ในการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาทรงขนานนามราชธานีนี้ว่า อย่างไร

ประวัติและตราสัญลักษณ์

ประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์

  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 -18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมืองโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1893 นั้นได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวรณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" 

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน

  • ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")


วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นวันครบรอบของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีของสยาม ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จากประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 417 ปี ทำให้กรุงศรีอยุธยานั้นได้อยู่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ของบ้านเรา รวมทั้งเป็นต้นแบบในด้านต่างๆ ส่งต่อมายังกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม การเมืองการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีนั้น จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอำนาจ 2 กลุ่ม ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือแคว้นละโว้-อโยธยา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผู้คนในกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองจากอาณาจักรเขมรโบราณ หรือเมืองพระนครนั่นเอง

ส่วนอีกขั้วอำนาจหนึ่งคือแคว้นสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมี

ความสัมพันธ์กับแคว้นละโว้ทางเครือญาติ โดยผ่านการแต่งงานกัน อันเป็นธรรมเนียมที่เป็นการผูกสัมพันธ์กันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐในยุคโบราณ ที่ได้รับสืบมาจากอินเดีย

แต่เรื่องที่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากคำถามที่ว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร มาจากไหน? แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของวันที่สถาปนาราชธานีแห่งนี้ขึ้นมา ว่าสรุปแล้ว กรุงศรีอยุธยา สถาปนาในวันเดือนปีไหนกันแน่?

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่ากรุงศรีอยุธยานั้นสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 โดยมีการอ้างอิงจากพระราชพงศาวดารของไทยฉบับต่างๆ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ “พระเจ้าอู่ทอง” พระมหาหษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา

“ศักราช ๗๑๒ ขาลศก วัน ๖  ๕  ค่ำเพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา”

ทั้งนี้จะสังเกตว่าในพระราชพงศาวดารนั้นจะใช้ “จุลศักราช”เป็นหลัก ในขณะปัจจุบันนิยมใช้ “พุทธศักราช” แทน ซึ่งจุลศักราชนั้นจะช้ากว่าพุทธศักราชอยู่ 1,181 ปี ดังนั้นเมื่อนำจุลศักราช 712 ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นำมาอ้างอิงในข้างต้น บวกกับ 1,181 ก็จะได้เท่ากับเป็นปี พ.ศ.1893 พอดี ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่หลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้ว

แต่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกลับระบุว่า ปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นคือปี ค.ศ. 1351 ซึ่งเมื่อแปลงเป็นพุทธศักราชแล้ว ก็จะได้ตรงกับปี พ.ศ. 1894

ตัวเลขปีที่ได้มาจากหลักฐานชิ้นนี้จึงไม่ตรงกับเอกสารพระราชพงศาวดารของฝ่ายไทย จึงทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะคิดว่ามองสิเออร์ลาลูแบร์ไม่น่าจะระบุตัวเลขคลาดเคลื่อน เนื่องจากได้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและจดรายละเอียดเกี่ยวกับดินแดนรวมถึงผู้คนของที่นี่ไว้อย่างรอบด้าน

ในหนังสือ “ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น” ของอาคม  พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ พบว่าทั้ง 2 ท่านเชื่อว่าปี พ.ศ. 1894 เป็นปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดทั้ง 2 ท่าน จึงไม่ใช้ศักราชตามเอกสารพระราชพงศาวดารไทย

จนในที่สุดก็ได้ข้อสมมติฐานที่น่าสนใจว่า เดิมทีชาวสยามแต่ครั้งอยุธยา ได้ถือเอาช่วงหลังวันสงกรานต์ คือวันที่ 16-17 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมเหมือนในปัจจุบัน

ส่วนวันขึ้นปีใหม่ในปัจจุบันนั้น ได้ตั้งขึ้นตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลในเวทีโลก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ที่ผ่านมานี้เอง

ดังนั้นหากยึดตามการนับวันแบบอยุธยาแล้ว วันที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712 จึงน่าจะตรงกับ พ.ศ. 1894 มากกว่า เพราะยังไม่เข้าสู่วันสงกรานต์ที่ต้องขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง

โดยในส่วนนี้ตรงกับความคิดเห็นของ ดร.ตรงใจ หุตางกูรนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ได้อธิบายไว้ว่า

“พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐระบุวันเดือนปีแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ไว้ด้วยระบบปฏิทินจันทรคติว่า ตรงกับ “ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า เวลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา ได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีดังกล่าวกับระบบปฏิทินสุริยคติ จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712” จากนั้น จึงแปลงเลขจุลศักราชดังกล่าวเป็นเลขพุทธศักราช ด้วยการบวก 1181 เข้าไป จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893” 1 วันเดือนปีดังกล่าวจึงเป็นที่เผยแพร่กันโดยทั่วไปอย่างไรก็ตาม วันสถาปนากรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมี “จุดลักลั่นทางปฏิทิน” อยู่ 2 จุด คือ “เลขวันที่” กับ “เลขพุทธศักราช” เพราะที่ถูกต้องตรงตาม “ปฏิทินไทยสากล” ซึ่งขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้องตรงกับ “วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894”

ภาพวาด ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้เข้ามาเจริญไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นคำอธิบายว่าเหตุใดมองสิเออร์ลาลูแบร์ จึงได้ระบุปีที่สถาปนากรุงศรีอุธยาว่าตรงกับปี พ.ศ. 1894 คงเพราะบุคคลท่านนี้ได้เดินทางมาจากโลกตะวันตกซึ่งมีการนับการขึ้นศักราชใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ดังนั้นปีศักราชใหม่ของโลกตะวันตกจึงเร็วกว่าของไทยอยู่ประมาณ 3-4 เดือนนั่นเอง

แต่หากยึดตามบริบทปัจจุบันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ความเป็นอารยะสากลในเวทีโลกในการนับวันเวลามาตั้งแต่ช่วงทศวรรรษ 2480 โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ จึงควรนับว่าวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 เป็นวันสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง