การ ทาสี ผนัง ปูน เก่า

สวัสดีค่ะ วันนี้เราขอเอาใจมือใหม่ที่อยากจะ ทาสีบ้านเก่า ที่สีผนังได้ลอกล่อนซีดจางหรือบางหลังสีทาผนังบวมปูดเป็นหย่อมๆ จนตอนนี้ผนังบ้านเราไม่น่ามองเลยสักนิด วันนี้ปัญหานั้นจะต้องหมดไปค่ะ เราจะมาสอนวิธีซ่อมแซมและทาสีบ้านแบบง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอน ที่รับรองเลยว่ามือใหม่ๆ อย่างเราก็ทำได้ไม่แพ้ช่างทาสีเลย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

ก่อนที่เราจะไปทราบ ขั้นตอน เรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้สีผนังลอกล่อนซีดจางหรือบ้างหลังสีทาผนังบวมปูดเป็นหย่อมๆ นั้นส่วนใหญ่อาจจะมาจากความชื้นที่สะสมอยู่ในผนังปูน เกิดการรั่วซึมที่จุดใดจุดหนึ่งของบ้านที่ผนังอยู่ติดกับพื้นดินที่มีความชื้น หรืออาจจะมาจากการที่ช่างเลือกใช้สีทาบ้านที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจจะเป็นได้ทั้งนั้นค่ะ

เครื่องไม้เครื่องมือที่ต้องเตรียม

1.เกรียง
2.น้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1:5
3.แปรงลวด(ขนแข็ง)
4.ถุงมือ
5.กระดาษทราย
6.แปรงทาสี
7.สีรองพื้นปูนเก่า
8.สีทาทับหน้า
9.สายยางฉีดน้ำ

เริ่มกันเลยกับ 5 ขั้นตอน ทาสีบ้านเก่า ง่ายๆ

1.ให้เราทำความสะอาดผิวผนังที่เราต้องการที่จะซ่อมแซม โดยใช้น้ำสะอาดจากสายยางฉีดน้ำและทำการเช็ดล้าง ถูทำ  ยิ่งถ้าบ้านใครมีเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงก็ยิ่งดีค่ะ

ด้านคราบราดำตามผนัง ให้ใช้แปรงที่มีขนแข็งขัดออกจากนั้นสวมถุงมือและใช้ผ้าปิดปากและจมูก ทาน้ำยาฟอกขาวปล่อยไว้ประมาณ 30 นาที  หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งค่ะ

2.เมื่อล้างผนังบ้านจนสะอาดแล้วให้เรานำเกรียงขูดเอาสีทาผนังที่เสื่อมสภาพออกให้หมด แล้วเช็ด ปัด ล้าง จนผนังสะอาดแบบขั้นตอนแรกโดยไม่ต้องใช้น้ำยาฟอกขาว

3.รอจนกว่าผนังจะแห้งสนิด เมื่อผนังแห้งแล้ว  ทาน้ำยาป้องกันเชื้อรา จากนั้นก็ทำการทิ้งผนังให้แห้งสนิทอีกครั้ง

4.หลังจากผนังแห้งแล้วจากนั้นเราก็ทำการทาสีรองพื้นปูน โดยจะต้องทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

5.สุดท้ายเมื่อสีรองพื้นแห้งสนิทแล้วให้ทำการทาสีทับหน้าจำนวน 2 เที่ยว โดยแต่ละเที่ยวห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมง

เป็นยังไงกันบ้างคะ เพียงแค่ 5 ขั้นตอนนี้ บ้านเก่าเราก็จะกลับมาสวยงามน่าอยู่อาศัยอีกครั้งแล้ว และพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

ต้องการซื้อ-เช่า !!!คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินทั่วไทยมากกว่า 300,000 รายการคลิ๊กที่นี่

ลงประกาศขาย-ให้เช่า ฟรี !!! คอนโดมือสอง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ที่ดินกับ Dot Property ขายง่าย ขายไว ไม่มีค่าใช้จ่ายลงประกาศเลย

  • TAGS
  • ทาสีบ้าน
  • ทาสีบ้านเก่า
  • วิธีทาสีบ้าน
  • แบบทาสีบ้าน

Previous articleแสนสิริ ร่วมกับ เดลิเทค ดึงเทคโนโลยีระดับโลก “ Amazon Web Services ” นำร่องระบบสั่งงานด้วยเสียงภาษาไทยครั้งแรกปี’61

Next article8 ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน พร้อมรับกับความก้าวหน้า ร่ำรวย

About the author

Dot Property News

Stay up to date with the latest property news, ideas and tips! Want more information or have views to share? Contact [email protected]

ในปัจจุบันการทาสีบ้านเองนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เราสามารถเรียนรู้วิธีการทาสีบ้านที่ถูกต้องได้ หรือผลิตภัณฑ์สีที่มีให้เลือกใช้หลากหลายมากขึ้น ทำให้การทาสีบ้านเองในปัจจุบันนั้นสามารถทำได้ง่ายแม้ไม่เชี่ยวชาญก็ตาม

แต่ถึงแม้เราจะสามารถเรียนรู้ และเข้าใจการทาสีบ้านได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่การเลือกผลิตภัณฑ์สีถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่เจ้าของบ้าน หรือช่างต่างก็ต้องทำความเข้าใจในเรื่องของคุณสมบัติเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของ สีรองพื้นปูนเก่า และ สีรองพื้นปูนใหม่ ซึ่งหลาย ๆ คนได้ยินแล้วอาจจะสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้เราจะพาไปดูว่า สีรองพื้นปูนใหม่ vs สีรองพื้นปูนเก่า แตกต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่ากัน?

ความสำคัญของการทาสีรองพื้น

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจกับสีรองพื้นปูนใหม่ และสีรองพื้นปูนเก่านั้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจถึงความสำคัญของการทาสีรองพื้นก่อนเป็นอันดับแรก เพราะจะมีผลต่อการเลือกผลิตภัณฑ์สีนั่นเอง

มีหลายคนที่สงสัยว่า สีทารองพื้นมีความจำเป็นมากแค่ไหน ทาสีจริงไปเลยไม่ดีกว่าหรือ? ก็ต้องบอกเลยว่า การทาสีรองพื้นนั้นมีความจำเป็นมาก ๆ ประโยชน์หลัก ๆ เลยคือ จะช่วยให้สีจริงติดทน ไม่ลอก ไม่หลุด และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ไม่ต้องมาคอยทาสีใหม่กันบ่อย ๆ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยนั่นเอง

การทาสีรองพื้นปูน จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุฉาบตกแต่งกับผนังฉาบปูนให้ดียิ่งขึ้น  โดยทั่วไปสีรองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ สีรองพื้นปูนใหม่ และสีรองพื้นปูนเก่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ต่างกัน

สีรองพื้นปูนใหม่

สีรองพื้นประเภทปูนใหม่นี้จะใช้กับปูนที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ เช่น บ้านที่เพิ่งสร้างเสร็จ หรือส่วนที่มีการต่อเติมและฉาบปูนใหม่ จะใช้สีรองพื้นสำหรับปูนใหม่เท่านั้นในการทารองพื้น เหตุผลที่ต้องทาสีรองพื้นกับปูนใหม่ก็เป็นเพราะว่า หลังจากที่ฉาบเสร็จ ผนังจะเกิดคราบด่างเกิดขึ้น และปูนที่เพิ่งฉาบเสร็จก็มักจะคายความชื้นออกมาด้วย หากไม่ได้ทาสีรองพื้นก่อน สีที่ทาไปจะมีปัญหาทันที

ดังนั้นจึงจะเป็นต้องทาสีรองพื้นหนึ่งรอบก่อน เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดรอยด่างเหล่านั้น และยังช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสีให้แข็งแรงกว่าเดิม ระหว่างผนังที่สร้างเสร็จใหม่ กับสีทาหน้าที่เป็นสีจริง

คุณสมบัติที่ดีของสีรองพื้นปูนใหม่

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเลือกผลิตภัณฑ์สีรองพื้นนั้นจะเลือกได้ง่ายกว่าผลิตภัณฑ์สีทาบ้านทั่วไป แต่การเลือกสีรองพื้นเราต้องคำนึงถึงพื้นผิวผนังของเรา และคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งเพื่อให้เกิดการตัดสินใจผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนใหม่ได้ง่ายขึ้น เราจะพาไปดูว่าผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนใหม่ที่ดี ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

  • ช่วยการกลบพื้นผิว: เนื่องจากผนังปูนฉาบของเรานั้น จะมีลักษณะเป็นสีเทา หากจะทาสีจริงบนผนังปูนฉาบโดยตรงอาจจะทำให้สีนั้นติดยากพอสมควร เนื่องจากมีสีเทาเป็นทุนเดิม เเต่ถ้าเราทาสีรองพื้นปูนใหม่ที่เป็นสีขาวก่อน สีขาวนั้นจะช่วยกลบพื้นผิวที่เป็นสีเทา ทำให้เวลาทาสีจริง สีจะติดผนังได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
  • ลดการดูดซึมของพื้นผิว: เนื่องจากผนังปูนของเรานั้น ถ้าเราสังเกตุดี ๆ จะเห็นว่า มีรูพรุนค่อนข้างมาก หากเราทาสีทับไป พื้นผิวจะดูดสีชนิดนั้นเข้าไปในพื้นผิวก่อน เพราะฉะนั้นการทาสีรอบเเรกเหมือนเป็นการลดการดูดซึม ให้พื้นผิวดูดสีรองพื้นไปก่อน เวลาทาสีจริง เพื่อสามารถประหยัดสีได้มากขึ้นนั่นเอง
  • ป้องกันด่าง: แน่นอนว่าปูนที่ฉาบใหม่จะมีค่าความเป็นด่างที่สูงมาก หากทาสีจริงทับเลย ความเป็นด่างของปูนจะทำให้สีที่ทาซีดด่างหรือเฟดลง หรือถ้าด่างที่เข้มข้น อาจจะทำให้สีชอล์คเป็นฝุ่นเเป้งเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นการทาสีรองพื้นจะช่วยบล็อคความเป็นด่างจากปูน ไม่ให้โดนสีทับหน้า สีทับหน้าจะได้สดใสเต็มที่นั่นเอง

วิธีการเลือกสีรองพื้นปูนใหม่

วิธีการเลือกสีรองพื้น ให้สังเกตผนังที่เราต้องการใช้งาน ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร? เพิ่งฉาบมาใหม่? ยังปล่อยทิ้งไว้ให้คายด่างไม่ถึง 30 วันหรือเปล่า? หรือฉาบทิ้งไว้นานแล้ว เคยทาสีมาแล้วด้วย แบบนี้ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

  • สีรองพื้นปูนใหม่พาราชิลด์ คูลแม็กซ์ สีรองพื้นสำหรับทั้งภายในและภายนอกอาคาร สีรองพื้นประสิทธิภาพเยี่ยม เหมาะสำหรับพื้นผิวคอนกรีตและปูนฉาบใหม่ ช่วยป้องกันและทนต่อความเป็นด่างที่สามารถเกิดขึ้นจากปูนใหม่ได้ดี ช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสีทาทับหน้า และมีฉนวนกันความร้อน สะท้อนแสงยูวี เพื่อปรับอุณหภูมิในบ้านให้เย็นสบาย ดูแลทั้งผู้ใช้งานและผู้อาศัย เนื่องจากส่วนประกอบของเนื้อสีปราศจากส่วนผสมของสารตะกั่วและสารปรอท
  • สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง สตูดิโอ ชิลด์ รองพื้นปูนใหม่กันด่าง จากวัสดุเกรดพรีเมียมจาก Microsphere Technology ช่วยให้เนื้อสีเรียงติดแน่น เป็นระเบียบ เพิ่มความสวยงามให้สีทาทับชัดเจน ทนต่อความเป็นด่างจากผนังปูน ป้องกันการเกิดสีโป่งพอง ลอกล่อน หลังการทาสีทับ และมีส่วนประกอบที่ช่วยป้องกันเชื้อราและตะไคร่น้ำที่มีต้นเหตุมาจากความชื้น ปราศจากสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมถึงสารตะกั่วและสารปรอท

ขั้นตอนการทาสีปูนใหม่

การทาสีปูนใหม่ หลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องง่าย เนื่องจากพื้นผิวไม่มีปัญหาจากสภาพการใช้งาน เช่น เชื้อรา ตะไคร้น้ำ สีเดิมที่เสื่อมคุณภาพและมีการหลุดร่อน เป็นผง และเรื่องของฝุ่นผงสิ่งสกปรก คราบฝังแน่นต่าง ๆ ที่อยู่ที่ผนังปูนเก่า แต่เพราะผนังปูนใหม่ไม่มีปัญหาเหล่านี้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทาสีปูนใหม่มีขั้นตอนที่ค่อนข้างยาก และหากว่าเราจัดการไม่ดี ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องสีตามมาแน่นอน และอายุการใช้งานของสีก็จะสั้นลงเช่นเดียวกัน

  1. ทิ้งปูนให้แห้ง โดยระยะเวลาที่เหมาะสมนั้น อย่างน้อย ต้องทิ้งปูนไว้ให้แห้งอย่างน้อย 1 เดือน ขึ้นไป เรื่องนี้สำคัญมาก และมักถูกละเลย การทาสีลงบนปูนที่ไม่แห้งสนิท จะเจอปัญหาเรื่องความชื้นทำให้สีหลุดร่อนเร็ว เพราะไม่เกาะติดผนัง
  2. ทำความสะอาดพื้นผิวปูน ซึ่งสิ่งที่ต้องทำความสะอาดออกไปก็คือ ฝุ่นผง เศษซีเมนต์ ที่เหลืออยู่ คราบไขและสิ่งสกปรก ที่เกิดขึ้นในการทำงาน หรือ เกิดขึ้นในช่วงที่เราปล่อยปูนทิ้งไว้ พวกนี้ต้องใช้ความละเอียด และเลือกวิธีทำความสะอาดที่เหมาะสมกับสิ่งสกปรกแต่ละอย่าง
  3. ตรวจสอบและแก้ไขสภาพพื้นผิว ผนังปูนใหม่ เป็นไปได้ที่จะมีรอยร้าวเล็กๆ ที่เกิดจากการแห้งตัวของปูน ต้องทำการอุดโป๊วให้เรียบร้อย แล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ก่อนจะทำการขัดผิวให้เรียบด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด จากนั้นทำความสะอาดคราบและฝุ่นผงออกไป
  4. ทาสีรองพื้น แม้จะเป็นผนังปูนใหม่ ก็ควรมีการลงสีรองพื้นเช่นกัน เพื่อเพิ่มการยึดเกาะ และป้องกันการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างสีทับหน้ากับสารที่อยู่ในปูน หรือความเป็นกรดเป็นด่าง ทาสีรองพื้นลงไปบนพื้นผิวของปูน 1-2 รอบ โดยสีรองพื้นปูนใหม่ ส่วนใหญ่ต้องทิ้งไว้ 30 วันก่อนทาทับหน้า ส่วนปูนเก่า ต้องทำความสะอาดพื้นผิวก่อนทา

สีรองพื้นปูนเก่า

สีรองพื้นปูนเก่าคือผลิตภัณฑ์สีประเภทหนึ่งที่ถูกออกมาให้ใช้ทารองพื้นปูนเก่าที่เคยทาสีมาแล้วโดยเฉพาะ เนื่องจากผนังปูนที่เคยทาสีมาแล้วส่วนมากจะมีคราบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคราบสกปรก คราบไขมัน ที่ติดแน่นอยู่บริเวณพื้นผิว ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ทาสีใหม่ทับลงไป สีนั้นจะไม่สามารถยึดติดได้ดีเท่าที่ควร จะเกิดการหลุดร่อนได้ง่าย

ซึ่งหน้าที่ของสีรองพื้นปูนเก่าก็คือเป็นเป็นการสร้างชั้นฟิล์มเคลือบบนผิวปูนเก่า โดยเป็นการเคลือบทับคราบต่างๆ ที่ฝังอยู่ การเคลือบของสีรองพื้นปูนเก่านั้นจะช่วยทำให้สีใหม่ที่ทาทับลงมาสามารถยึดติดได้ดี ไม่หลุดร่อนง่ายนั่นเอง

คุณสมบัติที่ดีของสีรองพื้นปูนเก่า

สีรองพื้นปูนเก่านั้นคือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการซ่อมแซมสีบ้าน หรือการทาสีบ้านเก่า ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ช่างหลายๆ คนมองข้ามไปอาจจะเป็นเพราะต้องเพิ่มเวลาในการทำงาน หรือคนที่ต้องการทาสีบ้านด้วยตัวเองนั้นไม่ให้ความสำคัญเนื่องจากขาดความรู้ และความเข้าใจในเรื่องของขั้นตอนการทาสีนั่นเอง

  • ช่วยเพิ่มการยึดเกาะ สีรองพื้นปูนเก่ามีส่วนประกอบหลักที่ทำหน้าที่เหมือนกับกาว เมื่อทาลงไปบนพื้นผิวปูนเก่าก่อนทาสีทับหน้า ก็จะช่วยปรับพื้นผิวให้เรียบเนียนขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวกับสีทาทับหน้าได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยยืดอายุการใช้งาน สีรองพื้นปูนเก่าสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของสีทาทับหน้าให้มีความติดทนนานขึ้น และทาสีทับหน้าสวยขึ้น เพราะว่าสีรองพื้นไปช่วยเพิ่มการยึดเกาะ และปรับพื้นผิวให้เรียบเนียนแล้วนั่นเอง
  • ช่วยให้ทาสีทับหน้าง่ายขึ้น นอกจากนั้น สีรองพื้นปูนเก่ายังช่วยให้ทาสีทับหน้าได้ง่ายขึ้น เพราะว่าสีรองพื้นช่วยปรับสภาพพื้นผิวให้สมดุลกันแล้ว จึงส่งผลให้สีทาทับหน้าทาง่าย สวยงาม และเรียบเนียนมากขึ้น
  • ลดปัญหาสีหลุดล่อน พอง และซีดจาง สีรองพื้นปูนเก่านั้นช่วยเพิ่มการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวและสีทาทับหน้า สามารถช่วยให้สีทาทับหน้านั้นติดทนนานขึ้น จึงช่วยลดปัญหาสีหลุดล่อน สีพอง หรือซีดจางได้เป็นอย่างดี
  • ลดปัญหาคราบด่าง เชื้อรา และตะไคร่น้ำ สีรองพื้นปูนเก่านั้นมักจะมีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อรา เพราะว่าผนังบ้านที่เป็นปูน หรือพื้นผิวที่เป็นปูนจะมีความชื้นอยู่เสมอ ทำให้เกิดคราบด่าง เชื้อรา และตะไคร่น้ำได้ง่าย ดังนั้น การทาสีรองพื้นปูนเก่ากันเชื้อราสามารถช่วยลดการเกิดปัญหาคราบด่าง เชื้อรา และตะไคร่น้ำได้เป็นอย่างดี

วิธีการเลือกสีรองพื้นปูนเก่า

สีรองพื้นปูนเก่าแบ่งได้ตามลักษณะของการใช้งาน ที่แบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

  1. สีรองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำ เหมาะสำหรับงานทาภายในที่ ไม่ต้องการให้มีกลิ่นฉุนรบกวน และพื้นผิวของผนังบ้านมีการเสื่อมสภาพที่ไม่มากนัก รวมถึงผนังสภาพดียังไม่มีการเสื่อมสภาพต้องการเพียงเปลี่ยนสีผนังเดิม โดยมีเนื้อสีใสช่วยลดฝุ่นผง ให้สีใหม่ยึดเกาะได้ดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถเลือกใช้สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ สูตรน้ำ แบบที่มีเนื้อสีขาว ก็จะทำให้กลบสีเก่าของผนังได้มาก ทำให้การทาสีใหม่ทำได้ง่ายขึ้นอีก
    • สีรองพื้นปูนเก่า กัปตัน รีเพ้นท์ น้ำยาปรับสภาพปูนเก่า สูตรน้ำมัน กลิ่นอ่อน กัปตัน รีเพ้นท์ ไพรเมอร์ ทรีทเม้นท์ สำหรับปูนเก่าที่เสือมสภาพ และเพิ่มการยึดเกาะของสีทับหน้า ช่วยเคลือบผนังปูนเก่า ที่เสื่อมสภาพให้อยู่ในสภาพดีและช่วยให้สีทับหน้าสามารถยึดเกาะ พื้นผิวได้ดียิ่งขึ้น
  1. สีรองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำมัน เหมาะกับพื้นผิวของผนังที่มีความเสียหายค่อนข้างมาก เริ่มมีการหลุดร่อนของสี เกิดคราบสกปรกฝังแน่นมากขึ้น รวมถึงพบปัญหาอื่น ๆ เช่น ความชื้นและเชื้อราบนผนัง โดยมีทั้งแบบเนื้อใส ที่สามารถเสริมสภาพการยึดเกาะ ลดฝุ่นผงบนผนังก่อนการทาสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแบบเนื้อสีขาวที่ช่วยในการกลบสีเก่า และยับยั้งการเกิดเชื้อราบนผนังได้อีกด้วย
    • น้ำยารองพื้นปูนเก่า ลองไลฟ์ ผลิตจากอะคริลิคเรซิ่นคุณภาพสูง ป้องกันผนังปูนเก่า ที่สีเสื่อมสภาพเป็นฝุ่นชอล์ก หรือหลุดล่อนออก ช่วยเพิ่มการยึดเกาะของสีทับหน้า ป้องกันปัญหาสีโป่งพองลอกล่อน ปราศจากส่วนผสมของสารตะกั่วและสารปรอท ปลอดภัยต่อผู้ใช้ เหมาะสำหรับอาคารเก่า

ขั้นตอนการทาสีปูนเก่า

ก่อนเริ่มต้นทาสีปูนเก่า เราจะต้องแยกระหว่างปัญหา “ปูนเก่า” กับ “สีเก่า” ออกจากกันก่อน โดยเริ่มต้นต้องดูที่สีให้ดี ถ้าเราไม่เคยรู้ประวัติอาคารมาก่อน ไม่รู้ว่าผ่านการทาสีมากี่ครั้งแล้ว หากต้องการทาสีใหม่ ก็สามารถเลือกใช้น้ำยาลอกสี และใช้กระดาษทรายขูดสีเดิมออกให้หมด หลังจากนั้น หากพื้นซีเมนต์ที่ผ่านการขูดมีปัญหาหลุดเป็นผง มีน้ำซึม มีเชื้อรา ควรแก้ปัญหาที่ปูนก่อนที่จะลงสีใหม่

  1. ลอกสีเดิมและซ่อมแซมความเสียหายก่อนทาสีผนังเก่า เริ่มต้นขั้นตอนการทาสีผนังปูนเก่าด้วย การใช้เกรียงแซะสีผนังบ้านเก่าออกก่อน โดยลอกสีเก่าให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ทาสีแล้วยึดเกาะได้ดียิ่งขึ้น จากนั้นจึงสำรวจความเสียหายก่อนทาสีผนังเก่า เพราะหากปล่อยรอยแตกร้าวไว้แล้วทาสีผนังปูนเก่าเลยทันที จะส่งผลให้เกิดปัญหาสีหลุดล่อนตามมาได้ เนื่องจากความชื้นที่อาจแทรกซึมเข้ามาผ่านรอยแตกร้าวนั่นเอง
  2. ทำความสะอาดและทาน้ำยากันตะไคร่น้ำ หลังจากซ่อมแซมรอยแตกร้าวแล้ว ใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวให้เรียบเนียน แล้วฉีดน้ำขัดล้างทำความสะอาดคราบสกปรก ตะไคร่น้ำหรือเชื้อราออก แล้วทิ้งให้แห้ง จากนั้นจึงทาน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำ ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง จึงเริ่มทาสีผนังเก่าได้
  3. ทาสีด้วยลูกกลิ้งหรือแปรง และทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเริ่มทารอบที่ 2 ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งทาสีตามความต้องการ หรือจะทำให้ลวดลายด้วยเทคนิคต่าง ๆ ใช้ทาได้ทั้งภายในและภายนอกบ้าน โดยทาในอัตราส่วน 4-5 ตารางเมตร ต่อ 1 กิโลกรัม แล้วทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 3-6 ชั่วโมง 

และหลังจากสีที่ทารอบแรกแห้งเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทาสีรอบที่ 2 จากนั้นจึงปล่อยให้แห้งสนิท และเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรป้องกันไม่ให้พื้นผิวโดนน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

สีรองพื้นปูนใหม่ vs สีรองพื้นปูนเก่า แตกต่างกันอย่างไร?  แบบไหนดีกว่ากัน?

การทาสีรองพื้นปูน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุฉาบตกแต่งกับผนังฉาบปูนให้ดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปสีรองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ สีรองพื้นปูนใหม่ และสีรองพื้นปูนเก่า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ต่างกัน ดังนี้

  • สีรองพื้นปูนใหม่ มีเนื้อสีขาว สูตรน้ำ ไม่มีกลิ่นฉุน ทาง่าย และมีราคาถูกกว่าสีรองพื้นปูนเก่า  เหมาะสำหรับใช้ทาผนังฉาบปูนใหม่เท่านั้น เพื่อป้องกันรอยด่างที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน เนื่องจากในช่วงแรกหลังจากการฉาบผนัง ปูนฉาบจะมีการคายความชื้นออกมา ส่วนผสมของสีรองพื้นปูนใหม่จะมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดรอยด่างเหล่านั้น และช่วยเรื่องการยึดเกาะที่ดีสำหรับผนังฉาบปูนและสีทับหน้า 
  • รองพื้นปูนเก่า หรือ น้ำยารองพื้นปูนเก่า แบ่งเป็น 2 สูตร คือสูตรน้ำที่มีลักษณะเป็นสีขาว และสูตรน้ำมันที่มีลักษณะเป็นสีใส และมีกลิ่นฉุนกว่าสูตรน้ำ แต่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวและวัสดุดีกว่า รวมถึงราคาก็สูงกว่าสูตรน้ำด้วย  สีรองพื้นปูนเก่าเหมาะสำหรับใช้ทารองพื้นผนังฉาบปูนที่ผ่านการทาสี หรือผ่านการใช้งานมานานแล้ว ซึ่งอาจมีการลอกร่อนของสีทับหน้าเดิม มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำจับ โดยต้องทำการขูดสีทับหน้าเดิม และล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกก่อน รอให้แห้งสนิท แล้วจึงทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทำการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน

นอกจากนี้ สีรองพื้นปูนเก่ายังใช้กับพื้นผิวผนังโครงเบาทั้งหลายด้วย เช่น แผ่นผนังยิปซั่ม แผ่นผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นผนังไม้อัดซีเมนต์ ฯลฯ และถ้าหากทาทับด้วยสีซีเมนต์ หรือฉาบทับด้วยปูนฉาบตกแต่งอย่างสกิมโค้ท ไม่ว่าจะเป็นผนังฉาบปูนเก่าหรือ ผนังฉาบปูนใหม่ ควรรองพื้นด้วยสีรองพื้นปูนเก่าเท่านั้น เพื่อการยึดเกาะที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนใหม่ หรือสีรองพื้นปูนเก่า จะต้องคำนึงถึงลักษณพื้นผิวของบริเวณที่เราจะทามากกว่า เพราะทั้งสองผลิตภัณฑ์นั้นต่างก็ถูกผลิตขึ้นมาให้ใช้งานแตกต่างกันตามความเหมาะสม การเลือกสีรองพื้นที่ดีจึงควรจะคำนึงถึงคุณสมบัติ และความเหมาะสมมากกว่านั่นเอง

จะสีรองพื้นปูนเก่าหรือปูนใหม่ก็สามารถนำมาใช้ได้ หากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม

การทาสีรองพื้นปูนนั้นถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากบ้านของเราจะได้สีที่สวยงาม และน่าอยู่แล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับบ้านของเราอีกด้วย โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนเก่า และผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนใหม่ที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดปัญหาต่างๆ เช่น สีหลุดล่อน ซีดจาง พอง หรือเกิดคราบต่างๆ ที่อาจส่งผลให้พื้นผิวเสียหาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้พักอาศัยได้อีกด้วย

หากต้องการผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนเก่า และผลิตภัณฑ์สีรองพื้นปูนใหม่ หรือผลิตภัณฑ์สีทาบ้านอื่น ๆ เราขอแนะนำผลิตภัณฑ์จากสีกัปตัน เป็นตัวช่วยรักษาอายุการใช้งานบ้าน และช่วยเพิ่มให้ดีไซน์บ้านนอกจากการออกแบบในสไตล์ที่ชอบแล้ว ก็ยังช่วยเพิ่มการสัมผัสและสร้างบรรยากาศให้เจ้าของเห็นแล้วสบายตา สบายใจด้วยอีกด้วย

ปูนเก่าทาสียังไง

– ผนังปูนเก่า: ทาน้ำยารองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำมัน เพื่อเสริมการยึดเกาะ จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนทาสีทับหน้า – ผนังปูนใหม่: ทาสีรองพื้นปูนใหม่ จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้งอย่างน้อย 30 นาที-2 ชั่วโมง ก่อนทาสีทับหน้า

ปูนเก่า ทาสีได้ไหม

การ ทาสีปูนเก่า คือ พื้นผิวปูนเก่าที่ฉาบไว้นานแล้ว หรือ ผนังปูนเก่าที่ต้องการทาสีทับ ส่วนใหญ่จะมีคราบสิ่งสกปรก และคราบไขมันฝังแน่นที่พื้นผิว ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการยึดเกาะของสีทับหน้า จึงต้องเลือกสีรองปูนเก่า ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการ เพิ่มการยึดเกาะ มากเป็นพิเศษเพื่อเคลือบทับคราบรอยเหล่านี้

ทาสีบ้านเก่าต้องทำยังไงบ้าง

7 เคล็ดลับ ทาสีบ้านเก่า ให้เจิดกว่าใคร.
1. โทนสีทาบ้าน มีผลต่อบรรยากาศรอบตัว ... .
2. เตรียมพื้นผิวให้พร้อมก่อนทาสีบ้านเก่า ... .
3. ปกป้องพื้นผิวของตัวบ้านให้ห่างจากเชื้อรา ... .
4. ทาสีรองพื้นก่อนเริ่มทาสีจริง ... .
5. ทาสีบ้านเก่าให้สวยเนียนยิ่งขึ้นต้องย้ำ 2 รอบขึ้นไป ... .
6. ทาสีบ้านเก่าให้กรอบบ้านไม่เปื้อน ... .
7. กลบกลิ่นฉุนตอนทาสีบ้านเก่า.

ไม่ทาสีรองพื้นปูนเก่าได้ไหม

Q : สีทาบ้าน ไม่ต้องรองพื้น ได้ไหม?​ A : ทาสีบ้านต้องทารองพื้น เพราะสีรองพื้นทำหน้าที่เป็นตัวกลางช่วยปรับสภาพพื้นผิวปูนให้ดีและเป็นตัวกลางเสริมการยึดเกาะของสีทับหน้า จึงทำให้ผนังปูนและสีทับหน้าสีติดทนนาน ป้องกันการลอกล่อน ซีดจาง ถ้าไม่ทาสีรองพื้น อาจเปิกปัญหาผนังบ้านเป็นด่างเกลือ สีโป่งพอง สีหลุดลอกล่อนก่อนเวลา​ ​

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง