การ เพิ่ม ทักษะ ใน การ ทํา งาน

สิ่งที่ควรทำเมื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

ที่ผ่านมาเราดูเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกัน ทีนี้เราจะมาดูว่าเมื่อต้องการเริ่มปฏิบัติจริงในองค์กรควรมีขั้นตอน หรือข้อมูลอย่างไรบ้าง เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจสถานะปัจจุบันของบริษัทหรืองาน แล้วจึงกำหนดเป้าหมาย เขียน “แผนปฏิบัติการ” สู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วแชร์ภายในบริษัท​ ​

การจัดระเบียบปัญหาการทำงาน

หากไม่แจกแจงขั้นตอนหรือเวิร์คโฟลว์ของการทำงาน ปัญหาหรือประเด็นที่ติดขัดของแต่ละวันก็คงสะสม ถึงจะอยู่ในแผนกเดียวกัน หน้าที่เดียวกัน แต่ถ้าเปลี่ยนคน สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นปัญหาก็จะต้องเปลี่ยนไป​ ​

ดังนั้นจึงต้องมีการการประชุมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในงานทั้งหมด เพื่อคุยถึงปัญหาที่ประสบในแต่ละขั้นตอนดำเนินงานของแต่ละคนและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาให้ชัดเจน เช่น ขั้นตอนการทำงานที่นาย ก มองว่าไม่มีปัญหา แต่ในมุมมองของนาย ข อาจมองว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไข

ลองทำความเข้าใจปัญหาจากหลายๆ แง่มุม แล้วจึงหาทางแก้ไขโดยอิงข้อมูลที่ได้ทำความเข้าใจไว้ หากพยายามจะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองคนเดียวก็อาจจะถูกมองว่าไม่ได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก็เป็นได้

ทบทวนเป้าหมายของบริษัท

ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแบบไหนก็ตาม คงต้องมีการกำหนดตัวเลขที่เป็นเป้าหมายของบริษัทเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย หรือจำนวนสาขา โดยบริษัทส่วนใหญ่ มักจะตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่าสถานการณ์จริง แม้ว่าจะไม่เสมอไปแต่ทรัพยากรอย่างพนักงาน หรือเงินทุนต่างๆ ก็ต้องถูกกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย

คงเป็นเรื่องธรรมดาขององค์กร แต่ยิ่งตั้งเป้าสูงเท่าไหร่ บริษัทก็ใช้ทรัพยากรมากขึ้นเท่านั้น

หากไม่สามารถทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุผลได้ ก็เท่ากับประสิทธิภาพการผลิตลดลงไป ในบางกรณีการตั้งเป้าหมายอาจนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรปริมาณมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาไม่เพียงแต่ ในกรณีที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงจำนวนทรัพยากรที่สูญเสียไปกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายด้วย

วางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ก็มาเริ่มวางแผนรายละเอียดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายกัน โดยคำนึงถึงปริมาณงานต่อพนักงานหนึ่งคน จำนวนคนที่จำเป็น ปริมาณผลลัพธิ์ที่จะได้ อีกทั้งควรประเมินประมาณเงินลงทุนและจังหวะเวลาของการลงทุนไปด้วย​ ​

การจัดทำแผนปฏิบัติงานจริงควรคำนึงถึงปริมาณทรัพยากรและเวลาที่ต้องใช้ในการผลิต เพราะผลผลิตนั้นคือ การจัดสมดุลของปริมาณทรัพยากรที่ใช้และจำนวนเงินที่จะได้รับกลับคืน

แม้ว่าจะเป็นเพียง “การคาดการณ์” แต่หากสามารถวางแผนรายละเอียดงานได้ แม้ว่าผลลัพธ์จะไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็จะสามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนได้ง่าย เป็นไปได้คุณควรใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดในการบรรลุผลที่สูงที่สุด ถึงจะเรียกได้ว่า เป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละงาน

เป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ทุกคนมีจุดแข็งและจุดอ่อน ดังนั้นมันจึงมีงานประเภทที่คุณสามารถทำด้วยตัวคุณเองได้ และงานที่ต้องอาศัยทักษะของคนอื่นในการทำ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง การทำงานที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมากขึ้น เมื่อพิจารณาลำดับความสำคัญของงานประจำวัน มักมีแต่งานที่กำหนดส่งเร็วและเป็นงานที่ไม่สามารถประวิงเวลาได้ ทำให้แทบไม่สามารถเรียงได้เลยว่างานไหนสำคัญกว่ากัน

หากคุณเริ่มทำจากงานที่ประเมินแล้วว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวม นี่ก็อาจไปเชื่อมโยงกับการเพิ่มผลิตผลที่สำคัญ การจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกประเภทงาน แต่ภายในการจัดลำดับงานทั้งหมดคุณต้องรู้เสมอว่า งานประเภทไหนที่คุณถนัดและทำมันได้ดีที่สุด​ ​

ช่วงเวลาที่เป็นโอกาสให้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต | ช่วงเวลาที่ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตได้ง่าย

การปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่พนักงานแต่ละคนควรตระหนักถึงเอาไว้เสมอ แต่การจะแก้ปัญหาที่กระทบถึงคนจำนวนมากนั้นจะต้องดูจังหวะและเวลาให้ดี บริษัทจึงจำเป็นต้องกำหนดเวลาและช่วงจังหวะที่จะปรับปรุงเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ

การฝึกอบรมพนักงานใหม่

หากมีเวิร์คโฟลว์การที่คุณภาพใช้ตั้งแต่ตอนเริ่มทำงานในตอนแรก ก็จะสามารถเชื่อมโยงสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เลย ดังนั้นจึงควรต้องรวบรวมเอกสารหรือคู่มือที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการฝึกอบรม

ในมุมมองของการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต บอกได้เลยว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดนั้นได้ถูกกำหนดตั้งแต่ช่วงที่วางแผนการฝึกอบรมแล้ว ควรพึงระวังไว้ว่าหากมีข้อผิดพลาดตั้งแต่ตอนฝึกอบรม พนักงานใหม่ก็จะจำไปใช้จนเคยชินและอาจส่งผลให้วิธีการทำงานขั้นตอนนั้นๆผิดเพี้ยนไปได้​ ​

การฝึกอบรมพนักงานใหม่ เปรียบเสมือนเวทีที่ใช้แนะนำการทำงานประจำวันของบริษัท จึงควรอบรมให้พนักงานไม่ลืมทัศนคติของการทบทวนการทำงานของตัวเองด้วย ไม่ใช่แค่ให้จดจำการทำงานเพียงอย่างเดียว

การฝึกอบรมการจัดการสำหรับผู้บริหารระดับกลาง

สำหรับการฝึกอบรมผู้จัดการระดับกลางก็มีความคล้ายคลึงกับการอบรมพนักงานใหม่

ผู้บริหารระดับกลางอยู่ในตำแหน่งที่ต้องบริหารงาน ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเมื่อเทียบกับการอบรมพนักงานทั่วไปแล้วจะส่งผลกระจายไปในวงที่กว้างกว่า ซึ่งสิ่งที่ต่างจากการอบรมพนักงานใหม่คือ การที่ผู้บริหารต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ดังนั้นเนื้อหาอบรมจึงต้องรวมถึงวิธีการจัดการผู้ใต้บังคับบัญชาและวิธีการฝึกสอนอยู่ด้วย

หน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง คือ รับผิดชอบการเชื่อมโยงผู้บริหารระดับสูงของบริษัท กับบุคคลากรแต่ละภาคส่วน อีกทั้งกำกับดูแลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาในแผนกนั้นๆ ผู้บริหารระดับกลางต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ต้องเข้าใจว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของแต่ละภาคส่วนนั้นเกี่ยวโยงกับองค์กรโดยรวมอย่างไร เนื่องจากผู้บริหารนี้มีบทบาทต่อการทำงานของลูกน้องเป็นอย่างมาก การฝึกอบรมสำหรับผู้บริหารระดับกลางจึงเป็นโอกาสสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

กรณีที่แรงงานไม่เพียงพอ

เมื่อเกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องกลับมาทบทวนวิธีการทำงานกันอีกครั้ง หากมีผู้เกี่ยวข้องในงานนั้นๆ น้อย การสื่อสารเนื้อหางานร่วมกันก็จะสะดวกและง่ายดาย แต่หากจะคิดง่ายๆ แค่ว่าถ้าเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานรายบุคคลได้ก็จะสามารถแก้ปัญหาคนไม่พอได้ ก็เป็นการคิดแก้ปัญหาที่ง่ายเกินไปหน่อย​ ​

การเพิ่มผลิตภาพของพนักงานแต่ละคนมักจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มาควบคู่เสมอ สิ่งนี้เป็นนัยยะว่าคุณจะสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่มากขึ้น หากใช้ทรัพยากรต้นทุนน้อยลงแต่มีคุณภาพ ลองคิดถึงแนวทางหลายๆ วิธีแล้วคุณจะสามารถชั่งน้ำหนักความสำคัญของการเพิ่มหรือลดจำนวนบุคคลากรได้ เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ได้

เมื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต

ได้ยินมาว่าหากค่าใช้จ่ายลดลงและสร้างผลลัพธ์เหมือนกัน แสดงว่าผลลัพธ์จะเพิ่มขึ้น ในกรณีที่คุณต้องการลดต้นทุนด้วยเหตุผลบางอย่าง ถือเป็น”โอกาสทอง”ที่คุณได้จะตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรอีกครั้ง และในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่อไปด้วย

โดยส่วนใหญ่มันเป็นไปได้ยากที่จะรักษาผลลัพธ์ให้คงที่ พร้อมไปกับการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆเพราะการที่จะเพิ่มผลิตภาพนั้นสร้างภาระการลงทุนให้ไม่น้อย ดังนั้นจึงเป็นตามที่เราได้กล่าวไว้ว่าหากลดต้นทุน ผลลัพธ์ก็จะลดลงและไม่สามารถบอกได้ว่าการผลิตนั้นดีขึ้น

แม้ว่าคุณจะลดต้นทุน มันก็ไม่อาจเป็นตัวบ่งบอกได้ว่าธุรกิจของคุณจะพัฒนาต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่มันจะขับเคลื่อนต่อไปได้ ก็อาจกลายเป็นฝืดเคือง เราจึงจำเป็นที่จะต้องประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจควบคู่ไปด้วยค่ะ

สรุป

การเพิ่มผลผลิตนั้นไม่ใช่เวทมนต์ที่เสกกันง่ายๆ การวางแผนดำเนินการก็ไม่ได้เป็นตัวบอกความสำเร็จเช่นกัน หากแต่ว่าเราต้องเข้าใจโครงสร้างงานขององค์กรและลงมือปรับปรุงให้ตรงจุด แล้วคุณจะพบว่าแม้จะไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยอดนิยมหรือผลงานใหม่ๆออกมาก็ตาม แต่การแก้ไขจุดเล็กๆในองค์กรก็สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรภายในบริษัทได้ไม่ยากเลย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง