การออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายบางอย่าง หรือค่าบริการต่างๆ กิจการผู้จ่ายเงินจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ส่วนหนึ่งตามอัตราภาษีแต่ละประเภท ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน พร้อมออก หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ให้ด้วย ซึ่งผู้รับ หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ไป จะใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

ผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ จะต้องทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ให้ถูกต้องและส่งข้อมูลนี้ให้แก่ผู้ที่รับเงิน (หรือผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย) รายละเอียดต่างๆ ในเอกสาร ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร 

หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ บ้างก็เรียกว่า ใบหัก ณ ที่จ่าย, หนังสือรับรอง 50 ทวิ ทั้งหมดนี้คือหนังสือที่ผู้จ่ายเงินที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ แล้วออกให้กับผู้รับเงินทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อเป็นหลักฐานในการหักภาษีประจำปี

ในเอกสารจะแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย และแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไรบ้าง ซึ่งทางผู้จ่ายเงินจะต้องออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ให้ผู้รับจำนวน 2 ฉบับ ให้มีข้อความตรงกัน

รวมถึงบริษัทผู้จ่ายเงินจะต้องเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานด้วยอีก 1 ฉบับ พร้อมกับต้องลงบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายในส่วนนี้ด้วย และยื่นแก่สรรพากร ซึ่งโดยปกติแล้วสำหรับบริษัทเปิดใหม่ มักนิยมส่งเอกสารต่างๆ รวมถึงหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ให้สำนักงานบัญชีเป็นผู้ทำบัญชีลงรายละเอียดต่างๆ ให้ เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เมื่อถึงเวลาต้องยื่นภาษีสรรพากร

ส่วนผู้รับเงินหรือผู้ที่ถูกหักเงินไป จะใช้หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายนี้ ไว้เป็นหลักฐานยื่นแก่สรรพากรด้วยเช่นกัน เพื่อลดภาษีตามจำนวนที่ถูกหักไประหว่างปี

วิธีการจัดทำ หนังสือรับรองการ หักที่จ่าย

ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดดังนี้

1.ให้จัดทำเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ แต่ในกรณีที่จัดทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษาต่างประเทศอื่น จะต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับ ส่วนตัวเลขสามารถใช้เลขไทยหรือเลขอารบิกได้

2.ให้จัดทำสำเนาคู่ฉบับ เป็นฉบับที่ 3 นอกเหนือจาก 2 ฉบับที่ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แต่ชำรุด สูญหาย ให้ผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย โดยการออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี

3.ระบุประเภทของเงินได้พึงประเมินที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จะระบุประเภทเงินได้พึ่งประเมินที่จ่ายเพียงประเภทเดียว โดยจะไม่ระบุประเภทอื่นด้วยก็ได้

4.ในกรณีที่ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือน แล้วมีการหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสงเคราะห์ สามารถระบุจำนวนเงินที่หักเข้ากองทุนดังกล่าวในแต่ละปีในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายได้

5.การลงชื่อของผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย สามารถทำได้ทั้งประทับตรายางและลงลายมือชื่อจริง หรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ที่มีการเก็บลายมือชื่อไว้แล้วได้
หนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย สามารถจัดทำให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF แล้วส่งให้ผู้รับได้ หรือจะให้ผู้รับเข้าไปโหลดในช่องทางออนไลน์ที่ผู้จ่ายเงินกำหนดก็ได้ แต่ไฟล์เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง

รายละเอียดที่ต้องมีในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย

นอกจากนี้ในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จำเป็นต้องกรอกข้อความและรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง และเข้าใจง่าย ตามที่กำหนดดังนี้

1.ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขประจำตัวประชาชนของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นบุคคลธรรมดาที่มีเลขประจำตัวประชาชน ให้กรอกเลข ประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้)

2.ต้องระบุเลขที่/เล่มที่ ในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย แต่ในกรณีที่ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย เป็นเล่ม เช่น ออกด้วยคอมพิวเตอร์ แบบนี้ไม่ต้องระบุหมายเลขลำดับของเล่มได้

3.หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ต้องมีข้อความแต่ละฉบับตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คือ

– ฉบับที่ 1 มีข้อความกำกับว่า “สำหรับผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายใช้แนบพร้อมกับการแสดงรายการ”

– ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับให้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐาน

4.ลำดับที่ในแบบ ภ.ง.ด.1ก. , ภ.ง.ด.1ก พิเศษ , ภ.ง.ด.2ก , ภ.ง.ด.3ก

– กรณียื่นรายการการจ่ายเงินได้พึงประเมินประจำปีที่ต้องยื่นแบบดังกล่าว เช่น การจ่ายเงินเดือน  ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.1ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป

– ส่วน ภ.ง.ด.2 , ภ.ง.ด.3 , ภ.ง.ด.53 แบบแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นทุกเดือน

5.รายการประเภทเงินได้พึงประเมิน ในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จะมีช่อง “ประเภทเงินได้พึงประเมิน” ให้กรอก จะต้องระบุว่า “เป็นเงินได้ประเภทใด” ซึ่งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ประเภทใดที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กรอกหรือระบุรายการให้ตรงตามรายการที่กำหนด โดยรายการประเภทเงินได้จะแบ่งเป็นประเภทเงินได้ที่จ่ายไว้ ส่วนรายการจ่ายเงินได้ที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย จะมีช่องให้กรอกต่างหาก

และเพื่อให้การกรอกแต่ละช่องไม่สื่อความหมายผิด รายละเอียดแต่ละช่องที่ต้องกรอกในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย มีความหมายดังนี้

1.เล่มที่และเลขที่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2.รายละเอียดผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

3.รายละเอียดผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

4.ประเภท ภ.ง.ด. ที่หัก ณ ที่จ่าย

5.ประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่าย

6.วัน เดือน ปี ที่ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย

7.จำนวนเงินที่จ่ายและภาษีที่หักและนำส่งไว้

8.ประเภทของการหัก ณ ที่จ่าย

9.ลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และประทับตราสำคัญของบริษัท

ทั้งนี้ สามารถกรอกข้อมูลได้ทั้งการเขียนและการพิมพ์ แต่ที่สำคัญข้อมูลที่กรอกในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย นั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย อย่างไร

วิธีการออกใบแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) คือ ให้ผู้ออก ถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์เอกสารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สําเนาคู่ฉบับซึ่งผู้ออกเก็บไว้ เขียนข้อความว่า “ใบแทน” ไว้ด้านบนของเอกสาร ลงลายมือชื่อรับรอง

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ออกกี่ใบ

หนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร คือเอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน โดยต้องมีข้อความด้านบนของหนังสือรับรองแต่ละฉบับดังนี้

ใครเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2.3ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ในกรณีที่เป็นรัฐบาล องค์การ ของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เจ้าพนักงานผู้จ่ายเงินได้ ออกใบรับส าหรับค่าภาษีที่ได้หักไว้ให้แก่ผู้รับเงิน 2.4น าส่งภาษีที่ได้หักไว้ภายใน 7 วัน

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ต้องเขียนอะไรบ้าง

HIGHLIGHTS. การข้อมูลในหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย ต้องกรอกรายการที่เกี่ยวข้องทุกรายการให้อ่านได้ง่ายโดยการเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ และผู้จ่ายเงินต้องกรอกเลขประจําตัวประชาชนของผู้จ่ายเงิน และผู้รับเงิน ทำเครื่องหมาย ลงในช่อง ロ หน้าประเภทแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในลําดับที่ในแบบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง