Mgo เป็นวัสดุ เซรา มิ ก ส์ จัด อยู่ใน จำพวก ใด

เป็นแร่ของแข็งสีขาว เป็นสารประกอบโลหะออกไซด์ของแมกนีเซียม (Mg) เมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้น้ำเป็นด่าง นำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งในด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ อาหาร และการเกษตร เช่น ใช้ผลิตเป็นวัสดุ หรือฉนวนกันความร้อน ใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมของซีเมนต์ก่ออิฐทนไฟ ใช้อุตสาหกรรมผลิตยาง อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และสารทำความสะอาด เป็นต้น


คุณสมบัติเฉพาะของแมกนีเซียมออกไซด์ 

CAS Number1309-48-4ชื่อทางการค้าแมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium oxide)ชื่อทางเคมีMagnesium oxideชื่ออื่น ๆ Magnesia, Periclase, OxomagnesiumสูตรทางเคมีMgOน้ำหนักโมเลกุล40.305 กรัม/โมลลักษณะทางกายภาพเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่นจุดหลอมเหลว2,825 °Cจุดวาบไฟไม่เป็นสารติดไฟอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองไม่เป็นสารติดไฟอัตราส่วนในอากาศที่เกิดระเบิด/ติดไฟไม่เป็นสารติดไฟขีดจำกัดการติดไฟ ไม่เป็นสารติดไฟความดันไอ–ความหนาแน่นไอ–ความหนาแน่น3.6 กรัม/มล.ความถ่วงจำเพาะ–ค่าคงที่เฮนรี่–จุดเยือกแข็ง–การละลายละลายน้ำได้ 86 มิลลิกรัม/ลิตร ที่ 30°C เมื่อละลายน้ำจะทำให้น้ำเป็นด่างการสลายตัว–ความเป็นกรด-ด่าง (pH)10.3 ด้วยการละลายที่อิ่มตัวสารที่ต้องหลีกเลี่ยง–

โครงสร้างผลึกแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO)
แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ประกอบด้วยธาตุแมกนีเซียม (Mg) 1 อะตอม และออกซิเจน (O) 1 อะตอม มีโครงสร้างผลึกแบบลูกบาศก์ที่เป็นโครงสร้างผลึกของสารประกอบไอออนิกส์ ที่เรียกว่า rock-salt structure โดย Mg2+ บรรจุอยู่ในช่องออกตะฮีดอล แต่เนื่องจาก Mg2+ มีขนาดใหญ่กว่าช่องของออกตะฮีดอลที่เกิดจาก O2- จึงทำให้ O2- ถูกผลักออกจากกัน แต่ O2- ไม่ประสานกัน แต่จะประสานสัมผัสกับ Mg2+ ทั้ง 6 อะตอม ส่วนแต่ละ Mg2+ จะประสานสัมผัสกับ O2- ทั้ง 6 อะตอมเช่นกัน จึงมีเลขโคออร์ดิเนชั่นเป็นแบบ 6:6


การผลิตแมกนีเซียมออกไซด์

แมกนีเซียมออกไซด์ เป็นแร่ที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ มีลักษณะเป็นก้อนผลึกสีขาว ซึ่งในธรรมชาติมักพบในรูปของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2) เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจาก แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เมื่อสัมผัสกับน้ำ หรือความชื้นจะเปลี่ยนเป็นแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2) แต่ถ้าต้องการให้กลับมาเป็นแมกนีเซียมออกไซด์เหมือนเดิม จะต้องให้ความแก่แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์จนน้ำ หรือความชื้นระเหยออกหมด

สูตร MgO + H2O → Mg(OH)2

สำหรับการผลิตแมกนีเซียมออกไซด์ ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเผาแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2)

  • แมกนีเซียมออกไซด์ออกจากน้ำทะเลทำได้โดยนำน้ำทะเลที่มีแมกนีเซียมมากกว่าร้อยละ 0.2 มาทำปฏิกิริยากับแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) ทำให้ได้ตะกอนของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH)2) จากนั้น นำแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ไปอบแห้งไล่น้ำออกจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) 
  • การเผาแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ที่ได้จากแหล่งสินแร่ในธรรมชาติ

สูตร Mg(OH)2 + ความร้อน (1,550-2,000°C) → MgO

ในส่วนของการเผาสำหรับนำแมกนีเซียมออกไซด์ไปใช้ผลิตเป็นวัสดุทนไฟ เช่น เซรามิก จะต้องเผาแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ที่อุณหภูมิ 1,650°C และนำไปบดให้ละเอียดอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งจะได้แมกนีเซียมออกไซด์ที่มีความหนาแน่นสูง สามารถเกาะตัวเป็นก้อนแข็งได้ดี

2. การเผาแมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) หรือ แร่แมกนีไซต์ (magnesite) ที่ได้จากแหล่งแร่บนผิวโลก โดยการเผาที่อุณหภูมิ 500 – 1,500°C จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นแมกนีเซียมออกไซด์ 

สูตร MgCO3+ ความร้อน (500-1,500°C) → MgO + CO2

แมกนีเซียมออกไซด์ที่นำไปใช้ผลิตฉนวนไฟฟ้า จะต้องเผาแมกนีเซียมคาร์บอเนตที่อุณหภูมิ 1,600 – 1,800°C แต่แมกนีเซียมคาร์บอเนตสามารถเผาจนได้แมกนีเซียมออกไซด์ที่อุณหภูมิต่ำได้ที่ 500°C แต่จะแตกตัวได้เป็นแมกนีเซียมออกไซด์ที่สมบูรณ์ จะต้องเผาจนถึงอุณหภูมิ 1,500°C


การใช้ประโยชน์แมกนีเซียมออกไซด์


1. ภาคอุตสาหกรรม

  • แมกนีเซียมออกไซด์ เป็นสารประกอบที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสสูง จึงถูกใช้เป็นตัวรองรับในปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) และยังถูกใช้เป็นสารเพิ่มความเสถียรทางความร้อนให้กับตัวเร่งปฏิกิริยา
  • แมกนีเซียมออกไซด์ เป็นสารประกอบที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสสูง จึงถูกใช้เป็นสารดูดซับในหลายด้าน เช่น ใช้เป็นสารกรองในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำสำหรับการกรองดูดซับสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็ก
  • ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เตาเผาอุณหภูมิสูง จะใช้แมกนีเซียมออกไซด์เป็นตัวประสานก้อนอิฐในการก่อสร้างเตา เช่น โรงงานถลุงเหล็ก และโรงงานรีดเหล็ก เป็นต้น เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้ดีกว่าปูนก่อทั่วไป ซึ่งสูงถึง 2,825 °C
  • แมกนีเซียมออกไซด์ มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตสี หรือ ใช้เป็นสารเคลือบวัสดุ เพื่อช่วยในการสะท้อนแสง
  • ใช้เป็นสารเคลือบวัสดุเพื่อให้เกิดความโปร่งแสง หรือ ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุโปร่งแสง เช่น เลนส์กล้อง หรือ กระจก
  • ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมผลิตเซรามิกชนิดต่าง ๆ สำหรับเป็นส่วนผสมในเนื้อเซรามิก ทำหน้าที่ช่วยลดสัมประสิทธิ์การหดตัว และการขยายตัวของเนื้อเซรามิก ขณะได้รับความร้อน และการลดความร้อน รวมถึงทำหน้าที่กันความร้อน และทนไฟได้ดี ผลิตภัณฑ์เซรามิกต่าง ๆ ได้แก่ ถ้วย ชาม เครื่องปั้นดินเผา กระเบื้อง อิฐก่อ เป็นต้น
  • ใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอิฐทนไฟ
  • ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตปูนซีเมนต์
  • ใช้เป็นส่วนผสมของสารยับยั้งการกัดกร่อน หรือ ลดการหดหรือขยายตัวของวัสดุ
  • ใช้ผลิตเป็นฉนวนกันความร้อนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


2. อาหาร และอุตสาหกรรมอาหาร

  • แมกนีเซียมออกไซด์ ใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหาร เนื่องจาก สามารถดูดซับน้ำหรือความชื้นได้ดี ช่วยป้องกันการจับตัวเป็นก้อนของอาหาร

3. ทางการแพทย์

  • แมกนีเซียมออกไซด์ใช้ผลิตเป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เนื่องจาก เป็นสารประกอบที่สามารถ Neutralize กรด หรือ สามารถที่จะความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลงได้ สามารถใช้เป็นยาลดกรดได้ทั้งในคน และสัตว์
  • แมกนีเซียมออกไซด์ใช้เป็นส่วนผสมของสารอุดฟันหรืออุดร่องฟัน

ข้อควรระวังการใช้ แมกนีเซียมออกไซด์ทางการแพทย์
แมกนีเซียมออกไซด์ที่เป็นส่วนผสมในยาลดกรด หากรับประทานมากอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือการถ่ายเหลวได้ เพราะแมกนีเซียมออกไซด์ออกฤทธิ์เป็นยาระบายได้เช่นกัน
หากเกิดสภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง (Hypermagnesemia) จะทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำ เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ เกิดความผิดปกติในคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายอย่างรุนแรงจะแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และอาการทรุดหนักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวาย ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมมากกว่า 50 mEq เช่น ยาลดกรด เป็นต้น แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ ให้ปรึกษาแพทย์ และใช้ในปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสำคัญ

4. การเกษตร

  • มีการใช้ประโยชน์แมกนีเซียมออกไซด์ในลักษณะเดียวกันในมนุษย์ คือ ถูกใช้เป็นยาลดกรดในกระเพาะของสัตว์ ทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยว และสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยอาจให้ในรูปยาลดกรด หรือ ผสมในอาหารสัตว์
  • ใช้เป็นส่วนผสมของปุ๋ย สำหรับเป็นธาตุอาหารรองให้แก่พืช


★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★ ★

กลไกลการลดความเป็นนกรดของแมกนีเซียมออกไซด์ในกระเพาะอาหาร1. แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) เมื่อละลายน้ำจะทำให้สารละลายมีคุณสมบัติเป็นด่าง ช่วยลดปริมาณกรดได้
สูตร MgO + H2O → Mg + (OH)-2 (ด่าง)
2. ในกระเพาะมนุษย์ หรือ สัตว์กระเพาะเดี่ยว แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) จับกับกรดไฮโดรคลอดริก (HCl) ทำให้ได้เป็นแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) และน้ำ
สูตร MgO + 2HCl → MgCl2+ H2O3. ในกระเพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ ที่มีการผลิตกรดแลคติก โดยแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) จะเข้าจับกับกรดแลคติด ได้เป็นแมกนีเซียมแลคเตท และน้ำ 
สูตร MgO + CH3CHOHCOOH → (CH3COHCOO)2Mg + H2O


พิษแมกนีเซียมออกไซด์ต่อร่างกาย

  • การรับแมกนีเซียมออกไซด์เข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูง ไม่ว่าจะได้รับจากการรับประทานโดยตรงหรือได้รับจากยา และอาหารจะทำให้เกิดภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง (Hypermagnesemia) ทำให้ร่างกายเกิดภาวะความดันเลือดต่ำ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน การหายใจ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
  • การสัมผัสกับผงแมกนีเซียมออกไซด์ที่ดวงตาจะทำให้เกิดการระคายเคือง มีอาการตาพร่ามัว แสบตา เยื่อบุตาอักเสบ
  • การสูดดมไอของโลหะแมกนีเซียมออกไซด์จะทำให้เกิดอาการแสบบริเวณโพรงจมูก และลำคอ เกิดอาการแน่นหน้าอก ไอ และหายใจติดขัด รวมถึงทำให้เกิดอาการเป็นไข้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง