ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน

           ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากจำนวนประชากรมนุษย์ในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก  และรวดเร็ว 
ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทาง
           ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ  ตามมา  แต่การพัฒนาของประเทศต่าง ๆ  
ทั่วโลกที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโตของภาค
อุตสาหกรรม  และการส่งเสริมการบริโภคของประชากรภายในประเทศให้สูงขึ้น  การพัฒนาดังกล่าวจึงเป็นการเร่งรัด
ให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว  
 จนกระทั่งทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวมเร็วมากเกินกว่าระดับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ 
 จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมขึ้นภายในประเทศของตน  ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศในโลกจึงหันมาให้ความสนใจที่จะช่วยกันและร่วมมือกันป้องกัน
และแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ซึ่งกระบวนการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง  ๆ    ให้ความสนใจมากที่สุดในปัจจุบัน  คือ  การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  
(
Environment  sustainable  development)   สำหรับประเทศไทย
ได้เริ่มให้ความสนใจในแนวคิด เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   
ฉบับที่    7   (พ.ศ. 2535 - 2539)  โดยเน้นการพัฒนาชนบทให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเน้นการกระจายรายได้     
ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

องค์ประกอบของสังคมที่การพัฒนาที่ยั่งยืน

           1.   ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ทรัพยากร  เช่น  ปริมาณแหล่งน้ำและความเพียงพอของน้ำใช้ในปัจจุบัน  การใช้พลังงานทดแทนอย่างอื่น  ทั้งจากธรรมชาติและจากการประดิษฐ์ขึ้น 
 ได้แก่ พลังงานน้ำ  พลังงานลม  พลังงานความร้อนใต้พิภพ    พลังงานแก๊สชีวภาพ   
และพลังงานแสงอาทิตย์   และมีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

           2.   เศรษฐกิจที่มั่นคงของชุมชน  คือ  มีการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนมีเศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่องและควบวงจร

           3.   คุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชน  เช่น  มีการอยู่ดีกินดี  อยู่ในที่ที่มีอากาศดี  ปราศจากมลภาวะ  
มีการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างถูกต้องตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่   มีบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง 
มีการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง  เป็นต้น

หลักการการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

หลักการที่นำไปสู่ความยั่งยืน      สรุปได้  3  ประการ  ดังนี้  

           1.   รักษาและกระตุ้นให้เกิดความหลากหลาย  การพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนมีหลายแนวทางทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม 
 และการเมือง  มนุษย์จึงควรรักษา  และกระตุ้นให้เกิดความหลากหลายโดยไม่ผูกขาดเฉพาะรูปแบบที่ถูกต้องที่สุด
หรือสมบูรณ์ที่สุดของวัฒนธรรม จริยธรรม  ศาสนา    และสังคม   เพียงแนวทางใดทางหนึ่งเท่านั้น

           2.   ดำเนินการพัฒนาหรือสร้างระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาสิ่งแวดล้อมและเวลาในอนาคตเข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ

           3.   ต้องแสวงหาแนวทางที่เห็นร่วมกันบนพื้นฐานของสิ่งแวดล้อม  สังคม  วัฒนธรรม  และศีลธรรม  ที่มีความหลากหลาย

แนวทางการปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

แนวทางในการปฏิบัติที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  มีดังนี้

        1.  การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ควรดำเนินการดังนี้

                        1.1  การอนุรักษ์สสารและวงจรการหมุนเวียน  ซึ่งเป็นความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ

                        1.2  จำกัดการปล่อยของเสีย  เพื่อรักษาความสามารถของธรรมชาติในการจัดการกับของเสีย

                        1.3  รักษาความหลากหลายของระบบนิเวศแบบต่าง ๆ  ที่มีความสัมพันธ์กันบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  
เพื่อควบคุมความสามารถในการสร้างผลผลิตของธรรมชาติไว้

            2.  การใช้ทรัพยากรอย่างมีอย่างประสิทธิภาพ  ควรดำเนินการดังนี้

                        2.1  ทำให้เกิดความยุติธรรม  โดยอาศัยหลักการว่า  ใครทำคนนั้นต้องจ่าย

                        2.2  ให้การชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ที่ก่อนให้เกิดปัญหา

                        2.3  มีมาตรการชดเชยแก่การผลิตที่สร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจมีกำไรน้อยในระบบธุรกิจ

                        2.4  กระจายสิทธิและรับรองสิทธิในการใช้ทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนในสังคมอย่างเสมอภาค

                        2.5  ให้ความคุ้มครองทรัพยากรไปพร้อมๆ  กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

                        2.6  ต้องควบคุมอย่าให้สังคมต้องจ่ายค่าชดเชยเพื่อปกปิดปัญหานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม

                        2.7  ดำเนินการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทางเทคนิค

                        2.8  ส่งเสริมและกระตุ้นการหมุนเวียนผลผลิตที่เลิกใช้แล้ว  และหาวิธีการยืดอายุผลิตภัณฑ์

            3.  การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง  โดยการปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้

                        3.1  ใช้กลไกการตลาดตามระบบปกติ

                        3.2  ส่งเสริมเจตคติที่ดีของสังคมต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

                        3.3  ยึดหลักความยุติธรรมในสังคม  ถ้าใครต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  จะต้องยอมจ่ายเงินตามมูลค่าที่เป็นจริง
ของทรัพยากรนั้น  ๆ ไม่ใช่ระบบผูกขาด
          
3.4  ถ้านโยบายของรัฐใด   ๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อกลุ่มชนต่าง ๆ  ในสังคม  รัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเลือก  นโยบายเกื้อหนุนกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมนั้น  ๆ  เพราะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส
และยากจนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว
          
3.5  รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเมือง

            4.  การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต  โดยวิธีการดังนี้

                        4.1  หลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม

                        4.2  เมื่อมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือเทคนิคที่อาจจะมีผลกระทบ  ให้เลือกการตัดสินใจในทางที่รอบคอบ   
โดยยึดหลักการปลอดภัยไว้ก่อนว่า    ถ้ามีความไม่แน่ใจก็ให้ระงับโครงการนั้น  ๆ   ไว้จนกว่าจะได้ข้อมูลที่เพียงพอ

                        4.3  เพิ่มความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  เศรษฐกิจ  และสังคม    
เนื่องจากความหลากหลายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปรับตัวให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ที่อาจจะมี

                        4.4  รักษามาตรการทางการเงินให้สะท้องความเป็นจริงของสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น  และให้มีเสถียรภาพ

            5.  หยุดการเจริญเติบโตขอประชากร  โดยมาตรการต่าง  ๆ  เช่น  การให้การศึกษา  หรือการขยายระบบการศึกษาภาคบังคับ  เป็นต้น

            6.  การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มคนที่ยากจน 

            7.  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป  แนวทางปฏิบัติมีดังนี้

                        7.1  ลดการใช้พลังงาน  เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
และการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน

                        7.2  สงวนรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  โดยการสร้างความรู้ความเช้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนในชุมชน 
เพื่อให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และเกิดจิตสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

                        7.3  ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด  เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตทางอุตสาหกรรมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                        7.4  เปลี่ยนพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภค  เพื่อลดปริมาณขยะและของเสีย  โดยการ  ลดการใช้ (reduce)  การใช้แล้วใช้อีก  (reuse)  การแปรใช้ใหม่ (recucle)  และการซ่อมแซม (repair)

ที่มา: //www.oknation.net/blog/evironmental/2011/09/25/entry-1

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง