สถิติการ ป่วย ของคนไทย 2565

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 ตุลาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 27,912 ราย อัตราป่วย 42.18 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วทั้งหมด 25 ราย อัตราตาย ร้อยละ 0.07 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 19 ราย อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 ราย ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ได้แก่ ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูล โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า และได้รับยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จากคลินิกหรือร้านขายยา

กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือจากท่านแจ้งเตือนสถานการณ์การระบาดและการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 และสื่อสารสถานการณ์ดังกล่าวไปยังบุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยมารับการรักษาอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกควรให้การวินิจฉัยและรักษาตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดการรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิต

เว็บไซต์ข่าว NHK รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า กำลังจับตาเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันทั่วประเทศ พุ่งสูงเกินกว่าวันละ 206,000 ราย นับเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขสูงเกิน 200,000 รายนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และนับเป็นการกลับมาแพร่ระบาดรุนแรงระลอกที่ 7 แล้ว 

รายงานข่าวระบุว่า ทางผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของญี่ปุ่นระบุว่า จำนวนคนออกไปเที่ยวสถานบันเทิงในโตเกียว โอซากา และจังหวัดอื่นๆ ระหว่าง 20.00-22.00 น. เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดการแพร่ระบาด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวปลายปีนี้

โดยรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่า มีแผนจะเร่งจัดสรรเตียงผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก และดูแลด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยนอกที่มีอาการ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามข้อระวังการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ขณะเดียวกันรัฐบาลจะจัดประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 23 ธ.ค. เพื่อหารือแนวทางป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่.

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล(จำกัด) เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2565

  • โรงแรม ห้างสรรพสินค้าเมืองโคราช วิกฤต ประกาศ ”ขายกิจการ” เพียบ
  • สำรวจพื้นที่งด-ไม่งดกิจกรรมเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่
  • ส่องคฤหาสน์สุดหรู คู่รักซุปตาร์ฮ่องกง เหลียงเฉาเหว่ย – หลิวเจียหลิง

โดยระบุว่า คนไทยมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความต้องการอยากใช้จ่ายที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และความสุขที่ยังบวกขึ้นอีกเมื่อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยในตอนนี้มูฟออนจากโควิด-19 อย่างแท้จริง

ในช่วงปลายปีนี้ หลายคนมุ่งเน้นเรื่องการเฉลิมฉลอง เตรียมจับจ่ายซื้อของเพื่อตอบสนองตนเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ ของฟุ่มเฟือยเพื่อเป็นของขวัญ หรืออาหารเพื่องานเลี้ยงสังสรรค์ในช่วงเทศกาล 

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อกลับไปหาครอบครัว สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริโภคเชิงบวกอย่างมาก 

ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ได้ให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ต่างๆ เตรียมพร้อมให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายสูงสุดในรอบสองปีนี้ว่า

1.คำว่า “เปิด” เป็นกิมมิคที่ใช้ช่วงนี้แล้วปัง

การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม 

ดังนั้นแบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword “การเปิด” เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้า อัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว เปิดลิฟต์เสพบรรยากาศสวยๆบน rooftop 

2.”ผสมผสาน” คือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ

Advertisement

โควิดฯ ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ไม่เคยทำจนเป็นเรื่องคุ้นเคย แบรนด์ต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ และจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนรวม (Interaction) ช่องการจำหน่าย (Distribution) และการสื่อสาร (Communication) เป็นลูกผสมกันไปเพื่อปิดรอยรั่วในช่วงลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ไหลเข้ามา เช่น หากปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า online เป็นหลัก อาจต้องพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการหน้าร้าน (physical) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หันกลับมาเดินกันมากขึ้น   

การชี้แนะแนวทางให้กับแบรนด์ เป็นผลมาจากการสำรวจของฮาคูโฮโดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมูฟออนจากโควิด-19 ได้แล้วอย่างชิ้นเชิง เนื่องจากอาการป่วยสามารถรักษาให้หายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 

ด้านสิตาพัชญ์ รุจิธันยพัชร์ เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์อาวุโส บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ชี้ประเด็นอ้างอิงจากผลสำรวจแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในเชิง insight พบความสนใจอยู่ 4 ประเด็น ดังนี้ 

1.แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายทุกสถิติในรอบ 2 ปี

แนวโน้มการใช้จ่ายสูงทำลายทุกสถิติในรอบ 2 ปี ที่ 69% โดยเฉพาะสินค้าที่ตอบสนองด้านอารมณ์ เพราะแรงกระตุ้นเชิงบวกจากภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก เทศกาล festive และโปรโมชั่นจากแบรนด์ ล้วนส่งผลให้คนไทยอยาก “ปลดล็อก” จากพันธนาการความกังวลทั้งปวง เช่น การหาของขวัญให้ครอบครัว จับฉลากปีใหม่ พบปะสังสรรค์ โดยสินค้าที่นิยม อาทิ โทรศัพท์ใหม่ เสื้อผ้า collection ใหม่ รถป้ายแดงคันใหม่ ร้านอาหารเปิดใหม่ที่ต้องไปลอง 

2.ความสุข ความเอนจอยเพิ่มสูงขึ้น 

ด้วยนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามา โบนัสที่กำลังรอรับ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น คนไทยมองว่า “ไม่มีความสุขน้อยลงไปกว่านี้อีกแล้ว” นี่คือเสียงสนองของคนไทยผ่านตัวเลข แต่จะมีแต่ความสุขที่มากขึ้น (+1%) โดยเฉพาะจากสาวๆ (+2%) สะท้อนให้เห็นถึง “ความเชื่อ” ที่มีทิศทางบวกในปี 2566 ที่จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามา   

3.คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น

คนกรุงเทพฯ ตื่นเต้น วัยรุ่นเน้นช็อปเพื่อ self-branding สูงวัยเน้นช็อปเพื่อ reconnect 

คนกรุงเทพฯ กลับมามีคะแนนบวกสูงสุดที่ +7% เนื่องด้วยการเตรียมตัวซื้อของฝาก ส่งเงินให้ที่บ้าน และเดินทาง ท่องเที่ยวที่มากกว่าภาคอื่น 

ขณะที่คนเหนือกลับติดลบ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ค่าตั๋วเครื่องบินที่ปรับราคาสูงขึ้นซึ่งอาจเกิดการชะลอตัวในการเดินทาง 

วัยรุ่นและวัยทำงานช่วงอายุ 20-39 เน้นการจับจ่ายที่แสดงความเป็นตัวตน รวมถึงไปร่วมกิจกรรมเพื่อทำคอนเทนท์โซเชียลในอีเวนท์เทศกาลต่างๆ 

วัยกลางคนช่วงอายุ 40-59 จับจ่ายเพื่อสานสัมพันธ์ ซื้อของฝาก ของขวัญแก่ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย

4.พักงานไว้ก่อน เพราะชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง 

คนไทยเข้าสู่โหมดอยากพักผ่อนช่วงปีใหม่ แต่ก็กังวลใจเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความสำคัญด้านความปลอดภัย เข้ามีติดอันดับ Top 5 สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้ชีวิตแบบ “balance life” คือ ถึงแม้จะอยากเต็มที่กับความสุข แต่ยังใช้ชีวิตแบบระมัดระวังกับเหตุการณ์รอบตัวด้วย เช่น การเดินทาง การเลือกสถานที่เที่ยว หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เปลี่ยนมุกรายวัน  

คนไทยสนใจโควิดน้อยลง

ขณะที่ พร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิจัยการตลาดและกลยุทธ์ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย อธิบายความสนใจบ้านเมืองของคนไทยในภาพรวมว่า ในปัจจุบันความสนใจของผู้คนมีความผันผวนตลอดเวลาจากสถานการณ์บ้านเมืองที่มีให้ตกใจรายวัน เช่น ข่าวการกราดยิง ข่าวน้ำท่วม ข่าวการเมืองที่ยังคงร้อนแรง หรืออื่นอีกหลายข่าวที่ปรากฎใน Top10 จนทำให้คนไทยไม่มีความสนใจเรื่องข่าวสารหรือความกังวลของโควิด-19 อีกแล้ว 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรจะตั้งข้อสังเกตุคือ คนไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะเสพข่าวแบบมีสติและเหตุผลมากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเนื้อหาของข่าวนั้นเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะได้รู้เนื้อหาของข่าวทั้งหมด และช่วยกัน comment เพื่อดึงสติไม่ให้ไหลไปตามกระแสอารมณ์ของโซเชียล

ซึ่งทีมมองว่าเป็นนัยยะที่ดีและคาดหวังว่าคนไทยจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีสติ และรู้เท่าทันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในปีหน้าทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องจนผ่านมาได้ถึงช่วงท้ายปีนี้ ถึงเวลาพักเรื่องการทำงานเข้าสู่โหมดการพักผ่อนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เลิกเครียดโควิด-19 คิดบวก มองว่าเป็นสิ่งที่สามารถรักษาหายได้ พร้อมมูฟออนเพื่ออนาคตที่สดใสอย่างเต็มที่”

คนไทยป่วยเป็นโรคอะไรมากที่สุด 2565

หมายเหตุ* อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ตารางที่2 อัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สูงที่สุด อันดับแรกในปี 2565 เขต สุขภาพที่9.

คนไทยป่วยเป็นโรคอะไรมากที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใด มะเร็งลำไส้, มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งเต้านม ก็ล้วนแล้วแต่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วนักต่อนัก สถิติการเป็นมะเร็งของคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 70,000 คน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ มะเร็งยังครองแชมป์การเป็นโรคที่มีคนเป็นมากที่สุดในประเทศ อันดับที่ 1 ถึง 5 ปีซ้อน และมีผู้เสียชีวิตไปด้วยโรคนี้ถึงปีละ ...

โรคติดต่อใด มีอัตราการเสียชีวิตอันดับ 1 ทั่วโลก

เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีต้นตอมาจากสัตว์ปีก มีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกถึง 50 ล้านคน นับเป็นโรคติดต่อที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดนับแต่เหตุการณ์ Black Death โดยทฤษฎีแรกการกำเนิดของไข้หวัดใหญ่ชนิดนี้ คาดว่าเชื้อไวรัสน่าจะติดมากับกลุ่มแรงงานชาวจีน แล้วไปกลายพันธุ์ที่อเมริกา แต่สุดท้ายสถานที่ที่เกิดการระบาดร้ายแรงที่สุด ...

คนไทยเสียชีวิตกี่คนต่อปี

และอีกหนึ่งประเด็นที่นำไปสู่ความน่ากังวลเป็นลำดับต่อมา คือ 'อัตราการตาย' ของปี 2564 ที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางการเกิดใหม่ของประชากรในประเทศไทยอย่างน่าตกใจ ซึ่งมีอัตราการตาย จำนวน 563,650 ราย ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง