การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า "ผู่ส่งออก" ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ในการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าจะต้องมีหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยคือ กรมศุลกากร แม้ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเองก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกรมศุลการกรด้วย และที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้น ๆ[1]

ความสำคัญของการส่งออกในประเทศไทย[แก้]

ในประเทศไทยมักพบว่าสินค้าทางการเกษตรเกินอุปทานของตลาดในประเทศอยู่เสมอ การส่งออกจึงเหมือนเป็นการลดปริมาณสินค้าที่เกินความต้องการของตลาดลง และในภาคอุตสาหกรรมมีบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการโดยเฉพาะ อาทิ สินค้าทางเกษตรบางประเภท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าไทยมีรายได้จากการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนออกสูงถึง 831,752.3 ล้านบาท โดยตลาดการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อาเซียนและยุโรป ดังนั้นการส่งออกจึงช่วยให้เกิดการขยายการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย[2][3]

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้[แก้]

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน

2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร (Value Added)

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)

6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

การอ้างอิง[แก้]

  1. Joshi, Rakesh Mohan, (2005) International Marketing, Oxford University Press, New Delhi and New York ISBN 0-19-567123-6
  2. ความสำคัญของการส่งออกจากเว็บไซต์ Nidambe11.com Archived 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.59 น.
  3. มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปีพ.ศ. 2555 จากเว็บไซต์ ThaiBiz.netสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.11 น.

การนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ธุรกิจเติมโตมากขึ้น เพราะผู้ที่นำเข้าสินค้า จะสามารถหาสินค้าที่มีรูปแบบใหม่ คุณภาพดี หรือราคาถูกกว่าในประเทศของตน และผู้ส่งออกสามารถขายสินค้าที่ตัวเองผลิต ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้


การนำเข้า (Import)

การนำเข้า (Import) คือ การนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ เพื่อเข้าในประเทศ โดยสินค้าที่นำเข้า ส่วนใหญ่จะสินค้าที่มีต้นทุนถูก เป็นสินค้าที่ไม่มีในประเทศ หรือผลิตในประเทศไม่ได้ ซึ่งจะขนส่งผ่านกันมาทางเรือ ทางเครื่องบิน มักจะส่งตรงมาจากโรงงานเลย เพราะต้นทุนของสินค้าจะถูกลงกว่าตลาดทั่วไปในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า

ในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการนำเข้าสินค้า

  1. ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)
  2. ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading), ทางอากาศ (AWB-Air Way Bill)
  3. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  4. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
  5. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) (Import License)
  6. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) (Certificates of Origin)
  7. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ

การส่งออก (Export)

การส่งออก (Export) คือ การจัดส่งสินค้า หรือขายสินค้าภายในประเทศ ไปสู่ประเทศอื่น จากต้นทางไปยังปลายทาง ในทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นต้น

ในการส่งออกจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อง คือ กรมศุลกากร เพราะในการส่งออกสินค้าแต่ละครั้งต้องผ่านพิธีการศุลกากร โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อดำเนินการต่อให้สินค้าสามารถที่จะส่งออกได้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการส่งออกสินค้า

  1. ขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
  2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
  3. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License)
  4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin)
  5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ

การนำเข้า-ส่งออกสินค้า จะมีการเก็บ ภาษีศุลกากร (Customs Duty) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ภาษีศุลกากรจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อากรขาเข้า และ อากรขาออก โดยมี กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ

อากรขาเข้า คือ การเก็บภาษีจากสินค้าที่นำมาให้ หรือบริโภคในราชอาณาจักร ซึ่งการคำนวณค่าภาษีจะคำควณตามสภาพสินค้า ราคา และพิกัดของอัตราศุลกากร

อากรขาออก คือ การเสียภาษีหรือจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนที่จะนำสินค้าออกจากนอกประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดย ตัวแทนออกของศุลกากร เพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าไปต่างประเทศได้ ซึ่งกรมศุลกากรมีการกำหนดให้สินค้าว่าออก

ที่มา: blog.giztix

SHARE THIS NEWS & ACTIVITIES

Facebook

Line

Mail

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง