บทบาทการตรวจ สอบ ภายใน สมัยใหม่

การบริการให้ความเชื่อมั่น(Assurance Services) คือ การตรวจสอบหลักฐานอย่างเที่ยงธรรมเพื่อให้ได้มา ซึ่งการประเมินอย่างเป็นอิสระในกระบวนการบริหารความเสี่ยงการควบคุม และการกำกับดูแลขององค์กร เช่น การให้ความเชื่อมั่นทางด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่างๆ”การบริการให้ความเชื่อมั่นประกอบด้วยการประเมินหลักฐานอย่างเที่ยงธรรมโดยผู้ตรวจสอบภายในเพื่อให้ความเห็นหรือข้อสรุปอย่างเป็นอิสระในกระบวนการ ระบบงานหรือเรื่งอื่นๆ โดยผู้ตรวจสอบภายในจะเป็นผู้กำหนดลักษณะและขอบเขตของภารกิจการให้ความเชื่อมั่น ซึ่งจะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ

(1) เจ้าของงาน ได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการ ระบบงานหรือเรื่องอื่นๆ

(2) ผู้ตรวจสอบภายในได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำการประเมิน และ

(3) ผู้ใช้ ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ใช้ผลการประเมิน

ตัวย่างของประเภทของภารกิจการให้ความเชื่อมั่นแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) การให้ความเชื่อมั่นทางการเงิน(Financial Assurance) เป็นการตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อข้อมูลและตัวเลขต่างๆทางการเงิน การบัญชีและรายงานทางการเงินว่ามีการแสดงรายการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสม และเชื่อถือได้ ตลอดจนการประเมินการควบคุมภายในของระบบงานบัญชีและการเงินว่ามีความรัดกุมและเหมาะสมเพียงพอหรือไม่เนื่องจากระบบงานบัญชีและการเงินถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงินและบัญชีของกิจการ
2) การให้ความเชื่อมั่นต่อระบบการควบคุม (Control Assurance) เป็นการตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการควบคุภายในขององค์กร ว่านโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนดขึ้นช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้บริหารในเรื่องความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงาน รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

3) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เป็นการตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยการรวบรวมหลักฐานและประเมินหลักฐานที่ได้เพื่อให้ทราบถึงความน่าเชื่อถือของข้อมูล  การปกป้องดูแลรักษาทรัพย์สินการรักษาความลับ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบงานสารสนเทศทางด้านคอมพิวเตอร์การตรวจสอบประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานตรวจสอบภายในเกือบทุกงานที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการปฏิบัติงาน
4) การปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance) เป็นการตรวจสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อการปฏิบัติงานต่างๆของกิจการว่าได้ปฏิบัติ โดยเป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อกำหนดทั้งจากภายในและภายนอกหรือไม่เพียงใด

5) การดำเนินงาน (Operation) เป็นการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิผล จนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กิจการได้กำหนดไว้

ภารกิจการให้ความเชื่อมั่น

ประเภทของการบริการให้ความเชื่อมั่นนั้นมีหลายประเภทซึ่งการบริการให้ความเชื่อมั่นแต่ลtประเภทมีสาเหตุของการปฏิบัติภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ประเภทและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในมีความสำคัญต่อการกำหนดวิธีการตรวจสอบ ดังนั้นผู้ตรวจสอบภายในควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการปฏิบัติภารกิจการให้ความเชื่อมั่น ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลต่างๆ ดังนี้

  • ภารกิจให้ความเชื่อมั่นกำหนดไว้ในแผนการตรวจสอบประจำปีของกิจการ เนื่องจากพบว่ากิจการมีความเสี่ยงสืบเนื่องหรือความเสี่ยงทั่วไป จากกระบวนการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ผู้ตรวจสอบภายในควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของธุรกิจโดยทั่วไป เพื่อใช้ในการกำหนดแผนการตรวจสอบให้เหมาะสมกับลักษณะของความเสี่ยงที่มีอยู่
  • กิจการกำหนดให้มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน Section 404 ของSarbanes-Oxley Act เพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของผู้บริหาร การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญและความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
  • เนื่องจากกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ได้มีการกำหนดสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ โดยกิจการบางประเภทจะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดหรือแตกต่างจากธุรกิจประเภทอื่นๆ เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น ผู้บริหารจึงกำหนดให้มีการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่กิจการจะละเมิดต่อกฎหมายและข้อบังคับนั้น
  • การเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเช่น ความเสียหายจากภัยธรรมชาติการทุจริต การล้มละลายของลูกค้าผู้ตรวจสอบภายในอาจต้องทำการทดสอบหรือประเมินว่าเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลกระทบกับกิจการหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลาย ปัจจัยที่ส่งผลให้มีการกำหนดภารกิจการให้ความเชื่อมั่นขึ้น ผู้ตรวจสอบภายในควรทราบถึงสาเหตุหรือสิ่งผลักดันที่ทำให้มีการกำหนดภารกิจดังกล่าวขึ้นมา เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าได้มีการกำหนดขอบเขต และวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมตามความต้องการของกิจการ

 

การบริการให้คำปรึกษา

การบริการให้คำปรึกษาลักษณะงานตรวจสอบภายในที่เป็นการบริการให้คำปรึกษาถือเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กรอีกวิธีหนึ่ง ประกอบกับในปัจจุบันนี้หน่วยงานกำกับต่างๆ ผู้สอบบัญชี ผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรได้ให้ความสนใจต่อระบบการควบคุมภายในขององค์กรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบระบบการควบคุมภายในที่ดีและกิจกรรมการควบคุมภายในแก่ผู้บริหาร รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร และการปรับปรุงพัฒนาระบบการควบคุมภายในเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นข้อเรียกร้องพิเศษที่นอกเหนือจากแผนการตรวจสอบภายในประจำปีขององค์กร

มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในได้กำหนดคำนิยามของการบริการให้คำปรึกษา
ดังนี้“การบริการให้คำปรึกษา(Consulting Services) คือ กิจกรรมการให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการที่เกี่ยวเนื่อง แก่ผู้รับบริการ โดยลักษณะและขอบเขตของงานจะเป็นไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้นร่วมกันกับผู้รับบริการและมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า และปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและ การกำกับดูแลขององค์กร โดยไม่เข้าไปร่วมรับผิดชอบในฐานะผู้บริหาร”การบริการให้คำปรึกษามีลักษณะเป็นการให้คำแนะนำและโดยทั่วไปจะให้บริการก็ต่อเมื่อได้รับการร้องขอจากผู้รับบริการเป็นการเฉพาะ ลักษณะและขอบเขตของภารกิจการให้คำปรึกษาจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับผู้รับบริการ ภารกิจการให้คำปรึกษาจะมีผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ

1)ผู้ตรวจสอบภายใน ได้แก่ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา และ

2)ผู้รับบริการ ได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการรับคำปรึกษาในการให้บริการให้คำปรึกษา ผู้ตรวจสอบภายในควรให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม และไม่เข้าไปร่วมรับผิดชอบในฐานะผู้บริหาร

ประเภทของการบริการให้คำปรึกษาการบริการให้คำปรึกษามีลักษณะงานที่กว้างขวาง ซึ่งลักษณะงานบริการให้คำปรึกษาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้บริหารในองค์กรที่ต้องการรับบริการ ในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กรในเรื่องต่างๆ ในปัจจุบันนี้การบริการให้คำปรึกษาได้รับความนิยมจากองค์กรจำนวนมาก ส่งผลให้องค์จำนวนมากเปลี่ยนการเรียกชื่อหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็น “การตรวจสอบภายในและบริการให้คำปรึกษา”ผู้ตรวจสอบภายในควรมีความรู้ ทักษะ และความสามารถอื่นๆที่จำเป็นต่อการให้บริการให้คำ
ปรึกษานั้น เพื่อให้การบริการให้คำปรึกษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ในหลายองค์กรผู้ตรวจสอบภายในได้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยงจากการที่ได้มีโอกาสปฏิบัติงานบริการให้คำปรึกษา เนื่องจากงานบริการให้คำปรึกษาเป็นงานที่มีลักษณะงานที่หลากหลายซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการฝึกฝนทักษะของผู้ตรวจสอบภายในบทบาทของผู้ตรวจสอบภายในในฐานะผู้ให้คำปรึกษาในปัจจุบันนี้บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีต โดยมีบทบาทหน้าที่กว้างขวางมากขึ้น และมีบทบาทสำคัญที่มีผลถึงความสำเร็จขององค์กรตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้บทบาทที่สำคัญของผู้ตรวจสอบภายใน คือ ในฐานะเป็นที่ปรึกษา (Consultant) ผู้ตรวจสอบภายในในฐานะเป็นที่ปรึกษา เป็นการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในประเด็นต่างๆ ตามที่องค์กรต้องการและได้มีการตกลงกันระหว่างผู้ตรวจสอบภายในและผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในปัจจุบันนี้หน่วยงานตรวจสอบภายในขององค์กรบางแห่งได้จัดให้มีการเพิ่มตำแหน่ง “Internal Audit Consultant” หรือ “Senior Internal Audit Consultant” เพื่อช่วยเพิ่มความสำคัญของการบริการให้คำปรึกษาของผู้ตรวจสอบภายในให้เพิ่มมากขึ้น

ผู้ตรวจสอบภายในควรมีทักษะ ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร กล่าวคือ ผู้ตรวจสอบภายในในฐานะผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีทักษะ ความรู้ในหลายๆ ด้านที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ และจะต้องสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หากผู้ตรวจสอบภายในขาดความรู้ ทักษะ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้ตรวจสอบภายในไม่ควรรับงานการให้คำปรึกษา รวมถึงผู้ตรวจสอบภายในจะต้องอาศัยประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติงานในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษามีประสิทธิภาพมากที่สุด หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ตรวจสอบภายในในฐานะผู้ให้คำปรึกษา ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักมาตรฐานวิชาชีพการตรวจสอบภายในและจรรยาบรรณ นอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบภายในควรพัฒนศักยภาพของตนเอง รวมทั้งพัฒนาประสิทธิผลและคุณภาพของการให้บริการคำปรึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

ผู้ตรวจสอบภายในได้ขยายขอบเขตหน้าที่ในการทำงานภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ด้วยบทบาทการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับผู้บริหารขององค์กร ตัวอย่างเช่นการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศการตรวจสอบการทุจริต การพัฒนาและปรับปรุงข้อบังคับ กฎระเบียบ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นการตรวจสอบคุณภาพ              ซึ่งบทบาทดังกล่าวของผู้ตรวจสอบภายในช่วยเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการสอบทาน ประเมิน และปรับปรุงกิจกรรมการควบคุม

ภารกิจการให้คำปรึกษา

ภารกิจการให้คำปรึกษา( Consulting Engagement )ถือเป็นกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำ และบริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้รับบริการ โดยลักษณะและขอบเขตของงานมีความหลากหลายครอบคลุมงานที่หลากหลาย ทั้งนี้จะเป็นไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้นร่วมกันกับผู้รับบริการ และมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า และปรับปรุงกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลขององค์กร โดยไม่เข้าไปร่วมรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานหรือกระบวนงานในฐานะผู้บริหารประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการให้คำปรึกษาผู้ตรวจสอบภายในควรกำหนดคือ เรื่องวัตถุประสงค์และขอบเขตการให้คำปรึกษา โดยผู้ตรวจสอบภายในจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ ขอบเขตความรับผิดชอบ และความคาดหวังอื่นๆ ของผู้รับบริการ  ผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติงานให้คำปรึกษาด้วยความระมัดระวังเยี่ยงวิชาชีพ โดยคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

  1.  ความต้องการและความคาดหวัง ของผู้รับคำปรึกษา รวมทั้งลักษณะของงาน เวลา และการสื่อสารผลของภารกิจ
  2.  ความซับซ้อนและขอบเขตของงานที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของภารกิจ
  3.  ความคุ้มค่าของภารกิจการให้คำปรึกษา ต่อผลประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดแก่องค์กรในการพิจารณาถึงขอบเขตการให้คำปรึกษานั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์อย่างเหมาะสม ตัวอย่าง การให้คำปรึกษาพิเศษ เช่น การมีส่วนร่วมในโครงการการควบรวมหรือซื้อกิจการ การสอบทานกิจกรรมการกอบกู้พิบัติภัย การสอบทานระบบบริหารทรัพยากรองค์กร เป็นต้น

ผู้ตรวจสอบภายในของแต่ละองค์กรจะต้องพิจารณาประเภทการบริการให้คำปรึกษาที่จะให้บริการและประเมินว่าต้องกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะสำหรับแต่ละกิจกรรมหรือไม่ลักษณะของการบริการให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • ภารกิจบริการให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการ บริการให้คำปรึกษาลักษณะนี้ ผู้ตรวจสอบภายในควรวางแผนและมีข้อตกลงกับผู้รับบริการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
  • ภารกิจบริการให้คำปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ บริการให้คำปรึกษาลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับงาน
    ประจำ เช่น การเข้าร่วมในคณะกรรมการประจำ งานโครงการที่มีกำหนดเวลา การประชุมเฉพาะกิจ
  • ภารกิจบริการให้คำปรึกษาพิเศษ เป็นบริการที่เกิดขึ้นในกรณีที่องค์กรมีโครงการพิเศษหรือการปรับ
    โครงสร้างขององค์กร เช่น การเข้ามีส่วนร่วมในทีมงานการควบกิจการและการซื้อกิจการ การเข้ามีส่วนร่วมในทีมงานที่ใช้ระบบใหม่
  • ภารกิจบริการให้คำปรึกษากรณีมีเหตุฉุกเฉิน เป็นบริการให้คำปรึกษาภายหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติหรือเหตุการณ์พิเศษอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ โดยผู้ตรวจสอบภายในอาจเข้าร่วมกับทีมงานที่จัดตั้งเพื่อทำการกู้คืนเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานต่อไปได้ หรือการเข้ามีส่วนร่วมในทีมที่จัดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือชั่วคราวที่จะตอบสนองต่อคำร้องขอเป็นพิเศษ

ภารกิจการให้คำปรึกษามีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการ ดังนั้น ในการวางแผนภารกิจการให้คำปรึกษาผู้ตรวจสอบภายในควรทำความเข้าใจกับผู้รับบริการเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ขอบเขต ความรับผิดชอบ และความคาดหวังอื่นๆ ของผู้รับบริการ ในกรณีที่เป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ตรวจสอบภายในควรบันทึกเรื่องที่ทำความเข้าใจไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานผู้ตรวจ
สอบภายในควรกำหนดทรัพยากรเช่น บุคลากร เวลา เงิน เป็นต้น ให้เหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจของบริการให้คำปรึกษาที่ได้ตกลงไว้กับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงการเพิ่มคุณค่า และการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรตามภารกิจที่ได้กำหนดไว้ ภารกิจให้คำปรึกษามีกระบวนการปฏิบัติงานคล้ายกับภารกิจให้ความเชื่อมั่น โดยกระบวนการให้คำปรึกษาเริ่มต้นด้วยการคัดเลือกภารกิจการให้คำปรึกษาที่จะดำเนินการ

ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่อะไรบ้าง

กลุ่มตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานของกรมอนามัย อำนาจในการเข้าถึงบุคลากร ข้อมูล เอกสาร ทรัพย์สิน รวมถึงข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายใน การให้ข้อคิดเห็น (Comments) ข้อเสนอแนะ (Recommendations) และให้คำปรึกษาต่ออธิบดี รองอธิบดี ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานทุก ...

Audit มีหน้าที่อะไรบ้าง

ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี (ภาษาอังกฤษ: auditors)หรือ CPA (ย่อมาจาก Certified Public Accountant) คือผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตในการทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

การตรวจสอบภายในมีความสำคัญอย่างไร

การตรวจสอบภายในถือเป็นเครื่องมือที่มีส่วนสําคัญที่จะทําให้การดําเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่าง ถูกต้องโปร่งใส เพราะเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุม การรายงานและติดตามผลการ ปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางและวิธีการปฏิบัติงานให้ มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ภายใต้ภาวะ ...

ผู้ตรวจสอบภายในควรมีทักษะในด้านใด

ผู้ตรวจสอบภายในควรมีความเชี่ยวชาญในการสื่อสารทั้งวาจา และลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน มีทัศนคติที่ชัดเจนและเชิงบวก มีจินตนาการและความคิดริเริ่มในการค้นหาแนวทางใหม่ๆ ใน การแก้ไขปัญหาเดิม ๆ เพื่อทาให้ผู้ตรวจสอบภายในมีความ ทันสมัยเกิดขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง