แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยถูกใช้ในปีใดเป็นครั้งแรก

            แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคือ  การกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  โดยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

            ประเทศไทยได้มีการริเริ่มจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติมาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2502  ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์   โดยในปี พ.ศ. 2504  ได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกขึ้น  ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีระยะเวลาของแผน  6  ปี  โดยที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มา มีระยะเวลาของแผน  5  ปี หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำแผน  คือ  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  (พ.ศ. 2555-2559)

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1   (พ.ศ. 2504-2509)สาระสำคัญ  มีดังนี้

            (1)  เน้นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ  ได้แก่  ทางหลวงแผนดิน  ทางรถไฟ  ประปา  ไฟฟ้า  และ เขื่อนชลประทาน เช่น เขื่อนภูมิพล  เขื่อนอุบลรัตน์

            (2)  ส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในภาคอุตสาหกรรม  เพื่อทดแทนการนำเข้า

            (3) จัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค  คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯ  เศรษฐกิจขยายตัวสูง  มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น  แต่เกิดปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม  เพราะผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเป็นคนส่วนน้อยที่อยู่ในเมืองและเป็นผู้มีโอกาสทางเศรษฐกิจ

            2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2  (พ.ศ. 2510-2514)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ  คล้ายแผนฯฉบับที่  1

            (2)  สนับสนุนการลงทุนของชาวต่างชาติ  และพัฒนาการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

            (3)  มุ่งพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ  โดยกระจายการศึกษาและการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึง  และเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาชนบทและทรัพยากรธรรมชาติ

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯการกระจายรายได้ยังกระจุกตัวอยู่กับคนส่วนน้อย

       3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3  (พ.ศ. 2515-2519)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นการพัฒนาสังคมมากขึ้น  ทั้งการศึกษา  การอนามัยและสาธารณสุข

            (2)  กำหนดเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของประชากรเป็นครั้งแรก ให้เหลือร้อยละ 2.5  ต่อปี  เมื่อสิ้นแผนฯ

            (3)  กระจายความเจริญสู่ชนบทให้มากขึ้น  และเน้นการกระจายรายได้ให้เป็นธรรม

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯเกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ  (ฝนทิ้งช่วง) การขึ้นราคาน้ำมันครั้งใหญ่  และความผันผวนทางการเมือง  โดยเกิดเหตุการณ์ 14  ตุลาคม  พ.ศ. 2516 และเหตุการณ์  6  ตุลาคม  พ.ศ. 2519  ทำให้เศรษฐกิจของประเทศซบเซาและมีการว่างงานสูง

  4.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4  (พ.ศ. 2520-2524) สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ  เพื่อแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  3  โดยพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร  อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก  ส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงาน

            (2)  ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

            (3)  เน้นสร้างความเป็นธรรมในสังคม  โดยเน้นการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯการพัฒนาทั้งภาคอุตสาหกรรม  การค้า  และการบริการ  ขยายตัวตามเป้า  การขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค(OPEC)  ทำให้สินค้ามีราคาแพงและเกิดเงินเฟ้อ  รายจ่ายภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น  ทำให้เกิดปัญหาขาดดุลการค้า

   5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2525-2529)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นการพัฒนาชนบท  เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน  โดยขยายบริการพื้นฐานของรัฐไปสู่ชนบทให้มากขึ้น  เช่น  การสาธารณสุข  การสาธารณูปโภค ฯลฯ  แก้ไขปัญหาการว่างงาน และเร่งการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
            (2)  ฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ลดการขาดดุลการค้า เร่งระดมเงินออม  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  และกระจายอุตสาหกรรมไปยังส่วนภูมิภาค

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯสรุปได้ดังนี้

                (1) การขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด  เนื่องมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก  การแข่งขันและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ

                (2)เกิดปัญหาขาดเสถียรภาพทางการเงิน  เพราะการใช้จ่ายเกินตัวทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน  และขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง

                (3)ความเสื่อมโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6  (พ.ศ. 2530-2534)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ลดหนี้สินต่างประเทศ  ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาด  เพื่อให้การส่งออกสินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้  เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมควบคู่กันไป

            (2)  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม  การจ้างงาน และกระจายรายได้  แก้ไขปัญหาความยากจน

            (3)  เน้นพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการบริหารในภาครัฐ  เพื่อเร่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ   และส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯสรุปได้ดังนี้

                (1)  ฐานะทางการเงินและการคลังของประเทศมีเสถียรภาพ  คนไทยมีรายได้และการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น  ภาระหนี้สินของประเทศลดลง  ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น

                (2)  อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าเป้าหมาย  ทั้งนี้เป็นผลจากการส่งออก การลงทุน  และรายได้จากการท่องเที่ยว  ทำให้เศรษฐกิจไทยเปิดกว้างสู่ระบบเศรษฐกิจสากลมากขึ้น

                (3)  ผลกระทบ คือ ความเสื่อมโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ระหว่างคนเมืองและคนในชนบทมีมากขึ้น

  7. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7  (พ.ศ. 2535-2539)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน  และสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจควบคู่กับสังคม

            (2)  เน้นรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ  โดยพัฒนาการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม และการส่งออก

            (3)  เน้นการกระจายรายได้และพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบท

            (4)  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิต  และสิ่งแวดล้อม

            (5)  เน้นพัฒนากฎหมาย  รัฐวิสาหกิจ  และระบบราชการ  ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯสรุปได้ดังนี้

                (1)  การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปตามเป้าหมาย  รายได้ประชาชาติและรายได้เฉลี่ยของประชากรเพิ่มสูงขึ้น

                (2)  การแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ยังไม่ได้ผล  ช่องว่าในรายได้ระหว่างคนเมืองกับคนในชนบทยิ่งห่างกันมากขึ้น

                (3)  ความเสื่อโทรมในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น   การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ และปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมขยายตัวอย่างรวดเร็ว

   8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8  (พ.ศ. 2540-2544)สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1)  เน้นพัฒนาคน  หรือเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถในด้านต่าง ๆ

            (2)  เน้นการพัฒนาที่ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  สังคม  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งจะเกิดต่อการพัฒนาคน

            ผลที่ได้รับเมื่อสิ้นแผนฯในช่วงปลายปี  พ.ศ. 2540  ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เกิดการว่างงาน  ธุรกิจล้มละลาย  และปัญหาหนี้สินจากต่างประเทศ  จนนำไปสู่การขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จากวิกฤติการณ์ครั้งนี้จึงได้ปรับวัตถุประสงค์และแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น

   9. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9  (พ.ศ. 2545-2549) สาระสำคัญ มีดังนี้

            (1.)ได้อัญเชิญ  “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  โดยยึดทางสายกลาง  ความพอประมาณ  และความมีเหตุผล  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤติและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

            (2.)  ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศให้มีประสิทธิภาพ  ทั้งภาคการเงินและการคลัง  ให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้

            (3.)  วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง  ยั่งยืน  สามารถพึ่งตนเองได้  และรู้เท่ากันโลก  โดยพัฒนาคุณภาพคน  ปฏิรูปการศึกษา  ปฏิรูปสุขภาพ  สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  มีการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            (4.) แก้ไขปัญหาความยากจน  โดยเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง  ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา  การประกอบอาชีพ  การมีรายได้  และยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

    10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)มีสาระสำคัญ คือ

            แผนพัฒนาฯ  ฉบับที่  10  ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติ  ควบคู่กับแนวคิดที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล  ยั่งยืน และ เป็นธรรม  โดยกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศให้มุ่งสู่  “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”

      11. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)มีสาระสำคัญ คือ

            แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11เน้นการพัฒนาให้เกิด “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความเสมอภาคเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ดังนี้

            (1.) เร่งสร้างความสงบสุขให้สังคมโดยร่วมมือกันสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขส่งเสริมการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมพร้อมทั้งเสริมสร้างภาคราชการการเมืองและประชาสังคมให้เข้มแข็งภายใต้หลักประชาธิปไตยที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นที่เชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชน

            (2.) มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคงและสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆในโลกได้อย่างต่อเนื่องพัฒนาความสามารถสติปัญญาและจิตใจให้พร้อมสำหรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้

            (3.) เพิ่มชนชั้นกลางให้กระจายทุกพื้นที่ของประเทศเพราะชนชั้นกลางเป็นกำลังสำคัญในการประสานประโยชน์และพัฒนาประเทศที่มีความสมดุลพร้อมทั้งส่งเสริมให้ทุกชนชั้นรู้จักหน้าที่ของตนเองและร่วมกันพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าและน่าอยู่

            (4.) พัฒนาภาคเกษตรให้คงอยู่กับสังคมไทยและผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน เร่งพัฒนาความสามารถของเกษตรกรในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพในปริมาณมากพอที่จะเลี้ยงดูคนในประเทศและส่งเป็นสินค้าออกสนองความต้องการของประเทศต่างๆสามารถเป็นผู้นำการผลิตและการค้าในเวทีโลกรวมทั้งรักษาความโดดเด่นของอาหารไทยที่ต่างประเทศชื่นชอบ

            (5.) ปรับปรุงการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตเกิดความโปร่งใสตรวจสอบได้ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง