มีประจำเดือน แล้ว ตรวจครรภ์

คำถามที่พบบ่อยกรณีคนไข้ประจำเดือนขาด ไม่มาตามรอบปกติ โดยข้อกังวลที่พบคือสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์รึเปล่า? เมื่อเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ก็ต้องตรวจครรภ์โดยสามารถรู้ข้อมูลเบื้องต้นก่อนได้ผ่านการใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ แต่ถึงแม้จะทดสอบการตั้งครรภ์ แล้วพบว่าตั้งครรภ์ก็ตาม แต่คุณผู้หญิงก็ควรจะไปพบแพทย์ด้วยการตรวจปัสสาวะ หรือตรวจเลือดเพื่อดูค่าฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ให้แน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้วจริงๆ

ทั้งนี้มีข้อสังเกตสำหรับคุณผู้หญิงว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ด้วย 2 วิธี ได้แก่


1. อาการบ่งบอกว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ (อาการแพ้ท้องแรกเริ่ม)

  • ประจำเดือนขาด คือ การที่ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด
  • รู้สึกไม่สบายหรือกำลังป่วย มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นของอาหาร
  • มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทรวงอก บางครั้งหน้าอกอาจใหญ่ขึ้นหรือหัวนมอาจดำคล้ำ
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะการตั้งครรภ์ในช่วงแรกๆ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจะส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • ปัสสาวะบ่อย เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เลือดไหลผ่านไปยังไตมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะจึงรับน้ำมากขึ้นด้วย
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย เป็นลักษณะอาการที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ดีใจ เสียใจ หดหู่ หรือกังวล ซึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • เหนื่อยง่าย เพลีย อยากนอนมากขึ้น อาการเหล่านี้มักเกิดจากระดับฮอรโมนโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนนี้มีส่วนช่วยให้หลับสบายนั่นเอง

2. การตรวจครรภ์หาค่าฮอร์โมนเอชซีจี (hCG)

การตรวจการตั้งครรภ์ใช้หลักการตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากตัวรกหลังการปฏิสนธิ 6 วันขึ้นไป โดยระดับปริมาณฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) บ่งบอกการตั้งครรภ์และอายุครรภ์คร่าวๆ ได้ ฮอร์โมนนี้มีความยาวของกรดอะมิโน 237 ตัว ชุดน้ำยาในที่ตรวจครรภ์ อ่านผลได้จากการดักจับฮอร์โมนเอชซีจี ส่วนวิธีการตรวจตั้งครรภ์ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ จะใช้ชุดน้ำยาตรวจสอบที่จับส่วนประกอบย่อยของฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) ที่มีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

  • อัลฟ่า เอชซีจี (Alpha Subunit หรือ Alpha-hCG) มีความยาวของกรดอะมิโน 92 ตัว
  • เบต้า เอชซีจี (Beta Subunit หรือ Beta-hCG) มีความยาวของกรดอะมิโน 145 ตัว

ทั้งนี้มีวิธีการตรวจสอบได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

2.1 การตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง โดยอุปกรณ์ตรวจครรภ์ หรือ ที่ตรวจครรภ์ ซึ่งการแสดงผลการตรวจของ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จะแสดงเป็น แถบขีดสี (ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง) ถ้าขึ้นว่า 2 ขีด (ขึ้นที่ขีด C และ T) คือ ผลบวก แสดงว่า มีโอกาสตั้งครรภ์ และ ขีดเดียว (ขึ้นที่ขีด C เพียงอย่างเดียว) คือ ผลลบ แสดงว่า ไม่ตั้งครรภ์ หากตรวจแล้วไม่มีขีดใดขึ้นเลย แสดงว่าที่ตรวจครรภ์เสีย หมดอายุ หรือเกิดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ ต้องตรวจใหม่อีกครั้ง โดยอุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์นี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  • แบบปัสสาวะแบบปล่อยผ่าน อุปกรณ์เป็นแบบแท่งตรวจครรภ์ วิธีการใช้คือ ถอดฝาครอบออกแล้วถือแท่งให้หัวลูกศรชี้ลงพื้น แล้วปัสสาวะผ่านบริเวณที่ต่ำกว่าลูกศรให้ชุ่มประมาณ 30 วินาที จากนั้นรออ่านผลประมาณ 3-5 นาที
  • แบบหยด หรือแบบตลับ ชุดอุปกรณ์จะประกอบไปด้วยหลอดหยด ตลับตรวจครรภ์ และถ้วยตวงปัสสาวะ ขั้นตอนการใช้ คือ เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง จากนั้นนำหลอดหยดดูดน้ำปัสสาวะแล้วหยดลงในตลับตรวจครรภ์ประมาณ 3-4 หยด วางตลับทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วจึงอ่านผลการตรวจ
  • แบบแถบจุ่ม ประกอบไปด้วยแผ่นทดสอบการตั้งครรภ์ และถ้วยตวงเก็บปัสสาวะ วิธีการใช้ คือ เก็บปัสสาวะลงในถ้วยตวง แล้วนำแผ่นทดสอบจุ่มลงในถ้วยตวงประมาณ 3 วินาที แล้วนำออกมาจากถ้วยตวงทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีเพื่อรออ่านผลตรวจครรภ์ ข้อควรระวัง คือ อย่าให้น้ำปัสสาวะเลย หรือสูงเกินกว่าขีดลูกศรของแผ่นทดสอบ

อย่างไรก็ตามการตรวจครรภ์ด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถให้ผลได้ 100% ซึ่งอาจเกิดผลลบลวง หรือ ผลบวกลวงได้ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจการตั้งครรภ์ที่แม่นยำกว่า

2.2 การตรวจครรภ์ด้วยแพทย์ จะเป็นการตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์เป็นวิธีตรวจฮอร์โมน hCG และยืนยันผลโดยนักเทคนิคการแพทย์ ด้วยวิธีการตรวจจากฮอร์โมน Beta-hCG ซึ่งจะทราบผลหลังจากปฏิสนธิ ใช้เวลารอฟังผล 1-2 ชั่วโมง ซึ่งผลการตรวจจะสามารถบ่งบอกการตั้งครรภ์ได้แน่นอนถึง 100% ทั้งนี้การตรวจครรภ์วิธีนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจให้รู้แน่ชัดโดยไว เช่น ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือมีประวัติแท้งบุตร ต้องการข้อมูลเพื่อวางแผนการดูแล ให้ฮอร์โมนเสริมต่างๆ เพื่อป้องกันการแท้งบุตร เป็นต้น

เมื่อมาพบแพทย์ เบื้องต้นจะทำการซักถามประวัติข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ต้องการรับการตรวจ เช่น เวลาของประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย อาการที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเกิดการตั้งครรภ์ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะบ่อย เต้านมคัด หรือความผิดปกติของประจำเดือน เป็นต้น ร่วมด้วยเพื่อให้การวินิจฉัยตรงไปตรงมาและมีความแม่นยำมากที่สุด


ถ้ารู้ว่าตั้งครรภ์ ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อทราบแล้วว่าตั้งครรภ์ ขั้นตอนต่อไป คือ การฝากครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องตรวจสุขภาพด้วยการเจาะเลือดตรวจโดยแพทย์ก่อน ได้แก่ ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (CBC) และตรวจคัดกรองหมู่เลือด (ABO), การตรวจหากลุ่มเลือด Rh เป็นการตรวจว่าเลือดคุณพ่อและคุณแม่มี Rh เป็นอย่างไร, ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ ตรวจหาเชื้อฟิซิลิส (VDRL) ตรวจหาเชื้อไวรัส (HIV) ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg), ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบบี (HBsAb), ตรวจหาธาลัสซีเมีย (Hb typing) หากคุณเป็นโรคโลหิตจางแพทย์จะส่งตรวจว่าคุณเป็นโรคธัลลาสซีเมียหรือไม่ เพื่อป้องกันเด็กในครรภ์, ตรวจหาภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน (Rubella IgG) หากไม่มีภูมิต้องฉีดวัคซีนก่อนการตั้งครรภ์, ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) และ ตรวจคัดกรองเบาหวาน (GCT 50 gm) เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ปกติคนท้องมักจะมีระดับน้ำตาลไม่เกิน 90 มก% หากสูงจะต้องส่งตรวจเพื่อให้ทราบว่าเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์หรือไม่

ซึ่งการตรวจเหล่านี้เพื่อป้องกันภาวะต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์ พร้อมทั้งการวางแผนการดูแลสุขภาพในด้านต่างๆ ในระยะต่อไป พร้อมทั้งให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างถูกต้อง การปฏิบัติตัวต่างๆ ในช่วงตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามการตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ ต้องทำในตอนเช้า เนื่องจากปัสสาวะจะมีความเข้มข้นสูงสุดของฮอร์โมนในเวลานี้ และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไปไว้ล่วงหน้า เพราะจะทำให้ระดับ hCG ในปัสสาวะของคุณลดลง ทั้งนี้โปรดพบแพทย์ทันทีที่คุณคิดว่าคุณตั้งครรภ์ ไม่ว่าคุณจะทำการทดสอบการตั้งครรภ์แล้วหรือไม่ก็ตาม และหากคุณพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ คุณควรเริ่มต้นการฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด

ตรวจครรภ์หลังมีประจำเดือนกี่วัน

คำแนะนำในการตรวจครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนใช้อุปกรณ์ตรวจครรภ์ควรรอให้เลยรอบเดือนประมาณ 7 วัน เพราะที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติอาจจะเกิดจากความเครียด และความวิตกกังวล ควรอ่านรายละเอียดขั้นตอนการใช้อย่างละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อผลทดสอบที่ถูกต้อง

ประจำเดือนมาแบบไหนถึงท้อง

ในบางรายที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หากประจำเดือนของคุณขาดไป ก็แสดงว่าคุณอาจตั้งครรภ์ เพราะหลังจากปฏิสนธิ ประจำเดือนจะไม่มา แต่มีในบางรายที่ ตั้งครรภ์แล้ว อาจจะมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดในช่วงเวลาที่ครบรอบประจำเดือน ปัสสาวะบ่อยขึ้น และสีเข้มขึ้น

ตรวจการตั้งครรภ์ได้เร็วสุดกี่วัน

สรุป: วิธีที่สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้เร็วที่สุดคือ “การตรวจเลือด” โดยตรวจการตั้งครรภ์ได้ ประมาณวันที่ 7-10 หลังจากมีการปฏิสนธิ

ตรวจการตั้งครรภ์ตอนเที่ยงได้ไหม

เมื่อคุณผู้หญิงเลือกที่จะตรวจการตั้งครรภ์ อาจมองว่าต้องตรวจวันไหน เวลาไหน จนมีการพูดกันปากต่อปากว่า ตรวจตอนเช้าจะได้ผลแม่นยำกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว เวลาในการตรวจไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า, กลางวัน หรือตอนเย็น จะไม่ค่อยมีความแตกต่างต่อผลลัพธ์มากนัก เนื่องจากช่วงเวลาในการตรวจไม่ได้มีผลมากไปกว่าฮอร์โมน การตรวจครรภ์มีความสำคัญ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง