การประเมินผลการประกอบอาชีพ

 อัญชลี ธรรมะวิธีกุล

การจัดการศึกษาอาชีพ

การจัดการศึกษาอาชีพ  คือกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะด้านอาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ มีรายได้ โดยการจัดการเรียนรู้ ที่จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจากสถานการณ์จริง สามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้

ดังนั้นการวัดผลประเมินผลจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ที่จะบอกให้รู้ว่า  เมื่อจัดการเรียนรู้เสร็จสิ้นลงแล้ว ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะและมีคุณลักษณะตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนดหรือไม่เพียงใด ซึ่งความเป็นจริงแล้วการวัดผลและประเมินผลมิได้ทำเฉพาะเมื่อกระบวนการเรียนรู้จบลงแล้วเท่านั้น แต่เกิดขึ้นตลอดเวลาของการดำเนินจัดการเรียนรู้ เนื่องจากการวัดผลและประเมินผลเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ดังนั้นการประเมินจึงเริ่มตั้งแต่ประเมินก่อนเรียน ประเมินขณะเรียน และประเมินหลังเรียน

การวัดและประเมินผล

  1. การวัดผล เป็นการสอบวัดว่าเมื่อกระบวนการเรียนการรู้ดำเนินไป ผู้เรียนมีพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ เปลี่ยนไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ โดยใช้เครื่องมือวัดผลต่าง ๆ เป็นเครื่องวัด การใช้เครื่องมือสอบวัดแต่ละชนิดจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนจัดการเรียนรู้ ผลจากการสอบวัดอาจจะเป็นเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ เช่นเป็นคะแนน เป็นค่าร้อยละ หรือระดับคุณภาพ ซึ่งยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นอย่างไรจนกว่าจะมีการประเมินผล
  2. การประเมินผล เป็นกระบวนการที่จะตัดสินว่าผู้เรียนมีคุณภาพหรือไม่ มีในระดับใด โดยนำคะแนนที่ได้จากการสอบวัดมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้

ประเภทการประเมิน 4 ประเภท

  1. การประเมินก่อนเรียน เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนรายบุคคลว่า ผู้เรียนมีพื้นความรู้ในเรื่องที่จะเรียนมากน้อย เพียงใด  เพื่อที่ครูจะได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
  2. การประเมินผลระหว่างเรียน  เป็นการประเมินระหว่างดำเนินการจัดการเรียนรู้ เพื่อดูความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มเรียน และ เพื่อนำผลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การประเมินผู้เรียนเฉพาะราย เป็นการประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องของผู้เรียนเฉพาะราย เพื่อครูจะได้หาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนได้ถูกต้อง
  4. การประเมินเมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน ว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนหรือไม่ หรือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับใด

การกำหนดเครื่องมือวัดผลและประเมินผล

ในการวัดผลและประเมินผลครูจะต้องวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ดังนั้นก่อนสร้างเครื่องมือวัดครูจะต้องวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ว่าเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมในด้านใด ระดับใด แล้วจึงกำหนดเครื่องมือวัดผล

ตัวอย่าง    การวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลตามประเภทของจุดประสงค์การเรียนรู้

วิธีวัด/ประเภทของเครื่องมือวัด  ประเภทของจุดประสงค์การเรียนรู้

พุทธิพิสัย

ทักษะพิสัย จิตพิสัย
1.การสังเกต/แบบสังเกตพฤติกรรม

/

/

2.สอบถาม/ประเด็นคำถาม

/

/

3.สอบถาม/แบบสอบถาม

/

4.ตรวจผลงาน/แบบตรวจผลงาน

/

5.ตรวจแบบฝึกหัด/แบบฝึกหัด,ใบงาน  /  /
6.ทดสอบ/แบบทดสอบ

 /

ดังนั้นนั้นเมื่อมีการวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล ตามประเภทของจุดประสงค์การเรียนรู้ จะทำให้ครูสามารถใช้วิธีการวัดผลและเครื่องมือวัดผลได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้ตามเป้าหมาย และถือว่าเป็นการวัดที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้

ประโยชน์ของการวัดและประเมินผล

  1. ผู้เรียนสามารถรู้ผลการเรียนของตนเองว่าเป็นอย่างไร  เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเอง และเป็นแนวทางในการวางแผนศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้
  2. ครูผู้สอนได้ทราบว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีพัฒนาการในการเรียนรู้หรือไม่ มีในระดับใด เพื่อที่ครูจะได้ปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
  3. ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทราบผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและโดยรวม เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษาอาชีพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4.  เป็นข้อมูลสำคัญต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งประกันคุณภาพภายในและประกันคุณภาพภายนอก

 แนวคิดในการวัดผลและประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพ

สถานศึกษาควรจัดทำระเบียบการวัดผลประเมินผลหลักสูตรการศึกษาอาชีพ  โดยคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบ ซึ่งมีแนวทางดำเนินการดังนี้

1.หลักการในการวัดผลและประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพ

1.1  สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบการวัดและประเมินผลการเรียนของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
1.2 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน
1.3   การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต้องสอดคล้องและครอบคลุมจุดมุ่งหมายและจุดประสงค์  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาอาชีพของสถานศึกษา และจัดให้มีการประเมินความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การมีส่วนร่วม  คุณธรรมจริยธรรม ความรู้และทักษะ
1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ต้องดำเนินการด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างรอบด้านทั้งด้านพุทธิพิสัย  จิตพิสัย และทักษะพิสัย  เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด สอดคล้องกับวิชา และระดับของผู้เรียน โดยอยู่บนพื้นฐานของความเที่ยงตรง ยุติธรรม และเชื่อถือได้
1.5  การประเมินผู้เรียน พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน จากพฤติกรรมการเรียนรู้ การปฏิบัติกิจกรรม ผลงานของผู้เรียน การทดสอบ  ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้ ตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรวิชา และรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.6  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตรวจสอบผลการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. การดำเนินการวัดและประเมินผลให้ครบองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน คือ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การมีส่วนร่วม  คุณธรรมจริยธรรม ความรู้และทักษะ

2.1 ประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ ด้วยการสอบถาม ทดสอบ และปฏิบัติจริง
2.2  ประเมินด้านคุณธรรม ด้วยการสังเกต สอบถาม
2.3 ประเมินผลงานตามสภาพจริง
2.3  ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ด้วยการสังเกต สอบถาม

3. การประเมินผลการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนในแต่ละหลักสูตรวิชา เป็นการประเมินความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  การมีส่วนร่วม  คุณธรรมจริยธรรม ความรู้และทักษะ

 ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนี้

3.1  ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และ วิธีการประเมินผลการเรียน เกณฑ์การผ่าน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนแต่ละหลักสูตรวิชา
3.2   จัดให้มีการประเมินผลก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐาน และความรอบรู้ในเรื่องที่จะเรียน ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
3.3   จัดให้มีการประเมินผลระหว่างเรียน  เพื่อศึกษาผลการเรียนและนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
3.4  การตัดสินผลการเรียนให้นำผลการประเมินที่ประเมิน ระหว่างเรียนและหลังเรียน ไปรวมกัน ตามสัดส่วนที่สถานศึกษากำหนด แล้วให้ระดับผลการเรียน

4.เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

4.1  การตัดสินผลการเรียน
4.1.1  ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนตลอดหลักสูตรวิชา
4.1.2ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียนที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตรวิชา ในระดับดีขึ้นไป

4.2  การให้ระดับผลการเรียน

การตัดสินผลการเรียนแต่ละหลักสูตรวิชา  ให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน เป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับผลการเรียน

ความหมาย

ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ

5

ดีเยี่ยม

90-100

4

ดี

70-89

3

พอใช้

50-69

2

น้อย

30-49

1

น้อยที่สุด

10-29

4.3 เกณฑ์การจบหลักสูตรวิชา

4.3.1  ผู้เรียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรวิชาและเวลาเรียนที่กำหนด
4.3.2  ผู้เรียนต้องมีผลการประเมิน วิชาที่เรียน ผ่านตั้งแต่ระดับ ๔ ขึ้นไป

5. เอกสารหลักฐานการศึกษา

การจัดหาและจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา เอกสารหลักฐานการศึกษา ที่สถานศึกษากำหนด เพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้เรียน ดังนี้

5.1 แบบบันทึกผลการเรียนรู้ระหว่างเรียน
5.2 แบบประเมินและรายงานผลการจบหลักสูตรการศึกษาอาชีพ

ตัวอย่าง

1. ระเบียบการวัดและประเมินผลหลักสูตรการศึกษาอาชีพ
2. แบบประเมินทักษะ
3. แบบประเมินผลการศึกษาอาชีพ :ประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4. แบบประเมินและรายงานผลการจบหลักสูตรการศึกษาอาชีพ

เอกสารอ้างอิง    

สำลี รักสุทธี และคณะม,มปป.วิธีการจัดการเรียนการสอน การเขียนแผนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา

***************************

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง