การรับมรดกที่ดิน เสียชีวิต

เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ( เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. ๓ หรือ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข.) ตายลงไป ที่ดินแปลงนั้นก็จะเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี ๖ ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

1.        ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)

2.        บิดา มารดา

3.        พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4.        พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน

5.        ปู่ ย่า ตา ยาย

6.        ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง ๖ ลำดับ

โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงาน ที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.๓, น.ส.๓ ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก., น.ส.๓ ข.จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน จังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่

หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ

1.        โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์

2.        บัตรประจำตัว

3.        ทะเบียนบ้าน

4.        หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร

5.        พินัยกรรม (ถ้ามี)

6.        ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย

7.        ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร

8.        กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

9.        ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง

10.     ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ

ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ

1.        คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก

2.        หลักฐานการตายของเจ้ามรดก

3.        ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก

4.        โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

1.        ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท

2.        ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท

3.        ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท

4.        ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์

5.        ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕

หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการขอรับมรดกที่ดิน

1.     หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการ รวมทั้งเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน การรับมรดกที่ดิน กล่าว เป็นทางการคือ การขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก มีบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการไว้ รวม ๒ วิธี (สองมาตรา) คือ

1.1.  การจดทะเบียนโอนมรดกตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นการจดทะเบียนโดยผู้ได้รับมรดกเป็นผู้ขอจดทะเบียนโอนมรดกโดยตรง ในการขอจดทะเบียนผู้ขอจะต้องนำหลักฐานหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน กรณีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่กับบุคคลอื่น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินนั้นจากผู้ยึดถือไว้ได้ แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือเรียกให้ผู้ยึดถือส่งหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้วผู้นั้นไม่ยอมส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะออกใบแทนให้แก่ผู้ขอได้ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ผู้ขัดคำสั่งอาจมีความผิดทางอาญาเท่านั้น กรณีนี้ควรเป็นเรื่องที่ผู้ขอจะต้องไปดำเนินการทางศาลให้ศาลมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาให้ผู้ยึดถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินส่งมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบแทนให้ นอกจากผู้ขอจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจะต้องนำหลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกถึงแก่กรรม และหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกไปแสดงด้วย หลักฐานดังกล่าว เช่น มรณบัตร พินัยกรรม (ถ้ามี) ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัว สูติบัตร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้วเชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการประกาศมรดกมีกำหนด ๓๐ วัน หากไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ นอกจากนั้นในกรณีที่เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมและเจ้ามรดกมีทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกหลายคน หากทายาทบางคนจะขอจดทะเบียนรับมรดกทั้งหมด ก็จะต้องนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนไปให้ถ้อยคำยินยอม หรือนำหลักฐานแสดงว่าไม่รับมรดกของทายาทดังกล่าวนั้นไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาที่ประกาศ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนให้ตามที่ขอ แต่ถ้าผู้ขอไม่สามารถนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนไปให้ถ้อยคำยินยอม หรือไม่สามารถนำหลักฐานแสดงการไม่รับมรดกของทายาทดังกล่าวนั้น ไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาที่ประกาศได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้และต้องยกเลิกคำขอไป หากผู้ขอจะขอให้จดทะเบียนโอนมรดกให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะจดทะเบียนโอนมรดกบางส่วนให้ไปเท่าที่ผู้ขอมีสิทธิ อยู่เท่านั้น

1.2.  การจดทะเบียนโอนมรดกตามมาตรา ๘๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นกรณีที่ทรัพย์มรดกที่จะขอจดทะเบียนโอนมีผู้จัดการมรดก (ซึ่งอาจเป็นผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมแต่งตั้งไว้ หรือ ผู้จัดการมรดกที่บรรดาทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้ง) และผู้จัดการมรดกจะขอโอนมรดกให้แก่ทายาท ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกก่อน ตามกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่เป็นที่ดิน และเป็นที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้วเท่านั้น

การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบ่งเป็น ๒ กรณี คือ

(๑) การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้ขอจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก คือ พินัยกรรมและหลักฐานอื่น ๆ เช่น หลักฐานการตายของเจ้ามรดกไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวน ตรวจสอบหลักฐาน และเชื่อว่าผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกก็จะดำเนินการประกาศมีกำหนด ๓๐ วัน เมื่อครบกำหนด ๓๐ วันแล้ว ถ้าไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านก็จดทะเบียนต่อไปได้

(๒) การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ผู้ขอจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน พร้อมด้วยหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก คือ คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลที่แต่งตั้งผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกไปแสดงต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็จะจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกให้โดยไม่ต้องทำการประกาศ

การจดทะเบียนผู้จัดการมรดกทั้งสองกรณี ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจากผู้ยึดถือ เมื่อได้มีการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว หากผู้จัดการมรดกจะขอจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาท พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะจดทะเบียนให้ได้โดยไม่ต้องทำการประกาศมรดกเหมือนกับการที่ทายาทขอจดทะเบียนโอนมรดกโดยตรงตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

2.     สถานที่ติดต่อขอจดทะเบียน ผู้ที่มีความประสงค์ขอจดทะเบียนโอนมรดก และ/หรือ ลงชื่อผู้จัดการมรดกในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ที่ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ไม่ต้องมีการประกาศหรือรังวัด เช่นการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล หากผู้ขอไม่สะดวกในการเดินทางไปยื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ สามารถไปยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่งานจดทะเบียนที่ดินกลาง ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมที่ดิน หรือที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือ สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา แห่งใดแห่งหนึ่งได้

3.        ระยะเวลาการจดทะเบียน

1.1.  กรณียื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และเป็นการจดทะเบียน ประเภทที่ไม่ต้องมีการประกาศ เช่น การจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล เมื่อผู้ขอยื่นคำขอและ แสดงหลักฐานต่างๆ ครบถ้วน หากไม่มีข้อขัดข้องใดๆ แล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันนั้น

1.2.  กรณียื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ และเป็นการจดทะเบียนประเภทที่ต้องมีการประกาศ ๓๐ วัน เช่น ทายาทขอจดทะเบียนโอนมรดกโดยตรงตามมาตรา ๘๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม เป็นต้น เมื่อประกาศครบกำหนดไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำหนังสือแจ้งผู้ขอให้ไปทำการจดทะเบียนภายใน ๒ วัน เมื่อผู้ขอไปติดต่อแล้วพนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันนั้น

1.3.  กรณียื่นคำขอจดทะเบียนต่างสำนักงานที่ดินท้องที่ เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วจะส่งเรื่องให้สำนักงานที่ดินท้องที่ที่รับจด ทะเบียนดำเนินการตรวจสอบและจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ ถ้าไม่มีเหตุขัดข้อง พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจดทะเบียน พร้อมกับส่งหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องคืน สำนักงานที่ดินที่รับคำขออย่างช้าไม่เกิน ๕ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และสำนักงานที่ดินที่รับคำขอจะทำหนังสือแจ้งผู้ขอให้ไปรับหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินคืนภายใน ๒ วัน

คำถาม-คำตอบที่ควรรู้

ถาม มีที่ดินอยู่แปลงหนึ่ง ซึ่งเป็นของมารดา และมารดาได้เสียชีวิตลงโดยที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และมีทายาททั้งหมด 3 คน ในกรณีนี้จะทำเรื่องขอรับมรดกได้อย่างไร จะต้องติดต่อกับหน่วยงานใดบ้าง

ตอบ ตามที่คุณละเมียดถามมาเป็นกรณีที่คุณแม่ของคุณละเมียดถึงแก่กรรมโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก้ผู้ใดทรัพย์มรดกของคุณแม่จึงตกได้แก่ทายาทโดยชอบธรรมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับการดำเนินการขอรับมรดกที่ดินของคุณแม่คุณละเมียดสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1. กรณีมรดกของคุณแม่ไม่มีผู้จัดการมรดก ทายาทผู้ขอรับมรดกจะต้องนำหลักฐานหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน พร้อมหลักฐานในการได้รับมรดกไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เช่น มรณบัตร ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว เชื่อว่าผู้ขอเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกตามที่ขอแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะทำการประกาศมีกำหนดสามสิบวัน หากไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการจดทะเบียนให้ได้ นอกจากนั้นในกรณีที่เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมและเจ้ามรดกมีทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกหลายคน หากทายาทบางคนจะมาขอจดทะเบียนรับมรดกทั้งหมด ก็จะต้องนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนมาให้ถ้อยคำยินยอม หรือนำหลักฐานแสดงว่าไม่รับมรดกของทายาทดังกล่าวนั้นมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาที่ประกาศ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนให้ตามที่ขอ แต่ถ้าผู้ขอไม่สามารถนำทายาทที่แสดงไว้ในบัญชีเครือญาติทุกคนมาให้ถ้อยคำยินยอม หรือไม่สามารถนำหลักฐานการไม่รับมรดกของทายาทดังกล่าวนั้นมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดเวลาที่ประกาศไว้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้และต้องยกเลิกคำขอไป หากผู้ขอจะขอให้จดทะเบียนโอนมรดกให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะจดทะเบียนโอนมรดกบางส่วนให้ไปเท่าที่ผู้ขอมีสิทธิอยู่เท่านั้น

วิธีที่ 2. กรณีมรดกของคุณแม่มีผู้จัดการมรดก ตามที่คุณละเมียดฯ แจ้งมาว่า คุณแม่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ ดังนั้นมรดกของคุณแม่จะมีผู้จัดการมรดกได้ก็โดยบรรดาทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้ง หากคุณละเมียดฯ หรือทายาท ได้ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของคุณแม่แล้ว ผู้จัดการมรดกก็สามารถขอจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้ โดยผู้จัดการมรดกจะต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมด้วยหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก คือคำพิพากษาหรือหรือคำสั่งศาลที่แต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ถูกต้องก็จะจดทะเบียนให้โดยไม่ต้องทำการประกาศ และเมื่อได้มีการจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกของคุณแม่ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแล้ว หากผู้จัดการมรดกจะขอจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทต่อไป พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะจดทะเบียนให้ได้โดยไม่ต้องทำการประกาศซึ่งไม่เหมือนกับกรณีที่ทายาทขอจดทะเบียนโอนมรดกเองตามวิธีที่ 1.

ถาม ดิฉันได้สละสัญชาติไทยแล้ว ดิฉันสามารถรับโอนบ้านและที่ดินซึ่งเป็นมรดกจากมารดาที่เป็นคนไทยได้หรือไม่?

ตอบ บุคคลสัญชาติไทยต่อมาได้สละสัญชาติไทยแล้ว ถือเสมือนว่าเป็นคนต่างด้าวสามารถขอรับมรดกบ้านและที่ดินของมารดา (เจ้ามรดก) ได้ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยที่ดินที่ขอรับมรดกต้องไม่เกินจำนวนเนื้อที่ที่คนต่างด้าวจะพึ่งมีได้ตามมาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น ที่อยู่อาศัยครอบครัวและไม่เกิน 1 ไร่เป็นต้น สำหรับที่ดินที่เกินกำหนดดังกล่าวต้องจำหน่ายที่ดินในส่วนที่เกินไปพร้อมกัน โดยการขอรับมรดก และการจำหน่ายที่ดินต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน

ถาม ถ้าหญิงไทยที่สมรสถูกต้องตามกฎหมายกับชาวต่างชาติ ได้ทำการซื้อบ้านไว้ เป็นชื่อของฝ่ายหญิง หลังการสมรส แต่ฝ่ายหญิงเสียชีวิต ฝ่ายชายจะมีสิทธิในการเป็นเจ้าบ้านต่อหรือไม่ ? ถ้าไม่ใครจะเป็นผู้รับคนต่อไป

ตอบ คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวได้ซื้อบ้าน ต่อมาคนไทยได้เสียชีวิตบ้านย่อมตกแก่ทายาทโดยธรรมในแต่ละลำดับดังนี้ 1.ผู้สืบสันดาน (คู่สมรสมีสิทธิรับส่วนแบ่งเท่าทายาทชั้นบุตร) 2.บิดามารดา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดา 4.พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ที่ดินย่อมตกแก่ผู้รับพินัยกรรม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง