ข่าว ละเมิดสิทธิ ส่วน บุคคล ดารา

อยู่ดีๆ ดาราสาว พลอย ภัทรากร ก็ถูกจับโยง จับตาเรื่องความสัมพันธ์กับเวียร์ ศุกลวัฒน์ และแม้เจ้าตัวจะออกมาปฏิเสธว่าไม่มีอะไร ‘ข่าวเขาว่า’ ต่างๆนานาไม่เป็นความจริง

Advertisment

อย่างไรก็ดีคนบางส่วนก็ยังคงวิพากษ์วิจารณ์เธออย่างหนัก ขณะเดียวกันการนำเสนอของสื่อบางสื่อก็ไม่เหมาะสม โดยพลอยได้เล่ารายละเอียดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เธอได้รับความกระทบกระเทือนต่อจิตใจจนต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ รวมถึงโดนเลื่อนงาน จากการนำเสนอสื่อที่ไม่เป็นความจริง

โดยพลอยให้รายละเอียดว่า

Advertisement

‘พลอยเข้าใจดีว่าในวงการบันเทิง สื่อกับคนทำงานในวงการเราพึ่งพาช่วยเหลือกัน เช่นข่าวอัปเดตผลงาน หรือเรื่องราวส่วนตัว ให้ออกสู่สาธารณะ

แต่ความ “บันเทิง” มันต้องมีขอบเขต
สิ่งที่เกิดขึ้นกับพลอยคือการเอาภาพ วิดีโอต่างๆของพลอย มาเชื่อมโยงกันไปเองพร้อมกับเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง แล้วสื่อบางสื่อก้อเอามาเล่นข่าว โดยขาดการตรวจสอบ ซึ่งหากต้องการนำเสนอความจริงก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะสืบหาข่าววงในที่เป็นข่าวจริง ไม่ใช่การล่าแม่มดแบบที่พลอยโดนอยู่

ตอนที่มีข่าวว่าเป็นมือที่สาม พลอยก็ไม่ได้อิดออดไม่หนีไปไหน รีบออกมาชี้แจง และตอบคำถามด้วยความชัดเจนและจริงใจ

Advertisement

แต่เรื่องก็ไม่จบ มีการหาหลักฐานมาหักล้างในสิ่งที่พลอยพูดให้ได้

เราได้ยินกันมานาน ถึงการพาดหัวข่าวด้วยคำไม่กี่คำ รูปไม่กี่รูป วีดิโอไม่กี่วินาที การนำเสนอเรื่องราวที่ไม่เป็นเรื่องจริง การชี้นำให้เกิดการเข้าใจผิด จนก่อให้เกิดความเสียหาย เรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับใครเลยด้วยซ้ำ

และสิ่งที่ทำร้ายจิตใจพลอยมากที่สุดคือ วันที่พลอยเข้าไปที่ปอท.ครั้งแรก มีคุณลุงสื่อท่านหนึ่งได้ขออนุญาตทำข่าว ทางเราได้ปฏิเสธอย่างสุภาพว่า “ไม่พร้อมให้ทำข่าว” เพราะว่าสภาพจิตใจพลอยไม่พร้อมมากๆ เพราะมีภาวะเครียดและไม่ได้นอนมาหลายคืน

แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือการ “แอบถ่ายภาพของพลอย” ระหว่างที่กำลังปรึกษากับคุณตำรวจ และระหว่างทางที่พลอยเดินไปเข้าห้องน้ำคนเดียว ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น ภาพทั้งหมดขึ้นสู่สื่อออนไลน์

สำหรับพลอยแล้วนี้เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่ร้ายแรง และไม่เคารพความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเลย

วันนี้เราต้องมาตั้งคำถามเรื่องจรรยาบรรณของสื่อบางสื่อกันแล้วค่ะ

เกือบ2สัปดาห์มานี้ สิ่งที่พลอยต้องเผชิญคือ พลอยถูกเข้าใจผิด ถูกด่าทออย่างเสียหายพลอยเสื่อมเสียชื่อเสียง กระทบกระเทือนต่อจิตใจจนต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และโดนเลื่อนงาน จากการนำเสนอสื่อที่ไม่เป็นความจริง

สุดท้ายนี้พลอยขอขอบคุณครอบครัว พี่ๆเพื่อนๆ ทุกคนที่ออกมาปกป้องพลอย และให้กำลังใจพลอยค่ะ ขอบคุณจากหัวใจ 🤍’

อัพเดทข่าวบันเทิงได้ใน รายการ POP NEWS DAILY ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9.00 – 09.15 น. , รายการ เข้มบันเทิง ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 20.00 น. และรายการ POP NEWS วันอาทิตย์เวลา 18.20 น. ทาง PPTV HD ช่อง 36 หรืออ่านข่าวประเด็นฮอตวงการบันเทิงได้ทาง ข่าวบันเทิง

1. การเสียชีวิตของดาราคนดัง แตงโม-ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นเรื่องใหญ่ที่ยึดครองพื้นที่ข่าวทั้งสื่อหลัก สื่อรอง สื่อใหม่ ทั้งสื่อออนไลน์และสื่อกระดาษ ตลอดจนในบทสนทนาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ออนไลน์และพลเมืองดิจิทัล ที่ทำตัวเป็นนักข่าวเป็นสื่อมวลชนกันทุกที่ทุกทางและทุกผู้ทุกคน เรื่องราวของแตงโมยังไม่ลดราความเป็นดราม่าเรตติ้งสูงจนทุกวันนี้

2. นอกเหนือจากการรายงานของสำนักข่าวที่เต็มไปด้วยสีสันว่าด้วยเบื้องหน้าเบื้องหลังของชีวิตส่วนตัวของดาราคนดัง เบาะแสร่องรอยที่ทำให้เกิดเหตุจนดาราสาวต้องเสียชีวิต การคาดเดาวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือฆาตกรรม แง่มุมรายละเอียดต่างๆที่แวดล้อมเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ ประจักษ์พยานทั้งบุคคลและวัตถุสิ่งของ จากข้อมูล (ที่ต่างอ้างว่าเป็น) ข้อเท็จจริง มาจนถึงบทวิเคราะห์โดยนักวิเคราะห์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวงการ จากแวดวงการสืบสวนดำเนินคดี มาจนถึงนิติวิทยาศาสตร์ จากเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม จนถึงเรื่องเล่าจากคนใกล้ชิด จนถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังของชีวิตส่วนตัวของคนหนึ่งคน ที่มาของข่าวและแหล่งข่าวต่างๆ ล้วนเป็น “ข้อมูล” ของแตงโมทั้งนั้น การเปิดเผยเอกสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการดำเนินคดีจึงเป็นเบื้องต้นที่สุดที่ต้องมาพิจารณากัน

3. ทั้งที่จริงแล้ว ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของดาราสาวเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ชัดเจน แต่เมื่อมาดูกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องโดยตรงคือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งให้นิยามความหมายของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ว่าหมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ” ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของแตงโมจึงไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายฉบับนี้

4. ไม่เพียงเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และจะต้องได้รับการดูแลการคุ้มครองเป็นพิเศษ ตามมาตรา 26 ซึ่งบัญญัติว่า  “ห้ามเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ม่านตา หรือลายนิ้วมือ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ... โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้ง ...”

5. น่าเสียดายที่การนำข้อมูลส่วนตัวของแตงโมมาเปิดเผยไม่ได้รับการคุ้มครองเยียวยาเพียงเพราะเธอตายแล้ว เพราะหากกฏหมายนี้คุ้มครองแตงโม คนทำผิดกฎหมายจะต้องรับโทษที่หนักและน่าจะเป็นการป้องปรามคนที่กำลังจะทำผิดได้มากทีเดียว เพราะบทลงโทษตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่าค่อนข้างหนัก (มาตรา 79 กรณีการกระทำผิดเรื่องการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่รับความยินยอม หรือเรื่องการส่งหรือโอนข้อมูลอ่อนไหวพิเศษไปต่างประเทศ แล้วก่อให้เกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

6. แม้ว่าข้อมูลของแตงโมจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ ยังมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ที่ยังบังคับใช้และหน่วยงานราชการทุกแห่งถือปฏิบัติอยู่ตามปกติ โดยเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย และมีหลักการสำคัญว่า หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งห้ามเปิดเผยรายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ หากการเปิดเผยนั้นจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร (มาตรา 15 (5) )

7. ดังนั้น หากในการแถลงข่าวเป็นการเอาข้อมูลข่าวสารของราชการที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาเปิดเผย  หรือข้อมูลรั่วไหลมาจากหน่วยงานของรัฐก็จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ  ในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยหน่วยงานของรัฐ ก็ต้องไปดูว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เอามาเผยแพร่นั้นเป็นข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานราชการหรือไม่  มาจากการเปิดเผยโดยเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ พนักงานสอบสวน ตลอดจนอัยการหรือระหว่างการพิจารณาในชั้นตุลาการ หรือหมอซึ่งเป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” จะเป็นการปฏิบัติที่ขัดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเปล่า

8. นอกจากกฎหมายหลักสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงแล้ว การกระทำดังกล่าวน่าจะเป็นความผิดทางอาญา เรื่อง “การล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ ...  แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด” และยังเข้าข่ายความผิดเรื่อง "หมิ่นประมาทบุคคลอื่น" ซึ่งมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ขณะเดียวกันในทางแพ่ง ก็เป็นความผิดเรื่อง "ละเมิด" หรือ “หมิ่นประมาท” ซึ่งเรียกร้องค่าเสียหายหรือขอให้ชดเชยเยียวยาความเสียหายได้

9. การเปิดเผยข้อมูลที่สร้างความเสียหายต่อเกียรติยศชื่อเสียงของแตงโมยังเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในเรื่องหลักๆ คือ “การนำเข้าสู่ระบบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย” “การได้มาซึ่งข้อมูล” รวมไปถึง “การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและผลกระทบต่อสาธารณะ” ซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและโทษปรับ

10. ยังมี พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ตลอดจนมาตรฐานหรือข้อกำหนดทางด้านจริยธรรม เช่น คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย และจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล ซึ่งต้องดูทุกเรื่องประกอบกัน เพราะการเอาเรื่องส่วนตัวของแตงโมมาเปิดเผยเกิดขึ้นหลายที่หลายทาง หลายโอกาสและวาระ

11. หมายเหตุที่จดวันนี้ พูดถึงแต่กรณีที่เป็นเอกสารข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจรั่วไหลหรือมีการเปิดเผยโดยการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นการปฎิบัติหน้าที่โดยขัดหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยังมีเรื่องมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพของสื่อมวลชน ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการกระทำ “ละเมิด” อีกหลายกรรมหลายวาระ ที่เหมือนจะรุนแรงและล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของแตงโมมากขึ้นทุกที เช่นกรณีบังแจ็คที่กำลังมาแรง

12. การมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็เพื่อให้เป็นกฎหมายกลางที่เป็นหลักการในการควบคุมดูแลการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ “เก็บรวบรวม-ใช้-เปิดเผย” ข้อมูลส่วนบุคคลที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ แต่กรณีนี้จะเห็นได้ว่าการที่กฎหมายกลางไม่สามารถดูแลคุ้มครองเยียวยาแตงโมได้เพียงเพราะเธอตายแล้ว ผู้เสียหายก็ต้องไปแสวงหาความช่วยเหลือเยียวยาจากช่องทางกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา หรือกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทำให้ดูเหมือนว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้หล่นหายไปอย่างน่าเสียดาย

13. หรือเราควรต้องรีบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองโดยเร็วที่สุด

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: นคร เสรีรักษ์ เป็นผู้อำนวยการ Privacy Thailand/ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเหตุ: ปรับแก้โดยผู้เขียนจากต้นฉบับที่เผยแพร่ใน คอลัมน์จด•หมายเหตุ-นคร เสรีรักษ์ ใน มติชนสุดสัปดาห์ www.matichonweekly.com/in-depth/article_563970

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง