มา ย แม พ เรื่อง ระบบนิเวศ

    เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและพืชน้ำ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ เป็นแหล่งที่ให้น้ำในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจืด พืช เช่น จอก สาหร่าย แหน เป็นต้น สัตว์ เช่น หอย ปลาต่าง ๆ กุ้ง เป็นต้น

@st.kan_nam

mind map ระบบนิเวศ👩🏻‍🔬🧪🍃✨ #ระบบนิเวศ #มายแมพ #studygram #studygramthailand #dek67 #fyp #mindmap

♬ เสียงต้นฉบับ - ᴛʀᴇᴀsᴜʀᴇ - ᴛʀᴇᴀsᴜʀᴇ

1.ระบบนิเวศ คือ  หน่วยพื้นที่หนึ่งประกอบด้วยสังคมของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ร่วมกัน เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นระบบ ระบบนิเวศมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่ปกติครอบคลุมพื้นที่เฉพาะจำกัด

ประเภทของระบบนิเวศ

1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน  

2. ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก  ซึ่งโครงสร้างหลัก คือ น้ำนั่นเอง 

องประกอบค์ของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศบนโลกถึงแม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย
อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น

2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่
ผู้ผลิต (producer)
ผู้บริโภค (consumer)
ผู้ย่อยสลาย (decomposer)

ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองด้วยแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด
ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น
– สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore) เช่น วัว ควาย กระต่าย
และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ
– สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivore) เช่น เสือ สุนัข กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ
– สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์ ซึ่งเป็นลำดับการกินสูงสุด (omnivore) เช่น มนุษย์
ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอินทรีย์ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้ง 3 กลุ่มในระบบนิเวศ จะมีการถ่ายเทพลังงานเป็นทอดจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค การไหลเวียน การถ่ายทอดพลังงานเป็นทอดๆ นี้ เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (food chain)

ห่วงโซ่อาหาร คือ ระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ

สายใยอาหาร คือ ระบบนิเวศจำนวนน้อยที่ประกอบไปด้วยห่วงโซ่อาหารเดี่ยวๆโดยไม่มีสาขาย่อยๆ ผู้บริโภคแรกเริ่มหลายรูปแบบมักจะกินพืชชนิดเดียวกันและผู้บริโภคแรกเริ่มชนิดเดียวอาจกินพืชหลายชนิดดังนั้นสาขาย่อยของห่วงโซ่อาหารจึงเกิดขึ้นในระดับการกินอื่นๆด้วย ตัวอย่างเช่น กบตัวเต็มวัยซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสองกินแมลงหลายชนิดซึ่งอาจถูกกินโดยนกหลายชนิด นอกจากนี้แล้ว ผู้บริโภคบางชนิดยังกินอาหารในระดับการกินที่แตกต่างกัน นกฮูกกินหนูซึ่งเป็นผู้บริโภคแรกเริ่มที่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด แต่นกฮูกอาจกินงูซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่กินเนื้ออีกด้วย สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย(omnivore) จะกินทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในระดับการกินต่างๆ ดังนั้นความสัมพันธ์เชิงการกินอาหารในระบบนิเวศจึงถูกถักทอให้มีความละเอียดซับซ้อนมากยิ่งขึ้นจน

การถ่ายทอดพลังงาน

1. พีรามิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต (pyramid of number) แสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตเป็นหน่วยตัวต่อพื้นที่ โดยทั่วไปพีระมิดจะมีฐานกว้าง ซึ่ง หมายถึง มีจำนวนผู้ผลิตมากที่สุด และจำนวน ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ลดลงมา แต่การวัดปริมาณพลังงานโดยวิธีนี้ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ไส้เดือน จะนับเป็นหนึ่งเหมือนกันหมด แต่ความเป็นจริงนั้นในแง่ปริมาณพลังงานที่ได้รับหรืออาหารที่ผู้บริโภคได้ รับจะมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูปแบบในรูปของพิรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต

2. พีระมิดมวลชีวภาพ ( pyramid of biomass )คล้ายกับพีระมิดจำนวนแต่ขนาดของพีระมิดแต่ละขั้นจะบอก ถึงปริมาณหรือมวลชีวภาพของ สิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้น ของห่วงโซ่อาหาร

3. พีรามิดพลังงาน (pyramid of energy) เป็นปิรามิดแสดงปริมาณพลังงานของแต่ละลำดับชั้นของการกินซึ่งจะมีค่าลดลงตามลำดับขั้นของการโภค

การหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ

1. วัฏจักรน้ำ ศึกษาการหมุนเวียนของน้ำในระบบนิเวศจากรูปต่อไปนี้

การหมุนเวียนของน้ำในระบบนิเวศมี 2 แบบ คือ

1.1 การหมุนเวียนน้ำโดยไม่ผ่านสิ่งมีชีวิต เริ่มจากน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เช่น แม่น้ำ ทะเล น้ำในดิน ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์แล้วเกิดการระเหยเป็นไอน้ำขึ้นสู่บรรยากาศ เมื่อกระทบกับความเย็นในบรรยากาศจะควบแน่นเป็นละอองน้ำ แล้วเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ ตกลงมาเป็นฝน ลูกเห็บ หรือ หิมะสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

1.2 การหมุนเวียนโดยผ่านสิ่งมีชีวิต เริ่มจากสิ่งมีชีวิตกินน้ำแล้วขับถ่ายออกมาในรูปปันสาวะการหายใจของสัตว์ การคายน้ำของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ซึ่งระเหยเป็นไอน้ำขึ้นสุ่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนคืนกลับให้พืชและสัตว์ต่อไป

2 .วัฏจักรคาร์บอน ศึกษาการหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนในระบบนิเวศจากรูปต่อไปนี้

การหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนในระบบนิเวศมีผู้ผลิตคือพืชเป็นสิ่งสำคัญ โดยพืชใช้ธาตุคาร์บอนที่อยู่ในรูปของแก๊สคารืบอนไดออกไซด์ในการสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อสัตว์กินพืช คาร์บอนจะเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ เมื่อพืชและสัตว์ตาย ผู้สลายสารอินทรีย์จะย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะได้แก๊สคารืบอนไซด์กลับคืนสู่บรรยากาศ นอกจากนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสามารถละลายน้ำได้ ทำให้พืชน้ำใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์รวมตัวกับน้ำบางส่วนจพได้สารประกอบไฮโดรเจนคารืบอเนต ในน้ำโดยแหล่งน้ำตามธรรมชาติจะมีแคลเซียมละลายอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งจะสามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอเนตได้และทำให้เกิดหินปูนขึ้นและหินปูนก็สลายให้คารืบอนบอเนตได้ เมื่ออยู่ในสภาวะเป็นกรด

3. วัฏจักรไนโตรเจน ไนโตรเจนเป็นธาตุที่พบในรูปของแก๊สไนโตรเจน ในอากาศซึ่งมีแก๊สไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร นอกจากนี้จะพบไนโตรเจนในรูปของโปรตีนในสัตว์ พืช และปุ๋ย ซึ่งอยู่ในดินน้ำตามธรรมชาติ และในปัสสาวะ สัตวืจะมีสารประกอบของไนโตรเจนออกมากับปัสสาวะ การหมุนเวียนของธาตุไนดตรเจนในระบบนิเวศศึกษาได้จากรูปต่อไปนี้

การหมุนเวียนของธาตุไนโตรเจนเริ่มตันที่พืช พืชจะใช้สารประกอบของธาตุไนโตรเจนที่อยู่ในรูปไนเตรตนำไปสร้างโปรตีนในพืช เมื่อสัตว์กินพืชจะเปลี่ยนไนโตรเจนไปเป็นโปนตีนในสัตว์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อในร่างกาย บางส่วนนำไปเผาผลาญเพื่อให้พลังงาน และสัตว์จะขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะในรูปกระยูริก ไนดตรเจนจึงกลับเข้าสู่ธรรมชาติ เมื่อสัตว์ตาย ตามลำดับ ซึ่งพืชนำสารประกอบไนเตรตบางส่วนไปใช้เป็นปุ๋ย บางส่วนจะถูกดีไนตริไอิงแบคทีเรียเปลี่ยนกลับไปเป็นแก๊สไนโตรเจนและไนโตรเจนมอนอกไซด์ ในธรรมชาติจะมีแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งคือไนโตรเจนฟิกซึงแบคทีเรีย ซึ่งอาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่วสามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนในบรรยากาศแล้วเปลี่ยนเป็นป๋ยไนเตรตสำหรับพืชใช้ในการเจริฐเติบโต ส่วนซากสัตว์น้ำที่ตายมาทับทมกันกลายเป็นปิโตรเลียม การเผาไหม้ปิโตรเลียมในโรงงานอุตสาหกรรมจะทำให้เกิดแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์กลับคืนสู่บรรยากาศได้อีก

ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรขึ้นอยู่กับอัตราที่มีสมาชิกใหม่เข้ามาในกลุ่มประชากรนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราที่มีสมาชิกออกจากกลุ่มประชากรนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรดังกล่าวแล้วได้แก่

อัตราการเกิด
การเกิดเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกใหม่ในกลุ่มประชากรเป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ อัตราการเกิด (birth rate) คำนวณได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่ต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตนั้นจำนวน 1,000 ตัว

ตราการตาย
การตายเป็นการลดจำนวนสมาชิกในกลุ่มประชากร อัตราการตาย (death rate) คำนวณได้จากจำนวนสิ่งมีชีวิตที่ตายต่อจำนวนสิ่งมีชีวิตนั้นจำนวน 1,000 ตัว

การอพยพ
การอพยพ (migration) มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ทั้งเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง ทำให้จำนวนสมาชิกสิ่งมีชีวิตนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดจำนวนลงได้ ซึ่งการอพยพดังกล่าวนี้มี 2 ลักษณะ คือ

1. การอพยพเข้า (immigration) เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งอื่นเข้ามารวมกลุ่มกับประชากรที่มีอยู่เดิมทำให้จำนวนประชากรในแหล่งนั้นเพิ่มจำนวนขึ้น
2. การอพยพออก (emigration) เป็นการเคลื่อนย้ายสิ่งมีชีวิตจากประชากรแหล่งเดิมออกไปสู่แหล่งใหม่มีผลทำให้จำนวนประชากรในแหล่งนั้นลดจำนวนลง

องค์ประกอบประชากรที่สงผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากร 3 ประการคือ

1. การเกิดหรือภาวะเจริญพันธุ์

2. การตาย

3. การย้ายถิ่น

การเกิดหรือภาวะเจริญพันธุ์(Births or Fertility)

การเกิดเป็นกรรมวิธีที่ทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. การเกิดมีชีพ (Live-Birth) เป็นการคลอดของทารกที่คลอดออกจากครรภ์มารดาไม่ว่าจะครบกำหนดหรือไม่ แต่ถ้าคลอดออกมาแล้วอยู่รอดเพียง 1 วันก็ถือว่าการเกิดมีชีพทั้งนั้น

2. การเกิดไร้ชีพ (Still-Birth) เป็นการตายของทารกก่อนคลอดหรือระหว่างคลอด โดยที่เป็นการคลอดหลังจากสตรีตั้งครรภ์ได้ 5 เดือนไปแล้ว และทารกนั้นตายก่อนหรือตายในขณะคลอดปกติ สตรีแต่ละคนมีความสามารถในการให้กำเนิดบุตรไม่เท่ากัน วิสัยสามารถของสตรีที่จะมีบุตรได้ตลอดวัยเจริญพันธุ์เรียกว่า ความสามารถในการมีบุตร จำนวนบุตรที่เกิดขึ้นจากบุคคลหนึ่งหรืบุคคลใดเรียกว่าภาวะเจริญพันธุ์ การศึกษาภาวะเจริญพันธุ์ใช้มาตรการวัดหลายมาตรการ ที่นิยมใช้มากได้แก่

1. อัตราการเกิดหรืออัตราการเกิดอย่างหยาบ ( Crude Birth Rate ) คือจำนวนคนเกิดในแต่ละปีต่อประชากรในวันกลางปี 1000 คน มีประโยชน์ในการชี้ให้เห็นผลกระทบของภาวะเจริญพันธุ์

2. อัตราการเจริญพันธ์ทั่วไป ( General Fertility Rate) คืออัตราที่หาได้จากจำนวนคนเกิดใน 1 ปีต่อสตรีในวัยเจริญพันธุ์

3. อัตราการเจริญพันธุ์ตามหมวดอายุของสตรี ( Age Specific fertility Rate) คือจำนวนเด็กที่เกิดจากสตรีในแต่ละหมวดอายุในวันเจริญพันธุ์ใน1 ปีต่อสตรี 1000 คนในหมวดอายุเดียวกัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญพันธุ์

1.อายุแรกสมรส

2. ระยะเวลาที่อยู่ร่วมกัน

3. ความพอใจในบุตรที่เป็นเพศชาย

4. ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในเมืองและชนบท

5. การเข้าร่วมแรงงานและประเภทอาชีพของสตรี

6. ระดับค่าครองชีพและค่าใช้จ่าย

7. ค่านิยมเรื่องขนาดของครอบครัว

8. ขนบธรรมธรรมเนียมและศาสนา

9. ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการคุมกำเนิด

10. นโยบายของรัฐ

การตาย (Death)

การตายคือการสูญสิ้นอย่างถาวรของหลักฐานทั้งมวลเกี่ยวกับการมีชีวิตขณะใดขณะหนึ่ง ภายหลังการเกิด การตายทำให้ประชากรมีขนาดเล็กลงและทำให้ประชากรเปลี่ยนแปลงในด้านองค์ประกอบและการกระจายตัวเชิงพื้นที่

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะ การตาย

1. ภัยธรรมชาติและการขาดแคลนอาหาร

2. โรคระบาด

3. ภาวะทางเศรษฐกิจ

4. ภาวะทางสังคม

5. การแพทย์และสาธารณสุข

6. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. อุบัติเหตุจากการคมนาคม

8. สงคราม

ทรัพยากรธรรมชาติ คือ สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)

 สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย
สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1) มนุษย์
2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด รวมทั้งการสงวน เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น สามารถให้ผลได้อย่างยาวนาน

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรามีผลดีต่อคุณภาพชีวิต นั่นก็คือ จะต้องดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะมลพิษ ที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ปลอดภัย นั่นเอง

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ได้นานที่สุด รวมทั้งการป้องกันไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นการทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การปลูกป่าไม้เพิ่มเติม การจัดระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยในท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพของเชื้อเพลิง การพัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อลดปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และไอเสียของรถยนต์ที่เป็นพิษ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง