แหล่งทําการประมงที่สําคัญของทวีปยุโรป

ประชากรที่เพิ่มขึ้นในทวีปเอเชียส่งผลให้ทำการประมงกันมากขึ้นจนเกินพอดีในบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก

ในเมืองซินดาหงัน (Sindangan) เมืองท่าการประมงทางใต้ของฟิลิปปินส์ เมืองนี้กำลังเจอกับปัญหาราคาปลาแพงขึ้นแต่ทรัพยากรปลาในทะเลหร่อยหรอ เป็นปัญหาที่พบทั่วเอเชียในปัจจุบัน

ทั่วบริเวณทะเลจีนใต้ จำนวนปลาที่จับได้ใกล้แนวชายฝั่งได้ลดปริมาณลงตั้งแต่ 30 ปีที่ผ่านมาผลักดันให้ชาวประมงออกไปหาปลาไกลออกไปจากชายฝั่งมากขึ้นและใช้เพิ่มขนาดของเรือประมงให้ใหญ่โตตามขึ้นไปด้วย

เบนจามิน ฟรานซิสโก้ เจ้าหน้าที่ด้านการประมงแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าเมื่อปริมาณปลาลดลง ชาวประมงจะหาเทคนิคการจับปลาใหม่ๆมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณปลาที่จับได้

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติกล่าวว่าเทคนิคบางอย่างมีผลกระทบทางลบสูง ตั้งแต่การใช้อวนตาถี่ มีการใช้ระเบิดไดนาไมท์และเครื่องมือหาปลาแบบอื่นๆที่จับปลาที่อายุยังน้อยและปลาที่กำลังใกล้จะเข้าสู่ช่วงแพร่พันธุ์

วิธีการทำประมงแบบนี้ส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์ของปลาในทะเล เพื่อแก้ปัญหานี้ คุณเบนจามิน ฟรานซิสโก้ เจ้าหน้าที่ด้านการประมงแห่งสหประชาชาติได้ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบออกใบอนุญาติเพื่อควบคุมจำนวนเรือประมงที่ออกไปหาปลาในทะเล

ทวีปเอเชียมีจำนวนเรือประมงมากที่สุดในโลกหรือมีเรือประมงเกือบ 3 ล้านลำจากจำนวนเรือประมงทั้งหมด 4ล้านลำทั่วโลกและจากรายงานจากแหล่งต่างๆ จำนวนเรือหาปลาในเอเชียยังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ในฮ่องกง ทางการมีความพยายามครั้งใหญ่ในการควบคุมจำนวนเรือประมง มีการห้ามล่าปลาในแนวใกล้ชายฝั่งและยังใีการจัดสรรงบประมาณ 200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในการเพิ่มปริมาณปลาที่ชาวประมงจับได้
คุณ Ping-man เจ้าหน้าที่ประจำกรมการเกษตร การประมงและการอนุรักษ์แห่งฮ่องกงมีความหวังว่ามาตรการที่ใช้จะได้ผล

เขากล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่ามาตรการต่างๆที่ใช้บังคับจะช่วยเพิ่มปริมาณปลาที่จับได้ โดยประมาณว่าจะเพิ่มถึงสองเท่าตัวภายในช่วงเวลา 25 ปี ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานว่ามาตรการที่ฮ่องกงใช้ต้องการงบประมาณสูง ซึ่งทางการในประเทศต่างๆในเอเชียไม่สามารถทำได้

คุณเบนจามิน ฟรานซิสโก้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าต้นตอของปัญหานี้เกิดจากความยากจน ความไร้ประสิทธอภาพของรัฐบาลท้องถิ่นในการรับมือกับปัญหาอย่างทันท่วงที และการขาดแคลนทุนรอนก็มีส่วนด้วย

คุณจูลี่ โบอ็อท เจ้าหน้าการประมงแห่งเมืองซินดาหงัน (Sindangan) ในฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ชาวประมงในพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้อวนตาถี่มากในการจับปลาแม้ว่าจะถูกห้ามใช้มานานหลายปีแล้วเพราะอวนแบบนี้จับปลาตัวเล็กที่ยังไม่โตพอ

นายวิลเฟรโด้ ออร์เต้ก้า ชาวประมงชาวฟิลิปปินส์ขนาดเล็ก หาปลาเพื่อเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัว เขามีลูกเก้าคน ในช่วงเข้าสู่ฤดูพายุ ในการออกหาปลารอบหนึ่งในช่วงตอนเช้า เขาจับปลาได้ในปริมาณน้อยมากคิดเป็นเงินได้แค่ 15 บาทเท่านั้น

เขาบอกว่าในช่วงหลายเดือนนี้ เขาจับปลาได้น้อยมาก เขาสามารถเก็บเงินได้บ้างในช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคมและมกราคม ด้วยการจับปลาซาร์ดีนตัวเล็ก

ผู้สื่อข่าววีโอเอรายงานปิดท้ายว่าปลาซาร์ดีนตัวเล็กที่ครอบครัวชาวประมงคนนี้จับได้ จะช่วยเลี้ยงครอบครัวของเขาได้ในวันนี้ แต่การจับปลาที่ยังเล็กเกินไปหมายถึงจำนวนปลาที่น้อยลงในอนาคต ทำให้ชาวประมงและครอบครัวที่พึ่งการประมงเพียงอย่างเดียวในการหาเลี้ยงปากท้องจะยิ่งยากจนมากขึ้นเพราะทรัพยากรปลาหร่อยหรอลงทุกวัน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    การประมง หมายถึงการจัดการของมนุษย์ด้านการจับปลาหรือสัตว์น้ำอื่น ๆ การดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงเช่น น้ำมันปลา กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงปลาแซลมอนในอลาสก้า การทำประมงปลาคอดในเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์หรือการทำประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน การทำฟาร์มในน้ำ เช่น ฟาร์มปลา, ฟาร์มกุ้ง, ฟาร์มหอย, ฟาร์มหอยมุก การเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเล การเพาะปลูกสาหร่าย ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้ต่อนี้

    พัฒนาการการประมง[แก้]

    การประมงที่มีอายุยาวนานที่สุดคือการจับปลาคอดและแปรรูปเป็นปลาคอดแห้งจากเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์ ส่งไปค้าขายยังภาคใต้ของยุโรป อิตาลี สเปน โปรตุเกส ซึ่งเกิดขึ้นในยุคไวกิ้งหรือก่อนหน้านั้น เป็นเวลานับพันปี การประมงหอยมุกในอินเดียเกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล เป็นการประมงทะเลลึกบริเวณท่าเรือของอาณาจักรดราวิเดียนทมิฬ เกิดชุมชนหนาแน่นจากการค้ามุก ส่วนการเพาะปลูกในน้ำเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคโบราณ มีการเพาะปลูกในน้ำหลายชนิด ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดขึ้นพันปีก่อนคริสตกาล [1] [2] การเพาะเลี้ยงปลาในตระกูลปลาไนที่อยู่ในบ่อน้ำ หรือบึง ด้วยตัวอ่อนของแมลงและหนอนไหม เพื่อเป็นแหล่งโปรตีน ในฮาวาย เริ่มเพาะเลี้ยงปลาโดยการสร้างบ่อปลามาอย่างน้อย 1000 ปีที่แล้ว ในญี่ปุ่น เพาะปลูกสาหร่ายทะเลด้วยไม้ไผ่ หรือตาข่าย เพาะเลี้ยงหอยนางรมด้วยทุ่นในทะเล ในอียิปต์ และโรมัน มีการเลี้ยงปลาในตระกูลปลาไนในบ่อในคริสต์ศตวรรษที่ 1-4 โดยนำปลาในตระกูลปลาไนมาจากจีนทางแม่น้ำดานูบ บาดหลวงในยุโรปปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงปลาในศตวรรษที่ 14-16 ในเยอรมันมีการเพาะพันธุ์ปลาเทราต์ เมื่อ ค.ศ. 1741 (พ.ศ. 2284) การเพาะเลี้ยงปลาแพร่หลายในยุคกลางของยุโรป เมื่อเริ่มขาดแคลนปลา และราคาปลาแพงขึ้น การพัฒนาปรับปรุงการขนส่งในศตวรรษที่ 19 ทำให้มีปลามากขึ้นและราคาถูกลงแม้ว่าที่ดินเพาะเลี้ยงปลาจะลดลง

    ในสหรัฐอเมริกาพยายามเลี้ยงปลาเทราต์เชิงการค้าเมื่อ ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396) ปลาเรนโบว์เทราต์ถูกพบครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือและขยายการเพาะเลี้ยงไปทั่วโลก โรงเพาะพันธุ์ปลาแห่งแรกในทวีปอเมริกาเหนือสร้างอยู่บนเกาะดิลโด ประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432) ในญี่ปุ่นโรงเพาะฟักกุ้งทะเลและฟาร์มกุ้งแห่งแรกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502 ) และเข้าสู่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งเชิงการค้า อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาแซลมอนในยุโรปและอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาดุกอเมริกันเริ่มต้นพร้อมกันในทศวรรษที่ 60 สหรัฐอเมริกาเข้ามามีส่วนร่วมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำช่วงปลายศตวรรษที่ 20 การเพาะปลูกในน้ำนับเป็นปรากฏการณ์ร่วมสมัย สัตว์น้ำจำนวน 430 ชนิดถูกนำมาเพาะเลี้ยงตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และสัตว์น้ำจำนวน 106 ชนิดเริ่มเพาะเลี้ยงตั้งแต่ ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) การประมง พัฒนาเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษา ค้นคว้าวิจัยอย่างกว้างขวางวิทยาศาสตร์การประมงเกิดจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเพิ่มพูนความรู้บนพื้นฐานวิชาชีววิทยาสัตว์น้ำ มีการเรียนการสอนวิชาการประมงในระดับมหาวิทยาลัยทุกภูมิภาคทั่วโลก มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการประมง เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยการประมงแห่งชาติญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งโตเกียว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีมหาวิทยาลัยการประมงเซี่ยงไฮ้ มหาวิทยาลัยการประมงดาเลียน ประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยสัตวศาสตร์และวิทยาศาสตร์การประมงมหาราชตรา ประเทศเวียดนามมีมหาวิทยาลัยเกษตรและป่าไม้โฮจิมินห์ ประเทศออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัยแห่งทัสมาเนีย ประเทศโปแลนด์มีมหาวิทยาลัยแห่งวอร์เมียและมาซูรี ประเทศอังกฤษมีสถาบันการประมงระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแห่งฮัลล์ มหาวิทยาลัยแห่งเซาท์แฮมตัน ประเทศโปรตุเกสมีมหาวิทยาลัยอาร์โซเรส ประเทศแคนาดามีมหาวิทยาลัยแห่งบริติชโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยแห่งโทรอนโต มหาวิทยาลัยแห่งเกาะแวนคูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยออเบิร์น มหาวิทยาลัยอาร์คันซอส์ไพน์บลัฟฟ์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส มหาวิทยาลัยแห่งวอชิงตัน มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี มหาวิทยาลัยแห่งฟลอริดา มหาวิทยาลัยแห่งมินนิโซตา มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย มหาวิทยาลัยแห่งอลาสกา แฟร์แบงก์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอเรกอน มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเซาท์ดาโกตา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโคโลราโด

    การประมงในประเทศไทย[แก้]

    ประเทศไทยมีภาพเขียนเกี่ยวกับการจับปลามานานมากก่อนประวัติศาสตร์ และมีคำกล่าวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” “กินข้าวกินปลา” ปลาเป็นแหล่งโปรตีนของคนไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณ ประกอบกับประเทศไทยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาร และมีแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง ที่ไหลลงสู่อ่าวไทย แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ที่ไหลลงแม่น้ำโขง จึงมีการทำประมงกันอย่างแพร่หลาย หน่วยงานภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับการประมงโดยกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีค่าน้ำ ค่าภาษีอากรสัตว์น้ำ ถือได้ว่า การบริหารจัดการทางด้านการประมงของไทยเริ่มขึ้นในพ.ศ. 2444 [3]

    พ.ศ. 2464 รัฐได้จัดตั้งหน่วยเพาะพันธุ์ปลาหรือหน่วยงานบำรุงและรักษาสัตว์น้ำ ขึ้น โดยให้ขึ้นตรงต่อกระทรวงเกษตราธิการ และแต่งตั้ง ดร.ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ซึ่งเคยเป็นกรรมาธิการการประมงสหรัฐอเมริกา (Commissioner of Fisheries U.S.A) เป็นที่ปรึกษาด้านการประมงของรัฐบาลในพระมหากษัตริย์สยามในพ.ศ. 2466 มีการสำรวจปริมาณสัตว์น้ำที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำมาประกอบการเพาะพันธุ์ การบำรุงพันธุ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อขยายผลในเชิงอุตสาหกรรม โดยการสำรวจในน่านน้ำจืด และในน่านน้ำทะเลทั่วราชอาณาจักรไทย จัดกลุ่มจำแนกในทางชีววิทยาเป็นหมวดหมู่ เขียนเป็นหนังสือมีภาพประกอบแนะนำทรัพยากรในประเทศไทยชื่อ “อนุกรมวิธาน” และ “A Review of the Aquatic Resources and Fisheries of Siam, with Plans and Recommendation for the Administration, Conservation and Development” นำเสนอทรัพยากรในน้ำของประเทศไทยพร้อมทั้งให้รายละเอียดและข้อแนะนำการบริหารจัดการอนุรักษ์เสนอต่อกระทรวงเกษตราธิการและได้นำเสนอทูลเกล้าฯและอนุมัติให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2469 ให้ตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ พ.ศ. 2477 เปลี่ยนชื่อเป็นกรมการประมง และพ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็นกรมประมง

    กรมประมงมีภารกิจศึกษา วิจัย ค้นคว้าและทดลองเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การรวบรวมข้อมูล สถิติ ความรู้เกี่ยวกับการประมง การอนุรักษ์ชลสมบัติ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์การประมง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ รวมทั้งการสำรวจแหล่งประมง ตลอดจนการส่งเสริมและเผยแพร่การเพาะเลี้ยงในน้ำ การจับสัตว์น้ำ งานอาชีพการประมงอื่น ๆ และการควบคุมกิจการประมงให้เป็นไปตามกฎหมายและสอดคล้อง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [3] มุ่งเน้นการเลี้ยงปลาและการทำประมงน้ำลึกในช่วงแรกของการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาจึงศึกษาค้นคว้าการเพาะเลี้ยงกุ้งในที่ดินชายฝั่งทะเลและพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ในขณะเดียว กันได้ศึกษาค้นคว้าการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงให้ยั่งยืน ดังนี้

    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ. 2506-2509 จัดตั้งสถาบันวิจัยประมงน้ำจืดและห้องทดลองชีววิทยาการประมงทะเล เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกในน้ำและการประมงน้ำลึก
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2510-2514 ส่งเสริมการเพาะปลูกในน้ำจืดและน้ำกร่อย กวดขันการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำตลอดจนการเก็บรักษาและแปรรูป จัดตั้งศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมการประมงทะเลให้ชาวประมงรู้จักวิธีการเดินเรือและการใช้อุปกรณ์ทันสมัยที่เหมาะสมกับการประมงทะเลลึกเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อส่งออกเป็นสินค้าสำคัญ
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2515-2519 ส่งเสริมการพัฒนาที่ดินชายฝั่งทะเลให้เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำได้แก่ กุ้งทะเล ซึ่งเป็นสินค้าที่ตลาดต่างประเทศต้องการมาก จัดตั้งศูนย์วิจัยค้นคว้าและฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อค้นคว้าวิธีการเพาะลูกกุ้งโดยไม่ต้องอาศัยธรรมชาติและสาธิตแก่เกษตรกร
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524 ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาในเขตชลประทาน ทดลองค้นคว้าอบรมการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและการเพาะเลี้ยงกุ้งชายฝั่ง สนับสนุนชาวประมงให้ปรับปรุงเครื่องมือการทำประมงให้มีประสิทธิภาพในการจับสัตว์น้ำและแข็งแรงทนทานต่อลมฟ้าอากาศ ก่อสร้างและขยายสะพานปลา ท่าเรือประมง โรงงานห้องเย็นและโรงน้ำแข็ง
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2525-2529 ส่งเสริมการเจรจาร่วมทุนทำการประมงน้ำลึกกับประเทศต่าง ๆ
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530-2534 และฉบับที่ 7 พ.ศ. 2535-2539 เน้นมาตรการอนุรักษ์และควบคุมการใช้ทรัพยากรประมงโดยสำรวจแหล่งประมงในน่านน้ำสากลและน่านน้ำของประเทศที่มีความร่วมมือทางการประมงสนับสนุนการร่วมทุนทำการประมงโดยถูกต้องตามกฎหมายประมงระหว่างประเทศ เสนอแก้ไขพระราชบัญญัติการประมงให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวะการประมง ในด้านการศึกษากระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงหลักสูตรการประมงให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานเอกชน ประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยที่มีการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาเดียวกันปรับปรุงระบบการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาให้ตรงกับความต้องการของประเทศ
    • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544 สนับสนุนกฎหมายรองรับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นและชาวประมงขนาดเล็กให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลทั้งการอนุรักษ์ฟื้นฟูและดูแลรักษาป่าชายเลนหญ้าทะเลและปะการังเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายฝั่งโดยเฉพาะทรัพยากรประมงได้อย่างยั่งยืน

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549 และฉบับที่ 10 พ.ศ. 2550-2554 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้าอาหารเพื่อให้เป็นแหล่งการผลิตอาหารแปรรูปที่สำคัญของโลกที่มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคสินค้าในระยะยาวโดยมีกุ้งเป็นสินค้าเป้าหมายที่สำคัญ [4]

    ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ ตั้งแต่องค์กรใหม่ในภาคประมงขึ้นได้แก่ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย โดยมีพลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ เป็นผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายคนแรก และต่อมาในสมัยพลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ได้มีการถ่ายโอนงานไปยังศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) หลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศปลดใบเหลือง (IUU)[5] 

    ดูเพิ่ม[แก้]

    • คณะประมงในประเทศไทย
    • มีนวิทยา
    • อุตสาหกรรมประมง
    • เรือประมง
    • ปลา
    • สัตว์น้ำ
    • ผลิตภัณฑ์ประมง
    • การตกปลา
    • องค์การสะพานปลา
    • วันประมงแห่งชาติ
    • ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

    • กรมประมง
    • องค์การสะพานปลา
    • สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย Archived 2010-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    • ฐานข้อมูลงานวิจัยด้านวิชาการประมง โดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง Archived 2011-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

    อ้างอิง[แก้]

    1. Historica Foundation of Canada.2007."Origins of Aquaculture"The Canadian Encyclopedia.Retrieved on October 1, 2007, from //www.thecanadianencyclopedia.com/index.cfm?PgNm=TCE&Params=A1SEC816104
    2. Columbia University Press 2007
    3. ↑ 3.0 3.1 กรมประมง 2550 "ประวัติและความเป็นมาของกรมประมง" ค้นคืนวันที่ 1 ตุลาคม 2550 จาก //www.fisheries.go.th/dof_thai/Intro/History/history_dof.htm Archived 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    4. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2551
    5. ยุบ "ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย"

    ประเทศใดเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญ

    จีนเป็นประเทศที่ทำประมงรายใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ David Kroodsma ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Global Fishing Watch ระบุในการให้สัมภาษณ์ ” จำนวนเรือประมงของจีนมีมากกว่าที่เห็น “ เขากล่าวเขตเศรษฐกิจ

    แหล่งเกษตรกรรมที่สําคัญของทวีปยุโรปอยู่ในบริเวณใด

    สรุปเหล่าเกษตรกรรมที่สำคัญของทวีปยุโรป ตอนเหนือและทางตะวันออกของที่ราบสูงเมเสต้าในสเปน เป็นเขตที่มีชื่อในการ ปลูกข้าวสาลี 2. ตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสเป็นเขตที่มีการเพาะปลูกข้าวสาลี ดีที่สุดของทวีปยุโรปรวมทั้งพื้นที่ไม่กว้างใหญ่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส

    แหล่งจับปลาที่สำคัญของยุโรปคือข้อใด

    เป็นอาชีพหลักของประชากรในทวีปยุโรปเนื่องจากปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะชายฝั่ง ทะเลยาวและเว้าแหว่งมาก อีกทั้งยังมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือและกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ไหลมา Page 2 บรรจบกัน จึงทำให้เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมแห่งหนึ่งของโลกเรียกบริเวณนี้ว่า ดอกเกอร์แบงก์ (Dogger Bank) แหล่งประมงที่สำคัญของยุโรป ได้แก่ ...

    เพราะเหตุใดทวีปยุโรปจึงมีความอุดมสมบูรณ์

    1. เพราะเหตุใด ที่ดินในทวีปยุโรปจึงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งที่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรมานาน เพราะมีการบำรุงรักษาดิน โดยการใช้สารอินทรีย์ต่างๆ บำรุงดินอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช้สารเคมี และพื้นดินมีความ ชุ่มชื้นมาก ได้รับปริมาณน้ำอย่างพอเพียงทั้งในรูปน้ำฝนและหิมะ การย่อยสลายอินทรีย์สารจึงมีมาก

    กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง