เจ้าหน้าที่ห้องแลป โรงพยาบาล เงินเดือน

หมอแล็ป หรือ เทคนิคการแพทย์ คืออาชีพอะไร?

       

นักเทคนิคการแพทย์ (medical technologist) คือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่อยู่ภายในห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็ปของโรงพยาบาล โดยนำสิ่งส่งตรวจจากคนไข้ เช่น เลือด ปัสสาวะ รวมถึงน้ำเจาะไขสันหลังด้วย และใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ (พวกตรวจเลือด ไขมัน น้ำตาล นั้นแหละ) ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค รวมถึงการทำนายความรุนแรงของโรคและความผิดปกติ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 ผลการวิเคราะห์จากเทคนิคการแพทย์มีประโยชน์อย่างไร
    หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าผลการตรวจที่ได้มีประโยชน์อย่างไร ได้ช่วยเหลือคนไข้บ้างหรือไม่ มีความสำคัญแค่ไหน จะขอยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

      -การตรวจสารเคมีในเลือด เช่น น้ำตาล ไขมัน >> ช่วยวินิจฉัยโรคว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคหรือมีความเสี่ยง เช่นน้ำตาลในเลือดสูง ก็เสี่ยงที่จะเป็นเบาเหวาน ระดับไขันสูงก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือดตีบตัน
      -การตรวจพวกเม็ดเลือด เช่น เม็ดเลือดแดง/ขาว ตรวจหาชนิดฮีโมโกลบิล >> วินิจฉัยโรคทางโลหิต เช่น ทาลัสซีเมีย โลหิตจางชนิดอื่นๆ รวมทั้ง G6-P-D
      -การตรวจหาการติดเชื้อไวรัส >> HIV และไวรัสตับอักเสบ
      -การตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย >> เช่น ชนิดของเชื้อในกระแสเลือด หรือวัณโรคในเสมหะ 

      จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า ก่อนที่หมอวินิจฉัยว่าผู้ป่วยนั้นเป็นโรคอะไร ติดเชื้ออะไร หมอก็ต้องรอผลการตรวจจากนักเทคนิคการแพทย์อย่างเรานี้แหละครับ ดังนั้นการทำงานของเราก็เป็นส่วนอย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นกันครับ เพียงแต่เราไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและไม่ค่อยได้พบผู้ป่วยเท่านั้นเอง

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนักเทคนิคการแพทย์

     น้องๆ ที่สนใจจะเรียนในสาขางานเทคนิคการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายสถาบันด้วยกันที่เปิดสอนในสาขาวิชานี้ ซึ่งในแต่ละสถาบันก็จะอยู่ในคณะต่างกัน บ้างก็คณะสหเวชศาสตร์ บ้างก็คณะเทคนิคการแพทย์ เมื่อเราเลือกสถาบันได้แล้วก็ไปหาข้อมูลมาครับว่า สถานบันนั้นรับระบบไหนมาบ้าง บางที่ก็อาจจะเป็นสอบตรงเกือบทั้งหมด 

เทคนิคการแพทย์เรียนอะไรบ้าง
ปี 1,2 จะเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปเพราะเราจะจบวุฒิ วิทยาศาสตร์บันทิฑ ในช่วงนี้ก็จะมีวิชาเลือกให้เรียนหาความรู้ตามที่เราต้องการไปก่อน
ปี 3,4 ก็เข้าสู่วิชาชีพแล้วว ในช่วงนี้ก็จะทำให้เราทราบว่า นักเทคนิคการแพทย์นี้เหมาะกับตัวเราเองหรือเปล่า โดยวิชาเฉพาะที่เรียนประกอบไปด้วย

  1. โลหิตวิทยา (hematology)
  2. เคมีคลินิก (clinical chemistry)
  3. ภูมิคุ้มกันวิทยา (immunology)
  4. ตรวจสารน้ำในร่างกาย (body fluid)
  5. ธนาคารเลือด (blood bank)
  6. แบคทีเรีย (clinical bacteria)
  7. ปรสิตสิทยา (clinical parasite)
  8. ไวรัสวิทยา (virology)
  9. ฝึกงานตามโรงพยาบาลต่างๆ


จบไปทำงานอะไรได้บ้าง - ตกงานหรือเปล่า
ในปัจจุบันเทคนิคการแพทย์ยังเป็นที่ต้องการครับ และแนวโน้มในอนาคตก็ต้องเพิ่มขึ้น จากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วทำให้มีห้องปฏิบัตการเอกชนที่ให้บริการตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น แม้กระทั้งโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั้งรัฐและเอกชน ยังต้องใช้บริการห้องปฏิบัติการเอกชน ที่มีการลงทุน และนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา

นักเทคนิคการแพทย์ทำงานอะไรได้บ้าง? ขอแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้ (ตามประสบการณ์ที่พบที่เจอมาครับ)

  1. ทำงานในห้องแล็ป รพ. ตรงนี้เงินเดือน 15,000 + ค่าใบประกอบ + ค่าขึ้นเวร 
  2. ห้องแล็ป รพ. เอกชน  เหมือนกับโรงพยาบาลรัฐ เพียงแต่ฐานเงินเดือน และค่าตอบแทนอาจสูงกว่านิดหน่อยครับ
  3. พนักงานขายเครื่องมือแพทย์ทางห้องปฏิบัติการ หรือทางการแพทย์อื่น ๆ 
  4. product specialist ผู้คอยให้ความรู้ นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปเสนอให้กับผู้ประกอบวิชาชีพใน โรงพยาบาล

   
    นักเทคนิคการแพทย์ทำหน้าที่อยู่หลังฉากของวงการแพทย์ไทยมานาน น้อยคนนักที่จะรู้จักว่าเราคือใคร มีความสำคัญอย่างไร แต่วงการนักเทคนิคการแพทย์กับเป็นวงการที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และต้องขยันหาความรู้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีให้มีมีความพร้อมกับยุคสมัยมาตลอด มีทั้งบุคคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการ และผู้นำเสนอเทคโนโลยี กับพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ และประชาชน เราหวังว่าผู้ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้รู้จักนักเทคนิคการแพทย์เพิ่มมากขึ้นครับ


เทคนิคการแพทย์คืออะไร เทคนิคการแพทย์ทำงานอะไร เทคนิคการแพทย์คือใคร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลาย ๆ ท่านอาจสงสัยนะครับว่าเวลามีนัดต้องไปพบแพทย์ และเมื่อถึงเวลาเจาะเลือด ทำไมถึงต้องเก็บเลือดเราไปทีละหลาย ๆ หลอดและในการนัดแต่ละครั้งก็มีการเจาะเลือดไปไม่เหมือนเดิมกับครั้งก่อน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันครับว่าหลอดใส่เลือดแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร         ปัจจุบันในทางการแพทย์หลอดสำหรับเก็บตัวอย่างเลือดนั้นถูกพัฒนามาหลายรูปแบบด้วยกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับตรวจทางห้องปฏิบัติการรวมถึงระยะในการเก็บรักษาตัวอย่างเลือดให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุดตามวัตถุประสงค์ของการตรวจทางห้องปฏิบัติการครับ สำหรับในวันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลอดเลือดพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจประจำของโรงพยาบาลโดยทั่วไปครับ  สิ่งที่อยู่ในหลอดเลือดแต่ละสี        สิ่งที่อยู่ข้างในหลอดเลือดสีต่าง ๆ คือ สารเคมีที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (สารกันเลือดแข็ง) โดยในหลอดแต่ละสีก็จะมีสารกันเลือดแข็งคนละชนิดกันครับ ซึ่งสาเหตุที่ต้องใช้สารกันเลือดแข็งหลายชนิด ไม่สามารถใช้ชนิดเดียว หรือหลอดเดียวสำหรับารตรวจได้ทั้งหมดก็เพราะว่าสารกันเลือดแข็งตัวสามารถที่จะไปรบกวนในขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏ

การงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด (Fasting before blood tests)           ในปัจจุบันการตรวจเลือดเป็นวิธีพื้นฐานทางการแพทย์ที่จะใช้ในการวินิจฉัย ประเมิน และติดตามการรักษาโรค   ซึ่งในการตรวจเลือดบางรายการเช่น น้ำตาลและไขมันนั้น สารอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ค่าการตรวจเลือดผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องทำการงดน้ำ และอาหารข้ามคืนก่อนที่จะดำเนินการเจาะเลือดเพื่อตรวจในห้องปฏิบัติการ   โดยคำถามที่มักพบสำหรับผู้ป่วยที่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าต้องงดอย่างไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำไมบางครั้งอดในระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน หรือบางครั้งไม่ต้องอดอาหารเลย ซึ่งทั้งหมดมีคำตอบให้ในบทความนี้ครับ           วิธีปฏิบัติสำหรับการงดน้ำ และอาหารก่อนเจาะเลือด           การอด หรืองดอาหาร หมายถึงห้ามกินอาหารชนิดใด ๆ เลย รวมถึงลูกอม น้ำหวาน น้ำผลไม้ กาแฟ และอื่นๆ ที่มีรสชาติ สิ่งเดียวที่สามารถทานได้คือ น้ำเปล่า เท่านั้นครับ เพราะสารอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการตรวจ และอาจทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาดไป ส่งผลต่อการวินิจฉัย และการรักษาโดยตรงครับ เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการอย่างถูกต้องนะค

สารพันธุกรรม (genetic materials) ห มายถึงสารที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ่งมีชีวิตระดับโปรคาริโอต (prokaryote) และยูคาริโอต (eukaryote) โดยสารพันธุกรรมประกอบด้วย ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid หรือ DNA) และอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid หรือ RNA) การเก็บรักษาข้อมูลพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการเรียงลำดับของหน่อยย่อยที่สุดของ DNA และ RNA อย่างเป็นระเบียบและมีความหมาย ซึ่งหน่อยย่อยของดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเราเรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) สิ่งมีชีวิตจะทำการแปลรหัสข้อมูลนิวคลีโอไทด์เหล่านี้ออกมาเป็นโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ของเซลล์หรือร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปผ่านการทำงานร่วมกันตั้งแต่ DNA RNA ไปจนถึงขั้นตอนการสั่งเคราะห์โปรตีน อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตบางประเภทจะเก็บข้อมูลพื้นฐานของตัวเองในรูปแบบของ RNA เท่านั้น เช่นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัส หรือที่เรารู้จักกันดีก็คือไวรัสโควิด ภาพที่ 1 แสดงโครงสร้างจำลองของ DNA ที่มาภาพ : //becuo.com/red-dna-wallpaper   DNA (deoxyribonucleic acid )                  DNA เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลกนี้ย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง