มา รี อ็ อง ตัว แน็ ต

มารี อ็องตัวแน็ต

2 พ.ย. 2298 - 16 ต.ค. 2336

มารี อ็องตัวแน็ต หรือนามประสูติคือ อาร์ชดัชเชสมารีอา อันโทนีอา โยเซฟา โยฮันนา เป็นเจ้าหญิงออสเตรียจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้อภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์ฝรั่งเศสและขึ้นเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ พระนางถูกประหารด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

แสดงน้อยลงอ่านเพิ่มเติม

วิกิพีเดีย

1 เรื่องราว

เรื่องราว

How to Power Dress Like History's Greatest Women

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์นี้

57 รายการ

     ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ ผู้คนรอบข้างจะจำเราได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้กระทำ ในช่วงที่เราจากไป ก็เป็นอีกช่วงเวลาที่คอยย้ำเตือนผู้คนรอบข้างว่า เราได้ลาจากโลกใบนี้ไปอย่างไร ช่วงเวลาแห่งรุ่งอรุณของชีวิต อาจทำให้เราไม่เคยเผื่อใจไว้ว่า ช่วงเวลาสุดท้ายของเรานั้นมันจะยังโชติช่วงเช่นนี้อยู่หรือไม่ เช่นเดียวกับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อดีตราชินีฝรั่งเศส ที่ผู้คนยังจดจำทั้งช่วงชีวิตอันรุ่งโรจน์และช่วงชีวิตก่อนลาจากโลกนี้ไปได้เป็นอย่างดี

     16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยกิโยติน ในข้อหาทรราชย์ จากเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส การจากไปครั้งนี้ของพระนางไม่ได้ทิ้งไว้เพียงเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่เล่าขานกันไปได้อีกยาวนาน แต่ยังทิ้งไว้ถึงชื่อของโรคในกลุ่มอาการ 'Marie Antoinette Syndrome' ที่อ้างอิงมาจากเรื่องเล่าในวันก่อนที่พระนางจะถูกประหารด้วยกิโยติน

     ตามเรื่องเล่านั้น กล่าวว่าพระเกศาของพระนางกลายเป็นสีขาวโพลนในชั่วข้ามคืน ก่อนวันที่จะถูกประหาร โดยเชื่อว่าเป็นเพราะความเครียด ความวิตกกังวล จนทำให้พระเกศาเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน แม้เรื่องนี้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าเกิดขึ้นจริงตามประวัติศาสตร์ แต่ชื่อของพระนางก็ถูกนำมาใช้เป็นชื่อของกลุ่มอาการ Marie Antoinette Syndrome จริง ๆ

     โดยผู้ป่วยในกลุ่มอาการนั้น จะเกิดผมหงอกขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งตามปกติแล้ว การที่คนเราจะมีผมหงอกได้นั้น มักจะเกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เรามีเม็ดสีเมลานินน้อยลง แต่สำหรับอาการผมหงอกที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนั้น เดิมทีก็ยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ แม้เราจะคุ้นเคยกับความเชื่อที่ว่าความเครียดนั้นส่งผลให้ผมหงอก เช่นเดียวกับชื่อของโรค ที่พระนางมารี อ็องตัวแน็ต เอง ก็น่าจะเกิดความเครียดจนส่งผลให้เกิดอาการนี้เช่นกัน แต่เรายังไม่เคยพบเจอความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและผมหงอกจริง ๆ เลยทำให้เรื่องเล่าที่เป็นที่มาของชื่อนั้นก็ยังฟังดูเป็นเรื่องเล่าที่ไม่ได้มีโอกาสเกิดขึ้นจริงเท่าไหร่นัก

     แต่นักวิทยาศาสตร์จาก Universidade de Sao Paulo และ Harvard University กลับไม่ได้คิดแบบนั้น พวกเขาพบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและอาการผมหงอก ว่าผมหงอกนั้นสามารถเกิดจากความเครียดได้จริง ๆ จากการทดลอง พวกเขาได้สร้างความเครียดให้กับหนูทดลองที่มีขนสีดำและอายุยังน้อย (เพราะเดิมนั้นเราเชื่อว่าผมหงอกนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอายุ) ปรากฎว่า ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา หนูเหล่านั้นขนเปลี่ยนสีเป็นสีขาวทั้งตัว

     หนูที่อยู่กับความเครียดนั้น จะผลิตโปรตีนที่ชื่อว่า Cyclin-Dependent Kinase แล้วเจ้าโปรตีนนี้จะไปทำลายเซลล์ที่สร้างเม็ดสี จนทำให้ไม่สามารถสร้างสีให้กับขนได้ จนเกิดเป็นอาการขนสีขาวจากความเครียดนั่นเอง ผลการทดลองนี้จึงช่วยยืนยันว่าความเครียดนั้นส่งผลกับอาการผมหงอกจริง ๆ 

     ไม่แน่ว่า เหตุการณ์ที่มาของชื่อโรค Marie Antoinette Syndrome นั้น อาจเกิดขึ้นจริงก็ได้ ไม่ใช่ด้วยเรื่องราวปรัมปรา เหนือธรรมชาติใด ๆ แต่ด้วยความเครียดก่อนวันที่จะต้องลาจากโลกใบนี้ไป ด้วยคำตัดสินประหารด้วยกิโยติน อาจจะสร้างความเครียดมากพอให้พระเกศาของพระนางกลายเป็นสีขาวโพลนอยู่บ้างก็ได้

ที่มา: SOURCE 1 / SOURCE 2


มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) นามเดิมตอนประสูติคือ 
อาร์ชดัชเชสมารีอา อันโทนีอา โยเซฟา โยฮันนา (Maria Antonia Josepha Johanna)

ภาพวาดสีน้ำ อาร์ชดัชเชสมารีอา อันโทนีอา โยเซฟา โยฮันนา เมื่อวัยเยาว์ Archduchess Maria Antonia (watercolor by  Jean-Étienne Liotard, 1762)

มารี อ็องตัวแน็ต เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ 
แกรนด์ดยุกแห่งตอสคานา (ราชวงศ์ลอแรน) กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการีและโบฮีเมีย 
อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย (ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755
เป็นพระธิดาองค์ที่ 14 ในจำนวน 16 พระองค์ของพระบิดาและพระมารดา
พระนางถูกเลี้ยงดูโดยเหล่าข้าราชบริพารของราชสำนัก

ภาพจาก //topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/11/K7173334/K7173334-4.jpg

พระนางมารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) องค์หญิงจากออสเตรีย วัย 14 ชันษา
ถูกส่งตัวมาฝรั่งเศส จากนั้นอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI)ในปี ค.ศ. 1770
เป็นการเชื่อมอำนาจระหว่าง ออสเตรีย-ฝรั่งเศส สองผู้ยิ่งใหญ่ในยุโรปแห่งศตวรรษที่ 18
แต่วิถีชีวิตที่อยู่กับความมั่งคั่งจากมรดกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14-15 กลายเป็นความฟุ้งเฟ้อ หรูหรา
และลงท้ายด้วยการถูกประชาชนประณาม ถึงการใช้ทรัพย์สินในท้องพระคลัง จนเกือบถึงขั้นล้มละลาย
ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่อย่างลำบากยากแค้น ปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไม่ออก
จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และล้มล้างสถาบันกษัตริย์
เพื่อสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นมาแทน

พระนางมารี อ็องตัวแน็ตและบุตรทั้งสาม Marie Thérèse, Louis Charles (on her lap), and Louis Joseph ภาพจาก Marie Antoinette – Wikipedia

นอกจากการถูกฝ่ายฝักใฝ่สาธารณรัฐ เกลียดชังในความฟุ้งเฟ้อ พระนางมารี อ็องตัวแน็ต
ยังถูกเรื่องฉาวข่าวลือซุบซิบในราชสำนักไม่ว่างเว้น และหนึ่งในเรื่องที่เล่าขานต่อ ๆ กันมากที่สุด
เรื่องหนึ่งก็คือพระนางมารี กับความสัมพันธ์ลับ ๆ กับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้รัก 
เคานต์ แอ็กเซิล ฟอน แฟร์ซอง (Axel von Fersen) เอกอัครราชทูตสวีเดน ซึ่งมาประจำการ
ที่พระราชวังแวร์ซาย ตั้งแต่ปี ค.ศ.1774 ข่าวลือเรื่องชู้รักรุนแรงถึงขั้นที่กล่าวกันว่า
องค์รัชทายาท หลุยส์ที่ 18 (Dauphin Louis XVII เกิดปีค.ศ. 1785-เสียชีวิต ปี ค.ศ.1795)
นั้นเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของแฟร์ซอง ไม่ใช่ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยพบจดหมายที่ทั้งสอง
เขียนถึงกันหลายฉบับเนื้อหาในจดหมายส่วนใหญ่เป็นการบอกข่าวความเป็นอยู่ อย่างยากลำบาก
ในสถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียดและความพยายามขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรต่างประเทศ
เพื่อหนีจากเงื้อมมือคณะปฏิวัติ รวมทั้งการติดต่อขอความช่วยเหลือจากเหล่าผู้ปกครอง
ราชวงศ์และขุนนางในยุโรป

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส เริ่มจากการยึดป้อมบาสตีลย์ ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2332 Storming of the Bastille and arrest of Governor  Bernard-René de Launay, 14 July 1789 ภาพจาก Marie Antoinette – Wikipedia

หลังเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศส ในฐานะนักโทษของแผ่นดิน
พระนางมารี อ็องตัวแน็ตถูกกักบริเวณหรือจองจำอยู่ในพระราชวังตุยเลอรี
ก่อนที่จะถูกสมัชชาแห่งชาติของคณะผู้นำการปฏิวัติฝรั่งเศสดำเนินคดีและพิพากษาประหารชีวิต
บนแท่นกิโยตีนในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 ในข้อหาผู้ทรยศโกงชาติ

การสำเร็จโทษพระนางมารี อ็องตัวแน็ต วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 ภาพจาก Marie Antoinette – Wikipedia

ต่อมานักวิชาการฝรั่งเศส Jacques Patarin และ Valerie Nachef ผู้ทำงานวิจัยถอดรหัสจดหมายลับ
ของมารีอังตัวแน็ต ได้สรุปไว้ว่า มารี อ็องตัวแน็ต ถูกพิพากษาโดยไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
เป็นเพียงผลจากคำวินิจฉัย ของฝ่ายปฏิวัติ ที่ปักธงโค่นล้มราชวงศ์อยู่แล้ว

ข้อมูลจาก
มารี อ็องตัวแน็ต – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
Marie Antoinette – Wikipedia
Love Letter : จดหมายรักเข้ารหัสลับของ พระนางมารี อังตัวแน็ต กับรักซ่อนเร้นกลางไฟปฏิวัติ – SARAKADEE LITE

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง