นโยบาย การเงิน การคลัง ม. 5

ผู้ดูแลเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่ง นอกจากรัฐบาลแล้วยังมีธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) ของประเทศนั้นๆ อีกด้วย ฉะนั้นแล้วเราจะได้ยิน "นโยบายการคลัง" รัฐบาลเป็นผู้ควบคุม หรือ "นโยบายการเงิน" ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมจากในข่าวบ่อยๆ ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึง นโยบายการเงินกันครับ

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
  2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในเวลาที่ต่างกัน ยกตัวอย่างในช่วงเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย" เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในประเทศไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือกล่าวคือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตัวอย่าง การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย 

  1. การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เปรียบเสมือนการลดดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลงอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากด้วยเช่นกัน ฉะนั้นหากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จะส่งผลให้สนับสนุนภาคการลงทุนมากขึ้น เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการจ้างงานมากขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีรายได้เพิ่มขึ้น 
  2. การซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนน้อยจนเกินไปหรือเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้การผลิตและการบริโภคลดลง ฉะนั้นธนาคารกลางจะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการนำเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ผ่านการซื้อพันธบัตรจากภาคเอกชนหรือรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เอกชนหรือรัฐบาลได้รับเงินจากการขายพันธบัตรให้กับธนาคารกลาง ทำให้เอกชนหรือรัฐบาลสามารถนำเงินมาใช้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้ และจะส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนและบริโภคตามลำดับ
  3. การปรับลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินฝากจากประชาชนเข้ามา ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ตามกฎหมาย ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจต่อไป ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 10% หมายความว่า ทุกๆ การฝากเงิน 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จะต้องเก็บสำรองไว้ 10 บาท ในขณะที่อีก 90 บาท ธนาคารสามารถนำไปปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ ฉะนั้น หากมีการประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ จะทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

กลับกันหากประเทศกำลังเติบโตอย่างร้อนแรง ธนาคารกลางจะใช้ "นโยบายการเงินแบบเข้มงวด" ซึ่งการดำเนินการจะตรงข้ามกับตัวอย่างด้านบน ตัวอย่างเช่น ปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย, ขายพันธบัตรเพื่อดึงออกจากระบบเศรษฐกิจ หรือเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งที่ธนาคารกลางสามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารกลางสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบใด ซึ่งการใช้นโยบายเหล่านี้ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป จะเห็นได้ว่า นโยบายการเงิน เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต้องพิจารณาการใช้นโยบายให้ดี เพราะจะกระทบเศรษฐกิจออกเป็นวงกว้าง

คีย์เวิร์ดยอดนิยมของ มัธยมปลาย

ค้นหาเนื้อหาที่ต้องการไม่เจอเหรอ? ลองค้นหาใน Q&A ดูสิ!

คำสำคัญ: นโยบายการเงิน

・ตรวจสอบความถูกต้องของการสะกดคำ
・ลองใช้คีย์เวิร์ดอื่น
・ค้นหาจากประเภทของสมุดโน้ตที่เผยแพร่ในหน้าบนสุด หรือจากอันดับรายสัปดาห์

พบ - เนื้อหาที่ตรงกันบน Q&A

          ทั้งนี้ การมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินนโยบายทั้งการเงินและการคลัง จะช่วยให้เราประเมินได้ว่า ในภาวะเศรษฐกิจแบบใด นโยบายการเงินและการคลังควรจะดำเนินไปอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่าทิศทางของภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการปรับตัวของเราทั้งในการวางแผนเพื่อการบริโภคและการลงทุนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

ในแต่ละประเทศ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบเศรษฐกิจคือรัฐบาลและธนาคารกลาง โดยรัฐบาลใช้นโยบายทางการคลังและธนาคารกลางใช้นโยบายทางการเงินในการดูแลระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของนโยบายการเงิน ประเภทนโยบายและผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

นโยบายการเงินคืออะไร

นโยบายการเงิน หมายถึงการออกนโยบายโดยใช้เครื่องมือทางการเงินของธนาคารกลางเช่น อัตราดอกเบี้ย ปริมาณเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน ในการกำหนดต้นทุนการกู้ยืมหรือปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินแตกต่างจากนโยบายการคลังอย่างไร?

นโยบายการเงิน – มีธนาคารกลางเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งการเงินเป็นการดำเนินการทางเงินของสังคมที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
นโยบายการคลัง – มีรัฐบาลเป็นผู้ออกนโยบาย ซึ่งการคลังเป็นการดำเนินการทางการเงินของภาครัฐทั้งรายรับและรายจ่าย

ประเภทของนโยบายการเงิน

นโยบายการเงินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยทั้ง 2 นโยบายต่างใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายคือ นโยบายการเงินที่ธนาคารกลางต้องการให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวเมื่อเศรษฐกิจซบเซาหรือต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดย เช่น

  • การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กล่าวคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลดลง ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากปรับตัวลง เกิดแรงจูงใจกู้ยืมเงินมากขึ้นและฝากเงินน้อยลง ทำให้เกิดการลงทุน การจ้างงานเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว เช่น ในปี 2020 กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการควบคุมโควิด-19
  • การซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน ทำให้เม็ดเงินเข้าสู่ภาครัฐบาลและเอกชน ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เกิดการบริโภค ลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น การทำ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยการใช้เงินเพื่อซื้อพันธบัตรธนาคารพาณิชย์ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อนำมาปล่อยกู้กระตุ้นเศรษฐกิจ
  • การลดสัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดส่วนเกินที่สามารถนำไปปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ เช่น ในปี 2021 ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราเงินสดสำรองธนาคารพาณิชย์มาอยู่ที่ 8.9% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อสู่ระบบได้เพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านล้านหยวน หรือราว 5 ล้านล้านบาท

ในขณะที่นโยบายการเงินแบบตึงตัวคือ นโยบายการเงินที่ธนาคารกลางใช้เพื่อชะลอการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งนโยบายจะตรงกันข้ามกับนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การขายพันธบัตรรัฐบาลหรือเอกชน การทำ QT และการเพิ่มสัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

การใช้นโยบายการเงินในปัจจุบัน

ธนาคารกลางหลายประเทศเริ่มปรับนโยบายการเงิน โดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นและดึงสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ จากภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน หลังการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในช่วงวิกฤติโควิดปี 63

หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed ใช้มาตรการ QT ในการดึงสภาพคล่องกลับสู่ธนาคารกลางและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องปรับนโยบายการเงินตาม Fed จากแรงกดดันของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินในต่างประเทศ

เช่น ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทันทีหลังจาก Fed ขึ้นดอกเบี้ยเนื่องจากฮ่องกงใช้ระบบตรึงอัตราแลกเปลี่ยนแบบเข้มงวด

นอกจากการที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว ภาวะเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางต่างปรับใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว เช่น ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.25% สู่ 1.25% เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ในประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ ได้ทยอยเปลี่ยนนโยบายทางการเงินจากเดิม เช่น ลดหรือหยุดการทำนโยบายการเงินผ่อนคลาย เช่นยกเลิกการทำ QE และหันมาทำ QT แทนของ Fed หรือยกเลิกการควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของธนาคารกลางออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่ไม่ได้ดำเนินนโยบายการเงินตาม Fed หรือปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเดิม เช่น ธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve control) หรือ ธนาคารกลางจีนที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น

ผลกระทบของนโยบายการเงินต่อตลาดทุน

นโยบายการเงินมีอิทธิพลโดยตรงต่อตลาดทุน โดยตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินหรือกู้ยืมเงินระยะยาวที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป โดยสามารถแบ่งออกเป็นตราสารหนี้ระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้) และตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และ กองทุนรวม

ในตลาดทุน การระดมทุนเพื่อลงทุนมาจาก 2 ช่องทางคือผู้ถือหุ้น หรือกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ เช่น ธนาคาร หรือ การออกหุ้นกู้ ซึ่งเมื่อเกิดการกู้ยืมเงิน ผู้กู้ยืมต้องจ่ายคืนผู้กู้ในรูปแบบ “ดอกเบี้ย” ดังนั้นการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงมีผลกระทบต่อตลาดทุน

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทำให้นักลงทุนเพิ่มนํ้าหนักการลงทุนในสินทรัพย์ตลาดทุน เพราะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยลดลงประกอบกับต้นทุนในการกู้ยืมเงินลดลง ทำให้นักลงทุนเลือกลงทุนในตลาดทุนมากขึ้น

ในขณะที่นโยบายการเงินแบบตึงตัวทำให้นักลงทุนเพิ่มนํ้าหนักการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุตราไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรอง ตราสารพาณิชย์หรือเอกสารการค้า และ ใบรับฝากเงินที่เปลี่ยนมือได้ เพราะยิ่งอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารทางการเงินลดลง ทำให้การถือตราสารทางการเงินที่มีอายุสั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า

จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินต้องใช้ความรอบคอบในการออกนโยบาย เพราะวัตถุประสงค์ในการใช้นโยบายทางการเงินคือการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ไม่ให้หดตัวหรือขยายตัวจนเกินไป เพราะเกิดผลเสียได้ทั้งสองทาง นโยบายการเงินจึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง