ดอนตาล จ. มุกดาหาร ในเอกสารของสำนักงานจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า พบเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่บริเวณตลิ่งริมแม่น้ำโขงถูกน้ำเซาะพังทลายตรงบ้านนาทามในเขตลาว ตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล บ้านดอนตาล ตำบลดอนตาล ต่อมาย้ายไปเก็บรักษาไว้วัดกลาง

               ลักษณะของกลองมโหระทึกใบนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ก้นกลอง 90 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้

               บริเวณหน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มีรัศมี 14 แฉก แล้วมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม ๆ ละตัวด้าน นักโบราณคดีกำหนดอายุตามรูปแบบ และลวดลายว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-6- (หรือหลัง พ.ศ. 400-500)

               มโหระทึกไม่ใช่สมบัติวัฒนธรรมของพวกฮั่น (จีน) มาแต่เดิม เพราะเอกสารจีนโบราณระบุว่า เป็นของพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยหลัง ๆ ต่อมายังเรียกมโหระทึกว่า "หนานถงกู่" หมายถึงกลองทองแดงของพวกชาวใต้ แต่มโหระทึกเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ และมีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพราะในวัฒนธรรมจ้วง กว่างซียังมีประเพณีประโคมตีมโหระทึกในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบูชากบ และขอฝน สืบมาจนทุกวันนี้

               นอกจากนี้กลองมโหระทึกยังแพร่หลายไปทั้งทางบกและทางทะเลไปยังดินแดนต่าง ๆ ของอุษาคเนย์ ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เพราะพบกลองมโหระทึกอยู่ในท้องถิ่นเหล่านั้น เช่นคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย

               สำหรับในดินแดนประเทศไทย พบมโหระทึกทั่วทุกภาค เช่นพบที่ นครพนม มุกดาหาร อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้การพบมโหระทึกในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล แสดงออกให้เห็นถึงเส้นทางคมนาคมที่มนุษย์มีการติดต่อไปมาหาสู่กันทั้งภูมิภาค และทั้งทางบก – ทางทะเล มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้ว

               อันที่จริงแล้ว "มโหระทึก" เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า "มโหระทึก" แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก "หรทึก" จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า "ขุนดนตรีตีหรทึก" และในไตรภูมิบอกว่า "มโหระทึกกึกก้อง" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น "กลอง" หรือ "ฆ้อง"

               เมื่อมาถึงปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก ส่วนชาว จ.มุกดาหารมักเรียกมโหระทึกว่า "กลองทอง"

               มโหระทึกในประเทศไทยสมัยโบราณก็เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีหลักฐานอยู่ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้มโหระทึกประโคม ตีในงานพระราชพิธีและที่เกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร แล้วยังสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ดังที่ใช้ประโคมตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวงทุกปี เป็นต้น

               หากใครอยากจะเห็นหน้าตาจริงๆของกลองมโหระทึกหรือว่ากลองทองแล้วล่ะก็ ถ้าผ่านมาแถวริมแม่น้ำโขง ทางฝั่ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ก็สามารถแวะเวียนเข้ามาชมได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถท่องเที่ยวไปในบรรยากาศสบายๆชมวัฒนธรรม ริมฝั่งโขง อาทิ ธรรมาสน์ไม้สองชั้น ที่วัดกลาง ธรรมาสน์เสาเดียว ที่วัดพิจิตรสังฆาราม พร้อมทั้งชมทัศนียภาพและวิถีความเชื่อของชุมชนริมฝั่งโขง เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการมาเยือนเลยทีเดียว


วัตถุ
กลองมโหระทึก

ทะเบียน ๒๗/๒๘๘/๒๕๓๒

อายุสมัย ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)

วัสดุ สำริด

ประวัติ ไม่ปรากฎประวัติเดิม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาจากคลังพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ สถานที่เก็บรักษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

“กลองมโหระทึก”

กลองมโหระทึกประกอบด้วยหน้ากลองและลำตัว หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์ และลายเรขาคณิต เป็นต้น ลักษณะของลำตัวกลองมีส่วนบนที่บานออก ส่วนกลางตัดตรง ส่วนฐานโค้งและผายออก และมีหูกลองติดอยู่ จากรูปแบบของลำตัวกลองมโหระทึกจัดให้อยู่ในรูปแบบ เฮเกอร์ ๑ กำหนดอายุ ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว)

ได้มีการค้นพบกลองโหระทึก ซึ่งหมายถึงกลองที่ทำจากโลหะสำริดซึ่งผสมด้วยทองแดง ดีบุก และตะกั่วกลองมโหระทึกรูปแบบนี้พบมากในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เจริญอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒ – พุทธศตวรรษที่ ๗ (๑,๙๐๐ - ๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว) และทางตอนใต้ของประเทศจีน เหตุที่เรียกกลองรูปแบบนี้ว่า “กลองดองซอน” เพราะมีการค้นพบกลองรูปแบบนี้เป็นจำนวนมากที่แหล่งโบราณคดีดองซอน หรือ ด่งเซิน ในประเทศเวียดนามนั้นเอง

จากการค้นพบกลองมโหระทึกเป็นจำนวนมากในเวียดนาม จึงทำให้มีนักวิชาการชาวฝรั่งเศสชื่อ ฟรานส์ เฮเกอร์ได้ทำการศึกษารูปแบบของกลองมโหระทึกและได้แบ่งกลองออกเป็น ๔ แบบ คือ เฮเกอร์แบบที่ ๑ ๒ ๓ และ ๔ ซึ่งกลองแต่ละรูปแบบมีอายุสมัย ดังนี้ เฮเกอร์แบบที่ ๑ กำหนดอายุสมัยราว ๒๐๐ปีก่อนพุทธกาล -พุทธศตวรรษที่ ๕ (๒,๑๐๐-๒,๗๐๐ ปีมาแล้ว) เฮเกอร์แบบที่ ๒ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑ - ๖ (๒,๑๐๐-๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว) เฮเกอร์แบบที่ ๓ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑ – ๑๐ (๑,๖๐๐–๒๕๐๐ ปีมาแล้ว) และเฮเกอร์แบบที่ ๔ กำหนดอายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๑๐ (๑,๖๐๐–๒,๑๐๐ ปีมาแล้ว)ในประเทศไทยได้พบกลองมโหระทึกแบบเฮเกอร์ ๑ มากที่สุด และยังพบแบบเฮเกอร์ ๓ อีกด้วย

ในประเทศไทยได้พบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลองมโหระทึกในปรากฎในสมัยสุโขทัย คือ ไตรภูมิพระร่วง ความว่า “บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมหรทึกกึกก้องทำนุกดี”ในสมัยอยุธยาในกฏมณเฑียรบาล ความว่า“...งานสมโภชนสมุหะประธานฑูลเผบใบศรี ญานประกาศถวายศโลก อิศรรักษา ถวายพระศรีเกศฆ้องไชย ขุนดนตรีตีหรทึก...” และในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ว่ามีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ อาทิ “พระพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”และ“งานพระราชพิธีสวดพระอภิธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”ซึ่งกลองที่ใช้มีลักษณะคล้ายกลองแบบเฮเกอร์ ๓

ลำตัวกลองมโหระทึกซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นกลองที่ไม่ปรากฏที่มาอย่างชัดเจนแต่ก็เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ทำให้ทราบถึงรูปแบบของกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสำคัญที่พบในประเทศไทยมาตั้งแต่อดีตและยังมีการงานใช้อยู่ในปัจจุบันปรากฏในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ

เอกสารอ้างอิง

- กรมศิลปากร.ศัพทานุกรมโบราณคดี.กรุงเทพ : บริษัท รุ่งศิล์ปการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๕๐.

- เขมชาติ เทพไชย.“กลองมโหระทึก : ที่พบในภาคใต้.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๒๙ เล่ม ๑. กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๔๒.

-เมธินี จิระวัฒนา.กลองมโหระทึกในประเทศไทย.กรุงเทพ : บริษัท อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป จำกัด , ๒๕๕๐.

แหล่งวัฒนธรรมใดที่พบกลองมโหระทึก

กลองมโหระทึกที่พบจากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว พบในบริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

กลองมโหระทึก มีความสัมพันธ์กับแหล่งวัฒนธรรมในข้อใด *

สันนิษฐานว่าต้นตอของกลองมโหระทึกมาจากวัฒนธรรมดงเซิน (Dong Son) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอายุประมาณ 2,000 ปีจนถึง 1,000 กว่าปีก่อนคริสตกาล มีศูนย์กลางอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในแขวงทันหัวของเวียดนามตอนเหนือ หรือที่เรียกว่าแคว้นตันเกี๋ย

กลองมโหระทึกใช้ประโยชน์อย่างไร

กลองมโหระทึกจะอยู่ในประเภทเครื่องประโคมแตรและมโหระทึก ใช้ในการเสด็จออกขุนนาง หรือนำเสด็จพระราชดำเนินขบวนน้อย โดยเป็นเครื่องทำเสียงของไทยภาคเหนือ จัดอยู่ในประเภทฆ้อง และเป็นของที่มีมาแต่โบราณ

กลองมโหระทึกแพร่กระจายจากบริเวณใด

ผลการวิจัยพบว่า กลองมโหระทึก เป็นมรดกภูมิปัญญาที่ สืบสานขับเคลื่อนเชื่อมโยงทางด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างภาคใต้ ของประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลองมโหระทึก ได้แพร่กระจายอยู่ภาคใต้ของประเทศจีนและบรรดาประเทศ อาเซียนได้แก่ ประเทศจีน เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม บทบาทส าคัญคือการใช้ประกอบในพิธีกรรมตามความเชื่อที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง