ป.โท รัฐศาสตร์ จุฬา pantip

ปริญญาโท

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ views 62,621

หลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล (DAD) คณะรัฐประศาสนศาสตร์

  • INFORMATION
  • U-REVIEW
  • COMMENTS
  • PHOTOS
  • CONTACT
  • EDIT

หลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล (DAD) คณะรัฐประศาสนศาสตร์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

รีวิวหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล (DAD) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

          การพัฒนาประเทศในยุคดิจิทัลต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ผู้บริหารจะต้องมีองค์ความรู้รอบด้านและมีทักษะขั้นสูง รวมถึงทัศนคติที่เหมาะสมกับทิศทาง การพัฒนาของโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ปัจจัยต่าง ๆ ในโลกทั้งเศรษฐกิจการเมือง สังคม และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารยุคใหม่ยังจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้ เทคนิคใหม่ ทักษะ และความสามารถเชิงพฤติกรรมการบริหารและการจัดการที่ทันสมัยเพื่อที่จะสามารถพัฒนาหน่วยงาน สังคม และประเทศชาติไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้สำเร็จตามยุทธศาสตร์ชาติ และตามแนวทางประเทศไทย 4.0 ที่ต้องขับเคลื่อนและจำเป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีขีดความสามารถสูงสุด โดยกระบวนการ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักบริหาร


          เมื่อจบหลักสูตรฯ (ทำกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 80% ของทั้งหมด) จะได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล (Development Administrator in Digital Era) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA (นิด้า)

ผลการสอบรับตรงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพิ่งจะประกาศออกไปได้ไม่นาน และคณะที่มีคะแนนสูงสุดก็ยังคงเป็นคณะรัฐศาสตร์ ภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยคะแนนที่สูงถึง 29,195 คะแนนจากคะแนนเต็ม 30,000 คะแนน ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ที่ผ่านมาคณะรัฐศาสตร์จุฬาก็มีสถิติเป็นคณะที่คะแนนสูงสุดในการยื่นคะแนนรอบแอดมิชชั่นติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2554-2556 มีเพียงปี 2557 ที่เสียตำแหน่งแชมป์ไปให้กับคณะบัญชีจุฬาฯ แต่ก็ยังคงสามารถรั้งอันดับสองไว้ได้ จึงสามารถกล่าวได้คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ เป็นหนึ่งในคณะที่คะแนนสูงที่สุดของประเทศไทย แต่นั่นสะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง? นั่นหมายความว่าเยาวชนไทยมีความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์เพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า? หรือสะท้อนว่าคนเก่งระดับหัวกะทิของประเทศให้ความสนใจกับคณะรัฐศาสตร์มากขึ้น? บทความชิ้นนี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่าปรากฏการณ์ที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ มีคะแนนแอดมิชชั่นสูงสุดนั้นมิได้เกิดจากความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนแต่อย่างใด แต่เกิดจากปัญหา 3 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายอันได้แก่ 1. ระบบการรับนิสิตที่มีปัญหา 2. ค่านิยมที่ผิดเพี้ยนเรื่องสถาบันนิยม และ 3. ความเข้าใจผิดในคณะรัฐศาสตร์ (อย่างไรก็ตามผู้เขียนมิได้ต้องเหมารวมว่านิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ทุกคนจะเป็นผลพวงของปัญหา 3 ประการข้างต้น แต่เป็นเพียงการวิเคราะห์ปัญหาในระดับโครงสร้างเท่านั้น)

1.     ระบบการรับนิสิตที่มีปัญหา

เหนือสิ่งอื่นใด ข้าพเจ้าขออธิบายวิธีการคำนวนคะแนนสอบแอดมิชชั่นสักเล็กน้อย (ผู้อ่านท่านใดที่มีความรู้ในเรื่องนี้แล้วสามารถข้ามย่อหน้านี้ไปได้) ในการสอบแอดมิชชั่นนั้นจะมีคะแนนเต็มทั้งหมด 30,000 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นคะแนน GPAX 20% ซึ่งคำนวนจากเกรดเฉลี่ยนตั้งแต่ ม.4-6 และคะแนนการสอบวัดความรู้พื้นฐาน หรือ O-net อีก 30% ข้อสอบดังกล่าวเป็นข้อสอบที่นักเรียนทั่วประเทศต้องสอบเหมือนกัน ซึ่งนอกจากจะเอาไว้ใช้ในการคำนวนคะแนนแล้ว ยังมีผลต่อการจัดอันดับโรงเรียนอีกด้วย (ซี่งเป็นที่ทราบกันดีถึงความตลกขบขันของข้อสอบชุดนี้ที่มักจะออกมาให้เห็นทุกปีเช่นการเตะฟุตบอลเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับอารมณ์ทางเพศ) ในส่วนของ 50% แรกนี้เป็นส่วนคะแนนทุกคณะมีเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวะ รัฐศาสตร์ บัญชี ฯลฯ เปรียบได้กับเป็นคะแนนมาตรฐานของนักเรียนผู้ซึ่งผ่านระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย แต่ส่วนที่แตกต่างกันคืออีก 50% ที่เหลือ ซึ่งจะคำนวนจากผลการสอบที่เรียกว่าว่า GAT กับ PATโดยแกทคือข้อความวัดความรู้พื้นฐานทั่วไป (General attitude test) ซึ่งจะมีข้อสอบ 2 ส่วนประกอบด้วยข้อสอบการคิดเชื่อมโยง และภาษาอังกฤษ ส่วนละ 150 คะแนน รวมกันเป็น 300 คะแนน ส่วน PAT คือการสอบวัดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Professional attitude test) ซึ่งจะมีให้สอบทั้งหมด 7 ตัวอันได้แก่ เลข วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตย์กรรมศาสตร์ ครุศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ และภาษา โดยแต่ละตัวจะมีคะแนนเต็ม 300 คะแนน โดยการสอบ PAT นั้นเป็นการเลือกสอบโดยสมัครใจ เช่นหากเราต้องการจะเข้าคณะวิศวะ เราก็ไม่จำเป็นต้องสอบ PAT สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งผลสอบ GAT และ PAT จะถูกคำนวนออกมาเป็นคะแนนในอีก 50% ที่เหลือ ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนคะแนนของแต่ละคณะ เช่นคณะบัญชี จุฬาฯ จะใช้อัตราส่วนคะแนน GAT  30% และคะแนน PAT เลข หรือ PAT1 อีก 20% รวมเป็น 50% ประกอบกับ GPAX+O-net อีก 50% ก็จะกลายเป็น 100 % พอดี เป็นต้น โดยคะแนน GAT เป็นคะแนนที่มีอยู่ในทุกคณะ ต่างกันแค่อัตราส่วนที่ใช้เท่านั้น

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าระบบการคำนวนคะแนนแอดมิชชั่นมีหน้าตาเป็นอย่างไร คำถามต่อมาก็คือสัดส่วนคะแนนของคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ เป็นอย่างไร คำตอบคือ “O-net+GPAX 50% และ GAT อีก 50%” ในหมายความว่าหากไม่นับ 50% แรก คนที่เก่งภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวก็สามารถเข้าคณะนี้ได้ แม้จะไม่มีความรู้ด้านสังคมศาสตร์ใดๆ เลย ในส่วนของข้อสอบเชื่องโยงนั้น ก็มิได้มีความสลับซับซ้อนใดๆ แค่เพียงเราทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และวิธีการของมัน เราก็สามารถทำคะแนนเต็ม 150 คะแนนได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งในปัจจุบันก็มีสถาบันกวดวิชา และหนังสือติวเข้มที่เผยเคล็ดลับในการทำข้อสอบส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะเรียกได้ว่าข้อสอบส่วนนี้แทบจะไม่สามารถวัดทักษะการคิดเชื่อมโยงในความเป็นจริงได้เลย จึงเท่ากับว่าการเข้าคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ นั้นอาศัยแค่ความสามารถด้านภาษาอังกฤษล้วนๆ ซึ่งคณะรัฐศาสตร์เป็นคณะสายสังคมศาสตร์เพียงคณะเดียวที่ใช้สัดส่วนคะแนนเช่นนี้ อาจจะมีคณะจิตวิทยาที่ใช้สัดส่วนแบบนี้ด้วย แต่จำนวนนิสิตที่รับก็มีเพียง 15 คนเท่านั้น (นอกจากจำนวนนี้ คณะจิตวิทยายังมีการรับนิสิตโดยการใช้สัดส่วนคะแนน PAT เลข และ PAT วิทยาศาสตร์อีก 60 คน) ผิดกับคณะรัฐศาสตร์ที่มี 4 ภาควิชา โดยแต่ละภาควิชารับนิสิตถึง 60 คน จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หรือบริหารรัฐกิจ) ซึ่งเป็นภาควิชาเดียวของคณะที่ใช้คะแนน PAT 1 หรือ PAT คณิตศาสตร์ ในสัดส่วน 20% กับ GAT อีก 30% จึงเป็นภาคที่เคยมีคะแนนแอดมิชชั่นต่ำสุดถึง 12,831 ในปี 2556 ซึ่งต่ำกว่าคะแนนต่ำสุดของคณะสายวิทยาศาสตร์เสียอีก ฉะนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่าเหตุที่คณะรัฐศาสตร์จุฬาคะแนนสูงนั้นมิใช่เพราะคณะนี้สามารถดึงดูดเด็กหัวกะทิให้เข้ามาสนใจเรียนได้ แต่สัดส่วนคะแนนนั้นเอื้อให้ง่ายต่อการมีคะแนนสูงอยู่แล้ว เพราะหากดูค่าเฉลี่ยคะแนนสอบ ค่าเฉลี่ยผลการสอบ GAT ทั่วประเทศในการสอบรอบที่ 1 ปี 2558 สูงถึง 131.97 จาก 300 คะแนน ส่วนค่าเฉลี่ย PAT1 ในรอบเดียวกันคือ 51.56 จาก 300 คะแนน เท่านั้น การคิดสัดส่วนคะแนนที่จำเป็นต้องใช้ PAT เลขจึงเป็นการฉุดคะแนนรวมลงอย่างมาก

ความแปลกอีกประการหนึ่งของคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ก็คือ ทั้งการสอบรับตรง และการสอบแอดมิชชั่น ไม่มีการวัดทักษะความรู้ทางรัฐศาสตร์เลย ผิดกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่จะมีการใช้ข้อสอบวัดความรู้ทางรัฐศาสตร์ที่คณะเป็นผู้ออกเอง เพื่อการันตีว่าจะมีเด็กบางส่วนที่มีความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์จริงๆ อยู่ในทุกชั้นปี แต่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กลับใช้ PAT7 หรือการสอบทักษะทางภาษาในการคัดเลือกนิสิตในรอบรับตรง ซึ่งรับประกันเพียงทักษะทางภาษาเท่านั้น มิได้รับประกับความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์แต่อย่างใด

(ภาพประกอบจาก: //www.admissions.chula.ac.th/images/stories/cu_58.pdf)

2.     ค่านิยมเรื่องสถาบันนิยมที่ผิดเพี้ยน

นอกจากปัญหาเรื่องโครงสร้างคะแนนแล้ว ค่านิยมเรื่องสถาบันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้คณะรัฐศาสตร์ จุฬาคะแนนพุ่งสูงจนเกินกว่าความเป็นจริง แน่นอนว่าการเข้าจุฬาฯ เป็นความฝันของเยาวชน และความคาดหวังทางสังคมที่คนส่วนใหญ่มี จึงเกิดแนวคิดที่ว่าคณะอะไรก็ได้ขอแค่ได้เรียนจุฬาฯ ก็เพียงพอ บางคนอาจจะอยากเรียนวิศวะ แต่คะแนนไม่สูงพอที่จะยื่นเข้าคณะวิศวะ จุฬาฯ แต่ก็ไม่อยากเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น จึงเลือกที่จะทิ้งคณะที่ตนเองถนัด และเลือกมหาลัยที่ตัวเองใฝ่ฝันแทนเพราะเพียงคะแนนถึง ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัดส่วนการคิดคะแนนนั้นเอื้อให้ง่ายต่อการทำคะแนนสูงอยู่แล้ว ปัญหาที่ตามมาของทัศนคติดังกล่าว การแอดมิชชั่นใหม่ หรือ “ซิ่ว” เนื่องจาก 1. ไม่มีความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์อยู่เป็นทุนเดิม จึงเรียนไม่ไหว บางรายหนักถึงขนาดไม่รู้ว่าคณะรัฐศาสตร์เรียนอะไรด้วยซ้ำ แต่ยื่นเพียงเพราะคะแนนถึงและอยากจะติดพระเกี้ยวให้โก้เก๋เป็นเวลา 1 ปี และ 2. เรียนเพื่อรอซิ่ว กล่าวคือไม่อยากเสียเวลา 1 ปีไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงเลือกที่จะเรียนไปก่อน และเตรียมตัวสอบใหม่ให้ได้คะแนนดีกว่าเดิม เพื่อจะได้ยื่นคณะที่ตัวเองใฝ่ฝันในปีการศึกษาต่อไป คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงเป็นคณะทดลองเรียน หรือทางผ่านสำหรับบางคน ซึ่งคนเหล่านี้ได้กีดกันคนที่มีความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์ แต่ขาดความสามารถด้านภาษาอังกฤษออกไปอย่างน่าเสียดาย

3.     ความเข้าใจผิดในคณะรัฐศาสตร์

ในบรรดาปัจจัยทั้ง 3 ข้อ ข้อนี้นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด โดยความเข้าใจผิดของคณะรัฐศาสตร์มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการใหญ่ๆ ได้แก่ 1. คิดว่าคณะรัฐศาสตร์เรียนภาษาเป็นสำคัญ ซึ่งไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความเชื่อนี้มีต้นกำเนิดมาจากไหน แต่คนส่วนใหญ่ที่เรียนคณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตที่เข้ามาผ่านวิธีการรับตรงมักจะคิดว่าคณะนี้จะช่วยฝึกทักษะทางภาษาให้กับตัวเองทั้งภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 บางคนที่มีความสนใจด้านรัฐศาสตร์เล็กน้อย แต่มีความสามารถด้านภาษามากจึงเลือกเรียนคณะนี้แทนคณะอักษร (ยังไม่นับคนที่อกหักจากคณะอักษรซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย) ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม เพราะการเรียนในคณะนี้ให้ความสำคัญกับมิติด้านสังคมเป็นสำคัญ ทักษะด้านภาษาเป็นเพียงตัวเสริมเท่านั้น สุดท้ายแล้วคนที่มีความคิดเช่นนี้จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการออกไปเรียนวิชาโท (Minor) ที่คณะอักษร ซึ่งในความเป็นจริงควรจะเป็นการเรียนเอกที่คณะอักษรและเรียนโทที่คณะรัฐศาสตร์เสียมากกว่า จริงอยู่ที่การเรียนในคณะรัฐศาสตร์มีการใช้เอกสารการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้นิสิตสามารถฝึกทักษะภาษาอังกฤษไปได้ในเวลาเดียวกัน แต่เป้าหมายของเอกสารเหล่านั้นคือการทำความเข้าใจทฤษฎีของนักคิดต่างประเทศเสียมากกว่า นั่นหมายความว่าสุดท้ายแล้วทักษะทางภาษาที่ได้จากคณะนี้อย่างชัดเจนคือทักษะด้านภาษาอังกฤษเท่านั้น ส่วนทักษะด้านภาษาที่สามนั้นขึ้นอยู่กับความข่วนขวายของแต่ละคน

ความเข้าใจผิดประการที่ 2 ซึ่งเป็นปัญหายิ่งกว่าคือความเชื่อที่ว่าการเรียนคณะรัฐศาสตร์จะทำให้สามารถทำงานที่มีฐานะทางสังคม และเปลี่ยนแปลงสังคมได้เช่นทูต ปลัดอำเภอ นักการเมือง ซึ่งเป็นความฝันของใครหลายๆ รวมถึงยังเป็นภาพลักษณะที่คนในสังคมคาดหวังด้วย เช่น เมื่อเราบอกว่าเราเรียนคณะรัฐศาสตร์ คนทั่วไปมักจะคิดว่าเราจะต้องเป็นทูต หรือนักการเมืองในอนาคต ซึ่งแนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดที่ออกจะล้าสมัยไปเสียแล้ว เนื่องจากในอดีตคณะรัฐศาสตร์มีเป้าหมายเพื่อผลิตบุคลากรไปเพื่อรับใช้รัฐ หรือไปเป็นข้าราชการ แต่ในปัจจุบัน ตลาดแรงงานได้ขยายออกไปสู่ภาคเอกชนมากขึ้น อีกทั้งแนวทางการศึกษาด้านรัฐศาสตร์เริ่มมีรูปแบบของการวิพากษ์รัฐมากยิ่งขึ้น การเรียนในห้องรวมถึงคำบอกเล่าจากปากรุ่นพี่ทำให้นิสิตคณะรัฐศาสตร์ตระหนักถึงปัญหาของระบบราชการ และระบบการเมืองไทยที่หยั่งรากลึก ยากต่อการแก้ไข และเป็นอุปสรรคต่ออิสระในการทำงาน รวมไปถึงทำให้เราไม่สามารถใช้ทักษะความรู้ที่เรียนมาพัฒนาสังคมไปในทางที่เราต้องการได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากการคณะรัฐศาสตร์สอนว่าประเทศไทยไม่ควรไปจุดประเด็นเรื่องเขาพระวิหารกับกัมพูชาเพราะมันขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และกระทบความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากเราได้เป็นนักการทูต และผู้นำรัฐบาลยืนกรานว่าจะทวงคืนเขาพระวิหารไม่ว่าเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ หน้าที่ของเราก็คือต้องสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำนั้นแม้ว่ามันจะขัดต่อสิ่งที่เราร่ำเรียนมาก็ตาม ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านระบบราชการจึงต้องเจอกับข้อเท็จจริงที่ว่าโครงสร้างภายในองค์กรทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการมันไม่เอื้อให้เราสามารถใช้องค์ความรู้ของเราได้เลย แนวโน้มของบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่จะเข้าสู่ระบบราชการจึงมีน้อยลงทุกปี สวนทางกับการเข้าสู่ภาคเอกชนมีจำนวนสูงขึ้น เช่นงานด้านการข่าว องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) ซึ่งก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยเช่นกัน แม้จะไม่ได้มีฐานะทางสังคมเทียบเท่ากับการเป็นข้าราชการก็ตาม

โดยสรุปแล้ว บทความชิ้นนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่าปราฏการณ์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีแอดมิชชั่นคะแนนสูงหลายปีติดต่อกันนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ แต่มันกลับสะท้อนปัญหาในระดับโครงสร้าง และวัฒนธรรมทางความคิดที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ผู้ที่สนใจเรียนคณะรัฐศาสตร์จึงควรจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า ตนมีความสนใจทางด้านรัฐศาสตร์จริงๆ หรือไม่ หรือเพียงแค่สนใจทักษะทางด้านภาษาเท่านั้น อีกทั้งควรจะต้องแน่ใจว่าจริงๆ แล้วคณะรัฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไร และเป้าหมายของการเรียนคณะนี้คืออะไร หากมองว่าการเรียนคณะนี้คือบันไดก้าวแรกของการไต่เต้าในเวทีการเมือง หรือการเปลี่ยนแปลงสังคมแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เราอาจจะต้องกลับมาทบทวนใหม่ว่าต้นทุนทางสังคมของเรามีเพียงพอหรือไม่ แต่หากเรามองว่าเป้าหมายของการเรียนคณะนี้คือการเรียนรู้วิธีการทำความเข้าใจ และอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างถึงรากเพื่อออกไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพให้กับรัฐและสังคมประชาธิปไตย คณะนี้ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีมิใช่น้อย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง