บุคคล สำคัญ ในวงการนาฏศิลป์ไทย

บุคคลสำคัญในวงการ
นาฏศิลป์และละคร

ครูจตุพร รัตนวราหะ

ประวัติ

ชื่อ : นายจตุพร รัตนวราหะ
ชื่อเล่น : ต้อย
วัน-เดือน-ปีเกิด : เกิดวันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2479
อายุ : 86 ปี
การศึกษา : จบจากโรงเรียนนาฏศิลป วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ ปัจจุบัน และ
ครุศาสตร์บัณฑิต และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2507
ชีวิตครอบครัว : เป็นบุตรของนายเจิมและนางประวงษ์ รัตนวราหะ
สมรสกับนางชุมศรี รัตนันท์ รัตนวราหะ มีบุตรด้วยกัน 4 คน คือ นาย เรืองฤทธิ์ รัตน
วราหะ , น.ส. อติวรรณ รัตนวราหะ , นาย พีรพล รัตนวราหะ , นาย ณวพร รัตนวราหะ
บุตรสาวคนเดียวได้สืบทอดศิลปการแสดงทางนาฏศิลป์เหมือนบิดา และปัจจุบันรับ
ราชการอยู่ที่ วิทยาลัยนาฏศิลป กรุงเทพฯ

นายจตุพร รัตนวราหะ (ต้อย) เป็น
ศิลปินกรมศิลปากร ผู้ได้รับ
พระราชทานครอบและรับมอบกระบวน
ท่ารำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ,ได้
กราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชฯ และ มีผลงานการแสดง
เป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ บทยักษ์
ใหญ่ทศกัณฐ์เป็นบทที่อยู่ในความทรง
จำของคนรักโขนกรมศิลปากรมานาน
กว่า 40 ปี เป็นผู้ร่วมงานเคียงข้าง
ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมชในการก่อตั้ง
และสร้างสรรค์โขนธรรมศาสตร์ เป็นผู้
อำนวยการสถานศึกษาที่มีการเรียนการ
สอนด้านศิลปะการแสดงของรัฐ
นอกจากนี้มีผลงานโดดเด่นอื่นๆทาง
ด้านโขนและละครทั้งด้านการเป็น
ศิลปินผู้แสดง เป็นผู้สอน ผู้เผยแพร่ทั้ง
ทางด้านปฏิบัติและทฤษฎี ปัจจุบันแม้จะ
เกษียณอายุราชการแล้ว ก็ยังทำงาน
ด้านการเผยแพร่ศิลปการแสดงอยู่
อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และได้รับการ
ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน)
พุทธศักราช 2552

pn

ประวัติการรับราชการ

เริ่มเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2500 ตำแหน่งศิลปิน
สำรอง แผนกนาฎศิลป กองการสังคีต กรมศิลปากร
พ.ศ. 2521-2525 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ วิทยาลัยนาฏศิลป
อ่างทอง
พ.ศ. 2526-2530 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง
พ.ศ. 2531-2540 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย
พ.ศ. 2540เกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการระดับ 9 วิทยาลัย
นาฏศิลปสุโขทัย
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย สำนักการสังคีต กรม
ศิลปากร

ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิชาการ

เมื่อสมัยที่ นาย จตุพร รัตนวราหะ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป
สุโขทัย ได้สร้างสรรค์การแสดงชุดใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียม
ประเพณีของชาวสุโขทัยให้กับชาววิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยได้นำออกแสดงและเป็นที่
ชื่นชอบของผู้ที่ได้รับชมมาจนกระทั่งทุกวันนี้คือ

▪ ฟ้อนตะคัน พ.ศ. 2533
▪ ระบำเบญจรงค์ พ.ศ. 2534
▪ ฟ้อนลื้อล่องน่าน พ.ศ. 2536
▪ ระบำเทวีศรีสัชนาลัย พ.ศ. 2537
▪ ระบำประทีปทอง พ.ศ. 2538

ผลงานทางด้านวิชาการ

▪ คู่มือการฝึกหัดโขนเบื้องต้น
▪ รามายณะของอินโดนีเซีย แปล
▪ หนังสือเพลงหน้าพาทย์ ซึ่งอธิบายเพลงหน้าพาทย์ในมุมมองของผู้แสดงโขนไว้

อย่างชัดเจน และเป็นก้าวแรกที่เชื่อมโยงความรู้ดนตรีไทยและนาฏศิลป์โขน ปัจจุบันใช้
เป็นตำราอ้างอิงในวงการศึกษา

▪ รามเกียรติ์ ร้อยแก้ว เขียนลงในวารสารวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัยทุกเดือน
▪ ละครพูดเรื่อง"เล็กโพธิ์ดำ
▪ วีซีดี บันทึกการแสดงเรื่องจุดเด่นของทศกัณฐ์ รำลงสรงชมตลาด ฉุยฉายทศกัณฐ์

ลงสวน, ฉุยฉายหนุมานแปลง , เกี้ยวนาง นางลอย, ชูกล่องดวงใจ แจกในงานครบ 6
รอบ วันที่ 9 ธันวาคม 2551

pn

ประสบการณ์ด้านการแสดง

การฝึกหัดและการออกแสดง
เริ่มฝึกหัดเป็นตัวยักษ์ กับนายยอแสง ภักดีเทวา และนายอร่าม อินทรนัฎ

เป็นผู้แสดงโขน – ละคร ให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศชม ณ โรงละคร

ศิลปากร โรงละครแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล และไปเผยแพร่ผลงานทางด้านการแสดงในต่าง
ประเทศหลายครั้ง
ผลงานด้านการแสดงโขน

การแสดงและการสอนในราชการกรมศิลปากร
แสดงเป็นตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ไมยราพ เสนายักษ์ ม้า
อุปการ เป็นต้น
เป็นผู้สอน นาฏศิลปินโขนยักษ์ ใหญ่

การแสดงและการสอนร่วมกับ ศ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ผลงานด้านการแสดงละคร
ได้รับการคัดเลือกจากท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ ให้แสดงเป็นซมพลา ใน
ละครเรื่องเงาะป่า เป็นคนแรกของกรมศิลปากร
แสดงเป็นหลวิชัย ในละครเรื่องคาวี
แสดงเป็นเสนาไทย ในละครเรื่องขุนช้าง – ขุนแผน ตอน พระไวย แตกทัพ เป็นต้น

การกราบทูลสอนโขนถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

นาย ธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เคยเขียนเล่าไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาความรู้รอบตัวในทางศิลปะ และโปรดให้ขอครูโขนผู้ชำนาญในบท
พระยาวานรจากกรมศิลปากรไปกราบทูลสอนถวายแด่สมเด็จพระบรมฯ
ซึ่งทางกรมศิลปากรได้จัดให้ จ่าเร่งงานรัดรุด ( เฉลิม รุทระวณิช ) ครูผู้ชำนาญในบทพระยา
วานร ไปกราบทูลสอนถวายให้ทรงฝึกหัดบทพระยาวานรตามพระราชประสงค์
ต่อมาได้มีเจ้านายบางพระองค์กราบบังคมทูลพระดำริถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ว่า น่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงฝึกบทพระยายักษ์ เพราะมีลีลาท่าทาง
เป็นสง่ามีทีท้าวทีพระยา ไม่หลุกหลิกแบบพระยาวานร
ทางกรมศิลปากร จึงจัดให้ นาย จตุพร รัตนวราหะ ครูโขนยักษ์ไปกราบทูลสอนโขนถวาย
โดยได้ฝึกการแสดงเป็นวิรุญจำบัง

ศิลปินแห่งชาติ ปีพุทธศักราช 2552

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ดำเนินการสรรหาศิลปินผู้
สร้างสรรค์งานศิลปะให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของแผ่นดิน มายกย่องเชิดชูเกียรติเป็น
ศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นต้นมา และในปีพุทธศักราช
2552 นี้ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้
ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นาย จตุพร รัตนวราหะ ศิลปินผู้มีความสามารถและ
อุทิศตนสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะจนโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชน เป็น
ศิลปินแห่งชาติ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์-โขน )

จัดทำโดย
นางสาววิลัยลักษณ์ จงสิน ม.5/3 เลขที่ 24


บุคคลสำคัญของวงการนาฏศิลป์ไทยคือท่านใด

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี มีบทบาทสำคัญต่อวงการนาฏศิลป์และละครไทยอย่างไร เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำโขนที่ใช้แสดงเรื่องรามเกียรติ์ให้คงอยู่สืบไป เป็นผู้คิดค้นท่ารำและสืบสานพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมืองล้านนาให้เป็นที่รู้จักและคงอยู่สืบไป เป็นผู้ฟื้นฟูการแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักและชื่นชอบไปทั่วโลก

ยุคสมัยใดที่เริ่มปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของไทย

สมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูรวบรวมสิ่งต่างๆที่สูญเสีย และกระจัดกระจายให้สมบูรณ์ ในรัชสมัยนี้ได้มีการรวบรวมตำราฟ้อนรำขึ้นไว้เป็นหลักฐานสำคัญที่สุดในประวัติการละครไทย มีบทละครที่ปรากฎตามหลักฐานอยู่ 4 เรื่อง คือ บทละครเรื่องอุณรุฑ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องดาหลัง และบทละครเรื่อง ...

บุคคลสําคัญในวงการนาฏศิลป์สมัยอยุธยาคือใคร

บุคคลส าคัญในวงการนาฏศิลป์ไทยสมัยอยุธยา ได้แก่ ต ารวจ ทหารมหาดเล็ก ซึ่งแสดงโขน กลางสนามปรากฏอยู่ในต าราพระราชพิธีอินทราภิเษก โดยใช้ต ารวจแสดงเป็นฝ่ายอสูร ๑๐๐ คน ทหาร- มหาดเล็กเป็นฝ่ายเทพยดา ๑๐๐ คน เป็นพาลีสุครีพ มหาชมพูและบริวารวานรอีก ๑๐๓ คน การแสดง ชักนาคดึกด าบรรพ์ ฝ่ายอสูรชักส่วนหัว ฝ่ายเทพยดาชักส่วนหาง และบริวาร ...

บุคคลใดได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินคนแรกในวงการละครไทย

สัมพันธ์ พันธุ์มณี.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง