กฎกระทรวง ทรงผม นักเรียน 2556

  • Longtruk News #2: บทความโดย ธนบดี วัฒนารักษ์ 
  • บรรณาธิการ : ภาอรุณ ชูประเสริฐ x สุพิชญา ขุนชำนิ
  • Artist: ธนบดี วัฒนารักษ์

ภาพผลงาน(1) โดย ธนบดี วัฒนารักษ์

หากจะพูดถึงเรื่อง “ทรงผมของคนไทย”แล้ว ทรงผมในอดีตที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีนั้นคงจะไม่พ้น “ทรงผมมหาดไทย” ที่นิยมไว้กันทั้งผู้ชายและผู้หญิง จนวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกเข้ามาแพร่หลายในไทย ทรงผมก็มีวิวัฒนาการมาอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นรองหวี วินเทจ อีกหลายอย่างมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งแต่ก่อนเรื่องทรงผมถือเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล แต่ในสังคมไทยปัจจุบัน มีการออกกฎเกณฑ์เรื่องทรงผมหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะหน่วยงานทางราชการบางแห่งก็มีกฎระเบียบเรื่องทรงผมด้วย แต่ในกรณีนี้จะพูดถึง กรณีการบังคับให้นักเรียนชายหญิงไว้ผมตามกฎระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนด ที่นักเรียนชาย ต้องตัดผมเกรียนติดหนังหัว ผู้หญิงต้องตัดผมสั้นเสมอหู ซึ่งผู้เขียนเองเคยประสบพบเจอเหตุการณ์นี้มาเช่นกันในสมัยที่ยังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผู้เขียนมักมีปัญหาเรื่องทรงผมกับครู และช่างตัดผมมาตลอด เพราะเรื่องทรงผมนั้น ถือเป็นเรื่องความมั่นใจเฉพาะตน เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะกับทรงผมที่บังคับให้นักเรียนตัดกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิง ที่ต้องรักสวยรักงามเป็นธรรมดา จะว่าไปแล้วทรงผมก็ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องของความมั่นใจเพราะผมก็คือส่วนหนึ่งของร่างกายเรา


แต่เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 63 ที่ผ่านมามีนักเรียนมัธยมกลุ่มหนึ่งออกมาเรียกร้องให้มีการยุติการบังคับใช้กฎระเบียบเรื่องทรงผมโดยมีการแสดงเชิงสัญลักษณ์ตัดผมประท้วงที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ สืบเนื่องมาจากมีเด็กนักเรียนชายหญิงหลายคนถูกครูกล้อนผม ตัดผมแบบตั้งใจประจานแก่ผู้พบเห็นว่าทำผิดระเบียบ โดยอ้างว่าเป็นกฎระเบียบของโรงเรียน ซึ่งทำให้นักเรียนหลายคนต้องอับอาย ถูกเพื่อนล้อ จนบางกรณีต้องขอลาออกจากโรงเรียน เป็นต้น ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมาก เหตุการณ์เหล่านี้มิได้เพิ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันเท่านั้น แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ที่จริงแล้วก่อนหน้านี้มีเยาวชน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนมากมายหลายกลุ่มได้มีการรณรงค์ถึงการยกเลิกการบังคับให้นักเรียนตัดผม ไว้ผมตามกฎมานานหลายปีแล้ว แต่จากการสืบค้นถึงต้นตอของทรงผมเกรียน สั้นเสมอหูนี้ ได้พาย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาที่ทรงผมเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบังคับใช้แก่เหล่านักเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2482 มีการตราพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน แต่ก็มิได้บังคับใช้อย่างจริงจัง แต่ที่ดูแล้วจะเป็นการบังคับใช้อย่างจริงจัง นั้นคือ ในสมัย จอมพล ถนอม กิตติขจร ที่กระทำการรัฐประหารตนเอง โดยหลังจากเหตุการณ์นั้นมีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 โดยอาศัยคำประกาศของคณะปฏิวัติ ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2515 ข้อที่ 1 ความว่า

  • ข้อ 1 การแต่งกาย และความประพฤติดังต่อไปนี้ถือว่าไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน ตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132    
  • นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดหรือเครานักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย นักเรียนใช้เครื่องสำอาง หรือสิ่งปลอมเพื่อการเสริมสวย

ภาพผลงาน(2) โดย ธนบดี วัฒนารักษ์

จนกระทั่งได้ถูกยกเลิกไปช่วงหนึ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีการออกกฎกระทรวงฉบับแก้ไข มีชื่อว่า จนกระทั่งได้ถูกยกเลิกไปช่วงหนึ่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีการออกกฎกระทรวงฉบับแก้ไข มีชื่อว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2518) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 วันที่ 6 ม.ค. 2518 แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 1 เรื่องทรงผมนักเรียนที่ไม่เหมาะสม มีความว่า

  • (1) นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม หรือไว้หนวดไว้เครา นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย นักเรียนใช้เครื่องสำอาง หรือสิ่งปลอมเพื่อการเสริมสวย

นับเป็นจุดสิ้นสุดของการบังคับให้นักเรียนต้องตัดสั้นเกรียนในช่วงแรกหลังจากที่มีการบังคับในปี 2515 จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของเรื่องที่เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ อันที่จริงจุดเริ่มต้นของการบังคับควบคุมไม่ได้มีเพียงช่วงเวลาที่กล่าวมาเพียงอย่างเดียว แต่ที่ผ่านมาในอดีตนั้นยังมิได้ถูกบังคับใช้กับเยาวชนอย่างเช่นเหตุการณ์ที่กล่าวมา ต่อมาในปี 2556 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามในหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียน โดยให้สถานศึกษาปฏิบัติเกี่ยวกับทรงผมของนักเรียนเป็นแนวทางเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมาปรากฏว่าสถานศึกษาบางแห่งมีความเข้าใจในเรื่องทรงผมนักเรียนไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ที่มีเนื้อหาว่า

  • 1 นักเรียนชาย ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ หากไว้ผมยาวด้านข้างและด้านหลังต้องยาวไม่เลยตีนผม เช่น แบบทรงผมรองทรง
  •  2 นักเรียนหญิง ให้ไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวก็ให้รวบให้เรียบร้อย

จากวันนั้น ยังมีการบังคับ(ไม่)ใช้อยู่เรื่อยมา เป็นกฎระเบียบที่ครูและนักเรียนต้องปฏิบัติตาม เพราะเป็นข้อบังคับตามประกาศของกระทรวง ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับทรงผมนักเรียน แต่หลังจากนั้นโรงเรียนแทบทุกแห่งในประเทศไทยยังคงดำเนินนโยบายเรื่องทรงผมนักเรียนอยู่เช่นเดิม คือ นักเรียนชายตัดสั้นเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมสั้นไม่เกินติ่งหู กระทั่งปัจจุบันนี้ยังเป็นเช่นนั้นอยู่จนเกิดกระแสและมีหลายคนกลับมาตั้งคำถามในสังคมอีกครั้งว่า สมควรแล้วหรือที่ในปัจจุบันจะยังใช้บังคับนักเรียนให้ตัดผมเช่นนี้อยู่? ยังอ้างถือกฎระเบียบเหล่านี้อยู่ในสังคมปัจจุบัน โดยความเห็นของคนรุ่นใหม่ มองว่าการกระทำเหล่านี้ เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุเพราะเป็นการละเมิดสิทธิในตัวนักเรียน ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงได้รับตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มีมาทุกฉบับ เพราะถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่พลเมืองควรจะได้รับ นักเรียนก็ถือเป็นพลเมืองของประเทศไทยเหมือนกับทุกคน แต่เพราะเหตุใด นักเรียนเหล่านี้ถึงไม่มีสิทธิในการเลือก หากจะอ้างถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสลายความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นออกจากกันอย่างที่ครูหรือผู้ใหญ่หลายคนยกเหตุผลนี้ขึ้นมาตอบโต้ฝั่งนักเรียนและนักเคลื่อนไหวเรื่องนี้ เหตุผลที่คนเหล่านั้นยกอ้างมานั้นสมเหตุสมผลหรือ? หากจะลองพิจารณาดูข้อความในกฏกระทรวง ฉบับแก้ไขข้างต้นและเนื้อหาในหนังสือของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเรื่องทรงผม ปี 2556 จะเห็นได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะมีการคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในตัวนักเรียนมากขึ้น แต่ในระหว่างนั้นมีการนำระเบียบทรงผมสั้นเกรียนกลับมาใช้อีกช่วงก่อนที่จะมีประกาศแก้ไขในปี 2556 ที่ว่าเป็นจุดสิ้นสุด(ชั่วคราว)ของการละเมิดสิทธินักเรียนด้วยเรื่องทรงผม คำถามมีอยู่ว่า ทำไมจนถึงตอนนี้ทั้งๆที่มีการประกาศแก้ไขไปแล้วยังมีการบังคับใช้กฎเหล่านี้แก่นักเรียนอยู่?ภาพผลงาน(1) โดย ธนบดี วัฒนารักษ์

ภาพผลงาน(3) โดย ธนบดี วัฒนารักษ์

ย้อนไปดูบริบทของสังคมก่อนหน้านี้สัก 20-30 ปีลงไป ในสมัยนั้นหากเราต้องการสังคมที่เป็นระเบียบเรียบร้อย คนส่วนใหญ่มักจะมีแนวความคิดเกี่ยวกับระเบียบคือ ทำแบบเคร่งครัดไว้ก่อน ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม รวมไปถึงการสั่งสอนหรือลงโทษด้วย มักมีสุภาษิตยอดฮิต ว่า “รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี” หมายถึง การอบรมสั่งสอน ตักเตือน หรือลงโทษ เวลาเด็กทำผิด แต่เมื่อถึงเวลาที่เด็กทำผิดจริงๆผู้ใหญ่หลายคนมักจะไม่ชี้ให้เห็นถึงเหตุและผลในสิ่งที่จะกระทำหรือลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นลูก หรือสำหรับบางคนที่เป็นครูมักใช้กระทำกับนักเรียนของเขาด้วย เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้แล้ว เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เด็กที่อายุ 12-18 ปีหรือเด็กที่กำลังเติบโตอยู่ มักจะเจอเหตุการณ์อย่างนี้แทบจะทุกคน สิ่งเหล่านี้ ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ อำนาจนิยมในครัวเรือนและอำนาจนิยมในโรงเรียน อำนาจนิยมในครัวเรือนก็ถูกใช้โดยพ่อแม่ ส่วนในโรงเรียนครูก็เป็นคนใช้อำนาจกับเด็กนักเรียน จะเห็นได้ว่า นักเรียนที่ต้องเติบโตเป็นอนาคตของชาติต้องถูกกดอยู่ในอำนาจ อยู่ในสถานะที่ทำอะไรเองไม่ได้ เรื่องนี้ใช้อธิบายกรณีที่เกิดขึ้นในตอนนี้ได้อย่างชัดเจน เด็กนักเรียนไม่สามารถคิด หรือจะทำอะไรได้อย่างอิสระเสรีกับสิ่งที่ถนัดและสร้างสรรค์ กับเรื่องทรงผมก็เช่นกัน ผู้ใหญ่บางคนยังคอยชี้นำ คอยขัดขวางไม่ให้ทำเป็นนั้นแบบนี้โดยอ้างว่า อย่าเถียงผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน เป็นต้น นี่คือสิ่งที่เด็กเหล่านี้ต้องเจอมาตลอดตั้งแต่เด็กจนโต

Michel Foucault (1926-1984)

ตามทฤษฎีอำนาจชีวะ (bio-power) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กเหล่านี้คือ การที่ต้องอยู่กับอำนาจที่อยู่ในจิตของตนเอง ที่ถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็กจากการสั่งสอน การคาดคั้นให้ทำในสิ่งต่างๆจากผู้ใหญ่ อำนาจนี้อยู่ในจิตของมนุษย์และมนุษย์ก็ใช้มันมาควบคุมตนเอง ผ่านกลยุทธ์อันแนบเนียน คือ การทำงานคู่ไปกับความรู้ โดยมีระเบียบวินัยเป็นกลไกของอำนาจ ซึ่งกลายสภาพให้ร่างกายและจิตใจเป็นประโยชน์ว่านอนสอนง่าย แต่สิ่งที่มากดทับอำนาจชีวะของตนเองอีกทีนั้นเป็นอำนาจที่ไม่มีเป้าหมายในตัวเอง ที่บังคับควบคุมจากผู้มีอำนาจต่อผู้ที่ถูกกระทำด้วยอำนาจ ที่เน้นให้เห็นถึงการบังคับควบคุมโดยกฎระเบียบ กฎหมาย ในกรณีนี้คือ กฎกระทรวงของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีสภาวะเป็นกฎหมาย ใครละเมิดถือว่าผิด ครูหลายคนอ้างถึงกฎนี้มาควบคุมเด็กนักเรียนอีกที ผ่านอำนาจที่ตนเองมีในฐานะพ่อแม่ หรือ ครู จากการสั่งสอน อบรมมาตั้งแต่เด็กว่า นักเรียนที่ดีต้องทำตามระเบียบวินัยของโรงเรียน เด็กบางคนกลัวว่าจะผิดกฎเหล่านี้ มีเด็กหลายคนไม่ยอมมาโรงเรียนในวันที่มีการตรวจผม เพราะกลัวว่าจะถูกลงโทษ บางคนไม่กล้าคิดเรื่องนี้ด้วยซ้ำ ไม่กล้าคิดเกินไปกว่าที่ถูกสั่งให้คิดให้ทำ บางครั้งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นปมด้อยของเด็กคนนั้นไปเลย อำนาจในลักษณะนี้ในทัศนะของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่มีแนวคิดว่าอำนาจเป็นสิ่งที่ผูกติดกับสถานภาพของบุคคล เรียกว่าอำนาจเหนือผู้อื่น (power over others) มีนัยสะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่ากันระหว่างผู้ใหญ่ที่มีสถานะเป็นครู กับเด็กที่มีสถานะเป็นนักเรียน

ราชกิจจานุเบกษา เรื่องระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมนักเรียน พ.ศ.2563

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ผู้เขียนคิดว่าอาจจะทำให้เห็นระบบโครงสร้างอำนาจที่ซับซ้อนอยู่ในเรื่องนี้ และเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออก ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมนักเรียน พ.ศ.2563 ใหม่แล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป แต่เมื่อลองอ่านและวิเคราะห์ตามตัวบท ยังมีบางอย่างที่ยังต้องหาคำตอบที่ชัดเจนว่า อะไรคือทรงผมที่ “เหมาะสม ” และ “ไม่เหมาะสม” กับนักเรียน รวมถึงช่องว่างที่ให้โรงเรียนออกระเบียบเรื่องทรงผมนักเรียนได้อย่างอิสระแต่ต้องไม่ขัดกับกฎกระทรวง ซึ่งความเป็นไปได้อาจจะนำไปสู่การตัดผม สั้นเกรียน สั้นเสมอติ่งหู เหมือนเดิมก็เป็นได้ ถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเหล่านี้ เพื่อสังคมที่สร้างสรรค์ในอนาคต ด้วยทัศนคติที่ดีของเด็กรุ่นใหม่ ผู้เขียนดีใจและสนับสนุนการกระทำของเด็กนักเรียนรุ่นใหม่เป็นอย่างยิ่ง เพราะกล้าทำในสิ่งที่ใครหลายๆคนคิด แต่ไม่มีโอกาสทำ

บทความและเอกสารอ้างอิง

(1)กระทรวงศึกษาธิการ, ข่าวกระทรวงศึกษาธิการ : แนวปฏิบัติทรงผม นร. ปี 2556, เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค. 2563 เข้าถึงได้จาก //www.moe.go.th/แนวปฏิบัติทรงผม นร. (2)ข่าวสด, กรณีนักเรียนหญิงโรงเรียนแห่งหนึ่งใน อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ ถูกลงโทษตัดผมให้แหว่งไม่เป็นทรง, เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค. 2563  เข้าถึงได้จาก //www.khaosod.co.th/around-thailand/news_4444919 (3)จารุณี วงศ์ละคร, วรสารปณิธาณ : วรสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา : อำนาจชีวะในทัศนะของ มิเชล ฟูโกต์ (The Biopower in Michel Foucault’s thought). 2561. (4)ไทยพีบีเอส, ไทยพีบีเอส นิวส์ : ตัดผมหน้าตึก ศธ. ทวงความชัดเจนกฎไว้ทรงผมนักเรียน, เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค. 2563 เข้าถึงได้จาก //news.thaipbs.or.th/content/294245 (5)ไทยพีบีเอส, นโยบาย By ประชาชน : เปิดเสรีทรงผมนักเรียนไทย ( 2 เม.ย. 61), เข้าถึงเมื่อ 24 ก.ค. 2563 เข้าถึงได้จาก //www.youtube.com/watch?v=1n_N61OeB1w&t=446s (6)ประชาไท, จากระเบียบ 'ทรงผม' สู่ระบบ 'โซตัส' : กฎเถื่อนที่ผูกมัด 'นักเรียน' ยัน 'นักศึกษา'  EP.1- EP.2, เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ค. 2563, เข้าถึงได้จาก//prachatai.com/journal/2020/07/88557,//prachatai.com/journal/2020/07/88705

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง